ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โจเซฟ สตาลิน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
| predecessor = [[วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ]]<br/>(ในฐานะ[[Responsible Secretary of the Communist Party of the Soviet Union|เลขาธิการผู้เชื่อถือได้]])
| predecessor = [[วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ]]<br/>(ในฐานะ[[Responsible Secretary of the Communist Party of the Soviet Union|เลขาธิการผู้เชื่อถือได้]])
| successor = [[เกออร์กี มาเลนคอฟ]] ({{nowrap|''[[โดยพฤตินัย]]''}}){{efn|After Stalin's death, Georgy Malenkov succeeded him as both [[head of government]] and the highest-ranking member of the [[Secretariat of the Communist Party of the Soviet Union|party apparatus]].}}
| successor = [[เกออร์กี มาเลนคอฟ]] ({{nowrap|''[[โดยพฤตินัย]]''}}){{efn|After Stalin's death, Georgy Malenkov succeeded him as both [[head of government]] and the highest-ranking member of the [[Secretariat of the Communist Party of the Soviet Union|party apparatus]].}}
| office2 = [[Chairman of the Council of People's Commissars of the Soviet Union|ประธานสภาผู้ตรวจการประชาชนแห่งสหภาพโซเวียต]]
| office2 = [[ประธานสภาผู้ตรวจการประชาชนแห่งสหภาพโซเวียต]]
| term_start2 = {{start date|1941|5|6}}
| term_start2 = {{start date|1941|5|6}}
| term_end2 = {{end date|1946|3|15}}
| term_end2 = {{end date|1946|3|15}}
บรรทัด 19: บรรทัด 19:
| successor2 = ''ยุบตำแหน่ง''
| successor2 = ''ยุบตำแหน่ง''
| office3 = [[นายกรัฐมนตรีสหภาพโซเวียต|ประธานคณะรัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต]]
| office3 = [[นายกรัฐมนตรีสหภาพโซเวียต|ประธานคณะรัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต]]
| president3 = [[มีฮาอิล คาลีนิน]]<br/>[[Nikolay Shvernik|นิโคไล เชเวนิก]]
| president3 = [[มีฮาอิล คาลีนิน]]<br/>[[นีโคไล ชเวียร์นิค]]
| 1blankname3 = [[First Deputy Premier of the Soviet Union|รองนายกรัฐมนตรีลำดับที่หนึ่ง]]
| 1blankname3 = [[First Deputy Premier of the Soviet Union|รองนายกรัฐมนตรีลำดับที่หนึ่ง]]
| 1namedata3 = {{plainlist|
| 1namedata3 = {{plainlist|
* [[Nikolai Voznesensky|นีโคไล โวซเนสเซนสกี]]
* [[นีโคไล วอซเนียซ์เซนสกี]]
* [[วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ]]
* [[วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ]]
* [[Nikolai Bulganin|นีโคไล บูกานิน]]
* [[นีโคไล บุลกานิน]]
}}
}}
| term_start3 = {{start date|1946|3|15}}
| term_start3 = {{start date|1946|3|15}}
บรรทัด 36: บรรทัด 36:
| death_place = [[Kuntsevo Dacha|คุชเซโวดาซา]], มอสโก, สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย, สหภาพโซเวียต
| death_place = [[Kuntsevo Dacha|คุชเซโวดาซา]], มอสโก, สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย, สหภาพโซเวียต
| death_cause = [[Intracerebral hemorrhage|Cerebral hemorrhage]]
| death_cause = [[Intracerebral hemorrhage|Cerebral hemorrhage]]
| resting_place = {{ubl|[[Lenin's Mausoleum|สุสานฝังศพเลนิน]], มอสโก (9 มีนาคม ค.ศ. 1953 – 31 ตุลาคม ค.ศ. 1961)|[[Kremlin Wall Necropolis|สุสานกำแพงเครมลิน]], มอสโก (ตั้งแต่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1961)}}
| resting_place = {{ubl|[[สุสานเลนิน]], มอสโก (9 มีนาคม ค.ศ. 1953 – 31 ตุลาคม ค.ศ. 1961)|[[สุสานกำแพงเครมลิน]], มอสโก (ตั้งแต่ 31 ตุลาคม ค.ศ. 1961)}}
| party = {{ubl|[[พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย]] (ค.ศ. 1898–1903)|พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย ([[บอลเชวิค]]) (ค.ศ. 1903–1918)|[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต]] (ค.ศ. 1918–1953)}}
| party = {{ubl|[[พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย]] (ค.ศ. 1898–1903)|พรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย ([[บอลเชวิค]]) (ค.ศ. 1903–1918)|[[พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต]] (ค.ศ. 1918–1953)}}
| spouse = {{plainlist|
| spouse = {{plainlist|

