พืช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พืช
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่:
ตอนต้นยุคแคมเบรียนถึงปัจจุบัน, 520–0Ma
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
โดเมน: ยูแคริโอต
ไม่ได้จัดลำดับ: Archaeplastida
อาณาจักร: พืช
Haeckel, 1866[1]
ส่วน

พืช เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มใหญ่ประเภทหนึ่งอยู่ในอาณาจักรพืช (Kingdom Plantae) ประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชล้มลุก และเฟิร์น พบได้ทั้งบนบกและในน้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ประกอบด้วยหลายเซลล์ นิวเคลียสมีผนังเซลล์ ห่อหุ้ม เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แค่เอียงตัว จะสามารถเห็นได้ชัดเจน.เมื่อมีแดดส่อง พืชจะเอียงตัวไปที่แดด ไม่มีอวัยวะเกี่ยวกับความรู้สึก มีคลอโรฟิลล์ซึ่งเป็นสารสีเขียว ช่วยในการสังเคราะห์และเจริญเติบโต. นอกจากนี้ยังมี

ลักษณะพิเศษที่ต่างไปจากสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นก็คือการสังเคราะห์ด้วยแสง แต่มีพืชจำพวกปรสิตประมาณ 300 สปีชีส์ที่ไม่สังเคราะห์ด้วยแสงเอง แต่เกาะดูดอาหารจากพืชชนิดอื่น

นิยาม

อริสโตเติลแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นพืช (โดยทั่วไปไม่เคลื่อนไหว) และสัตว์ (ซึ่งเคลื่อนไหวบ่อยครั้งและหาอาหารกิน) ในระบบของลินเนียสแบ่งเป็นอาณาจักร Vegetabilia (ภายหลังเป็น Metaphyta หรือ Plantae) และ สัตว์ (Metazoa) ตั้งแต่นั้นมาพืชได้มีรากฐานที่ชัดเจนทำให้หลายๆกลุ่มที่ไม่เกี่ยวข้องอย่างฟังไจและกลุ่มของสาหร่ายสีเขียวหลายๆกลุ่มถูกย้ายไปอาณาจักรใหม่ อย่างไรก็ตามบ่อยครั้งที่ยังคงมีการพิจารณาในหลายๆบริบทขึ้นอยู่กับวิธีการและความนิยม

เมื่อชื่อ Plantae หรือพืชเกี่ยวข้องกับลักษณะเฉพาะในอนุกรมวิธาน ทั่วไปมันจะอ้างถึง 1 ใน 3 กลุ่ม ก็คือ:

สิ่งที่สามารถสังเคราะห์แสงได้เรามักเรียกว่าพืชได้อย่างไม่เป็นทางการ แต่เมื่อเราพิจารณาทางอนุกรมวิธานแล้วมันอาจไม่ใช่แม้กระทั่งญาติใกล้ชิดของพืชเลยก็ได้ มีพืชราวๆ 375,000 ชนิดและทุกปีมีการค้นพบและจัดจำแนกใหม่ๆโดยนักวิทยาศาสตร์

ความหลากหลาย

ประมาณ 350,000 สปีชีส์ของพืชที่ถูกกะประมาณว่ายังมีชีวิตอยู่ในขณะนี้ แบ่งออกเป็นพืชมีเมล็ด, พืชไม่มีท่อลำเลียง, เฟิร์น และพืชใกล้เคียงเฟิร์น ในปีพ.ศ. 2547 มีการระบุไปแล้ว 287,655 ชนิด เป็นพืชมีดอก 258,650 ชนิด, เป็นพืชไม่มีท่อลำเลียง 16,000 ชนิด,เป็นเฟิร์น 11,000 ชนิดและเป็นสาหร่ายสีเขียว 8,000 ชนิด

ความหลากหลายในหมวดของพืช
กลุ่ม ชื่อสามัญ จำนวนชนิด
สาหร่ายสีเขียว คลอโรไฟตา (Chlorophyta) 3,800 [2]
คาโรไฟตา (Charophyta) 4,000 - 6,000 [3]
พืชไม่มีท่อลำเลียง ลิเวอร์เวิร์ต (Hepatophyta) 6,000 - 8,000 [4]
ฮอร์นเวิร์ต (Anthocerotophyta) 100 - 200 [5]
มอสส์ (Bryophyta) 12,000 [6]
เทอริโดไฟต์ ไลโคไฟตา (Lycopodiophyta) 1,200 [7]
เฟิร์น (Pteridophyta) 11,000 [7]
พืชมีเมล็ด ปรง (Cycadophyta) 160 [8]
แปะก๊วย (Ginkgophyta) 1 [9]
สน (Pinophyta) 630 [7]
มะเมื่อย (Gnetophyta) 70 [7]
พืชดอก (Magnoliophyta) 258,650 [10]

