13,482
การแก้ไข
(update) |
ไม่มีความย่อการแก้ไข |
||
{{ใช้ปีคศ}}
'''ดาวเคราะห์นอกระบบ''' ({{lang-en|extrasolar planet หรือ exoplanet}}) คือ [[ดาวเคราะห์]]ที่[[วงโคจร|โคจร]]รอบ[[ดาวฤกษ์]]ดวงอื่นที่ไม่ใช่[[ดวงอาทิตย์]] และอยู่ในระบบดาวเคราะห์อื่นที่ไม่ใช่[[ระบบสุริยะ]]เดียวกันกับ[[โลก]] หลักฐานที่เป็นไปได้ครั้งแรกของดาวเคราะห์นอกระบบถูกบันทึกในปี ค.ศ. 1917 แต่ไม่ได้รับการยอมรับ<ref name="NASA-20171101">{{cite web |last=Landau |first=Elizabeth |title=Overlooked Treasure: The First Evidence of Exoplanets |url=https://www.jpl.nasa.gov/news/news.php?feature=6991 |date=12 November 2017 |work=[[NASA]] |accessdate=1 November 2017 }}</ref> การยืนยันครั้งแรกของการค้นพบเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1992 ตามมาด้วยการยืนยันของดาวเคราะห์ดวงอื่นที่ตรวจพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1988 ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021 มีการตรวจค้นพบและยืนยันการค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบรวมทั้งสิ้น 4,864 ดวง ในระบบดาวเคราะห์ 3,595 แห่ง ในจำนวนนี้ 803 แห่งประกอบด้วยดาวเคราะห์มากกว่าหนึ่งดวง และถูกบรรจุไว้ในสารานุกรมดาวเคราะห์นอกระบบ<ref name="Exoplanet Catalog (epc)">{{cite web |last1=Schneider |first1=J. |title=Interactive Extra-solar Planets Catalog |url=http://exoplanet.eu/catalog.php |work=[[The Extrasolar Planets Encyclopedia]] |access-date=1 November 2021}}</ref> โดยส่วนมากพบจากการตรวจวัดด้วยวิธี[[ความเร็วแนวเล็ง]]และกระบวนการทางอ้อมต่าง ๆ มากกว่าวิธีการถ่ายภาพโดยตรง<ref name="Exoplanet Catalog (epc)" /> ดาวเคราะห์นอกระบบส่วนใหญ่เป็น[[ดาวเคราะห์แก๊สยักษ์]]คล้ายกับ[[ดาวพฤหัสบดี]] ซึ่งน่าจะเป็นผลจากกระบวนวิธีในการตรวจจับนั่นเอง แต่ผลการตรวจจับในระยะหลังมีแนวโน้มจะพบดาวเคราะห์นอกระบบขนาดเล็กลง ปัจจุบันมีการค้นพบดาวเคราะห์หินขนาดเบาเป็นจำนวนมากกว่าจำนวนดาวเคราะห์แก๊สยักษ์แล้ว<ref name="tech.uk.msn.com">{{cite news|url=http://tech.uk.msn.com/news/article.aspx?cp-documentid=8402161|title=Rock planets outnumber gas giants|coauthors=Dr. Sara Seager|date=2008-05-28|work=msn|accessdate=2008-05-28|archive-date=2008-12-19|archive-url=https://web.archive.org/web/20081219051828/http://tech.uk.msn.com/news/article.aspx?cp-documentid=8402161|url-status=dead}}</ref>
