ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไรน์ฮาร์ท ไฮดริช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
Matable (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 114: บรรทัด 114:


=== นโยบายต่อต้านชาวโปแลนด์ ===
=== นโยบายต่อต้านชาวโปแลนด์ ===
ไฮดริชได้ก่อตั้งหน่วย "Zentralstelle IIP Polen" ของเกสตาโพในคำสั่งเพื่อประสานงานร่วมกันในการกวาดล้างชาติพันธ์ุชาวโปแลนด์ใน "[[ปฏิบัติการทันเนนแบร์ก]]" และ[[อินเทลลิเกนซักติออน]] (Intelligenzaktion) สองรหัสนามสำหรับปฏิบัติการในการกำจัดที่มุ่งเป้าหมายไปที่[[ชาวโปแลนด์]]ในช่วงการยึดครองโปแลนด์ของเยอรมัน ท่ามกลางผู้คน 100,000 คนล้วนถูกสังหารในปฏิบัติการอินเทลลิเกนซักติออนใน ค.ศ. 1939-1940 มีจำนวนประมาณ 61,000 คนซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มปัญญาชนชาวโปแลนด์: นักวิชาการ นักบวช อดีตเจ้าหน้าที่ และอื่น ๆ ที่ถูกระบุโดยเยอรมันว่าเป็นเป้าหมายทางการเมืองใน[[หนังสือดำเนินคดีพิเศษ-โปแลนด์]] ซึ่งได้ถูกรวบรวมไว้ในช่วงก่อนสงครามจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939
{{โครง-ส่วน}}


=== การเข้ามารักษาการณ์ในตำแหน่งผู้ว่าการรัฐไรช์แห่งรัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวีย ===
=== การเข้ามารักษาการณ์ในตำแหน่งผู้ว่าการรัฐไรช์แห่งรัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวีย ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:12, 14 มกราคม 2565

ไรน์ฮาร์ท ไฮดริช
Reinhard Heydrich
ไรน์ฮาร์ท ไฮดริช ในปี 1940
ประธานตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
24 สิงหาคม 1940 – 4 มิถุนายน 1942
ก่อนหน้าออทโท ชไตน์ฮอยส์
ถัดไปอาร์ธูร์ เนเบอ
อธิบดีกรมการใหญ่ความมั่นคงไรช์
ดำรงตำแหน่ง
27 กันยายน 1939 – 4 มิถุนายน 1942
แต่งตั้งโดยไฮน์ริช ฮิมเลอร์
ก่อนหน้าไม่มี
ถัดไปไฮน์ริช ฮิมเลอร์ (รักษาการ)
ผู้บัญชาการตำรวจลับของรัฐ
ดำรงตำแหน่ง
22 เมษายน 1934 – 27 กันยายน 1939
แต่งตั้งโดยไฮน์ริช ฮิมเลอร์
ก่อนหน้ารูดอล์ฟ ดีลส์
ถัดไปไฮน์ริช มึลเลอร์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
Reinhard Tristan Eugen Heydrich

7 มีนาคม ค.ศ. 1904(1904-03-07)
ฮัลเลออันแดร์ซาเลอ, จักรวรรดิเยอรมัน
เสียชีวิต4 มิถุนายน ค.ศ. 1942(1942-06-04) (38 ปี)
ปราก-ลีเบน รัฐในอารักขาโบฮีเมียและโมราเวีย
พรรคการเมืองพรรคนาซี
ลายมือชื่อ
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้
แผนก/สังกัด
ประจำการ1922–1942
ชั้นยศ
การยุทธ์สงครามโลกครั้งที่สอง
บำเหน็จSee Service record of Reinhard Heydrich

ไรน์ฮาร์ท ทริสทัน อ็อยเกน ไฮดริช (เยอรมัน: Reinhard Tristan Eugen Heydrich) เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงของนาซีเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองและสมรู้ร่วมคิดหลักในการล้างชาติโดยนาซี เขาเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยเอ็สเอ็ส (ชุทซ์ชทัฟเฟิล) ระดับโอเบอร์กรุพเพินฟือเรอร์ (เทียบเท่าพลโท) และเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจสามัญ และยังเป็นหัวหน้าของทบวงกลางความมั่นคงไรช์ (รวมทั้งทบวงตำรวจลับ, ทบวงตำรวจอาชญากรรม, ทบวงอำนวยความปลอดภัย และทบวงตำรวจความมั่นคง) นอกจากนั้นเขายังเป็นผู้อารักขาไรช์ประจำโบฮีเมียและโมราเวีย (ในดินแดนสาธารณรัฐเช็ก) ไฮดริชทำหน้าที่เป็นประธานขององค์การตำรวจอาชญากรรมระหว่างประเทศ (ICPO,หรือเป็นที่รู้จักคือตำรวจสากล) และเป็นประธานการประชุมวันน์เซในเดือนมกราคม 1942 ที่ได้วางมาตราการแผนสำหรับทางออกของปัญหาชาวยิวคือทำการเนรเทศและสังหารหมู่ชาวยิวในยุโรปที่ถูกเยอรมนียึดครอง

