ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระปัจเจกพุทธเจ้า"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 1 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8.1
 
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
ปัจเจกพุทธะ [ปัดเจกกะ-] น. ชื่อพระพุทธเจ้าพวกหนึ่งที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น. (ป.).
ปัจเจกพุทธะ [ปัดเจกกะ-] น. ชื่อพระพุทธเจ้าพวกหนึ่งที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น. (ป.).
แม่คำของ "ปัจเจกพุทธะ" คือ ''ปัจเจก'' ''ปัจเจก-'' โดย ฉบับราชบัณฑิต.,[''ปัจเจกสัมพุทโธ (ปัด-เจก-กะ-สัม-พุด-โท) ก็ว่า'' จากพระไตรปิฎก ฉบับภาษาบาลี เล่มที่ ๑๔ ''ข้อที่ ๒๕๐''],</ref><ref>[http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%BB%D1%A8%E0%A8%A1%BE%D8%B7%B8%E0%A8%E9%D2&detail=on&original=1 ความหมายใน ฉบับประมวลศัพท์. ว่าคือ '''วิสุทธิเทพ'''],[http://dhanapattipalo.wikidot.com/phra-asada-maha-chedi ปัจเจกโพธิสัมพุทธมหาเจดีย์ ว่าด้วยเรื่องพระปรางค์สีม่วง.,''สารานุกรมฉบับกาญจนาภิเษก'']</ref>
แม่คำของ "ปัจเจกพุทธะ" คือ ''ปัจเจก'' ''ปัจเจก-'' โดย ฉบับราชบัณฑิต.,[''ปัจเจกสัมพุทโธ (ปัด-เจก-กะ-สัม-พุด-โท) ก็ว่า'' จากพระไตรปิฎก ฉบับภาษาบาลี เล่มที่ ๑๔ ''ข้อที่ ๒๕๐''],</ref><ref>[http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%BB%D1%A8%E0%A8%A1%BE%D8%B7%B8%E0%A8%E9%D2&detail=on&original=1 ความหมายใน ฉบับประมวลศัพท์. ว่าคือ '''วิสุทธิเทพ'''],[http://dhanapattipalo.wikidot.com/phra-asada-maha-chedi ปัจเจกโพธิสัมพุทธมหาเจดีย์ ว่าด้วยเรื่องพระปรางค์สีม่วง.,''สารานุกรมฉบับกาญจนาภิเษก'']</ref>
({{lang-pi|ปจฺเจกพุทฺธ}}; {{lang-sa|ปฺรตฺเยกพุทฺธ}}) เป็น[[พระพุทธเจ้า]]ประเภทหนึ่ง ที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้ประกาศพระพุทธศาสนา ที่เรียกดังนี้เพราะเมื่อได้ญาณสัมปยุตเป็นที่เฉพาะถึงตรัสรู้ธรรมแล้วให้เกิด อโปหะเป็นที่คล้องเกี่ยว ได้การสิ้นสงสัยและการสละทิ้งอย่างยิ่ง ในที่ๆเป็นเครื่องอุดหนุนให้บังเกิดอัปโปสุกกธรรม<ref>[http://www.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/764.pdf วิทยานิพนธ์ฯ บัณฑิตวิทยาลัยฯ ''พระครูวินัยธรภิรม กลฺยาโณ (ชื่นบาน)''], [http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=122 และมิลินทปัญหา อัปโปสุกตภาวปัญหา ที่ ๘],</ref>เช่นนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงมิได้ขวนขวายที่จะแสดงธรรมและปฏิสังสันต์ในอันที่จะได้พ้นจากสันโดษและวิเวกซึ่งเป็นที่สมบูรณ์ น้อมแล้วแต่ที่ยิ่ง คือยินดีอยู่ด้วยสันโดษเป็น[[วิเวก]]เอกกะ ด้วยเป็นสำคัญเฉพาะเพียงแต่ลำพัง จึงมิกล่าวขวนขวาย จึงประจำอยู่แต่ในป่านานๆ เมื่อต้องจำเป็นด้วยสัมภาระ หรือเมื่อจวนเวลาแห่งธรรมุทเทศจำเป็นถึงจะเข้ามาในเมืองเพื่อโปรด และ[[บิณฑบาต]]สักครั้งหนึ่ง
({{lang-pi|ปจฺเจกพุทฺธ}}; {{lang-sa|ปฺรตฺเยกพุทฺธ}}) เป็น[[พระพุทธเจ้า]]ประเภทหนึ่ง ที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้ประกาศพระพุทธศาสนา ที่เรียกดังนี้เพราะเมื่อได้ญาณสัมปยุตเป็นที่เฉพาะถึงตรัสรู้ธรรมแล้วให้เกิด อโปหะเป็นที่คล้องเกี่ยว ได้การสิ้นสงสัยและการสละทิ้งอย่างยิ่ง ในที่ๆเป็นเครื่องอุดหนุนให้บังเกิดอัปโปสุกกธรรม<ref>[http://www.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/764.pdf วิทยานิพนธ์ฯ บัณฑิตวิทยาลัยฯ ''พระครูวินัยธรภิรม กลฺยาโณ (ชื่นบาน)''] {{Webarchive|url=https://web.archive.org/web/20181123173800/http://www.mcu.ac.th/userfiles/file/library1/Thesis/764.pdf |date=2018-11-23 }}, [http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=122 และมิลินทปัญหา อัปโปสุกตภาวปัญหา ที่ ๘],</ref>เช่นนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงมิได้ขวนขวายที่จะแสดงธรรมและปฏิสังสันต์ในอันที่จะได้พ้นจากสันโดษและวิเวกซึ่งเป็นที่สมบูรณ์ น้อมแล้วแต่ที่ยิ่ง คือยินดีอยู่ด้วยสันโดษเป็น[[วิเวก]]เอกกะ ด้วยเป็นสำคัญเฉพาะเพียงแต่ลำพัง จึงมิกล่าวขวนขวาย จึงประจำอยู่แต่ในป่านานๆ เมื่อต้องจำเป็นด้วยสัมภาระ หรือเมื่อจวนเวลาแห่งธรรมุทเทศจำเป็นถึงจะเข้ามาในเมืองเพื่อโปรด และ[[บิณฑบาต]]สักครั้งหนึ่ง