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:43, 13 ตุลาคม 2564

โจเซฟ สตาลิน
  • Иосиф Сталин (รัสเซีย)
  • იოსებ სტალინი (จอร์เจีย)
1937 portrait used for state publicity purposes
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต
ดำรงตำแหน่ง
3 เมษายน ค.ศ. 1924 (1924-04-03) – 16 ตุลาคม ค.ศ. 1953 (1953-10-16)[a]
ก่อนหน้าวยาเชสลาฟ โมโลตอฟ
(ในฐานะเลขาธิการผู้เชื่อถือได้)
ถัดไปเกออร์กี มาเลนคอฟ (โดยพฤตินัย)[b]
ประธานสภาผู้ตรวจการประชาชนแห่งสหภาพโซเวียต
ดำรงตำแหน่ง
6 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 (1941-05-06) – 15 มีนาคม ค.ศ. 1946 (1946-03-15)
ก่อนหน้าวยาเชสลาฟ โมโลตอฟ
ถัดไปยุบตำแหน่ง
ประธานคณะรัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต
ดำรงตำแหน่ง
15 มีนาคม ค.ศ. 1946 (1946-03-15) – 5 มีนาคม ค.ศ. 1953 (1953-03-05)
ประธานาธิบดีมีฮาอิล คาลีนิน
นีโคไล ชเวียร์นิค
รองนายกรัฐมนตรีลำดับที่หนึ่ง
ก่อนหน้าวยาเชสลาฟ โมโลตอฟ
ถัดไปเกออร์กี มาเลนคอฟ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
โยเซบ เบซาริโอนิส ดเซ จูกาชวิลลี[c]

18 ธันวาคม [ตามปฎิทินเก่า: 6 ธันวาคม] ค.ศ. 1878
โกรี, เขตผู้ว่าการติฟลิส, จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต5 มีนาคม ค.ศ. 1953(1953-03-05) (74 ปี)
คุชเซโวดาซา, มอสโก, สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย, สหภาพโซเวียต
สาเหตุการเสียชีวิตCerebral hemorrhage
ที่ไว้ศพ
พรรคการเมือง
คู่สมรส
บุตร
บุพการี
การศึกษาวิทยาลัยสงฆ์แห่งทบิลีซี
รัฐบาลสตาลินหนึ่งสอง
รางวัล
วีรชนแห่งสหภาพโซเวียต
ลายมือชื่อ
ชื่อเล่นโคบา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้สหภาพโซเวียต
สังกัดกองทัพโซเวียต
ประจำการ
  • ค.ศ. 1918–1920
  • ค.ศ. 1941–1953
ยศจอมพลแห่งสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1943)
บังคับบัญชา
ผ่านศึก
Central institution membership
  • 1917–1953: Full member, 6th19th Presidium
  • 1922–1943: 11th19th Secretariat
  • 1920–1952: 9th18th Orgburo
  • 1912–1953: Full member, 5th19th Central Committee

Other offices held
ประมุขแห่งสหภาพโซเวียต

อีโอซิฟ วิสซารีโอโนวิช สตาลิน (รัสเซีย: Иосиф Виссарионович Сталин, อักษรโรมัน: Iosif Vissarionovich Stalin, สัทอักษรสากล: [ɪˈosʲɪf vʲɪsərʲɪˈonəvʲɪt͡ɕ ˈstalʲɪn]) หรือ โจเซฟ สตาลิน (อังกฤษ: Joseph Stalin; จอร์เจีย: იოსებ ბესარიონის ძე სტალინი; 18 ธันวาคม [ตามปฎิทินเก่า: 6 ธันวาคม] ค.ศ. 1878 – 5 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1920 ถึง ค.ศ. 1953 และดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งมวลสหภาพ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เปรียบได้กับหัวหน้าพรรค