นักประวัติศาสตร์หลายคนได้กล่าวว่าเขาคือบุคคลที่มืดมนที่สุดในระดับสูงของนาซี[1][2][3] อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้อธิบายว่า เขาคือ"บุรุษที่มีหัวใจดั่งเหล็ก"[4] เขาเป็นผู้ก่อตั้งทบวงตำรวจความมั่นคง (ไซโพ) เขายังช่วยจัดอำนวยความสะดวกในเหตุการณ์ คืนกระจกแตก (Kristallnacht) ชุดปฏิบัติการโจมตีต่อต้านชาวยิวทั้งในเยอรมนีและดินแดนบางส่วนของออสเตรียในวันที่ 9-10 พฤศจิกายน 1938 ชุดปฏิบัติการโจมตีถูกดำเนินงานโดยหน่วยชตูร์มับไทลุง (SA) พร้อมอาสาสมัครพลเรือน และกลายเป็นเครื่องหมายสัญลักณ์ของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์โดยนาซี เมื่อเขาได้ไปยังกรุงปราก, ไฮดริชได้พยายามขจัดความขัดแย้งต่อการปกครองของนาซีเยอรมนีด้วยการทำลายล้างวัฒนธรรมของสาธารณรัฐเช็ก รวมถึงการเนรเทศและประหารชีวิตสมาชิกกลุ่มต่อต้านของเช็ก เขายังเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงของหน่วยไอน์ซัทซกรุพเพน กองกำลังปฏิบัติการภารกิจพิเศษซึ่งได้เดินทางในการปลุกปั่นกองทัพเยอรมันและทำการสังหารหมู่ประชาชนกว่าสองล้านคน รวมไปถึงชาวยิวกว่า 1.3 ล้านคนด้วยการยิงเป้าและรมควันด้วยแก็สพิษ

ในวันที่ 27 พฤษภาคม 1942 ไฮดริชถูกลอบโจมตีบริเวณชายเมืองทางเหนือของปราก ไฮดริชได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัสและถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลในกรุงปราก การลอบโจมตีครั้งนี้ปฏิบัติโดยหน่วยปฏิบัติการพิเศษของอังกฤษซึ่งได้ทำการฝึกทหารคอมมานโดชาวเช็กและชาวสโลวักที่ถูกส่งโดยรัฐบาลพลัดถิ่นเชคโกสโลวาเกียที่ต้องการสังหารเขาในปฏิบัติการแอนโธรพอยด์ ไฮดริชเสียชีวิตจากการบาดเจ็บในสัปดาห์ต่อมา หน่วยสืบราชการของนาซีได้เชื่อมโยงการลอบสังหารไปยังหมู่บ้านลิดยิตแซและแลฌากี ทั้งสองหมู่บ้านถูกทำลายอย่างราบคาบ; ผู้ชายทั้งหมดและเด็กผู้ชายทุกคนอายุกว่า 16 ถูกยิงทิ้ง, และทั้งหมดแต่หนึ่งในจำนวนกำมือของผู้หญิงและเด็กถูกเนรเทศและสังหารในค่ายกักกันของนาซี

ช่วงชีวิตวัยแรก

ไรน์ฮาร์ท ทริสทัน อ็อยเกน ไฮดริช[5] เกิดใน ค.ศ. 1904 ในฮัลเลอร์อันแดร์ซาเลอ บิดามารดาของเขาคือนักแต่งเพลงและนักร้องโอเปร่านามว่า ริชาร์ด บรูโน ไฮดริช และภรรยาของเขานามว่า อลิซาเบธ แอนนา อมาเลีย ไฮดริช (นามสกุลเดิมคือ เครนตซ์) บิดาของเขานับถือนิกายโปรเตสแตนต์และมารดาของเขานับถือนิกายโรมันคาทอลิก สองคำชื่อแรกของเขามาจากบทสรรเสริญทางดนตรีของความรักชาติ: "ไรน์ฮาร์ท" หมายถึง วีรบุรุษที่น่าสลด มาจากโรงละครโอเปร่าของบิดาที่มีชื่อว่า อาแมน และคำว่า "ทริสทัน " มาจากละครที่ชื่อว่า ทริสทันกับอีซอลเดอ ของริชชาร์ท วากเนอร์ ส่วนชื่อที่สามของไฮดริช "อ็อยเกน" เป็นชื่อแรกของคุณตาผู้ล่วงลับของเขา (อ็อยเกน เครนตซ์ ซึ่งเป็นผู้อำนวยการแห่งราชวิทยาลัยดนตรีเดรสเดิน)[6]

