ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2563"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
InternetArchiveBot (คุย | ส่วนร่วม)
Rescuing 2 sources and tagging 0 as dead.) #IABot (v2.0.8
บรรทัด 66: บรรทัด 66:
|8 ลูก
|8 ลูก
|4 ลูก
|4 ลูก
|<ref name="Apr2CSU">{{cite report|author=Phil Klotzbach|author2=Michael Bell|author3=Jhordanne Jones|title=Extended Range Forecast of Atlantic Seasonal Hurricane Activity and Landfall Strike Probability for 2020|url=https://tropical.colostate.edu/media/sites/111/2020/04/2020-04.pdf|publisher=Colorado State University|date=April 2, 2020|accessdate=April 2, 2020}}</ref>
|<ref name="Apr2CSU">{{cite report|author=Phil Klotzbach|author2=Michael Bell|author3=Jhordanne Jones|title=Extended Range Forecast of Atlantic Seasonal Hurricane Activity and Landfall Strike Probability for 2020|url=https://tropical.colostate.edu/media/sites/111/2020/04/2020-04.pdf|publisher=Colorado State University|date=April 2, 2020|accessdate=April 2, 2020|archivedate=2020-04-02|archiveurl=https://web.archive.org/web/20200402163245/https://tropical.colostate.edu/media/sites/111/2020/04/2020-04.pdf}}</ref>
|-
|-
|align="left"|TSR
|align="left"|TSR
บรรทัด 101: บรรทัด 101:
|7–9 ลูก
|7–9 ลูก
|3–4 ลูก
|3–4 ลูก
|<ref name="SMN2020">{{cite web|url= https://smn.conagua.gob.mx/es/ciclones-tropicales/pronostico-ciclones-tropicales-2020|title= Pronóstico de Ciclones Tropicales 2020|date=May 20, 2020|publisher= [[Servicio Meteorológico Nacional (Mexico)|SMN]]|accessdate=May 20, 2020}}</ref>
|<ref name="SMN2020">{{cite web|url= https://smn.conagua.gob.mx/es/ciclones-tropicales/pronostico-ciclones-tropicales-2020|title= Pronóstico de Ciclones Tropicales 2020|date= May 20, 2020|publisher= [[Servicio Meteorológico Nacional (Mexico)|SMN]]|accessdate= May 20, 2020|archive-date= 2020-06-02|archive-url= https://web.archive.org/web/20200602140033/https://smn.conagua.gob.mx/es/ciclones-tropicales/pronostico-ciclones-tropicales-2020|url-status= dead}}</ref>
|-
|-
|align="left"|{{tooltip|UKMO*|สำนักงานอุตุนิยมวิทยาสหราชอาณาจักร}}
|align="left"|{{tooltip|UKMO*|สำนักงานอุตุนิยมวิทยาสหราชอาณาจักร}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:43, 28 สิงหาคม 2564

ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2563
แผนที่สรุปฤดูกาล
ขอบเขตฤดูกาล
ระบบแรกก่อตัว16 พฤษภาคม พ.ศ. 2563
ระบบสุดท้ายสลายตัว18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
พายุมีกำลังมากที่สุด
ชื่อไอโอตา
 • ลมแรงสูงสุด160 ไมล์/ชม. (260 กม./ชม.)
(เฉลี่ย 1 นาที)
 • ความกดอากาศต่ำที่สุด917 มิลลิบาร์ (hPa; 27.08 inHg)
สถิติฤดูกาล
พายุดีเปรสชันทั้งหมด31 ลูก (สถิติสูงสุด, เท่ากับฤดู 2548)
พายุโซนร้อนทั้งหมด30 ลูก (สถิติสูงสุด)
พายุเฮอริเคน13 ลูก
พายุเฮอริเคนขนาดใหญ่
(ระดับ 3 ขึ้นไป)
6 ลูก
ผู้เสียชีวิตทั้งหมด≥ 409 คน
ความเสียหายทั้งหมด> 4.103 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2020)
ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก
2561, 2562, 2563, 2564, 2565

ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2563 คือช่วงของฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในซีกโลกเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นฤดูที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนมากที่สุดและสร้างความเสียหายสูงเป็นอันดับที่เจ็ดของแอ่งแอตแลนติกเหนือ นับเป็นฤดูกาลที่ห้าติดต่อกันแล้ว ที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนในแอ่งแอตแลนติกเหนือสูงกว่าค่าเฉลี่ยนับแต่ฤดู 2559 แต่นับเป็นฤดูแรกที่มีกิจกรรมของพายุเป็นอย่างมากนับแต่ฤดู 2560 โดยฤดูกาลนี้ประกอบด้วย พายุหมุนเขตร้อนและพายุหมุนกึ่งเขตร้อนรวม 31 ลูก ซึ่งพายุหมุนทุกลูกยกเว้นพายุดีเปรสชันเขตร้อนสิบ ทวีกำลังแรงขึ้นในลำดับถัดไปทั้งสิ้น ดังนั้นจึงมีพายุดีเปรสชันทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนทั้งสิ้น 30 ลูก ในจำนวนนี้ 13 ลูกได้ทวีกำลังแรงต่อเป็นพายุเฮอริเคน และในจำนวนนี้ 6 ลูกมีกำลังเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ โดยที่มีกำลังแรงที่สุดคือ ไอโอตา มีกำลังเป็นพายุระดับ 5 ตามมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน[nb 1] และเป็นฤดูกาลที่สองที่มีการนำระบบการตั้งชื่อพายุด้วยชื่อของตัวอักษรกรีกมาใช้ (ครั้งแรกในฤดู 2548) ในบรรดาพายุที่ได้รับชื่อทั้ง 30 ลูก มีพายุอยู่จำนวน 12 ลูกที่พัดขึ้นฝั่งสหรัฐอเมริกาที่ติดกัน (รัฐที่อยู่ติดกันของสหรัฐ) ซึ่งทำลายสถิติของการพัดขึ้นฝั่ง 9 ลูกในฤดู 2459 นอกจากนี้ยังเป็นฤดูกาลที่ห้าติดต่อกันแล้วที่มีพายุเฮอริเคนระดับ 5 อย่างน้อยหนึ่งลูก ในระหว่างฤดูกาล พายุโซนร้อนจำนวน 27 ลูกได้ทำลายสถิติการก่อตัวแรกสุดไปตามจำนวนพายุ ฤดูกาลนี้ยังมีพายุหมุนเขตร้อนที่มีการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วเป็นประวัติการณ์ที่ 10 ลูก เทียบเท่ากับฤดู 2538[2] โดยกิจกรรมที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนนี้เกิดจากลานีญา ที่ก่อตัวขึ้นในช่วงฤดูร้อนของปี 2563

