ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถาบันนิติวิทยาศาสตร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 0 sources and tagging 1 as dead.) #IABot (v2.0.8.1
บรรทัด 123: บรรทัด 123:


== หน่วยงานในสังกัด ==
== หน่วยงานในสังกัด ==
แบ่งส่วนราชการออกเป็น 1 สำนัก 4 กอง<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/029/7.PDF</ref><ref>http://www.cifs.moj.go.th/main/images/phatsadu/phatsadu-08-06-61-7.PDF</ref> คือ
แบ่งส่วนราชการออกเป็น 1 สำนัก 4 กอง<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2558/A/029/7.PDF</ref><ref>http://www.cifs.moj.go.th/main/images/phatsadu/phatsadu-08-06-61-7.PDF{{ลิงก์เสีย|date=ตุลาคม 2021 |bot=InternetArchiveBot |fix-attempted=yes }}</ref> คือ
# สำนักงานเลขานุการกรม
# สำนักงานเลขานุการกรม
# กองตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์
# กองตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:13, 1 ตุลาคม 2564

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่120 อาคารรัฐประศาสนภักดี ชั้น 8-9 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
งบประมาณประจำปี503.3388 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
ต้นสังกัดกระทรวงยุติธรรม
หน่วยงานลูกสังกัด
เว็บไซต์https://www.cifs.go.th http://www.cifs.moj.go.th

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ (อังกฤษ: Central Institute of Forensic Science; ย่อ: CIFS) เป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงยุติธรรม มีบทบาทหน้าที่ในด้านนิติวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นการตรวจพิสูจน์หลักฐานด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์เพื่อประกอบการดำเนินคดี รวมถึงการกำกับมาตรฐานการปฏิบัติงานให้อยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน

ประวัติ

สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 มีฐานะเทียบเท่ากรมของกระทรวงยุติธรรม เริ่มให้บริการนิติเวชบริการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2545

การจัดตั้งสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 75 ที่บัญญัติให้รัฐดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล จัดระบบงานของกระบวนการยุติธรรมให้มีประสิทธิภาพและอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนได้อย่างรวดเร็วและเท่าเทียมกัน ขณะเดียวกันต้องสนองตอบนโยบายของรัฐบาลด้วย โดยคณะรัฐมนตรีได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544 ด้านการพัฒนากระบวนการยุติธรรมและการปฏิรูปกฎหมาย เรื่อง เร่งรัดการจัดโครงสร้างกระทรวงยุติธรรมให้มีบทบาทและหน้าที่ครอบคลุมกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพ ทำให้มีการจัดตั้งสถาบันแห่งนี้ขึ้น

แนวคิดของการจัดตั้ง

งานด้านนิติวิทยาศาสตร์มีความสำคัญอย่างยิ่งในกระบวนการยุติธรรมที่ต้องมีการนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษ หากมีระบบการตรวจเก็บหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพน่าเชื่อถือ จะทำให้กระบวนการยุติธรรมมีประสิทธิภาพ ผู้กระทำผิดก็จะถูกลงโทษตามกฎหมาย สังคมจะมีความสงบเรียบร้อยขึ้น เนื่องจากปัจจุบันคดีอาชญากรรมต่าง ๆ ทวีความรุนแรงขึ้น การรับฟังพยานบุคคลไม่อาจทำให้นำคนผิดมาลงโทษได้เต็มที่ หลักฐานทางวิทยาศาสตร์จะมีหลักการและมีความถูกต้องน่าเชื่อถือมากกว่าพยานบุคคล

แต่ที่ผ่านมา งานบริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง โดยเฉพาะกลุ่มคนด้อยโอกาส งานบางงานในกรุงเทพมหานคร ประชาชนยังได้รับการบริการไม่ทั่วถึงทุกคดี และไม่สามารถให้บริการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ประกอบกับงานบริการด้านนิติวิทยาศาสตร์กระจัดกระจายอยู่ในหลายหน่วยงานเช่นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ทบวงมหาวิทยาลัย กระทรวงสาธารณสุข สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงกลาโหม โดยเฉพาะในอดีตที่ผ่านมายังไม่มีหน่วยงานใดทำหน้าที่ประสานงานโดยตรงและกำหนดมาตรฐานกลางที่จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือของงานด้านนิติวิทยาศาสตร์

ดังนั้น การจัดตั้งสถาบันนิติวิทยาศาสตร์จึงช่วยให้งานนิติวิทยาศาสตร์ของไทยมีประสิทธิภาพเข้าสู่ความเป็นมาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยรวม

หลักการดำเนินงานของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์

  1. ระบบการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์เป็นระบบที่ต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ เฉพาะทาง โดยเฉพาะเป็นองค์ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ สถาบันหลักที่ทำงานด้านนี้จึงควรเป็นสถาบันที่มีความเป็นอิสระ เพื่อให้มีความเป็นกลาง มีความโปร่งใส มีการตรวจสอบได้ ซึ่งสอดคล้องกับการปฏิรูประบบราชการ
  2. การตรวจทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ควรมีหน่วยงานกลางเป็นหน่วยประสานเรื่องการดำเนินการ รวมทั้งงบประมาณให้กับหน่วยงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนหรือผู้เสียหายสามารถเข้าถึงการบริการ อีกทั้งจะเป็นแรงจูงใจสำหรับการปฏิบัติงาน เนื่องจากบุคลากรทางด้านนี้จะได้รับการสนับสนุนโดยตรงจากภาครัฐผ่านทางกระทรวงยุติธรรม ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานได้ดี
  3. ควรมีการกำหนดมาตรฐานกลางของการดำเนินงานการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ทุกสาขา และมีการควบคุมดูแลให้มีการดำเนินงานตามมาตรฐานโดยการขึ้นทะเบียนสถานประกอบการและบุคลากรที่ปฏบัติงานด้านนี้ ทั้งนี้ประชาชนจะเชื่อมั่นศรัทธาในงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ และจะทำให้กระบวนการยุติธรรมเข้าสู่มาตรฐานสากลได้มากยิ่งขึ้น
  4. การกำหนดนโยบาย การกำหนดเกณฑ์มาตรฐานกลาง การตรวจสอบ รวมถึงด้านจริยธรรม ของผู้ปฏิบัติงาน ควรให้มีคณะกรรมการระดับชาติ ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนจากส่วนต่าง ๆ ของกระบวนการยุติธรรมเป็นผู้ สนับสนุนแต่งตั้งแต่ในระยะเวลา 3 ถึง 5 ปี ควรผลักดันให้เป็นคณะกรรมการอิสระเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูง
  5. กำหนดให้สถาบันใหม่นี้ ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย อีกทั้งเป็นที่พึ่งเวลาประชาชนมีปัญหาข้อร้องเรียน ซึ่งในปัจจุบันไม่มีหน่วยงานกลางใดยอมดำเนินการให้
  6. โครงสร้างการบริการ การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ มีความถูกต้อง รวดเร็ว และมีความโปร่งใส
  7. มีการปลูกฝังจริยธรรมในการปฏิบัติงาน


ภารกิจหลัก

  1. พัฒนาระบบการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ให้มีมาตรฐาน
    สถาบันจะทำหน้าที่ขึ้นทะเบียนบุคลากรที่ทำงานด้านนี้ในระดับต่างๆ จากทุกหน่วยงาน ที่ให้การบริการงานนิติวิทยาศาสตร์และดำเนินการให้มีการจ่ายค่าตอบแทนแก่บุคลาการ โดยคณะกรรมการจะทำหน้าที่กำหนดมาตรฐานกลางในการตรวจพิสูจน์หลักฐานต่างๆ ซึ่ง ประชาชนสามารถเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมได้ดีขึ้น
  2. ประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ ให้การบริการทางนิติวิทยาศาสตร์เพื่อให้มีการบริการอย่างทั่วถึง
    สถาบันนิติวิทยาศาสตร์จะทำหน้าที่ เพื่อประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่ให้บริการงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ ในการจัดสรรอัตรากำลัง เครื่องมือ และงบประมาณในการดำเนินการเพื่อให้งานด้านการตรวจพิสูจน์ ได้รับการพัฒนาและสนับสนุน อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและผู้เสียหายในคดีต่างๆ
  3. การให้บริการตามกฎกระทรวง
    ส่วนของนิติเวชบริการของสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ได้เริ่มให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2545 โดยเริ่มทำการชันสูตรในพื้นที่ 4 จังหวัด คือ นนทบุรี ปทุมธานี อยุธยา และนครนายก ในการชันสูตรศพทางสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ได้ใช้สถานที่ห้องตรวจศพของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ เป็นการชั่วคราว ส่วนห้องปฏิบัติการอื่นๆ อยู่ที่ตึกอาคารสุขประพฤติ ถนนเลียบคลองประปา ประชาชื่น กทม.

นอกจากนี้ยังมีภารกิจรับเรื่องราวร้องทุกข์ ในการตรวจทางนิติวิทยาศาสตร์ทุกๆ สาขาซึ่งขณะนี้ทางสถาบันเปิดให้การบริการตรวจพิสูจน์เอกสารและการปลอมแปลง เช่น การตรวจพิสูจน์ลายมือเขียน ลายมือชื่อ ลายพิมพ์นิ้วมือในเอกสารต่างๆ ให้กับศาลทั่วประเทศ หน่วยงานในสังกัดของกระทรวงยุติธรรม และหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อ รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม รัฐวิสาหกิจหรือเอกชนที่ร้องขอ เพื่อเป็นทางเลือกให้ประชาชน อันจะทำให้เกิด ความโปร่งใสและมีการตรวจสอบได้

ภารกิจอื่น

นอกเหนือจากภารกิจดังกล่าวมาข้างต้น ทางสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ยังมีหน้าที่ร่วมสนับสนุนและพัฒนาหลักสูตรทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มประสานให้คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดหลักสูตรนิติวิทยาศาสตร์ ในระดับปริญญาโท ร่วมกับมหาวิทยาลัยสตราทไคลด์ของสก็อตแลนด์ ซึ่งเป็นหลักสูตรชั้นนำของโลก ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพมานานแล้ว ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งก็กำลังเริ่มพัฒนาหลักสูตรทางด้านนี้ เช่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก

หน่วยงานในสังกัด

แบ่งส่วนราชการออกเป็น 1 สำนัก 4 กอง[5][6] คือ

  1. สำนักงานเลขานุการกรม
  2. กองตรวจพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์
  3. กองมาตรฐานนิติวิทยาศาสตร์
  4. กองนิติวิทยาศาสตร์บริการ
  5. กองพัฒนาระบบการติดตามคนหายและการพิสูจน์ศพนิรนาม

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

หนังสือและบทความ

  • Pearson, Trais. Sovereign Necropolis: The Politics of Death in Semi-Colonial Siam. Ithaca, NY and London: Cornell University Press, 2020.

เว็บไซต์