ดาวเคราะห์นอกระบบเริ่มเป็นหัวข้อตรวจสอบทาง[[วิทยาศาสตร์]]ที่สำคัญตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 [[นักดาราศาสตร์]]โดยทั่วไปเชื่อว่าดาวเคราะห์นอกระบบมีอยู่จริง แต่ไม่อาจทราบได้ว่ามันมีลักษณะเช่นไร หรือคล้ายคลึงกับ[[ดาวเคราะห์]]ใน[[ระบบสุริยะ]]เพียงใด การตรวจพบดาวเคราะห์นอกระบบครั้งแรกเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1995 ด้วยวิธีตรวจวัดด้วยความเร็วแนวเล็ง ค้นพบดาวเคราะห์แก๊สยักษ์ที่มีคาบการโคจร 4 วันอยู่รอบดาว [[51 เพกาซี]] นับแต่นั้นก็ตรวจพบดาวเคราะห์นอกระบบเพิ่มมากขึ้น<ref name="Exoplanet Catalog (epc)"/> เมื่อถึงปี ค.ศ. 2000 ก็มีการตรวจพบเพิ่มขึ้นทุกปีมากกว่าปีละ 15 ดวง และมีการตรวจพบเพิ่มขึ้นถึง 61 ดวงในปี ค.ศ. 2007 ประมาณการว่า อย่างน้อย 10% ของดวงดาวที่มีลักษณะคล้ายดวงอาทิตย์จะต้องมีดาวเคราะห์บริวาร โดยสัดส่วนที่แท้จริงอาจสูงกว่านั้น<ref name="marcyprogth05">{{cite journal | author=Marcy, G.; Butler, R.; Fischer, D.; et al. | title=Observed Properties of Exoplanets: Masses, Orbits and Metallicities | journal=Progress of Theoretical Physics Supplement | year=2005 | volume=158 | issue= | pages=24 – 42 | url=http://ptp.ipap.jp/link?PTPS/158/24 | doi=10.1143/PTPS.158.24}}</ref> การค้นพบดาวเคราะห์นอกระบบทำให้เกิดคำถามขึ้นอีกว่า จะมีบางดวงที่เอื้อต่อ[[สิ่งมีชีวิตนอกโลก|สิ่งมีชีวิต]]หรือไม่<ref>{{cite web | title=Terrestrial Planet Finder science goals: Detecting signs of life | work=JPL Terrestrial Planet Finder website | url=http://planetquest.jpl.nasa.gov/TPF/tpf_signsOfLife.cfm | accessdate=2006-07-21 | archive-date=2011-11-17 | archive-url=https://web.archive.org/web/20111117152740/http://planetquest.jpl.nasa.gov/TPF/tpf_signsOfLife.cfm | url-status=dead }}</ref>
=== ปรากฏการณ์การเลือก ===
ดาวเคราะห์นอกระบบที่ค้นพบส่วนมากจะมีมวลมาก ดังเช่นเดือนสิงหาคม 2008 ดาวเคราะห์นอกระบบที่ค้นพบเกือบทั้งหมดมีมวลมากกว่าโลกหลายสิบเท่า (ยกเว้นเพียง 12 ดวง) <ref name="
ดาวเคราะห์นอกระบบจำนวนมากจะโคจรใกล้กับดาวฤกษ์มากกว่าในระบบสุริยะ ซึ่งเป็นผลจากการปรากฏการณ์การเลือก ด้วยวิธีการความเร็วแนวเล็งซึ่งสามารถตรวจจับดาวเคราะห์ที่มีวงโคจรเล็ก ในตอนแรกนักดาราศาสตร์เคยประหลาดใจกับ "[[ดาวพฤหัสบดีร้อน]]" (Hot Jupiter) เหล่านี้ แต่ในปัจจุบันค่อนข้างแน่ชัดแล้วว่าดาวเคราะห์นอกระบบส่วนมาก (อย่างน้อยก็สำหรับดาวเคราะห์นอกระบบที่มีมวลมาก) จะมีวงโคจรที่ค่อนข้างใหญ่ บางดวงยังตั้งอยู่ในบริเวณซึ่งสามารถเกิดน้ำในรูปแบบของของเหลวหรือสิ่งมีชีวิต จึงมีความเป็นไปได้ที่จะพบดาวเคราะห์ยักษ์หนึ่งหรือสองดวงในระบบดาวเคราะห์นอกระบบซึ่งมีขนาดพอเหมาะคล้าย[[ดาวพฤหัสบดี]]และ[[ดาวเสาร์]]ใน[[ระบบสุริยะ]]ของเรา
|