ฤดูกาลอย่างเป็นทางการนั้นเริ่มนับในวันที่ 1 มิถุนายน และสิ้นสุดในวันที่ 30 พฤศจิกายน วันเหล่านี้เป็นขอบระยะเวลาตามประวัติศาสตร์ที่จะมีพายุก่อตัวขึ้นมากที่สุดในแอ่งแอตแลนติก อย่างไรก็ตามการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวได้ทุกเวลาในปี ดังที่ปรากฏในฤดู 2563 จากการก่อตัวของพายุโซนร้อนอาร์เทอร์และพายุโซนร้อนเบอร์ทา ในวันที่ 16 และ 27 พฤษภาคม ตามลำดับ จึงถือว่าเป็นฤดูกาลที่หกติดต่อกันแล้วที่มีพายุก่อตัวในลักษณะก่อนฤดูกาล (pre-season systems) ต่อมาพายุกริสโตบัลได้ก่อตัวขึ้นในวันแรกของเดือนมิถุนายน และทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 15 คน ปลายเดือนกรกฎาคม พายุแฮนนา ได้เป็นพายุเฮอริเคนลูกแรกของฤดูกาล และพัดขึ้นฝั่งที่เซาท์เท็กซัส ตามด้วยพายุเฮอริเคนไอเซอัส ที่พัดขึ้นฝั่งที่บาฮามาสและรัฐนอร์ทแคโรไลนา โดยพายุทั้งสองมีความรุนแรงเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 1 และสร้างความเสียหายไว้รวม 4.725 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 2] ปลายเดือนสิงหาคม พายุลอราพัดขึ้นฝั่งที่รัฐลุยเซียนา เป็นพายุเฮอริเคนระดับ 4 และกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในแง่ความเร็วลมที่พัดขึ้นฝั่งรัฐลุยเซียนา ควบคู่กับพายุเฮอริเคนลาสต์ไอส์แลนด์ในปี 2399[3] พายุลอราสร้างความเสียหาย 1.41 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีผู้เสียชีวิตจำนวน 77 คน เดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนมากที่สุดในสถิติของแอ่งแอตแลนติก โดยมีพายุได้รับชื่อจำนวนสิบลูก เริ่มจาก พายุนานา ซึ่งมีอิทธิพลต่อประเทศเบลีซในฐานะพายุเฮอริเคนระดับ 1, พายุเฮอริเคนพอเลตต์พัดขึ้นฝั่งที่เบอร์มิวดา ซึ่งนับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ฤดู 2557 ก่อนจะมีการเปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน จากนั้นได้มีการก่อตัวขึ้นใหม่ (reformed) ใกล้กับอะโซร์สและมีการเคลื่อนไหวอยากผิดปกติ ก่อนจะสลายตัวไปในวันที่ 23 กันยายน, พายุเฮอริเคนแซลลีส่งผลกระทบกับรัฐในชายฝั่งอ่าวของสหรัฐ ส่งผลให้เกิดอุทกภัยอย่างหนัก ขณะที่พายุเฮอริเคนเทดดีได้ส่งผลกระทบกับเบอร์มิวดา ก่อนจะส่งผลกระทบกับแอตแลนติกแคนาดา (ด้านมหาสมุทรแอตแลนติกของประเทศแคนาดา) ในฐานะพายุหมุนนอกเขตร้อน จากนั้นจึงได้เริ่มมีการนำชื่อตัวอักษรกรีกมาใช้เป็นชื่อพายุ เริ่มต้นด้วย พายุกึ่งโซนร้อนแอลฟาซึ่งพัดขึ้นฝั่งประเทศโปรตุเกส เดือนตุลาคมเริ่มต้นด้วยพายุโซนร้อนแกมมาและพายุเฮอริเคนเดลตา ซึ่งทั้งคู่ได้ส่งผลกระทบกับคาบสมุทรยูกาตันของประเทศเม็กซิโก โดยต่อมาพายุเดลตาได้ส่งผลกระทบกับรัฐลุยเซียนา จึงกลายเป็นพายุลูกที่ 10 ที่พัดเข้าสหรัฐในฤดูกาลนี้ นอกจากนี้ พายุเฮอริเคนเซตาก็เคลื่อนผ่านคาบสมุทรยูกาตันด้วย ก่อนจะทำลายสถิติเป็นพายุลูกที่ห้าที่พัดขึ้นฝั่งที่รัฐลุยเซียนา จากนั้นจึงกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนลูกแรกนับตั้งแต่พายุเฮอริเคนแซนดีในปี 2555 ที่สร้างหิมะ[4] ในวันสุดท้ายของเดืิอนตุลาคม พายุเฮอริเคนอีตาก่อตัวขึ้นและส่งผลกระทบกับอเมริกากลางเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 4 ในวันที่ 3 พฤศจิกายน[5] และในที่สุดแล้ว พายุอีตาได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 189 คน และมีความเสียหาย 6.68 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หลังจากนั้นไม่นาน พายุโซนร้อนทีตาได้ก่อตัวขึ้น และพายุลูกสุดท้าย พายุไอโอตา ได้ก่อตัวขึ้นในแคริบเบียน ก่อนจะทวีกำลังแรงอย่างรวดเร็ว และกลายเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 5 ในวันที่ 16 พฤศจิกายน นอกจากนี้ยังทำให้ฤดู 2563 นี้เป็นฤดูกาลเดียวที่มีพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ 2 ลูกในเดือนพฤจิกายน[6] โดยพายุไอโอตาทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงในอเมริกากลาง ซึ่งเพิ่งได้รับผลกระทบจากพายุอีตาไป