ครอบครัวของไฮดริชมีฐานะทางสังคมและมีทรัพย์สมบัติมากมาย ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของไฮดริช พ่อของเขาได้ก่อตั้งโรงเรียนฮัลเลอร์สำหรับวิชาดนตรี โรงละคร และการสอน และมารดาของเขาได้สอนเปียโนที่นั่น[7] ไฮดริชได้พัฒนาความหลงใหลในไวโอลินและนำความสนใจนั้นไปสู่วัยผู้ใหญ่ เขาได้สร้างความประทับใจให้กับผู้ฟังด้วยความสามารถทางดนตรีของเขา[8]

บิดาของเขาเป็นนักชาตินิยมชาวเยอรมันผู้ปลุกฝังแนวคิดความรักชาติให้กับเหล่าลูกชายสามคนของเขา แต่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองใด ๆ จนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[9] ครอบครัวไฮดริชนั้นเข้มงวดมาก ในวัยเด็ก เขากำลังต่อสู้กับน้องชายคนเล็กของเขาอย่างไฮนซ์ในการดวลฟันดาบจำลอง เขาเป็นที่หนึ่งของโรงเรียนของเขา-โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวิชาวิทยาศาสตร์-ที่ "Reformgymnasium"[10] ด้วยการเป็นนักกีฬาที่มีความสามารถ เขากลายเป็นนักว่ายน้ำและนักฟันดาบที่เชี่ยวชาญ เขาเป็นคนขี้อาย ขาดความมั่นใจ และมักจะถูกกลั่นแกล้งอยู่บ่อย ๆ เพราะเสียงพูดที่แหลมและเป็นที่โจษจันกันว่า ต้นตระกูลของเขามาจากชาวยิว คำกล่าวอ้างภายหลังทำให้เขาได้รับฉายาว่า "โมเสส ฮันเดล"[11]

ใน ค.ศ. 1918 สงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้ยุติลงด้วยความปราชัยของเยอรมนี ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1919 เกิดเหตุการณ์ไม่สงบภายในเมือง—รวมทั้งการนัดหยุดงานและการปะทะกันระหว่างกลุ่มลัทธิคอมมิวนิสต์และกลุ่มต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์—ซึ่งเกิดขึ้นในเมืองฮัลเลอร์ที่เป็นบ้านเกิดของไฮดริช ภายใต้คำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมนามว่า Gustav Noske หน่วยรบกองกำลังกึ่งทหารปีกขวาได้ถูกก่อตั้งขึ้นและได้รับคำสั่งใน"การยึดคืน" ฮัลเลอร์ กลับคืนมา[12] ไฮดิรช ซึ่งอยู่ในวัย 15 ปี เข้าได้เข้าร่วมกับหน่วยทหารอาสาสมัครปืนไรเฟิลของนายพลมาร์คเกอร์ (หน่วยไฟรคอร์ ซึ่งเป็นกองกำลังกึ่งทหาร ) เมื่อการสู้รบได้ยุติลง ไฮดริชได้เป็นส่วนหนึ่งของกองกำลังที่ได้รับมอบหมายในการปกป้องทรัพย์ส่วนบุคคล[13] ไม่ค่อยมีใครรู้จักเกี่ยวกับบทบาทของเขา แต่เหตุการณ์ต่าง ๆ ได้สร้างความประทับใจอย่างมากมาย มันเป็น"การตื่นตัวทางการเมือง" สำหรับเขา[13] เขาได้เข้าร่วม Deutschvölkischer Schutz- und Trutzbund (สันนิบาตอารักขาและที่หลบภัยแห่งชาติเยอรมัน) ซึ่งเป็นองค์กรต่อต้านชาวยิว

ด้วยผลลัพธ์ของเงื่อนไขของสนธิสัญญาแวร์ซาย ภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรงได้แผ่กระจายไปทั่วเยอรมนี และหลายคนต่างสูญเสียเงินออมเลี้ยงชีพไปจนหมดสิ้นเสียแล้ว เมืองฮัลเลอร์ก็ไม่เว้น ใน ค.ศ. 1921 มีชาวเมืองเพียงแค่ไม่กี่คนที่สามารถจ่ายค่าเล่าเรียนวิชาดนตรีให้กับโรงเรียนสอนดนตรีของบรูโน ไฮดริชได้ สิ่งนี้ได้นำไปสู่วิกฤตทางการเงินสำหรับครอบครัวไฮดริช[14]