พระปัจเจกพุทธเจ้าได้บำเพ็ญบารมี 2 [[อสงไขย]]แสน[[กัป]]<ref>[http://etipitaka.com/read/thaimm/50/18/ ไม่ต่ำกว่านั้น แม้ในสัทธา และวิริยาธิกะ เลยกำหนดไปกว่าเล็กน้อย แต่ไม่เกินไปกว่าอสงไขย ๓,มาใน ''พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล ฉบับพิมพ์ ๙๑ เล่ม'' เล่มที่ ๕๐ หน้าที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๑๘]</ref> และตรัสรู้[[อริยสัจ 4]] ด้วยพระองค์เองเช่นเดียวกับพระ[[สัมมาสัมพุทธเจ้า]] แต่จะเสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้น[[ศาสนาพุทธ]] และมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ทรงประกาศพระศาสนาเกิดสาวกพุทธบริษัทเหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้าได้บำเพ็ญบารมี 2 [[อสงไขย]]แสน[[กัป]]<ref>[http://etipitaka.com/read/thaimm/50/18/ ไม่ต่ำกว่านั้น แม้ในสัทธา และวิริยาธิกะ เลยกำหนดไปกว่าเล็กน้อย แต่ไม่เกินไปกว่าอสงไขย ๓,มาใน ''พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล ฉบับพิมพ์ ๙๑ เล่ม'' เล่มที่ ๕๐ หน้าที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๑๘]</ref> และตรัสรู้[[อริยสัจ 4]] ด้วยพระองค์เองเช่นเดียวกับพระ[[สัมมาสัมพุทธเจ้า]] แต่จะเสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้น[[ศาสนาพุทธ]] และมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ทรงประกาศพระศาสนาเกิดสาวกพุทธบริษัทเหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