ก่อนหน้านั้น ทางการสหรัฐได้แสดงความกังวลว่าฤดูพายุเฮอริเคนจะส่งผลกระทบต่อการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในกับประชากรในพื้นที่ชายฝั่งสหรัฐได้[7][8] ดังแสดงไว้ในหน้าความเห็นพิเศษ (op-ed) ของวารสารแห่งสมาคมการแพทย์อเมริกัน ความว่า "มีความขัดแย้งกันโดยธรรมระหว่างกลยุทธ์ในการปกป้องประชากรจากอันตรายจากพายุเฮอริเคน นั่นคือ การอพยพ และการหลบภัย (เช่น การขนส่งและการรวบรวมผู้คนเข้ากันเป็นกลุ่ม)" และ "แนวทางการชะลอการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีประสิทธิภาพ นั่นคือ การเว้นระยะห่างทางกาย และการสั่งให้อยู่แต่บ้าน (เช่น การแยกและการกีดกันผู้คนออกจากกัน)"[9]

การพยากรณ์ฤดูกาล

การพยากรณ์กิจกรรมในเขตร้อนของฤดูกาล 2562
ข้อมูล วันที่ พายุที่
ได้รับชื่อ
พายุเฮอริเคน พายุเฮอริเคน
ขนาดใหญ่
อ้างอิง
ค่าเฉลี่ย (2524–2553[10]) 12.1 6.4 2.7
สถิติสูงที่สุด 28 ลูก 15 ลูก 7 ลูก
สถิติต่ำที่สุด 4 ลูก 2† ลูก 0† ลูก
–––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––
TSR 19 ธันวาคม 2562 15 ลูก 7 ลูก 4 ลูก [11]
CSU 2 เมษายน 2563 16 ลูก 8 ลูก 4 ลูก [12]
TSR 7 เมษายน 2563 16 ลูก 8 ลูก 3 ลูก [13]
UA 13 เมษายน 2563 19 ลูก 10 ลูก 5 ลูก [14]
TWC 15 เมษายน 2563 18 ลูก 9 ลูก 4 ลูก [15]
NCSU 17 เมษายน 2563 18–22 ลูก 8–11 ลูก 3–5 ลูก [16]
SMN 20 พฤษภาคม 2563 15–19 ลูก 7–9 ลูก 3–4 ลูก [17]
UKMO* 20 พฤษภาคม 2563 13* ลูก 7* ลูก 3* ลูก [18]
NOAA 21 พฤษภาคม 2563 13–19 ลูก 6–10 ลูก 3–6 ลูก [19]
ACCU 25 พฤษภาคม 2563 14–20 ลูก 7-11 ลูก 4–6 ลูก [20]
TSR 28 พฤษภาคม 2563 17 ลูก 8 ลูก 3 ลูก [21]
CSU 4 มิถุนายน 2563 19 ลูก 9 ลูก 4 ลูก [22]
UA 12 มิถุนายน 2563 17 ลูก 11 ลูก 4 ลูก [23]
CSU 7 กรกฎาคม 2563 20 ลูก 9 ลูก 4 ลูก [24]
TSR 7 กรกฎาคม 2563 18 ลูก 8 ลูก 4 ลูก [25]
TWC 16 กรกฎาคม 2563 20 ลูก 8 ลูก 4 ลูก [26]
ACCU 30 กรกฎาคม 2563 20-24 ลูก 9-11 ลูก 4–6 ลูก [27]
CSU 5 สิงหาคม 2563 24 ลูก 12 ลูก 5 ลูก [28]
TSR 5 สิงหาคม 2563 24 ลูก 10 ลูก 4 ลูก [29]
NOAA 6 สิงหาคม 2563 19–25 ลูก 7–11 ลูก 3–6 ลูก [30]
–––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––––
เกิดขึ้นจริง
23 ลูก 8 ลูก 2 ลูก
* เฉพาะเดือนมิถุนายน–เดือนพฤศจิกายนเท่านั้น
† ฤดูกาลล่าสุดของเหตุการณ์ลักษณะนี้ซึ่งขึ้นหลายครั้ง (ดูทั้งหมด)

การพยากรณ์กิจกรรมพายุหมุนเขตร้อนถูกเผยแพร่ก่อนฤดูกาลเริ่มต้นขึ้นโดยฟิลิป เจ. คลอตซ์แบช, วิลเลียม เอ็ม เกรย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเฮอริเคน และผู้เกี่ยวข้องจากมหาวิทยาลัยรัฐโคโลราโด ซึ่งแยกจากนักพยากรณ์ของ NOAA

