ไฮเออโรกลีฟอียิปต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไฮเออโรกลีฟอียิปต์
ไฮเออโรกลีฟจากสุสานเควี 17 ของฟาโรห์เซติที่ 1 อายุ 1300 ปีก่อนคริสตกาล
ชนิดสัญรูปแบบไม่มีสระ
ภาษาพูดภาษาอียิปต์
ช่วงยุคราว 3,200 ปีก่อนคริสตกาล[1][2] – ค.ศ. 400[3]
ระบบแม่
(อักษรแบบดั้งเดิม)
  • ไฮเออโรกลีฟอียิปต์
ระบบลูกไฮเออแรติก, โพรโต-ไซนีอีทิก
ช่วงยูนิโคด
ISO 15924Egyp
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทศาสตร์สัทอักษรสากล หากไม่มีการสนับสนุนเร็นเดอร์ที่เหมาะสม คุณอาจเห็นเครื่องหมายคำถาม กล่อง หรือสัญลักษณ์อื่นแทนอักขระยูนิโค้ด

ไฮเออโรกลีฟ[4] หรือ ไฮโรกลีฟ[5] (อังกฤษ: hieroglyph) เป็นระบบการเขียนที่ชาวอียิปต์โบราณใช้อย่างเป็นทางการ ประกอบด้วยอักษร (alphabet) และสัญรูป (logograph)

อักขระในระบบไฮเออโรกลีฟของอียิปต์นี้ยังสัมพันธ์กับอักขระอียิปต์อีก 2 ชุด คือ อักขระไฮเออแรติก (hieratic) และอักขระดีมอติก (demotic)

ไฮเออโรกลีฟแบบตัวเขียนนั้นมักใช้เขียนวรรณกรรมทางศาสนาลงบนแผ่นไม้และแผ่นพาไพรัส ไฮเออโรกลีฟอียิปต์ยุคแรกย้อนหลังไปได้ไกลถึง 3,300 ปีก่อนคริสตกาล และใช้กันมาจนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 4 ก็เลิกใช้ไป เพราะการปิดศาสนสถานนอกศาสนาคริสต์ ทำให้ไม่จำต้องใช้เขียนบันทึกอนุสรณ์อีก

เมื่อไฮเออโรกลีฟอียิปต์หมดการใช้งาน ความรู้เกี่ยวกับระบบการเขียนนี้ก็ดับสูญไปด้วย การถอดความหมายของอักขระไฮเออโรกลีฟอียิปต์จึงกลายเป็นปริศนาเรื่อยมา จนไขออกในภายหลังเพราะได้ศิลาโรเซตตาเป็นเครื่องช่วยเหลือ

อ้างอิง[แก้]

  1. The Oxford History of Historical Writing. Vol. 1. To AD 600, page 5
  2. Allen, James P. (2010). Middle Egyptian: An Introduction to the Language and Culture of Hieroglyphs (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 2. ISBN 9781139486354.
  3. Allen, James P. (2010). Middle Egyptian: An Introduction to the Language and Culture of Hieroglyphs (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. p. 8. ISBN 9781139486354.
  4. "Definition of hieroglyphic | Dictionary.com". www.dictionary.com (ภาษาอังกฤษ).
  5. "HIEROGLYPH English Definition and Meaning | Lexico.com". Lexico Dictionaries | English (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-08-23. สืบค้นเมื่อ 2021-08-23.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]