สตาลินสืบทอดอำนาจจาก วลาดิมีร์ เลนิน และนำโซเวียตก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจของโลก หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ก็เป็นหนึ่งในขั้วอำนาจในการทำสงครามเย็นกับสหรัฐอเมริกา

โจเซฟ สตาลิน ไม่ใช่ชื่อจริงของเขา ชื่อจริงของเขาคือ "โยเซบ เบซาริโอนิส ดเซ จูกาชวิลลี" (იოსებ ბესარიონის ძე ჯუღაშვილი, Ioseb Besarionis dze Jughashvili) เขาเกิดที่เมือง โกรี ประเทศจอร์เจีย ตำแหน่งเมืองนั้นตั้งอยู่บนเนินสูงของเทือกเขาคอเคซัส ซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐของจักรวรรดิรัสเซียสมัยนั้น เขาก็เป็นชาวจอร์เจียโดยกำเนิด โดยชื่อ สตาลิน นี้เขาตั้งขึ้นมาเองขณะทำงานให้พรรคคอมมิวนิสต์ (stalin ในภาษารัสเซียแปลว่า เหล็กกล้า)

ด้วยความทะเยอทะยานทำให้สตาลินได้เริ่มมีบทบาทสำคัญในพรรคบอลเชวิค หลังจากที่พรรคบอลเชวิคทำการปฏิวัติโค่นล้มระบอบกษัตริย์ลงได้ สตาลินก็ได้รับตำแหน่งคอมมิสซาร์ประชาชนเพื่อกิจการชนชาติต่าง ๆ[1] จนเมื่อเลนินล้มป่วย สตาลินก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้นไปอีก จนได้เป็นเลขาธิการพรรคใน ค.ศ. 1922 จนกระทั่งเมื่อเลนินเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1924 ก็ได้เกิดการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างสตาลินกับเลออน ทรอตสกี สุดท้ายสตาลินก็ชนะ จึงได้เป็นผู้นำต่อจากเลนิน

ใน ค.ศ. 1939 เริ่มต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 สตาลินได้มีการทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับพรรคนาซีเยอรมนี ทำให้เกิดการแบ่งแยกอำนาจในยุโรปตะวันออก ใน ค.ศ. 1940 ระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง ผู้นำของสหภาพโซเวียต เขาถูกเรียกว่า บิดาแห่งชาวสหภาพโซเวียตทั้งปวง เมื่อศาสนาเป็นสิ่งผิดกฎหมายในรัฐคอมมิวนิสต์ บทบาทของพระเจ้าก็ถูกเล่นโดยสตาลิน เขานำระบบ คอมมูน มาใช้ ทุกคนถูกห้ามมีทรัพย์สินส่วนตัว ทุกอย่างรวมทั้งตัวบุคคลเป็นของพรรคหรือคอมมูน ผู้ต่อต้านถูกส่งไปค่ายกักกันและเสียชีวิตราว 10 ล้านคน ไมมีการสำรวจประชากรว่าระหว่างเขาเป็นผู้นำประชากรโซเวียตเสียชีวิตไปเท่าไรในช่วงที่มีการปฏิวัติระบบนารวม

