ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สนธิสัญญาคานางาวะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 37: บรรทัด 37:
* [http://web.jjay.cuny.edu/jobrien/reference/ob25.html The Convention of Kanagawa, 1854 (full text)]
* [http://web.jjay.cuny.edu/jobrien/reference/ob25.html The Convention of Kanagawa, 1854 (full text)]


[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับญี่ปุ่น]]
[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับรัฐบาลเอโดะ]]
[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสหรัฐ]]
[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับสหรัฐ]]
[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาในคริสต์ศตวรรษที่ 19]]
[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาในคริสต์ศตวรรษที่ 19]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:56, 18 ตุลาคม 2564

ข้อตกลงคานางาวะ
สนธิสัญญาสันติภาพและไมตรีญี่ปุ่น-สหรัฐ
วันลงนาม31 มีนาคม ค.ศ. 1854
ที่ลงนามโยโกฮามะ
วันตรา21 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1855
โดยจักรพรรดิโคเม
วันมีผล31 กันยายน ค.ศ. 1855
เงื่อนไขโดยได้รับสัตยาบันจากรัฐสภาสหรัฐและมีลายพระนามจักรพรรดิญี่ปุ่น
ผู้ลงนามสหรัฐ แมทธิว ซี. เพอร์รี
ฮะยะชิ อะกิระ
ภาคีสหรัฐ สหรัฐอเมริกา
รัฐบาลเอโดะ
ภาษาจีน · ญี่ปุ่น · อังกฤษ · ดัตช์
:en:Treaty of Kanagawa ที่ วิกิซอร์ซ

สนธิสัญญาคานางาวะ (ญี่ปุ่น: 神奈川条約โรมาจิKanagawa Jōyakuทับศัพท์: คานางาวะ โจยากุ) หรือ ข้อตกลงคานางาวะ (ญี่ปุ่น: 日米和親条約โรมาจิNichibei Washin Jōyakuทับศัพท์: นิจิเบ วาชิน โจยากุ) เป็นสนธิสัญญาที่ได้ทำขึ้นระหว่างพลเรือจัตวา แมทธิว ซี. เพอร์รี แห่งกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา และรัฐบาลเอโดะ สนธิสัญญาดังกล่าวมีผลให้ญี่ปุ่นต้องเปิดเมืองท่าชิโมดะและฮาโกดาเตะให้ค้าขายกับสหรัฐอเมริกาและรับประกันความปลอดภัยของกะลาสีเรือแตกชาวอเมริกัน อย่างไรก็ตาม สนธิสัญญาดังกล่าวมิได้สร้างพื้นฐานสำหรับการตั้งถิ่นฐานถาวรในบริเวณดังกล่าว[1] สนธิสัญญาได้วางรากฐานสำหรับสหรัฐในการรักษากงสุลถาวรในชิโมดะ การมาถึงของกองเรือของเพอร์รีนำมาซึ่งการสิ้นสุดของนโยบายตัดขาดจากโลกภายนอกเป็นเวลา 200 ปีของญี่ปุ่น (ซาโกกุ)[2]

เพอร์รีปฏิเสธที่จะเจรจากับเจ้าหน้าที่ทางการของญี่ปุ่นและต้องการเจรจากับประมุขแห่งรัฐของญี่ปุ่นโดยตรง ในเวลานั้น โชกุน โทกูงาวะ อิเอโยชิ เป็นผู้ปกครองโดยพฤตินัยของญี่ปุ่น และไม่เคยมีธรรมเนียมที่จักรพรรดิจะทรงมีพระราชปฏิสัณฐารกับชาวต่างชาติโดยตรง เพอร์รีจึงเจรจาความกับ ฮิระชิ อะกิระ ผู้ถืออำนาจเต็มแทนโชกุน และจึงถวายหนังสือสัญญาให้จักรพรรดิโคเมทรงลงพระนามรับรอง[3]

สนธิสัญญาคานางาวะ ตามมาด้วยสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีและการค้า หรือ "สนธิสัญญาแฮริส" ใน ค.ศ. 1858 ซึ่งอนุญาตให้สัมปทานแก่ชาวต่างประเทศ การมอบสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่ชาวต่างประเทศ และการจำกัดภาษีขาเข้าของสินค้าต่างประเทศ ญี่ปุ่นในเวลาต่อมาจะอยู่ภายใต้ "ระบบสนธิสัญญาอันไม่เป็นธรรม" อันเป็นลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่างชาติเอเชียและชาติตะวันตกในยุคสมัยดังกล่าว[4]

เชิงอรรถ

  1. "From Washington; The Japanese Treaty-Its Advantages and Disadvantages-The President and Col. Rinney, &c.," New York Times. October 18, 1855.
  2. Perry, Matthew Calbraith. (1856). Narrative of the expedition of an American Squadron to the China Seas and Japan, 1856. เก็บถาวร 2017-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Cullen, Louis M. (2003). A History of Japan, 1582-1941: Internal and External Worlds, p. 173-185.
  4. Bert Edström, Bert. (2000). The Japanese and Europe: Images and Perceptions, p. 101.

แหล่งข้อมูลอื่น