อาชีพทหารเรือ

ใน ค.ศ. 1922 ไฮดริชได้เข้าร่วมในกองทัพเรือเยอรมัน (ไรชส์มารีเนอ) เพื่อใช้ผลประโยชน์จากความมั่นคง โครงสร้าง และเงินบำนาญที่ได้เสนอมาให้ เขากลายเป็นนักเรียนนายร้อยทหารเรือที่คีล ฐานทัพเรือหลักของเยอรมนี เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1924 เขาได้รับเลื่อนยศตำแหน่งเป็นว่าที่นายเรืออาวุโส (Oberfähnrich zur See) และถูกส่งไปฝึกอบรมเจ้าหน้าที่นายทหารที่โรงเรียนนายเรือแห่ง Mürwik เขาได้ก้าวขึ้นยศตำแหน่งนายธง (Leutnant zur See) และได้รับมอบฟหมายให้เป็นเจ้าหน้าที่ส่งสัญญาณบนเรือรบประจัญบานอย่างเรือหลวงชเลวิก-ฮ็อลชไตน์ เรือธงของกองเรือทะเลเหนือของเยอรมนี ด้วยการเลื่อนตำแหน่งที่ได้รับการยอมรับมากขึ้น เขาได้รับการประเมินที่ดีจากผู้บังคับบัญชาของเขาและมีปัญหาเพียงเล็กน้อยกับลูกเรือคนอื่น ๆ เขาได้รับเลื่อนยศตำแหน่งเป็น เรือตรี (Oberleutnant zur See) ยศตำแหน่งที่สูงขึ้นนั้นเต็มไปด้วยความทะเยอทะยานและความเย่อหยิงของเขา[15]

ไฮดริชกลายเป็นที่ฉาวโฉ่สำหรับเรื่องเชิงชู้สาวของเขามานับไม่ถ้วน ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1930 เขาได้เข้าร่วมสโมสรพายเรือ และพบกับลีนา ฟ็อน ออสเทิน พวกเขาเริ่มมีความสัมพันธ์ทางโรแมนติกและในไม่ช้าก็ได้ประกาศหมั้นหมายกัน ลีนาเป็นสาวกผู้ติดตามพรรคนาซีอยู่แล้ว เธอได้เข้าร่วมการชุมนุมเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1929[16] ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1931 ไฮดริชถูกตั้งข้อกล่าวหาว่า "ประพฤติตนไม่เหมาะสมในฐานะเจ้าหน้าที่นายทหารและสุภาพบุรุษ" ในความผิดฐานการผิดสัญญาการหมั้น ซึ่งได้หมั้นหมายว่าจะแต่งงานกับผู้หญิงอีกคนที่เขารู้จักกันเป็นเวลาหกเดือนก่อนที่จะหมั้นหมายกับลีนา ฟ็อน ออสเทิน[17] พลเรือเอก เอริช เรเดอร์ ได้สั่งปลดไฮดริชออกจากกองทัพเรือในเดือนเมษายน เขาได้รับเงินค่าชดเชยจำนวน 200 ไรชส์มาร์ค (เทียบเท่ากับจำนวนเงิน 697 ยูโรในปี ค.ศ. 2017) ต่อเดือนในอีกสองปีข้างหน้า[18] ไฮดริชได้เข้าพิธีแต่งงานกับลีนาในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1931[19]

อาชีพในหน่วยเอ็สเอ็ส

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1931 คำสั่งปลดออกจากกองทัพเรือของไฮดริชมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย[20] และในวันรุ่งขึ้นต่อมา[20] หรือวันที่ 1 มิถุนายน เขาได้เข้าร่วมพรรคนาซีในฮัมบวร์ค[21][22] หกสัปดาห์ต่อมา เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม เขาได้เข้าร่วมหน่วยเอ็สเอ็ส[23] หมายเลขประจำตัวของพรรคคือ 544,916 และหมายเลขประจำตัวของหน่วยเอ็สเอ็สคือ 10,120[24] เหล่าบรรดาผู้ที่เข้าร่วมพรรคภายหลังการขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1933 ต้องเผชิญกับการถูกตั้งข้อสงสัยจาก Alter Kämpfer (นักสู้เก่า, สมาชิกพรรคคนแรกสุด) ว่าพวกเขามาเข้าร่วมด้วยเหตุผลของความก้าวหน้าในอาชีพมากกว่าที่จะมีความมุ่งมั่นอย่างแท้จริงต่อโครงการนาซี วันที่เกณฑ์ทหารของไฮดริชใน ค.ศ. 1931 ซึ่งรวดเร็วพอที่จะระงับข้อสงสัยว่าเขามาเข้าร่วมเพียงเพื่อการงานอาชีพของเขาเท่านั้น แต่ว่ายังเร็วไม่พอสำหรับเขาที่จะถูกยอมรับว่าเป็นนักสู้เก่า[21]

ใน ค.ศ. 1931 ไฮน์ริช ฮิมเลอร์ริเริ่มก่อตั้งกองพลต่อต้านข่าวกรองแห่งเอ็สเอ็ส ซึ่งได้เข้ามารับหน้าที่ตามคำแนะนำของเพื่อนร่วมงานของเขาอย่างคาร์ล ฟ็อน อีเบอร์สไตน์ ซึ่งเป็นเพื่อนของลีนา ฮิมเลอร์ได้ตกลงที่จะสัมภาษณ์กับไฮดริช แต่กลับถูกยกเลิกการนัดหมายในนาทีสุดท้าย ลีนาไม่สนใจข้อความนี้ จึงได้เก็บกระเป๋าเดินทางของไฮดริช และส่งเขาไปที่มิวนิก อีเบอร์สไตน์ได้พบกับไฮดริชที่สถานีรถไฟและพาเขาไปพบกับฮิมเลอร์[25] ฮิมเลอร์ได้ขอให้ไฮดริชถ่ายทอดแนวคิดในการพัฒนาหน่วยข่าวกรองของหน่วยเอ็สเอ็ส ฮิมเลอร์เกิดความประทับใจอย่างมากจึงว่าจ้างไฮดริชทันที[26][27]