ค.ศ. 1941 หลังนาซีเยอรมนีรุกรานโปแลนด์สำเร็จ ฮิตเลอร์ก็ได้ละเมิดข้อตกลงและเริ่มทำสงครามครั้งใหญ่กับสหภาพโซเวียตทันที ถึงแม้จะมีการสูญเสียดินแดนและกำลังพลจำนวนมาก กองทัพแดงโซเวียตก็สามารถต่อต้านกองทัพนาซีได้ ค.ศ. 1945 หลังจากปราบปรามแนวรบของฝ่ายอักษะในยุโรปตะวันออก กองทัพแดงของโซเวียตก็ทำการโจมตีและยึดกรุงเบอร์ลินเมืองหลวงของเยอรมนีได้สำเร็จ สตาลินได้จบสงครามในยุโรปให้กับฝ่ายสัมพันธมิตรและนำโซเวียตชนะสงครามได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประชาชนเสียชีวิต 20 ล้านคน ทหารเสียชีวิต 10 ล้านคน ทหารอีกกว่า 1 ล้าน 6 แสนคนที่พร้อมจะโจมตีญี่ปุ่นแต่ญี่ปุ่นชิงยอมแพ้สงครามกับอเมริกาเสียก่อนเนื่องจากกลัวที่จะสูญเสียเมืองต่าง ๆ อีกมากมายให้กับสหภาพโซเวียต จากนั้นสตาลินก็ได้พัฒนาประเทศให้เจริญเป็นอย่างมากและนำสหภาพโซเวียตก้าวขึ้นสู่เป็นประเทศมหาอำนาจของโลกที่มีประเทศยุโรปตะวันออกที่ปกครองแบบคอมมิวนิสต์ โดยมีสหรัฐอเมริกาที่เป็นประเทศมหาอำนาจของโลกที่มีประเทศยุโรปตะวันตกที่ปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นคู่แข่งจนนำไปสู่สงครามเย็นในที่สุด

เขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1953 หลังสตาลินตาย นีกีตา ครุชชอฟ ผู้นำคนใหม่ได้ผ่อนคลายความเข้มงวดในระบบสตาลินลง พร้อมทั้งประณามขุดคุ้ยความโหดร้ายของเจ้านายคนเก่าของเขา จนในที่สุดทุก ๆ ที่ ที่มีรูปปั้นสตาลินถูกทุบทิ้ง เพลงชาติถูกลบชื่อของเขาออก ศพของเขาถูกย้ายจากข้าง ๆ เลนิน ไปฝังอยู่ในกำแพงวังเครมลิน

ครอบครัวและในวัยเด็ก

สตาลินใน ค.ศ. 1894 และ ค.ศ. 1902 สตาลินใน ค.ศ. 1894 และ ค.ศ. 1902
สตาลินใน ค.ศ. 1894 และ ค.ศ. 1902

ก่อนหน้าการเกิดของสตาลิน บิดาและมารดาของเขาได้ให้กำเนิดบุตรมาแล้วถึง 2 คน แต่ก็เสียชีวิตหลังจากเกิดได้ไม่นาน จนมีบุตรคนที่ 3 ซึ่งก็คือสตาลิน ภายหลังการเกิดนั้น มารดาของสตาลินได้สวดอ้อนวอนอธิษฐานต่อพระผู้เป็นเจ้าไม่ให้พรากชีวิตบุตรชายของเธอไป พร้อมกับอธิษฐานว่าเธอและบุตรชาย จะอุทิศตนเองเพื่อพระผู้เป็นเจ้าตลอดไป

สตาลิน มีชื่อเล่นในวัยเด็กคือ โซซา ซึ่งพ่อของเขาเป็นช่างทำรองเท้า ชอบทุบตีคนในครอบครัวยามเมาสุราเสมอ ต่อมาพ่อของเขาต้องย้ายไปอยู่ที่เมืองทิฟลิส ทำให้สตาลินต้องอาศัยอยู่กับมารดาเพียงคนเดียวในจอร์เจีย[1] ซึ่งเมืองที่เขาอยู่ ก็เต็มไปด้วยอาชญากรรม การเอารัดเอาเปรียบ ความรุนแรงตามท้องถนน จึงทำให้สภาพแวดล้อมสังคมและความรุนแรงในครอบครัวบ่มนิสัยสตาลินให้เป็นคนก้าวร้าว และเกิดความเกลียดชังชาวยิวที่อยู่ในเมือง ทั้ง ๆ ที่เมืองที่เขาอยู่ ไม่มีใครต่อต้านชาวยิวเลย ซึ่งชาวยิวอยู่ร่วมกับคนพื้นเมืองมานานอย่างสันติ นิยมประกอบอาชีพนายทุนเงินกู้ พ่อค้า ช่างตัดเสื้อ ช่างตัดรองเท้า เป็นต้น ประกอบกับครอบครัวที่ลำบาก ส่งผลให้มารดาของเขาต้องไปกู้เงินจากนายทุนชาวยิวซึ่งเรียกดอกเบี้ยราคาแพง และจะเข้ามายึดสิ่งของในบ้านเป็นค่าปรับเมื่อผิดนัดชำระดอกเบี้ย ทำให้เขาเกลียดแค้นชาวยิวและอยากแก้แค้นอยู่เสมอ นอกเหนือจากนั้น ชีวิตสตาลินก็เป็นเด็กที่เรียนดี ทั้งที่พ่อแม่ของเขาไม่รู้หนังสือและครอบครัวมีความเป็นอยู่ที่ลำบาก