ทีมของคลอตซ์แบชระบุว่าจะมีพายุอยู่ในค่าเฉลี่ยต่อฤดูกาล (2524–2553) โดยมีพายุโซนร้อน 12.1, พายุเฮอริเคน 6.4, พายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ 2.7 (มีความรุนแรงถึงระดับ 3 ตามมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน) และดัชนีเอซีอีอยู่ที่ 96.1[31] ขณะที่องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ จะระบุว่าฤดูกาลนี้จะมีพายุมากกว่าค่าปกติ ใกล้เคียงค่าปกติ หรือน้อยกว่าค่าปกติ และรวมไปถึงจำนวนพายุที่ได้รับชื่อ, พายุที่มีกำลังถึงเฮอริเคน, พายุที่มีกำลังถึงเฮอริเคนขนาดใหญ่ และดัชนีเอซีอี[32]

การคาดหมายก่อนฤดูกาล

วันที่ 19 ธันวาคม 2562 องค์กรความเสี่ยงพายุโซนร้อน (TSR) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มสาธารณะกันของผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัย การจัดการความเสี่ยง และการพยากรณ์ภูมิอากาศรายฤดูกาลที่มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน ได้ออกการคาดหมายระยะยาวโดยคาดว่าฤดูเฮอริเคนนั้นจะสูงกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย ในรายงานนั้นระบุว่า จะมีพายุที่ได้รับชื่อ 15 ลูก ในจำนวนนั้น 7 ลูกเป็นถึงพายุเฮอริเคน และในจำนวนพายุเฮอริเคนจะมี 4 ลูกที่เป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ และมีดัชนีพลังงานพายุหมุนสะสมอยู่ที่ 105 หน่วย การพยากรณ์นี้อ้างอิงจากการพยากรณ์ลมค้าว่าจะใกล้เคียงค่าปกติ และประกอบกับอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่จะอุ่นกว่าปกติเล็กน้อย ทั่วทั้งเขตร้อนของมหาสมุทรแอตแลนติก รวมไปถึงสภาพเอลนีโญที่เป็นกลางในเขตศูนย์สูตรของมหาสมุทรแปซิฟิกด้วย[33]

ภาพรวมฤดูกาล

มาตราพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแอตแลนติกและมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก (SSHWS)
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)   พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)   พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)   พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)

พายุ

พายุโซนร้อนอาร์เทอร์

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 16 – 19 พฤษภาคม
ความรุนแรง 60 ไมล์/ชม. (95 กม./ชม.) (1 นาที)
991 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.26 นิ้วปรอท)

วันที่ 12 พฤษภาคม ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติสหรัฐ ระบุว่ามีบริเวณความกดอากาศต่ำที่คาดว่าน่าจะก่อตัวในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ตั้งอยู่บริเวณทางตะวันออกเฉียงเหนือของบาฮามาส[34] ช่วงต้นวันที่ 14 พฤษภาคม ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติเริ่มติดตามบริเวณของกลุ่มฝนและพายุฟ้าคะนองบริเวณช่องแคบฟลอริดา[35] ระบบได้เคลื่อนตัวไปทางตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่พื้นที่ประเทศบาฮามาส ขณะที่การจัดระเบียบยังคงที่อยู่ โดยถือเป็นพายุดีเปรสชันลูกแรกของฤดูกาล ณ เวลา 21:00 UTC วันที่ 16 พฤษภาคม[36] การตรวจสอบโดยอากาศยานลาดตระเวน พบหลักฐานที่สนับสนุนให้ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติปรับให้ระบบเป็นพายุโซนร้อน ให้ชื่อว่า อาร์เทอร์ (Arthur) ณ เวลา 03:00 UTC วันที่ 17 พฤษภาคม[37] โดยถือเป็นพายุโซนร้อนก่อนฤดูกาล เนื่องจากฤดูอย่างเป็นทางการกำลังจะเริ่มต้นในวันที่ 1 มิถุนายน[38] ระบบพายุมีการทวีกำลังเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ก่อนที่ภาพถ่ายดาวเทียมจะแสดงให้เห็นการเริ่มอ่อนกำลังลง ใกล่กับชายฝั่งของรัฐนอร์ทแคโรไลนาเนื่องจากอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลบริเวณขอบ อากาศแห้ง และลมเฉือนระดับปานกลาง[39] อย่างไรก็ตาม พายุอาร์เทอร์กลับมีทวีกำลังขึ้นอีกเล็กน้อย และดูมีลักษณะเป็นพายุเขตร้อนมากขึ้นในช่วงเช้าของวันที่ 18 พฤษภาคม[40] หลังจากนั้น พายุอาร์เทอร์ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่ที่มีลมเฉือนสูงขึ้น ทำให้ศูนย์กลางการไหลเวียนถูกเปิดออก และทำให้ตัวพายุเริ่มมีการเปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุนอกเขตร้อน[41] ซึ่งกระบวนการนี้เสร็จสิ้นในเวลา 15:00 UTC ของวันที่ 19 พฤษภาคม ขณะที่ตัวระบบอยู่ทางตะวันออกของตอนใต้ของรัฐเวอร์จิเนีย[42]