แม้ว่าเงินเเดือนจะเริ่มต้นอยู่ที่ 180 ไรชส์มาร์ค (เทียบเท่ากับ 40 ดอลลาร์สหรัฐ)(เทียบเท่ากับ 628 ยูโร ใน ค.ศ. 2017) ซึ่งถือว่าน้อย ไฮดริชตัดสินใจรับงานนี้เพราะครอบครัวของลีนาให้การสนับสนุนขบวนการนาซีและด้วยลักษณะกึ่งทหารและการปฏิวัติของตำแหน่งงานซึ่งได้ดึงดูดความสนใจของเขา[28] ในช่วงแรกเขาต้องใช้สำนักงานและเครื่องพิมพ์ดีดร่วมกันกับเพื่อนร่วมงาน แต่ในปี ค.ศ. 1932 ไฮดริช มีรายได้ถึง 290 ไรชส์มาร์คต่อเดือน (เทียบเท่ากับ 1,100 ยูโร ใน ค.ศ. 2017) ซึ่งเป็นเงินเดือนที่เขาพูดได้เลยว่า "สบาย ๆ"[29] เมื่ออำนาจและอิทธิพลของเขาได้เติบโตขึ้นตลอดช่วงปี ค.ศ. 1930 ความมั่นคั่งของเขาก็ได้เพิ่มมากขึ้นอย่างพอสมน้ำสมเนื้อ ใน ค.ศ. 1935 เขาได้รับเงินเดือนพื้นฐานจำนวน 8,400 ไรชส์มาร์ค (เทียบเท่ากับ 35,817 ยูโร ใน ค.ศ. 2017) และเงินเบี้ยเลี้ยง 12,000 ไรชส์มาร์ค (เทียบเท่ากับ 51,167 ยูโร ใน ค.ศ. 2017) และในปี ค.ศ. 1938 รายได้ของเขาก็เพิ่มมากขึ้นเป็นจำนวน 17,371 ไรชส์มาร์ค (เทียบเท่ากับ 71,679 ยูโร ใน ค.ศ. 2017) ทุกปี[30] ต่อมาไฮดริชได้รับโทเทินค็อพฟ์ริง(แหวนหัวกะโหลกประจำหน่วยเอ็สเอ็ส) จากฮิมเลอร์สำหรับบทบาทหน้าที่ในหน่วยเอ็สเอ็สของเขา[31]

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1931 ไฮดริชได้เริ่มต้นงานของเขาในฐานะหัวหน้าแห่งหน่วยข่าวกรองแห่งใหม่ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น[27] เขาได้ก่อตั้งสำนักงานที่ทำเนียบน้ำตาล เป็นสำนักงานใหญ่แห่งชาติของพรรคนาซีในมิวนิก ในเดือนตุลาคม เขาได้สร้างเครือข่ายสายลับและผู้แจ้งข่าวสารเพื่อวัตถุประสงค์ในการรวบรวมข่าวกรอง และได้รับข้อมูลเพื่อใช้เป็นการแบล็กเมลล์ต่อเป้าหมายทางการเมืองต่อไป[32] ข้อมูลเกี่ยวกับผู้คนนับพันคนถูกบันทึกไว้ในบัตรดัชนีและเก็บไว้ที่ทำเนียบน้ำตาล[33] เพื่อเป็นการฉลองครบรอบการแต่งงานในเดือนธันวาคมของไฮดริช ฮิมเลอร์ได้เลื่อนยศตำแหน่งเป็นเอ็สเอ็ส-ชตวร์มบันน์ฟือเรอร์ (พันตรี)[34]

ใน ค.ศ. 1932 ข่าวลือได้ถูกแพร่กระจายออกไปโดยศัตรูของไฮดริช ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อกล่าวหาว่า ต้นตระกูลของเขามาจากชาวยิว[35] วิลเฮ็ล์ม คานาริส ได้กล่าวว่า เขาได้รับสำเนาเอกสารที่พิสูจน์ถึงต้นตระกูลเชื้อสายชาวยิวของไฮดริช แต่สำเนาฉบับนี้ไม่เคยปรากฏเลย[36] นาซี เกาไลเทอร์ รูด็อล์ฟ จอร์แดน ได้กล่าวอ้างว่า ไฮดริชไม่ใช่ชาวอารยันอันบริสุทธิ์[35] ภายในองค์กรนาซี การเสียดสีดังกล่าวอาจจะเป็นการประณามสาปแช่ง แม้แต่กระทั่งหัวหน้าหน่วยข่าวกรองของไรชก็ตาม เกรกอร์ ชตรัสเซอร์ได้ส่งข้อกล่าวหาไปยังผู้เชี่ยวชาญด้านเชื้อชาติของพรรคนาซี อาคิม แกเคอ(Achim Gercke) เป็นผู้ตรวจสอบการลำดับวงศ์ตระกูลของไฮดริช[35] แกเคอได้รายงานว่า ไฮดริช เป็น "ชาวเยอรมันมาแต่โดยกำเนิด และปราศจากสายเลือดที่ไม่ใช่คนผิวขาวแต่อย่างใดและสายเลือดชาวยิวอีกด้วย"[37] เขายืนยันว่าข่าวลือนั้นไม่มีมูลความจริง อย่างไรก็ตาม ไฮดริชได้ว่าจ้างเป็นการส่วนตัวกับแอ็นสท์ ฮอฟแมน สมาชิกหน่วยเอ็สเด เพื่อตรวจสอบและปัดข่าวลือเพิ่มเติม[35]