การศึกษาในโรงเรียนสามเณรกอรี

มารดาของสตาลินเป็นผู้เคร่งในศีลธรรม เธอจึงตัดสินใจให้สตาลินบวชเป็นพระและเข้าเรียนในโรงเรียนสามเณรกอรี ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนศาสนาแห่งหนึ่ง ในปี ค.ศ. 1888 ด้วยความอุปการะจากเศรษฐีชาวจอร์เจียชื่อยาคอฟที่มารดาของเขาทำงานรับจ้างเป็นแม่บ้าน ซึ่งสตาลินเป็นคนที่สำนึกในบุญคุณคน เมื่อเขามีบุตรชายคนแรก เขาได้ตั้งชื่อว่ายาคอฟ ตั้งตามชื่อผู้ที่อุปการะเขา

ด้านการเรียนนั้น สตาลินเป็นคนขยัน และมีความจำดี และหัวไว ทำให้ได้รับทุนการศึกษาของโรงเรียน และได้รับเลือกให้เป็นนักเรียนตัวอย่าง ซึ่งทุก ๆ ปี หนังสือพิมพ์ของสำนักสงฆ์นิกายจอร์เจียนออโธดอกซ์แห่งเมืองกอรี จะตีพิมพ์รายชื่อของนักเรียนที่สอบได้คะแนนดีที่สุดในชั้น ซึ่งชื่อของสตาลิน ได้อยู่ลำดับที่ 1 ทุกครั้ง นอกเหนือจากนั้น หลังการสอบปลายภาคทุกครั้ง สตาลินยังได้รับประกาศนียบัตรเรียนดีที่โรงเรียนมอบให้ผู้ที่สอบได้ลำดับที่ 1 ของชั้นเรียน และเขายังได้รับประกาศนียบัตรความก้าวหน้าในการเรียน

สตาลินมีพรสวรรค์ด้านการขับร้องเพลง ครูที่โรงเรียนจึงฝึกให้เขาเพิ่มเติม จากนั้นสองปี สตาลินก็ร้องเพลงได้อย่างกับนักร้องอาชีพ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยคอนดักเตอร์ พร้อมกับเป็นหัวหน้าคณะนักร้อง โดยสตาลินเองมักถูกจ้างไปร้องเพลงในงานแต่งงานเสมอ

ความชื่นชอบในการละเล่นและกีฬา สตาลินชื่นชอบการตะลุมบอน เป็นการละเล่นและกีฬาพื้นเมือง ที่แบ่งกลุ่มผู้เล่นออกไป 2 ฝั่ง จากนั้นก็จะเข้าตะลุมบอนกันแบบไม่มีความปรานี โดยสตาลินขึ้นเป็นหัวหน้ากลุ่มได้ทั้งที่อายุน้อยและแข็งแกร่งน้อยกว่าลูกน้องในทีมของตัวเอง 3 คน แต่เขาก็มีสิ่งที่ทดแทนคือความคล่องแคล่วว่องไว สตาลินตั้งฉายาให้กลุ่มเพื่อน 3 คนของเขาว่า สามทหารเสือ ซึ่งสตาลินไม่เคยลืมเพื่อนของเขาเลย แม้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 สตาลินวัย 60 ปี ที่เป็นผู้นำสหภาพโซเวียตในขณะนั้น ได้ส่งเงินส่วนตัวไปให้กับเพื่อนทั้ง 3 คนนี้คนละหลายหมื่นรูเบิล และมีข้อความในจดหมายว่า "โปรดรับของขวัญเล็กน้อยนี้จากฉันด้วย จากโซซ่าของพวกนาย" โดยเพื่อนหนึ่งในสามของสตาลินได้กล่าวอีกว่า "เขาไม่เคยลืมพวกเรา และมักจะส่งการ์ดมาให้เราเมื่อถึงวันเกิด หรือวันสำคัญอื่น ๆ เสมอ ครั้งหนึ่งเขาก็เคยส่งการ์ดที่เขียนว่า ขอให้อยู่หมื่นปี มาให้ผม"

