ท้าวทศรถ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ท้าวทศรถ
ตัวละครใน รามเกียรติ์
ข้อมูลตัวละครในเรื่อง
เพศชาย
ตำแหน่งกษัตริย์กรุงอโยธยา
คู่สมรสนางเกาสุริยา
นางไกยเกษี
นางสมุทรชา
บุตรพระราม
พระพรต
พระลักษมณ์
พระสัตรุด
ญาติท้าวอัชบาล (บิดา)
นางเทพอัปสร (มารดา)

ท้าวทศรถ เป็นพระราชโอรสของท้าวอัชบาลกับนางเทพอัปสร ครองกรุงอโยธยาต่อจากพระราชบิดา ท้าวทศรถได้กำหราบยักษ์หลายตน เช่น ปทูตทันต์ ในการศึกนั้นปทูตทันต์แผลงศรทำให้เพลารถของท้าวทศรถหัก นางไกษเกษีที่ตามเสด็จมาด้วยเห็นดังนั้นจึงนำแขนมาเทียมรถ จนในที่สุดท้าวทศรถขว้างพระขรรค์ไปใหม่ ด้วยอำนาจอันเรืองฤทธิ์ของพระขรรค์ปทูตทันต์จึงกระเด็นตกยังพื้นพสุธาคอหักตายคาที ท้าวทศรถจึงได้ให้รางวัลแก่พระนางไกษเกษีว่าในวันข้างหน้า หากนางขออะไรก็จะให้ตามที่นางขอ

ท้าวทศรถครองราชสมบัติมานานหลายปีแต่ยังไม่มีโอรส จึงอัญเชิญพระฤาษีกไลโกฏมาทำพิธีกวนข้าวทิพย์ และนำข้าวทิพย์ไปให้พระมเหสีทั้งสามเสวยจนตั้งครรภ์ และให้กำเนิดพระโอรสถึงสี่พระองค์ เมื่อโอรสอายุได้ 14 ปีก็ให้ไปเรียนวิชากับพระฤาษี

ท้าวทศรถอยู่ในราชสมบัติได้หกหมื่นปี ก็มาคิดเรื่องแบ่งสมบัติให้โอรสทั้งสี่ โดยพระพรตและพระสัตรุตจะได้ครองกรุงไกยเกษ ส่วนพระรามและพระลักษมณ์จะให้ครองเมืองอโยธยา แต่การนี้นางไกยเกษียกเรื่องของรางวัลในอดีตมาเป็นข้อต่อรอง ขอให้เนรเทศพระรามไปอยู่ในป่าสิบสี่ปี และให้พระพรตขึ้นครองราชย์แทน ท้าวทศรถเสียใจมากจนสวรรคตด้วยความตรอมพระทัย ิิ

พระมเหสีและพระราชโอรส[แก้]

  1. นางเกาสุริยา อัครมเหสี มีพระราชโอรสคือ พระราม (พระนารายณ์อวตาร)
  2. นางไกยเกษี มเหสีรอง ธิดาท้าวไกยเกษ มีพระราชโอรสคือ พระพรต (จักร)
  3. นางสมุทรชา มีพระราชโอรสฝาแฝดคือ พระลักษมณ์ (สังข์และบัลลังก์นาค) และพระสัตรุต (คทา)

ลักษณะของท้าวทศรถ[แก้]

กายสีขาว ๑ พักตร์ ๒ กร ทรงมงกุฎยอดเดินหน(ยอดแหลม)

ก่อนหน้า ท้าวทศรถ ถัดไป
ท้าวอัชบาล
กษัตริย์กรุงอโยธยาในเรื่อง รามเกียรติ์

พระราม