กองบัญชาการใหญ่ของหน่วยเกสตาโพบนถนน Prinz-Albrecht-Strasse ในกรุงเบอร์ลิน ค.ศ. 1933

เกสตาโพและหน่วยเอ็สเด

ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1932 ฮิมเลอร์ได้แต่งตั้งไฮดริชเป็นหัวหน้าแห่งหน่วยรักษาความปลอดภัยที่ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่—ซิชเชอร์ไฮทซ์ดีนสท์(เอ็สเด)[27] หน่วยต่อต้านข่าวกรองของไฮดริชกลายเป็นเครื่องจักรแห่งความน่าสะพรึงกลัวและการข่มขู่อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อฮิตเลอร์ได้มุ่งมั่นที่จะก้าวขึ้นสู่อำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จในเยอรมนี ฮิมเลอร์และไฮดริชต้องการที่จะเข้าควบคุมกองกำลังตำรวจทางการเมืองของรัฐเยอรมันทั้งหมดสิบเจ็ดรัฐ พวกเขาเริ่มต้นด้วยบาวาเรีย ใน ค.ศ. 1933 ไฮดริชได้รวบรวมคนของเขาบางส่วนจากหน่วยเอ็สเด และพวกเขาบุกเข้าไปในกองบัญชาการตำรวจในมิวนิกพร้อมกันและเข้ายึดองค์กรโดยใช้กลยุทธ์ในการข่มขู่ ฮิมเลอร์กลายเป็นหัวหน้าตำรวจแห่งมิวนิกและไฮดริชกลายเป็นผู้บัญชาการแห่งแผนก 4 ตำรวจการเมืองบาวาเรีย[38]

ใน ค.ศ. 1933 ฮิตเลอร์ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งเยอรมนีและผ่านการประกาศใช้กฤษฎีกาต่าง ๆ จนกลายเป็นฟือเรอร์และนายกรัฐมนตรีไรช์ (Führer und Reichskanzler) แห่งเยอรมนี[39] ค่ายกักกันแห่งแรกซึ่งแต่เดิมตั้งใจจะให้เป็นที่พักของฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง ถูกก่อตั้งขึ้นในช่วงต้นปี ค.ศ. 1933 ภายในสิ้นปีนี้มีมากกว่าห้าสิบค่าย[40]

แฮร์มัน เกอริงได้ก่อตั้งหน่วยเกสตาโพใน ค.ศ. 1933 ซึ่งเป็นกองกำลังตำรวจปรัสเซีย เมื่อเกอริงโอนย้ายอำนาจทั้งหมดไปยังฮิมเลอร์ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1934 มันจึงกลายเป็นเครื่องมือแห่งความน่าสะพรึงกลัวโดยทันทีภายใต้ขอบเขตอำนาจของหน่วยเอ็สเอ็ส[41] ฮิมเลอร์ได้เสนอชื่อไฮดริชในการดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าของหน่วยเกสตาโพ เมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ. 1934[42] เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน ค.ศ. 1934 รูด็อล์ฟ เฮ็สได้ประกาศให้หน่วยเอ็สเดเป็นหน่วยข่าวกรองของนาซีอย่างเป็นทางการ[43]

เอ็สเอ็ส-บริกาเดอฟือเรอร์(พลตรี) ไฮดริช, หัวหน้าแห่งตำรวจการเมืองบาวาเรียและหน่วยเอ็สเด, ในมิวนิก ค.ศ. 1934