รุ่นแก้ไขปัจจุบันเมื่อ 12:17, 26 กันยายน 2564

พระปัจเจกพุทธเจ้า[1][2] (บาลี: ปจฺเจกพุทฺธ; สันสกฤต: ปฺรตฺเยกพุทฺธ) เป็นพระพุทธเจ้าประเภทหนึ่ง ที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้ประกาศพระพุทธศาสนา ที่เรียกดังนี้เพราะเมื่อได้ญาณสัมปยุตเป็นที่เฉพาะถึงตรัสรู้ธรรมแล้วให้เกิด อโปหะเป็นที่คล้องเกี่ยว ได้การสิ้นสงสัยและการสละทิ้งอย่างยิ่ง ในที่ๆเป็นเครื่องอุดหนุนให้บังเกิดอัปโปสุกกธรรม[3]เช่นนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงมิได้ขวนขวายที่จะแสดงธรรมและปฏิสังสันต์ในอันที่จะได้พ้นจากสันโดษและวิเวกซึ่งเป็นที่สมบูรณ์ น้อมแล้วแต่ที่ยิ่ง คือยินดีอยู่ด้วยสันโดษเป็นวิเวกเอกกะ ด้วยเป็นสำคัญเฉพาะเพียงแต่ลำพัง จึงมิกล่าวขวนขวาย จึงประจำอยู่แต่ในป่านานๆ เมื่อต้องจำเป็นด้วยสัมภาระ หรือเมื่อจวนเวลาแห่งธรรมุทเทศจำเป็นถึงจะเข้ามาในเมืองเพื่อโปรด และบิณฑบาตสักครั้งหนึ่ง

พระปัจเจกพุทธเจ้าได้บำเพ็ญบารมี 2 อสงไขยแสนกัป[4] และตรัสรู้อริยสัจ 4 ด้วยพระองค์เองเช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่จะเสด็จมาตรัสรู้ในคราวที่โลกว่างเว้นศาสนาพุทธ และมาตรัสรู้ได้หลายพระองค์ในสมัยเดียวกัน แต่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มิได้ทรงประกาศพระศาสนาเกิดสาวกพุทธบริษัทเหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ในปรมัตถโชติกา อรรถกถาสุตตนิบาตอธิบายว่า การบรรลุธรรมของ[5]พระปัจเจกพุทธเจ้า เปรียบเสมือนรสกับข้าวที่พรานป่าได้ลิ้มในเมือง ฉะนั้น จึงไม่อาจสอนให้บุคคลอื่นรู้ตามตนได้ (คือสอนได้แต่ไม่อาจให้รู้ตามได้)[6] ไม่ก่อตั้งหรือสถาปนาในรูปสถาบันศาสนา แต่เน้นอนุโมทนาแก่ผู้ถวายทานให้ และจะอุบัติขึ้นเฉพาะในช่วงระหว่างพุทธันดร กล่าวคือ ในช่วงเวลาเมื่อโลกว่างจากพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตัวอย่างเช่นในระหว่างกาลแห่งพุทธาภิสมัยในปัจจุบันนี้ ได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้าพระนามมาตังคะเสด็จอุบัติขึ้นและปรินิพพาน เมื่อพระโพธิสัตว์จุติลงมาอุบัติแล้วจากสวรรค์ชั้นดุสิตภพ (คือ พระปัจเจกพุทธเจ้าได้ปรินิพพานแล้วซึ่งนับเฉพาะกาลก่อนการประจวบแล้วซึ่งการประสูติกาลของพระโพธิสัตว์นั้น)[7]

พระปัจเจกพุทธเจ้าแต่ละพระองค์มีคติด้วยธรรมะประวัติคล้ายๆกัน คือ เป็นพระชาติมาจากราชามหากษัตริย์ พราหมณ์ หรือคหบดี[8]แต่โดยมาก ณ ที่นั้น ในที่ๆเบื่อหน่ายในโลกิยสมบัติทั้งหลายแล้ว ได้ออกบวชศึกษาพระธรรมจนบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณ เมื่อบรรลุพระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ก็ไปชุมนุมที่ภูเขาคันธมาทน์ ซึ่งเป็นยอดเขาแห่งหนึ่งในป่าหิมพานต์หรือหิมาลัย มีฝูงช้างฉัททันต์คอยปรนนิบัติอยู่เป็นนิจ

