เครื่องอิสริยยศพระราชาณาจักรกัมพูชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องอิสริยยศพระราชาณาจักรกัมพูชา

เครื่องอิสริยยศพระราชาณาจักรกัมพูชา
ชั้นมหาสิริวัฒน์

ประเภทอิสริยาภรณ์แห่งชาติ จำนวน 5 ขั้น
วันสถาปนา8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1864
ประเทศกัมพูชา ราชอาณาจักรกัมพูชา
จำนวนสำรับไม่จำกัด
ผู้สมควรได้รับเป็นบำเหน็จความชอบแก่ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน
สถานะยังคงมีการพระราชทาน
ผู้สถาปนาสมเด็จพระนโรดมพรหมบริรักษ์
ประธานพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา, ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (สมัยรัฐอารักขา)
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าเครื่องอิสริยยศชาตูปการ
รองมาเครื่องอิสริยยศมุนีสาราภัณฑ์

เครื่องอิสริยยศพระราชาณาจักรกัมพูชา (เขมร: គ្រឿងឥស្សរិយយសព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា เคฺรืองอิสฺสริยยสพฺระราชาณาจกฺรกมฺพุชา; ฝรั่งเศส: Ordre royal du Cambodge) เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งชาติของราชอาณาจักรกัมพูชา สถาปนาครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1864 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร อันเป็นยุคที่กัมพูชามีฐานะเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส เพื่อมอบเป็นบำเหน็จความชอบแก่ข้าราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน โดยมีพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรกัมพูชาทรงเป็นประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้

ในสมัยที่กัมพูชาอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศสนั้น ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศสมีฐานะเป็นประธานเครื่องอิสริยยศพระราชาณาจักรกัมพูชาด้วยเช่นกันจนถึง ค.ศ. 1948 ฐานะประธานแห่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้จึงตกเป็นสิทธิ์ขาดของพระมหากษัตริย์กัมพูชาเพียงฝ่ายเดียว เนื่องจากฝรั่งเศสได้เริ่มมอบเอกราชบางส่วนให้กัมพูชาปกครองตนเองอีกครั้ง ทั้งนี้ สีของแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้แบบที่รัฐบาลฝรั่งเศสมอบให้ จะใช้คนละสีกับแบบที่พระมหากษัตริย์กัมพูชาเป็นผู้พระราชทาน

เครื่องอิสริยยศพระราชาณาจักรกัมพูชาได้มีการพระราชทานสืบต่อกันมาจนกระทั่งต้องยกเลิกไปเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองใน ค.ศ. 1975 หลังจากมีการฟื้นฟูพระราชอาณาจักรอีกครั้ง จึงได้เริ่มการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์นี้ขึ้นใหม่ ตามพระบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ลงวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1995

ลักษณะ[แก้]

เครื่องอิสริยยศพระราชาณาจักรกัมพูชาแบ่งออกเป็นชั้นต่าง ๆ 5 ชั้น มีลักษณะดังนี้ (ชื่อของแต่ละชั้นใช้การปริวรรตอักษรตามภาษาเขมร)[1]

  1. มหาเสรีวัฒน์ (เขมร: មហាសេរីវឌ្ឍន៍ มหาเสรีวฑฺฒน์; อังกฤษ: Grand Cross; ฝรั่งเศส: Grand-croix) ประกอบด้วยดวงตราห้อยกับสายสะพายสีแดง ขอบสีเขียว สะพายเฉวียงบ่าของผู้ได้รับพระราชทานจากขวาไปซ้าย มีดาราสีทองประดับอัญมณีที่ใต้อกเสื้อเบื้องซ้าย
  2. มหาเสนา (เขมร: មហាសេនា มหาเสนา; อังกฤษ: Grand Officer; ฝรั่งเศส: Grand-Officier) ประกอบด้วยดวงตราห้อยแพรแถบสีแดง ขอบสีเขียว สำหรับสวมคอ มีดาราสีทองประดับอัญมณีที่ใต้อกเสื้อเบื้องซ้ายของผู้ได้รับพระราชทาน
  3. ธิบดินทร์ (เขมร: ធិបឌិន្ទ ธิบฑินฺท; อังกฤษ: Commander; ฝรั่งเศส: Commandeur) ลักษณะดวงตราและการประดับเป็นอย่างเดียวกับชั้นมหาเสนา แต่ไม่มีดาราประกอบ
  4. เสนา (เขมร: សេនា เสนา; อังกฤษ: Officer; ฝรั่งเศส: Officier) เป็นดวงตราห้อยแพรแถบสีแดง ขอบสีเขียว สำหรับประดับที่เหนือกระเป๋าเสื้อเบื้องซ้ายของผู้ได้รับพระราชทาน บนแพรแถบประดับด้วยแพรจีบรูปดอกไม้สีเดียวกับกับแพรแถบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลนี้
  5. อัสสฤทธิ์ (เขมร: អស្សឬទ្ធិ อสฺสฤๅทฺธิ; อังกฤษ: Knight; ฝรั่งเศส: Chevalier) ลักษณะดวงตราและการประดับเป็นอย่างเดียวกับชั้นเสนา แต่ไม่มีการประดับแพรจีบรูปดอกไม้

เครื่องอิสริยยศพระราชาณาจักรกัมพูชาแบบที่รัฐบาลฝรั่งเศสเป็นผู้มอบให้ ใช้สีสายสะพายและสีแพรแถบเป็นสีขาว ขอบสีเหลือง

แพรแถบย่อ

มหาเสรีวัฒน์

มหาเสนา

ธิบดินทร์

เสนา

อัสสฤทธิ์

มหาเสรีวัฒน์
(สมัยรัฐในอารักขา)

มหาเสนา
(สมัยรัฐในอารักขา)

ธิบดินทร์
(สมัยรัฐในอารักขา)

เสนา
(สมัยรัฐในอารักขา)

อัสสฤทธิ์
(สมัยรัฐในอารักขา)

รายนามบุคคลสำคัญที่ได้รับพระราชทาน/รับมอบ[แก้]

สมเด็จวิบุลเสนาภักดี สาย ฌุม ประธานพฤฒิสภากัมพูชา

ในพระราชอาณาจักรกัมพูชา[แก้]

ต่างประเทศ[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. ได้สอบทานชื่อภาษาเขมรจาก ព្រឹទ្ធសភានៃព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា (2012-11-08). "ឯកឧត្តម ទេព ងន អនុប្រធានទី២ ព្រឹទ្ធសភា បំពាក់គ្រឿងឥស្សរិយយសជូនអ្នករាជការនៃអគ្គលេខាធិការដ្ឋានព្រឹទ្ធសភា នាថ្ងៃទី០៨ ខែវិច្ឆិកា ឆ្នាំ២០១២". สืบค้นเมื่อ 2014-10-31.[ลิงก์เสีย]
  2. News from Hsinhua News Agency: Daily Bulletin. London: Xin hua tong xun she. 1 October 1965. p. 53. OCLC 300956682.

อ้างอิง[แก้]