วิวัฒนาการชาติพันธุ์



Prasinophyceae (micromonads)



สเตร็ปโตไบโอนตา (Streptobionta)

พืชบก (Embryophyte)

สโตมาโตไฟต์ (Stomatophytes)

โพลีสโปรันจีโอไฟต์ (Polysporangiophytes)

พืชมีท่อลำเลียง (Tracheophytes)
ยูตราชีโอไฟต์ (Eutracheophytes)
ยูฟิลโลไฟตินา (Euphyllophytina)
ลิกโนไฟเตีย (Lignophytia)

พืชมีเมล็ด (Spermatophytes)



โปรจิมโนสเปอร์โมไฟตา (Progymnospermophyta) †



เฟิร์น (Pteridophyta)


เฟิร์นแท้จริง (Pteridopsida)



มารัททิโอฟิดา (Marattiopsida)



หญ้าถอดปล้อง (Equisetopsida)



หวายทะนอย (Psilotopsida)



Cladoxylopsida †





ไลโคไฟตินา (Lycophytina)

Lycopodiophyta



Zosterophyllophyta †





Rhyniophyta †





Aglaophyton †



Horneophytopsida †





Bryophyta (มอสส์)



Anthocerotophyta (ฮอร์นเวิร์ต)





Marchantiophyta (ลิเวอร์เวิร์ต)





Charophyta





Chlorophyta


Trebouxiophyceae (Pleurastrophyceae)



Chlorophyceae




Ulvophyceae






ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. Haeckel G (1866). Generale Morphologie der Organismen. Berlin: Verlag von Georg Reimer. pp. vol.1: i–xxxii, 1–574, pls I–II, vol. 2: i–clx, 1–462, pls I–VIII.
  2. Van den Hoek, C., D. G. Mann, & H. M. Jahns, 1995. Algae:An Introduction to Phycology. pages 343, 350, 392, 413, 425, 439, & 448 (Cambridge: Cambridge University Press). ISBN 0-521-30419-9
  3. Van den Hoek, C., D. G. Mann, & H. M. Jahns, 1995. Algae:An Introduction to Phycology. pages 457, 463, & 476. (Cambridge: Cambridge University Press). ISBN 0-521-30419-9
  4. Crandall-Stotler, Barbara. & Stotler, Raymond E., 2000. "Morphology and classification of the Marchantiophyta". page 21 in A. Jonathan Shaw & Bernard Goffinet (Eds.) , Bryophyte Biology. (Cambridge: Cambridge University Press). ISBN 0-521-66097-1
  5. Schuster, Rudolf M., The Hepaticae and Anthocerotae of North America, volume VI, pages 712-713. (Chicago: Field Museum of Natural History, 1992). ISBN 0-914868-21-7.
  6. Goffinet, Bernard (2004). "Systematics of the Bryophyta (Mosses) : From molecules to a revised classification". Monographs in Systematic Botany. Missouri Botanical Garden Press. 98: 205–239. {{cite journal}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Raven, Peter H., Ray F. Evert, & Susan E. Eichhorn, 2005. Biology of Plants, 7th edition. (New York: W. H. Freeman and Company). ISBN 0-7167-1007-2.
  8. Gifford, Ernest M. & Adriance S. Foster, 1988. Morphology and Evolution of Vascular Plants, 3rd edition, page 358. (New York: W. H. Freeman and Company). ISBN 0-7167-1946-0.
  9. Taylor, Thomas N. & Edith L. Taylor, 1993. The Biology and Evolution of Fossil Plants, page 636. (New Jersey: Prentice-Hall). ISBN 0-13-651589-4.
  10. lnternational Union for Conservation of Nature and Natural Resources, 2006. IUCN Red List of Threatened Species:Summary Statistics

แหล่งข้อมูลอื่น