การบดขยี้หน่วยเอ็สอา

จุดเริ่มต้นในเดือนเมษายน ค.ศ. และตามคำเรียกร้องของฮิตเลอร์ ไฮดริชและฮิมเลอร์ได้ริเริ่มสร้างเอกสารเกี่ยวกับแอ็นสท์ เริห์ม ผู้นำของหน่วยชตวร์มอัพไทลุง(เอ็สอา) ในความพยายามถอดถอนเขาซึ่งเป็นคู่แข่งให้ออกจากตำแหน่งผู้นำพรรค ณ จุดนี้ หน่วยเอ็สเอ็สยังคงเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยเอ็สอา ซึ่งเป็นองค์กรกองกำลังกึ่งทหารของนาซีในช่วงแรก ซึ่งตอนนี้มีจำนวนมากกว่า 3 ล้านนาย[44] ตามคำสั่งของฮิตเลอร์ ไฮดริช ฮิมเลอร์ เกอริง และวิกเตอร์ ลุตซ์ได้รวบรวมรายชื่อผู้ที่สมควรจะกำจัด โดยเริ่มต้นจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหน่วยเอ็สอาจำนวนเจ็ดนายและรวมทั้งอีกหลายคน เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1934 หน่วยเอ็สเอ็สและเกสตาโพได้ประสานปฏิบัติการร่วมกันในการจับกุมหมู่คนมากซึ่งได้ดำเนินเป็นเวลาสองวัน เริห์มถูกยิงจนเสียชีวิตโดยไม่มีการไต่สวนแต่อย่างใด พร้อมกับเหล่าผู้นำของหน่วยเอ็สอา[45] การกวาดล้างครั้งนี้กลายเป็นที่รู้จักกันคือ คืนมีดยาว มีผู้เสียชีวิตสูงถึง 200 คนในปฏิบัติการครั้งนี้ ลุตซ์ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าคนใหม่และแปรเปลี่ยนให้กลายเป็นองค์กรกีฬาและการฝึกฝน[46]

เมื่อหน่วยเอ็สอาได้ถูกกำจัดออกไปให้พ้นทางแล้ว ไฮดริชจึงริเริ่มสร้างหน่วยเกสตาโพให้กลายเป็นเครื่องมือแห่งสะพรึงกลัว เขาได้ปรับปรุงระบบบัตรดัชนี โดยการสร้างหมวดหมู่ของผู้กระทำผิดด้วยบัตรรหัสสีต่าง ๆ[47] เกสตาโพมีอำนาจในการจับกุมพลเมืองโดยต้องสงสัยว่าพวกเขาอาจจะก่ออาชญากรรม และคำจำกัดความของอาชญากรรมขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของพวกเขา กฎหมายเกสตาโพได้รับการอนุมัติใน ค.ศ. 1936 ได้ให้สิทธิแก่ตำรวจในการปฏิบัติหน้าที่พิเศษทางกฎหมาย สิ่งนี้นำไปสู่การใช้อย่างกว้างขวางของคำว่า Schutzhaft—"การอารักขาการปกครอง" ซึ่งเป็นคำสละสวยเพื่อมอบหมายอำนาจในการกักขังประชาชนโดยไม่มีการไต่สวนดำเนินคดี[48] ศาลจะไม่ได้รับอนุญาตในการไต่สวนหรือเข้าแทรกแซง เกสตาโพได้ถูกพิจารณาถือว่าปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องตามกฎหมายตราบเท่าที่เป็นไปตามเจตจำนงของผู้นำ ประชาชนถูกจับกุมตามอำเภอใจ ถูกส่งตัวไปยังค่ายกักกันหรือถูกฆ่าตาย[40]

ไฮดริชและเจ้าหน้าที่หน่วยเอ็สเอ็สคนอื่น ๆ พร้อมกับเหล่าภรรยาของพวกเขาใน ค.ศ. 1937

ฮิมเลอร์ได้เริ่มพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับศาสนาดั้งเดิมของเจอร์มานิกและต้องการให้สมาชิกหน่วยเอ็สเอ็สละทิ้งการนับถือศาสนาคริสต์เสีย ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1936 ไฮดริชได้ละทิ้งการนับถือนิกายโรมันคาทอลิกเพื่อสนับสนุนขบวนการ Gottgläubig (ผู้เชื่อมั่นในพระผู้เป็นเจ้า)[49] ลีนา ผู้เป็นภรรยาของเขาก็เคยทำมาแล้วเมื่อปีก่อน ไฮดริชไม่เพียงแต่จะรู้สึกว่าเขาไม่สามารถที่จะเป็นสมาชิกได้อีกต่อไป แต่กลับมาพิจารณาถึงอำนาจทางการเมืองของคริสตจักรและอิทธิพลที่เป็นภัยต่อรัฐ[50]

