สภาล่าง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สภาล่าง (อังกฤษ: lower house) เป็นหนึ่งในสองสภาของระบบสองสภา อีกสภาหนึ่งได้แก่ สภาสูง ในแต่ละประเทศ สภาล่างจะมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ตัวอย่างสภาล่าง เช่น สภาผู้แทนราษฎร

ถึงแม้ว่าตำแหน่งทางทฤษฎีจะอยู่ "ข้างล่าง" ของสภาสูง แต่ในความเป็นจริง "สภาล่าง" เกือบทุกประเทศในโลกกลับมีอำนาจมากกว่า "สภาสูง" ความเหนือชั้นกว่าของสภาล่างเกิดจากข้อจำกัดพิเศษที่บังคับใช้กับสภาสูง (ไม่ว่าจะเป็นไปตามกฎหมายหรือเห็นได้โดยชัดแจ้งในระเบียบวิธีการประชุม) ที่สามารถทำได้เพียงการชะลอการออกกฎหมายให้ช้าลง แต่ไม่อาจใช้อำนาจยับยั้งการออกกฎหมาย (Veto) ได้ หรืออาจไม่มีอำนาจควบคุมกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน ภายใต้ระบบรัฐสภาถือเป็นเรื่องปกติที่สภาล่างเท่านั้นที่มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดตัวหัวหน้ารัฐบาล หรือนายกรัฐมนตรี และยังสามารถถอดถอนผ่านการออกเสียงไม่ไว้วางใจได้อีกด้วย แต่ก็มีข้อยกเว้นอยู่บ้าง เช่น นายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ซึ่งเลือกจากการสนับสนุนของทั้งสองสภาไดเอต การร่างกฎหมายที่ทำได้โดยสภาเดียวเรียกว่า "ระบบสภาเดียว"

ลักษณะโดยทั่วไป[แก้]

จากการเปรียบเทียบกับสภาสูง สภาล่างส่วนใหญ่จะมีลักษณะที่แสดงให้เห็นถึงความเฉพาะดังนี้:

  • มีอำนาจมากกว่า
  • มาจากการเลือกตั้งโดยตรง (ถ้ามาจากการแต่งตั้งก็ถือตามความนิยม)
  • มีจำนวนสมาชิกมากกว่า
  • เลือกตั้งบ่อยครั้งกว่า และเลือกทั้งหมดในคราวเดียวกัน
  • ได้รับอำนาจทั้งหมดหรือขั้นต้นในการควบคุมงบประมาณและกฎหมายเกี่ยวกับการเงิน
  • สามารถลบล้างอำนาจบางประการของสภาสูง
  • ในระบบประธานาธิบดี สภาล่างมีอำนาจเต็มในการฟ้องให้ขับออกจากตำแหน่ง จากนั้น สภาสูงจึงจะทำหน้าที่สอบสวนผู้ถูกฟ้องร้อง

ตำแหน่งของสภาล่าง[แก้]

ชื่อสามัญ[แก้]

สภาล่างส่วนใหญ่มีชื่อเรียกคล้ายกันหลายชื่อ เช่น รัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร สภาประชาชน สภาสามัญ ฯลฯ (House/Chamber of Representatives/the People/Commons/Deputies)

ชื่อที่ไม่เป็นที่คุ้นเคยมาก[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]