อินูลิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อินูลิน
คุณสมบัติ
C6nH10n+2O5n+1
มวลโมเลกุล Polymer; depends on n
หากมิได้ระบุเป็นอื่น ข้อมูลข้างต้นนี้คือข้อมูลสาร ณ ภาวะมาตรฐานที่ 25 °C, 100 kPa

อินูลิน (อังกฤษ: Inulin)หรือฟรักโทแซน (Fructosan) เป็นแป้งที่พบในหัวหรือรากพืชบางชนิด[1] ละลายในน้ำอุ่นได้ดี จัดเป็นเส้นใยที่เรียกว่าฟรุกแทน (fructan) เป็นพอลิเมอร์ของน้ำตาลฟรุคโตสที่เชื่อมต่อกันเป็นเส้นตรงที่ตำแหน่งบีตา 2, 1 (β - 2, 1 linked polyfructan) มีปลายด้านหนึ่งคือกลูโคสที่เชื่อมต่อกับฟรุกโตสในลักษณะการเชื่อมของซูโครส โดยพบเป็นคาร์โบไฮเดรต โครงสร้างหลักไม่มีพันธะที่เป็นองค์ประกอบของวงแหวน มีน้ำตาลประกอบเข้าด้วยกันมากกว่า 10 โมเลกุล [2]

ค้นพบอินูลินครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2361 โดยสกัดออกมาจากต้น Inula helenium อินูลินพบได้ในพืชหลายชนิด ส่วนมากพบในส่วนของหัวหรือรากสะสมอาหาร เช่น กระเทียมต้น หอม กระเทียม กะหล่ำปลี ทิวลิป หน่อไม้ฝรั่ง[2] รักเร่ (Dahlia) และชีคโอะริ (Chicory)[3]และพบมากในหัวแก่นตะวัน และชีคโอะริ โดยประเทศในเขตหนาวจะใช้ชิกอรีกับแก่นตะวันในการผลิตอินูลินเชิงอุตสาหกรรม [2]โดยพืชที่สะสมอินูลินจะไม่สะสมอาหารในรูปของแป้ง

สารอินูลินช่วยให้แบคทีเรียที่มีประโยชน์ในลำไส้เพิ่มจำนวนมากขึ้น และยับยั้งการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียสาเหตุโรคท้องร่วง ใช้เป็นสารทดแทนไขมันในครีม เนยแข็ง และไอศกรีม เพิ่มใยอาหารในผลิตภัณฑ์นม เป็นสารที่ให้ความหวานแต่ไม่ให้พลังงาน[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Roberfroid M (2005). "Introducing inulin-type fructans". Br J Nutr. 93 Suppl 1: S13–25. PMID 15877886.
  2. 2.0 2.1 2.2 นิมิต วรสูต และ สนั่น จอกลอย. 2549. อินนูลิน: สาระสำคัญสำหรับสุขภาพในแก่นตะวัน. แก่นเกษตร. 34 (2): 85 - 91
  3. Selvakumar and Pandey, 1999
  4. สนั่น จอกลอย วีรยา ลาดบัวขาว รัชนก มีแก้ว. แก่นตะวัน: พืชชนิดใหม่ใช้เป็นพลังงานทดแทน. แก่นเกษตร. 34 (2): 104 - 111

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]