พี.โอ.ดับเบิลยู.: พริซซันเนอส์ออฟวอร์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
พี.โอ.ดับเบิลยู.: พริซซันเนอส์ออฟวอร์ | |
---|---|
![]() ใบปลิวอาร์เคดของพี.โอ.ดับเบิลยู.: พริซซันเนอส์ออฟวอร์ เวอร์ชันสหรัฐ | |
ผู้พัฒนา | เอสเอ็นเค |
ผู้จัดจำหน่าย | เอสเอ็นเค อิเล็กโตรคอยน์ |
เครื่องเล่น | อาร์เคด, แฟมิคอม |
วางจำหน่าย | ค.ศ. 1988 |
แนว | ซัดมันเลย |
รูปแบบ | ผู้เล่นเดี่ยว, ผู้เล่น 2 คนร่วมมือกัน |
พี.โอ.ดับเบิลยู.: พริซซันเนอส์ออฟวอร์ (อังกฤษ: P.O.W.: Prisoners of War) วางจำหน่ายในญี่ปุ่นในชื่อ ดาสึโงกุ -พริซซันเนอส์ออฟวอร์- (ญี่ปุ่น: 脱獄 -Prisoners of War-; คำแปล: แหกคุก: เชลยศึก) เป็นวิดีโอเกมแนวซัดมันเลยแบบเลื่อนด้านข้างที่ผลิตโดยเอสเอ็นเค ซึ่งแต่เดิมได้เปิดตัวในฐานะเกมอาร์เคดเมื่อปี ค.ศ. 1988[1]
เวอร์ชันประจำบ้านได้รับการเผยแพร่สำหรับระบบแฟมิคอมในวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1989 ในประเทศญี่ปุ่น และในเดือนกันยายน ค.ศ. 1989 ในทวีปอเมริกาเหนือ เกมดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงสงครามเย็นที่ผู้เล่นควบคุมนักโทษทหารคู่หนึ่งที่หลุดพ้นจากห้องขัง เพื่อต่อสู้อย่างไม่ลดละ เพื่อเข้าสู่ฐานหลักของฝ่ายตรงข้าม เพื่อกำจัดผู้นำ และหลบหนีเพื่อเอาชีวิตรอด
รูปแบบการเล่น[แก้]
ในฐานะหมาป่าเดียวดาย หรือในฐานะคู่หู วัตถุประสงค์ของภารกิจคือการหลบหนีจากฐานของศัตรูโดยการต่อสู้ผ่านสี่ด่านที่เต็มไปด้วยทหารฝ่ายศัตรูหลายรูปแบบที่พยายามขัดขวางการหลบหนีของผู้เล่น ด่านประกอบด้วยค่ายเชลยศึก, โรงพัสดุ, ป่า และฐานของศัตรู ในบางครั้งศัตรูจะโจมตีผู้เล่นด้วยยานพาหนะ เช่น เฮลิคอปเตอร์, รถลำเลียงหุ้มเกราะ หรือรถจักรยานยนต์ ในตอนท้ายของด่านสุดท้าย ผู้เล่นจะเผชิญหน้ากับแม่ทัพของศัตรู ก่อนที่จะได้รับการช่วยพาออกมาโดยเฮลิคอปเตอร์ในการหลบหนีครั้งสุดท้าย
เกมนี้สามารถเล่นได้โดยผู้เล่นสูงสุดสองคนพร้อมกัน
- ผู้เล่นคนที่ 1 ควบคุมเชลยศึกซึ่งแต่งกายด้วยเครื่องแบบการสงครามกองโจรสีกรมท่าที่ชื่อสเนก (スネーク, Sunēku)
- ผู้เล่นคนที่ 2 ควบคุมตัวละครสลับสีของตัวละครเดียวกันซึ่งแต่งกายด้วยเครื่องแบบการสงครามกองโจรสีแดงเหมือนเลือดที่ชื่อบาร์ต (バート, Bāto)
การตอบรับ[แก้]
นิก เคลลี จากนิตยสารคอมโมดอร์ยูสเซอร์ ได้เขียนว่าเกมอาร์เคดนั้นซื้อสัตย์ต่อดับเบิลดรากอนกับเรนอิเกด และเรียกเกมนี้ว่า "เกมแนวซัดมันเลยซึ่งไว้ใจได้ดี" โดยให้คะแนน 6 เต็ม 10[2] ส่วนในประเทศญี่ปุ่น เกมแมชชีนได้จัดอันดับพี.โอ.ดับเบิลยู.: พริซซันเนอส์ออฟวอร์ในฉบับวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1988 ว่าเป็นหน่วยเกมอาร์เคดบนโต๊ะที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดอันดับสามของปี[3]
การเปิดตัวอีกครั้ง[แก้]
เกมดังกล่าวได้รวมอยู่ในคอลเลกชันเอสเอ็นเค ฟอร์ทิเอธแอนนิเวอร์ซารี ในปี ค.ศ. 2019
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "P.O.W.: Prisoners of War". The International Arcade Museum. สืบค้นเมื่อ 4 Oct 2013.
- ↑ Kelly, Nick (November 1988). "P.O.W.". Commodore User. p. 122.
- ↑ "Game Machine's Best Hit Games 25 - テーブル型TVゲーム機 (Table Videos)". Game Machine (ภาษาญี่ปุ่น). No. 346. Amusement Press, Inc. 15 December 1988. p. 25.