การรวบรวมกองกำลังตำรวจ

การกวาดล้างกองทัพแดง

กฤษฏีกาค่ำคืนและสายหมอก

นโยบายต่อต้านชาวโปแลนด์

ไฮดริชได้ก่อตั้งหน่วย "Zentralstelle IIP Polen" ของเกสตาโพในคำสั่งเพื่อประสานงานร่วมกันในการกวาดล้างชาติพันธ์ุชาวโปแลนด์ใน "ปฏิบัติการทันเนนแบร์ก" และอินเทลลิเกนซักติออน (Intelligenzaktion) สองรหัสนามสำหรับปฏิบัติการในการกำจัดที่มุ่งเป้าหมายไปที่ชาวโปแลนด์ในช่วงการยึดครองโปแลนด์ของเยอรมัน ท่ามกลางผู้คน 100,000 คนล้วนถูกสังหารในปฏิบัติการอินเทลลิเกนซักติออนใน ค.ศ. 1939-1940 มีจำนวนประมาณ 61,000 คนซึ่งเป็นสมาชิกของกลุ่มปัญญาชนชาวโปแลนด์: นักวิชาการ นักบวช อดีตเจ้าหน้าที่ และอื่น ๆ ที่ถูกระบุโดยเยอรมันว่าเป็นเป้าหมายทางการเมืองในหนังสือดำเนินคดีพิเศษ-โปแลนด์ ซึ่งได้ถูกรวบรวมไว้ในช่วงก่อนสงครามจะเริ่มต้นขึ้นในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939

การเข้ามารักษาการณ์ในตำแหน่งผู้ว่าการรัฐไรช์แห่งรัฐในอารักขาโบฮีเมียและมอเรเวีย

บทบาทในฮอโลคอสต์

เสียชีวิต

พิธีศพ

ผลสืบเนื่อง

บันทึกหน่วยงาน

อ้างอิง

  1. Sereny 1996, p. 325.
  2. Evans 2005, p. 53.
  3. Gerwarth 2011, p. xiii.
  4. Dederichs 2009, p. 92.
  5. Dederichs 2009, p. 11.
  6. Gerwarth 2011, pp. 14–18.
  7. Gerwarth 2011, pp. 14, 20.
  8. Dederichs 2009, p. 28.
  9. Gerwarth 2011, p. 28.
  10. Gerwarth 2011, p. 24.
  11. Lemons 2005, p. 225.
  12. Gerwarth 2011, pp. 28, 29.
  13. 13.0 13.1 Gerwarth 2011, p. 30.
  14. Gerwarth 2011, pp. 32, 33.
  15. Gerwarth 2011, pp. 37, 38.
  16. Gerwarth 2011, pp. 39–41.
  17. Gerwarth 2011, pp. 43, 44.
  18. Gerwarth 2011, pp. 44, 45.
  19. Calic 1985, p. 51.
  20. 20.0 20.1 Padfield 1990, p. 110.
  21. 21.0 21.1 Gerwarth 2011, p. 48.
  22. Dederichs 2009, p. 45.
  23. Gerwarth 2011, p. 53.
  24. Dederichs 2009, p. 12.
  25. Williams 2001, pp. 29–30.
  26. Gerwarth 2011, pp. 51, 52.
  27. 27.0 27.1 27.2 Longerich 2012, p. 125.
  28. Gerwarth 2011, p. 52.
  29. Gerwarth 2011, pp. 55, 58.
  30. Gerwarth 2011, pp. 110, 111.
  31. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ National Archives
  32. Gerwarth 2011, pp. 56, 57.
  33. Calic 1985, p. 72.
  34. Gerwarth 2011, p. 58.
  35. 35.0 35.1 35.2 35.3 Gerwarth 2011, p. 61.
  36. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ auschwitz.dk
  37. Williams 2001, p. 38.
  38. Longerich 2012, p. 149.
  39. Shirer 1960, pp. 226–27.
  40. 40.0 40.1 Shirer 1960, p. 271.
  41. Shirer 1960, pp. 270–271.
  42. Williams 2001, p. 61.
  43. Longerich 2012, p. 165.
  44. Kershaw 2008, pp. 306–07.
  45. Kershaw 2008, pp. 309–12.
  46. Kershaw 2008, p. 313.
  47. Flaherty 2004, pp. 56, 68.
  48. McNab 2009, p. 156.
  49. Steigmann-Gall 2003, p. 219.
  50. Williams 2001, p. 66.
  • Arad, Yitzhak (1987). Belzec, Sobibor, Treblinka: The Operation Reinhard Death Camps. Bloomington, IN: Indiana University Press. ISBN 978-0-253-34293-5. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Blandford, Edmund L. (2001). SS Intelligence: The Nazi Secret Service. Edison, NJ: Castle Books. ISBN 0-7858-1398-5. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Bloxham, Donald (2009). The Final Solution: A Genocide. New York: Oxford University Press. ISBN 978-0-19955-034-0. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Bracher, Karl Dietrich (1970). The German Dictatorship: The Origins, Structure, and Effects of National Socialism. New York: Praeger. ISBN 978-1-12563-479-0. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Browder, George C. (2004). Foundations of the Nazi Police State: The Formation of Sipo and SD. Lexington: University Press of Kentucky. ISBN 978-0-8131-1697-6. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Browning, Christopher R. (2004). The Origins of the Final Solution: The Evolution of Nazi Jewish Policy, September 1939 – March 1942. Comprehensive History of the Holocaust. Lincoln: University of Nebraska Press. ISBN 0-8032-1327-1. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  • Bryant, Chad Carl (2007). Prague in Black: Nazi Rule and Czech Nationalism. Cambridge, MA: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-02451-9. {{cite book}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)