ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โครงการสารานุกรมอินเทอร์เน็ต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Rachan12 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ ถูกย้อนกลับแล้ว
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
'''โครงการสารานุกรมอินเทอร์เน็ต''' เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สามารถเข้าถึงได้ผ่านเวิลด์ไวด์เว็บ แนวคิดที่จะสร้างสารานุกรมเสรีโดยการใช้อินเทอร์เน็ตมีตั้งแต่ข้อเสนออินเตอร์พีเดียในปี พ.ศ. 2536 อันเป็นโครงการสารานุกรมบนอินเทอร์เน็ตที่ทุกคนสามารถให้การสนับสนุนเนื้อหาได้ แต่โครงการนั้นไม่เคยพ้นขั้นตอนวางแผนและถูกไล่ตามทันโดยการปะทุของเวิลด์ไวด์เว็บ การถือกำเนิดของ[[เสิร์ชเอนจิน]]คุณภาพสูง และการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่มีอยู่เดิม
'''โครงการสารานุกรมอินเทอร์เน็ต''' เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สามารถเข้าถึงได้ผ่าน[[เวิลด์ไวด์เว็บ]] แนวคิดที่จะสร้างสารานุกรมเสรีโดยการใช้อินเทอร์เน็ตมีตั้งแต่ข้อเสนออินเตอร์พีเดียในปี พ.ศ. 2536 อันเป็นโครงการสารานุกรมบนอินเทอร์เน็ตที่ทุกคนสามารถให้การสนับสนุนเนื้อหาได้ แต่โครงการนั้นไม่เคยพ้นขั้นตอนวางแผนและถูกไล่ตามทันโดยการปะทุของเวิลด์ไวด์เว็บ การถือกำเนิดของ[[เสิร์ชเอนจิน]]คุณภาพสูง และการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่มีอยู่เดิม


การแปลงเนื้อหาเก่าเป็นดิจิทัล
การแปลงเนื้อหาเก่าเป็นดิจิทัล

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:49, 5 ธันวาคม 2564

โครงการสารานุกรมอินเทอร์เน็ต เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สามารถเข้าถึงได้ผ่านเวิลด์ไวด์เว็บ แนวคิดที่จะสร้างสารานุกรมเสรีโดยการใช้อินเทอร์เน็ตมีตั้งแต่ข้อเสนออินเตอร์พีเดียในปี พ.ศ. 2536 อันเป็นโครงการสารานุกรมบนอินเทอร์เน็ตที่ทุกคนสามารถให้การสนับสนุนเนื้อหาได้ แต่โครงการนั้นไม่เคยพ้นขั้นตอนวางแผนและถูกไล่ตามทันโดยการปะทุของเวิลด์ไวด์เว็บ การถือกำเนิดของเสิร์ชเอนจินคุณภาพสูง และการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาที่มีอยู่เดิม

การแปลงเนื้อหาเก่าเป็นดิจิทัล โครงการสารานุกรมอินเทอร์เน็ตเป็นการแบ่งสาขาที่สำคัญของสารานุกรมตีพิมพ์แบบเก่า ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2538 โครงการกูเทนแบร์กเริ่มตีพิมพ์ข้อความแอสกีของสารานุกรมบริตานิกาฉบับพิมพ์ครั้งที่สิบเอ็ด (พ.ศ. 2454) แต่ความไม่ลงรอยเกี่ยวกับวิธีการทำให้งานดังกล่าวหยุดชะงักไปหลังจากฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก ด้วยเหตุผลด้านเครื่องหมายการค้า ทำให้โครงการใช้ชื่อว่า สารานุกรมกูเทนแบร์ก ในปี พ.ศ. 2545 ข้อความแอสกีและดนตรี 48 เสียงได้รับการเผยแพร่บน http://1911encyclopedia.org โครงการกูเทนแบร์กเริ่มงานการแปลงเนื้อหาเป็นดิจิทัลใหม่และพิสูจน์อักษรสารานุกรมนี้ จนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 ก็ยังไม่ได้มีการเผยแพร่ ในขณะเดียวกัน สารานุกรมบริตานิกาซึ่งเผชิญกับการแข่งขันจากคู่แข่งอย่างเช่น เอ็นคาร์ตา ทำให้บริตานิกาเองต้องแปลงเนื้อหาเป็นดิจิทัลโดยผู้ผลิตเช่นกัน และมีการวางขายเป็นนเจ้าแรก และบริการออนไลน์ในเวลาต่อมา เป็นไปได้ว่าโครงการแปลงเนื้อหาสารานุกรมเป็นดิจิทัลที่สำคัญที่สุดและประสบความสำเร็จที่สุดคือ โครงการบาร์เทิลบี ซึ่งเป็นรุ่นออนไลน์ของตีพิมพ์ครั้งที่สิบ http://www.bartleby.com/65/ ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2543 และมีการอัปเดตเป็นครั้งคราว

การสร้างเนื้อหาใหม่

กิจกรรมอีกสาขาหนึ่งที่เกี่ยวข้องคือการสร้างเนื้อหาเสรีใหม่บนพื้นฐานของอาสาสมัคร ในปี พ.ศ. 2534 ผู้เข้าร่วมกลุ่มข่าวยูสเน็ต alt.fan.douglas-adams เริ่มต้นโครงการเพื่อผลิตเวอร์ชันจริงของ Hitchhiker's Guide to the Galaxy สารานุกรมนวนิยายที่ใช้ในผลงานของดักลาส อดัมส์ ต่อมาโครงการดังกล่าวรู้จักกันในชื่อ Project Galactic Guide ถึงแม้ว่าเดิมมันจะมีเป้าหมายจะรวบรวมเฉพาะบทความที่มีอยู่จริงและเป็นไปตามข้อเท็จจริงเท่านั้น แต่ต่อมาได้มีการเปลี่ยนนโยบายให้อนุญาตและสนับสนุนบทความที่เป็นจริงกึ่งหนึ่งและไม่จริงเช่นเดียวกัน Project Galactic Guide มีบทความมากกว่า 1,700 บทความ แต่ไม่มีบทความใหม่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ พ.ศ. 2543 ซึ่งบางส่วนอาจเป็นเพราะการก่อตั้ง h2g2 ซึ่งเป็นโครงการที่เป็นทางการกว่า