คุณลักษณะพิเศษที่สำคัญประการหนึ่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าคือ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว หรือการดำเนินชีวิตอยู่เพียงลำพัง (เอกะ) ในวรรณคดีพระพุทธศาสนา เปรียบเทียบ การดำเนินชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวของพระปัจเจกพุทธเจ้า เหมือนกับนอแรด (ขคฺควิสาณกปฺโป) ซึ่งแรดของอินเดียมีเพียงนอเดียว ส่วนแรดในประเทศอื่นมี 2 นอก็มี แต่กระนั้นก็ตาม พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ต้องมาประชุมพร้อมกันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน คือในวันที่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นและในวันอุโบสถ

พระปัจเจกพุทธเจ้ามีมากพระองค์และมีเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏมาในพระไตรปิฎก ว่ามีพระปัจเจกพุทธเจ้า ถึง 5 พระองค์บ้าง และ 8 พระองค์บ้าง และในบทธรรมซึ่งเป็นนิทานสำคัญนั้นเอง กล่าวว่า ได้มีพระปัจเจกพุทธเจ้าคราวเดียวกันถึง 500 พระองค์ก็มี พระปัจเจกพุทธเจ้าประพฤติปฏิบัติตนและปรนนิบัติธรรมเป็นสัมโมทนียะอยู่ในที่ ณ ที่เรียกชื่อว่า ภูเขาคันธมาทน์อยู่ประมาณถึง 500 รูป หรือทั้งหมดในพระปัจเจกธรรมาภิสมัยนั้น แต่เพราะไม่ปรากฏตนต่อสาธารณะกระทำแต่เฉพาะมุ่งอยู่ในที่เร้น และไม่ปรารภธรรมอันเป็นอาจาริยวัตร[9]ในที่จะประกาศอุทเทศนั้นแก่ศิษย์ พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงไม่ปรากฏชื่อและเรื่องราวนั้นด้วยโดยทั่วไป ซึ่งที่จะทราบได้ทั้งหมดนั้นก็มาแต่โดยนัยที่พระพุทธเจ้าตรัสประทาน ดังที่ได้ตรัสถึง อิสิคีรีมหาบรรพตเป็นต้น ว่านั้นคือภูเขา[10]แห่งฤๅษี(หมายถึงพระปัจเจกพระพุทธเจ้า)