นอกเหนือจากเพื่อนสนิทสามทหารเสือแล้ว สตาลินยังมีเพื่อนสนิทอีกคนที่มาจากละแวกใกล้บ้านชื่อ ซิมอน เขาเป็นคนเกเร นิยมความรุนแรง ซึ่งสตาลินสามารถควบคุมและทำให้เขาเคารพได้ และได้กลายเป็นมือสังหารคนสำคัญของสตาลินในขณะทำงานปฏิวัติรัสเซีย

สิ่งที่สตาลินสนใจมากเป็นพิเศษอีกอย่าง คือการอ่านหนังสือ เพราะความขาดแคลนหนังสือ ทำให้เขามีความกระหายอ่านใฝ่รู้ และมักไปขอยืมหนังสือจากห้องสมุดของเมืองกอรี่มาอ่านเสมอ สตาลินชื่นในวรรณกรรมเรื่อง Otezubiza ซึ่งชื่อตัวละครเอก ชื่อ โคบา เป็นโจรปล้นคนรวยมาช่วยเหลือคนจน โดยสตาลินมีตวามฝันอยากจะเป็นโคบาคนที่สอง

ในวันคริสต์มาสอีฟ ของนิกายออโธดอกซ์ กลุ่มนักร้องประสานเสียงของโรงเรียนสามเณรกอรี่ โดยหนึ่งในนั้นมีสตาลินรวมอยู่ด้วย ได้มายืนร้องเพลงสวดที่ริมสะพานข้ามแม่น้ำคูร์ ก็ได้เกิดอุบัติเหตุมีรถม้าวิ่งพุ่งเข้าชนกลุ่มนักร้องประสานเสียง ซึ่งสตาลินโชคร้ายที่ม้าได้ชนสตาลินและล้อรถทับข้อมือซ้ายของเขาหัก และด้วยความยากจนทำให้มารดาของสตาลินไม่สามารถพาเขาไปรักษาข้อมือซ้ายได้ เขามือซ้ายของเขาจึงพิการตั้งแต่นั้นมา

และในปี ค.ศ.1894 สตาลินก็จบการศึกษาด้วยคะแนนยอดเยี่ยม และได้รับทุนศึกษาต่อที่วิทยาลัยสงฆ์แห่งทิฟลิส ซึ่งเป็นสถานที่ ๆ เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในชีวิตของเขา

นโยบายต่างประเทศ

โจเซฟ สตาลินนำสหภาพโซเวียตก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจของโลก เป็นหนึ่งในขั้วอำนาจในสงครามเย็นกับสหรัฐอเมริกาหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1945 โซเวียตมีฐานะที่มั่นคงแข็งแรงทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และการทหารมากขึ้น แม้ว่าทางการทหารจะยังเป็นรองสหรัฐอเมริกาในระยะแรกก็ตาม หลังจากนั้นสตาลินได้เปลี่ยนท่าทีหันมาดำเนินนโยบายรุนแรง กวาดล้างผู้เป็นปรปักษ์จำนวนมากและมีนโยบายแข็งกร้าวต่อต้านสหรัฐอเมริกา ซึ่งโซเวียตมองว่าเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่ง

สิ่งแรกที่โซเวียตเร่งดำเนินการก็คือ สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ให้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองในยุโรปตะวันออกเป็นแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ภายใต้การชี้นำของโซเวียต สนับสนุนขบวนการปลดแอก ให้เป็นเครื่องมือในการทำลายจักวรรดินิยมของอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน และสหรัฐ สำหรับประเทศยุโรปตะวันออกนั้นมีความสำคัญต่อโซเวียตเป็นอย่างยิ่งในทางภูมิรัฐศาสตร์ ถือเป็นดุลอำนาจให้แก่โซเวียตในการแข่งขันกับกลุ่มประเทศทุนนิยมที่พัฒนาแล้ว

การผนึกกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์

สตาลินได้จัดตั้งโคมินฟอร์ม (Communist Information Bureau หรือ Cominform) ในเดือนกันยายน ปี 1947 เพื่อใช้สำนักงานนี้เป็นเครื่องมือในการควบคุมพรรคคอมมิวนิสต์ของประเทศอื่นให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์และอยู่ในวินัยที่เคร่งครัด ภายใต้การควบคุมของโซเวียต แม้ว่าสตาลินจะถือนโยบายอยู่ร่วมกันโดยสันติ (Peaceful Co-Existence) ก็เพียงชั่วคราวเพื่อผลประโยชน์เฉพาะหน้าเท่านั้น ยังมีความเชื่อมั่นตามอุดมการณ์ที่จะเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์เข้าไปในประเทศต่างๆ และเห็นว่าสงครามการปะทะกันระหว่างฝ่ายนายทุนกับสังคมนิยมนั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ดังนั้นนโยบายของสตาลินในช่วงนี้จึงนิยมความรุนแรงและรุกราน พยายามที่จะแยกประชาชาติต่างๆในยุโรปมิให้รวมกันได้ อาจกล่าวได้ว่าฝ่ายสหภาพโซเวียตริเริ่มทำให้เกิดสงครามเย็นระหว่างโลกตะวันตกหรือโลกเสรีซึ่งสหรัฐเป็นผู้นำ กับโลกตะวันออกหรือค่ายสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ที่โซเวียตเป็นผู้นำ ทำให้โลกอยู่ในสภาวะ 2 ศูนย์อำนาจอย่างเคร่งครัด สตาลินมีนโยบายรวบรวมผนึกกำลังฝ่ายคอมมิวนิสต์เข้าไว้ด้วยกัน ภายใต้อาณัติของสหภาพโซเวียตอย่างเข้มงวด โดยใช้กำลังทหารและการบีบคั้นทางด้านอื่น เช่นทางเศรษฐกิจ เป็นต้น ทำให้ประเทศในค่ายสังคมนิยมในยุโรปตะวันออกถูกขนานนามว่าเป็นบริวารโซเวียต (Soviet Satellite หรือ Soviet Bloc) ซึ่งเรียกว่า ลัทธิสตาลิน (Stalinism)

การแทรกแซงการเมืองในประเทศอื่น

นอกจากนี้โซเวียตยังเข้าไปมีบทบาทแทรกแซงการเมืองในประเทศอื่นๆ อีก เช่นในปี 1947 ได้สนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์ให้ยึดครองกรีซ (เหตุการณ์ครั้งนี้พรรคคอมมิวนิสต์กระทำการไม่สำเร็จ เพราะสหรัฐอเมริกาได้เข้ามาสกัดกั้น ให้ความช่วยเหลือกรีซและตุรกีตามแผนการมาแชล) และวิกฤตการณ์ปิดล้อมเบอร์ลิน ค.ศ. 1948 – 1949 (ทำให้มีการเผชิญหน้ากับมหาอำนาจตะวันตกคืออังกฤษ ฝรั่งเศส และสหรัฐ จนต้องแบ่งแยกเยอรมันออกเป็น 2 ประเทศโดยเด็ดขาด) นอกจากนี้ก็มีเหตุการณ์ที่สตาลินขับไล่ ยูโกสลาเวีย ภายใต้การนำของติโต้ออกจากองการณ์โคมินฟอร์มในปี 1948 และ ในปี 1949 ก็ประสบความสำเร็จในการสร้างในการคิดสร้างอาวุธนิวเคลียร์เพื่อแข่งขันกับสหรัฐอเมริกา และปีเดียวกันก็จัดตั้ง สภาเพื่อการช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ:Council for Mutual Economic Assistance หรือ Comecon (โคเมคอน) หรือ CEMA (ซีมา) เพื่อต่อต้านองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป

นโยบายต่างประเทศ-จีน

โซเวียตมีอิทธิพลมากขึ้น ให้ความช่วยเหลือจีนภายหลังจากที่คอมมิวนิสต์ภายใต้การนำของเหมาเจ๋อตุง ปฏิวัติสำเร็จเมื่อ 1949 โซเวียตต้องการครอบงำจีนไว้เป็นมิตรทางยุทธศาสตร์ เพื่อสกัดกั้นญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา แม้ว่าโซเวียตจะมีสนธิสัญญาพันธมิตรกับจีนเมื่อปี 1950 และมีอายุ 30 ปีก็ตาม แต่โซเวียตต้องการจะครอบงำจีนและขาดความจริงใจในการช่วยเหลือจีน จึงกลายเป็นเรื่องขัดแย้งต่อมาภายหลัง การที่โซเวียตสนับสนุนช่วยเหลือเกาหลีเหนือบุกเกาหลีใต้ในสงครามเกาหลี 1950 ซึ่งแม้โซเวียตไม่ได้ประจันหน้าโดยตรงเพราะจีนเข้ามามีบทบาทแทนโซเวียต ตลอดจนการสนับสนุนเวียดมินห์ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ ต่อต้านฝรั่งเศสตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงจนประสบชัยชนะในปี 1954 เหตุการณ์ที่กล่าวมาเป็นเรื่องที่โซเวียตเข้าไปมีบทบาทแทรกแซงเพื่อการขยายอำนาจและอิทธิพลของโซเวียต

สรุปได้ว่า นโยบายต่างประเทศสมัยสตาลินเป็นไปในทางรุกแข็งกร้าว เพื่อสร้างอำนาจให้แข็งแกร่งมีความเป็นปึกแผ่นในค่ายสังคมนิยม ภายใต้อิทธิพลของโซเวียตเพื่อแข่งขันและสกัดกั้นอิทธิพลของฝ่ายตะวันตกและสหรัฐ จนกระทั่งสตาลินถึงแก่กรรมในปี 1953 ด้วยวัย 75 ปี

หมายเหตุ

  1. Despite abolishing the office of General Secretary in 1952, Stalin continued to exercise its powers as the Secretariat's highest-ranking member.
  2. After Stalin's death, Georgy Malenkov succeeded him as both head of government and the highest-ranking member of the party apparatus.
  3. Stalin's original Georgian name was Ioseb Besarionis dze Jughashvili (იოსებ ბესარიონის ძე ჯუღაშვილი). The Russian equivalent of this is Iosif Vissarionovich Dzhugashvili (Иосиф Виссарионович Джугашвили). During his years as a revolutionary, he adopted the alias "Stalin", and after the October Revolution he made it his legal name.
  4. While forced to give up control of the Secretariat almost immediately after succeeding Stalin as the body's de facto head, Malenkov was still recognised as "first among equals" within the regime for over a year. As late as March 1954, he remained listed as first in the Soviet leadership and continued to chair meetings of the Politburo.

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 วิกรม กรมดิษฐ์, มองซีอีโอโลก ภาค 7, โพสต์ พับลิชชิง, 2553

2. เพิ่มศักดิ์ โตสวัสดิ์, สตาลิน อำนาจบนซากศพ , กรุงเทพมหานคร: Animate Group, ISBN 978-616-7030-17-3

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า โจเซฟ สตาลิน ถัดไป
วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ ประธานสภารัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต
(6 พฤษภาคม 1941 – 5 มีนาคม 1953)
เกออร์กี มาเลนคอฟ
เซไมยอน เตอโมเชนโก ผู้บัญชาการกลาโหมแห่งสหภาพโซเวียต
(19 กรกฎาคม 1941 - 25 กุมภาพันธ์ 1946)
นีโคไล บุลกานิน
ในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสูด
วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ
ในตำแหน่ง เลขาธิการผู้รับผิดชอบ
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต
(3 เมษายน 1922 – 16 ตุลาคม 1952)
นิกิตา ครุสชอฟ
อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1939)
วินสตัน เชอร์ชิล
แฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ บุคคลแห่งปีของนิตยสารไทม์
(ค.ศ. 1942)
จอร์จ มาร์แชล