พระพุทธองค์ตรัสแก่พระอานนท์ในคัมภีร์ปัจเจกพุทธาปธานว่า "ในโลกทั้งปวง เว้นเราแล้ว ไม่มีใครเสมอพระปัจเจกพุทธเจ้าเลย"[11]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ปัจเจกพุทธะ"
    ปัจเจกพุทธะ [ปัดเจกกะ-] น. ชื่อพระพุทธเจ้าพวกหนึ่งที่ตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น. (ป.). แม่คำของ "ปัจเจกพุทธะ" คือ ปัจเจก ปัจเจก- โดย ฉบับราชบัณฑิต.,[ปัจเจกสัมพุทโธ (ปัด-เจก-กะ-สัม-พุด-โท) ก็ว่า จากพระไตรปิฎก ฉบับภาษาบาลี เล่มที่ ๑๔ ข้อที่ ๒๕๐],
  2. ความหมายใน ฉบับประมวลศัพท์. ว่าคือ วิสุทธิเทพ,ปัจเจกโพธิสัมพุทธมหาเจดีย์ ว่าด้วยเรื่องพระปรางค์สีม่วง.,สารานุกรมฉบับกาญจนาภิเษก
  3. วิทยานิพนธ์ฯ บัณฑิตวิทยาลัยฯ พระครูวินัยธรภิรม กลฺยาโณ (ชื่นบาน) เก็บถาวร 2018-11-23 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, และมิลินทปัญหา อัปโปสุกตภาวปัญหา ที่ ๘,
  4. ไม่ต่ำกว่านั้น แม้ในสัทธา และวิริยาธิกะ เลยกำหนดไปกว่าเล็กน้อย แต่ไม่เกินไปกว่าอสงไขย ๓,มาใน พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล ฉบับพิมพ์ ๙๑ เล่ม เล่มที่ ๕๐ หน้าที่ ๑๘ บรรทัดที่ ๑๘
  5. ฉบับ มมร เล่มที่ ๔๓ หน้าที่ ๑๕๕ แสดงเรื่องพระปัจเจกพุทธเจ้า จะสั่งสอนให้สุสิมมาณพให้ได้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าด้วย แต่ว่าจะต้องบรรพชาซะก่อน
  6. ในชั้นที่ลึกซึ้ง ว่า หมายถึง พระปัจเจกพุทธเจ้าไม่อาจกระทำพุทธพยากรณ์ด้วยกาล และด้วยกรณีย์กิจในเหตุนั้นๆ[ต้องการอ้างอิง]
  7. การนับเวลาประสูติกาล ให้นับในประเพณีที่นับวันประสูติด้วยการนับเวลาตั้งแต่ระยะกาลแห่งแรกปฏิสนธิ ซึ่งมีมาทั้งในอินเดียโบราณ และทั้งประเพณีจีน[ต้องการอ้างอิง]
  8. พระปัจเจกโพธิสัตว์อภิเษกพระปัจเจกสัมมาสัมโพธิญาณแล้วจากทุกๆสาขาอาชีพถึงเป็นนายพรานก็มี แต่ความมีปรากฏมาในชั้นอรรถกถา ด้วยนัยที่ได้กล่าวแต่หลักฐานในชั้นแรกๆก่อน ใจความข้อนี้ถึงได้เลือนๆไป จนถึงกะว่าไม่มีก็มีในผู้ที่ถือเข้าเฉพาะหลักในสำนักที่ไม่ถือและไม่นับบทธรรมที่มาในอรรถกถา ฉะนั้นจึงพอแต่อ้างอิงไว้เป็นแต่เพียงข้อสังเกตฯ ว่าพระชาติเมื่อจะอภิเษกด้วยพระปัจเจกธรรมถึงด้วยพระปัจเจกสัมมาสัมโพธิญาณนั้น ว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งนั้น ดังนั้นมีมาด้วยทุกแห่ง และอาจเป็นได้จากทุกๆอาชีพ ดังพอปรากฏหลักฐาน(มาในอรรถกถา)บ้าง ดังนี้
    พระปัจเจกพุทธเจ้า พระชาตินายช่างกัลบก
    พระปัจเจกพุทธเจ้า พระชาตินายพราน ได้รับคำสอนจากพระโพธิสัตว์พระชาตินกยูงทอง
    พระปัจเจกพุทธเจ้า พระชาติชาวไร่ ,นักเดินทาง ,คนจ่ายตลาด ,นายอำเภอ
  9. หมายถึงการได้เป็นธรรมาจารย์ คือผู้สั่งสอน ปรากฏในพจนานุกรม ฉบับประมวลศัพท์ ว่า
    ผู้ที่ถูกตั้งเป็นอาจารย์นั้น มี ๔ อย่าง คือ
    ๑) บัพพชาจารย์ หรือ บรรพชาจารย์ อาจารย์ในบรรพชา
    ๒) อุปสัมปทาจารย์ อาจารย์ในอุปสมบท
    ๓) นิสสยาจารย์ อาจารย์ผู้ให้นิสสัย
    ๔) อุทเทศาจารย์ หรือ ธรรมาจารย์ อาจารย์ผู้สอนธรรม
  10. หมายถึงในเบญจคีรีบรรพต ๕ ยอดภูเขา แต่ภูเขา ๑ในห้าแห่งภูเขานั้น เรียกว่า “คิลิ” ซึ่งหมายถึงที่มีมาในอิสิคิลิสูตร แล้วนั้น
    เรื่องเคยมีมาแล้ว เรื่องพระปัจเจกพุทธเจ้า,พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑ - ข้อที่ ๒๔๙ ถึง ๒๕๑ ใน อิสิคิลิสูตรที่ ๖
  11. มีคำเปรียบถึงความรู้ของพระปัจเจกพระพุทธเจ้า ที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ว่า “ ญาณของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นกับ ‘ แสงพระจันทร์ ’ ญาณของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นกับแสงสุริยมณฑลพันดวง ” (ในอรหันตสาวก เช่น แสงดาว)
    พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - จากฉบับพร้อมอรรถกถาแปล เล่มที่ 13 หน้า 71.