พายุโซนร้อนเบอร์ทา

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 27 – 28 พฤษภาคม
ความรุนแรง 50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (1 นาที)
1004 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.65 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกริสโตบัล

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 1 – 10 มิถุนายน
ความรุนแรง 60 ไมล์/ชม. (95 กม./ชม.) (1 นาที)
994 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.35 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนดอลลี

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 22 – 24 มิถุนายน
ความรุนแรง 45 ไมล์/ชม. (75 กม./ชม.) (1 นาที)
1002 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.59 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนเอดัวร์

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 4 – 6 กรกฎาคม
ความรุนแรง 45 ไมล์/ชม. (75 กม./ชม.) (1 นาที)
1007 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.74 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนเฟย์

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 9 – 11 กรกฎาคม
ความรุนแรง 60 ไมล์/ชม. (95 กม./ชม.) (1 นาที)
998 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.47 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนกอนซาโล

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 21 – 25 กรกฎาคม
ความรุนแรง 65 ไมล์/ชม. (100 กม./ชม.) (1 นาที)
997 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.44 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนแฮนนา

พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 23 – 27 กรกฎาคม
ความรุนแรง 90 ไมล์/ชม. (150 กม./ชม.) (1 นาที)
973 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.73 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนไอเซอัส

พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 30 กรกฎาคม – 5 สิงหาคม
ความรุนแรง 85 ไมล์/ชม. (140 กม./ชม.) (1 นาที)
987 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.15 นิ้วปรอท)

พายุดีเปรสชันเขตร้อนสิบ

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 31 กรกฎาคม – 2 สิงหาคม
ความรุนแรง 35 ไมล์/ชม. (55 กม./ชม.) (1 นาที)
1007 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.74 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนโจเซฟีน

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 11 – 16 สิงหาคม
ความรุนแรง 45 ไมล์/ชม. (75 กม./ชม.) (1 นาที)
1004 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.65 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนไคล์

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 14 – 16 สิงหาคม
ความรุนแรง 50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (1 นาที)
1000 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.53 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนลอรา

พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 20 สิงหาคม – ปัจจุบัน
ความรุนแรง 80 ไมล์/ชม. (130 กม./ชม.) (1 นาที)
990 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.23 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนมาร์โก

พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 20 – 25 สิงหาคม
ความรุนแรง 75 ไมล์/ชม. (120 กม./ชม.) (1 นาที)
991 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.26 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนโอมาร์

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 31 สิงหาคม – 5 กันยายน
ความรุนแรง 40 ไมล์/ชม. (65 กม./ชม.) (1 นาที)
1003 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.62 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนนานา

พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา 1 – 4 กันยายน
ความรุนแรง 75 ไมล์/ชม. (120 กม./ชม.) (1 นาที)
994 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.35 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนพอเลตต์

พายุเฮอริเคนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 7 – 16 กันยายน
ความรุนแรง 105 ไมล์/ชม. (165 กม./ชม.) (1 นาที)
965 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.5 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนเรเน

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 7 – 14 กันยายน
ความรุนแรง 50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (1 นาที)
1000 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.53 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนแซลลี

พายุเฮอริเคนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 11 – 17 กันยายน
ความรุนแรง 105 ไมล์/ชม. (165 กม./ชม.) (1 นาที)
965 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.5 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนเทดดี

พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 12 – 23 กันยายน
ความรุนแรง 140 ไมล์/ชม. (220 กม./ชม.) (1 นาที)
945 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.91 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนวิกกี

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 14 – 17 กันยายน
ความรุนแรง 50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (1 นาที)
1000 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.53 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนเบตา

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 17 – 23 กันยายน
ความรุนแรง 60 ไมล์/ชม. (95 กม./ชม.) (1 นาที)
994 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.35 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนวิลเฟรด

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 18 – 21 กันยายน
ความรุนแรง 40 ไมล์/ชม. (65 กม./ชม.) (1 นาที)
1007 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.74 นิ้วปรอท)

พายุกึ่งโซนร้อนแอลฟา

พายุกึ่งโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 18 – 19 กันยายน
ความรุนแรง 50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (1 นาที)
996 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.41 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนแกมมา

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 2 – 6 ตุลาคม
ความรุนแรง 70 ไมล์/ชม. (110 กม./ชม.) (1 นาที)
980 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.94 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนเดลตา

พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 5 – 10 ตุลาคม
ความรุนแรง 145 ไมล์/ชม. (230 กม./ชม.) (1 นาที)
953 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.14 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนเอปซิลอน

พายุเฮอริเคนระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 26 ตุลาคม
ความรุนแรง 115 ไมล์/ชม. (185 กม./ชม.) (1 นาที)
951 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.08 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนเซตา

พายุเฮอริเคนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา 24 – 29 ตุลาคม
ความรุนแรง 110 ไมล์/ชม. (175 กม./ชม.) (1 นาที)
970 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 28.64 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนอีตา

พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา 31 ตุลาคม – 13 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 150 ไมล์/ชม. (240 กม./ชม.) (1 นาที)
923 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.26 นิ้วปรอท)

พายุโซนร้อนทีตา

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา 10 – 15 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 70 ไมล์/ชม. (110 กม./ชม.) (1 นาที)
989 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 29.21 นิ้วปรอท)

พายุเฮอริเคนไอโอตา

พายุเฮอริเคนระดับ 5 (SSHWS)
ระยะเวลา 13 – 18 พฤศจิกายน
ความรุนแรง 160 ไมล์/ชม. (260 กม./ชม.) (1 นาที)
917 มิลลิบาร์ (เฮกโตปาสกาล 27.08 นิ้วปรอท)

รายชื่อพายุ

ชุดรายชื่อต่อไปนี้ใช้เป็นชื่อสำหรับพายุที่ก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือในปี พ.ศ. 2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 21 รายชื่อ หากมีพายุก่อตัวขึ้นมากกว่านั้นหลังจากใช้ชื่อสุดท้ายแล้ว จะใช้ชื่อของตัวอักษรกรีกมาเป็นรายชื่อพายุตามลำดับตัวอักษร โดยฤดูกาล 2563 นี้ถือเป็นหนึ่งในสองฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติกเท่านั้นที่ต้องนำนโยบายการตั้งชื่อดังกล่าวมาใช้ หากมีรายชื่อใดถูกถอนจากชุด จะได้รับการประกาศในช่วยฤดูใบไม้ผลิปี พ.ศ. 2564 ระหว่างการประชุมวาระที่ 42 และ 43 ของคณะกรรมการเฮอริเคนโดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (พร้อมกับรายชื่อที่จะมาแทนในวาระการถอนชื่อจากฤดูกาล 2562)[43][44] ถ้ารายชื่อที่ถูกถอนเป็นชื่อของตัวอักษรกรีก ชื่อดังกล่าวจะถูกจัดเป็นรายชื่อถูกถอนด้วย แต่จะยังคงไว้ใช้ในชุดรายชื่อเพิ่มเติมต่อไป เช่น หากพายุเดลตาในฤดูกาล 2563 ถูกถอน จะมีการระบุในรายการรายชื่อถูกถอนเป็น "เดลตา 2020" ขณะที่ชื่อพายุเดลตาก็จะยังคงอยู่ในชุดรายชื่อเพิ่มเติมต่อไป[45] ส่วนชื่อที่ไม่ถูกถอนจากชุดรายชื่อดังกล่าวนี้ จะถูกนำมาใช้อีกครั้งในฤดูกาล 2569 โดยรายชื่อชุดนี้เป็นรายชื่อชุดเดียวกับที่เคยใช้ในฤดูกาล พ.ศ. 2557 ซึ่งไม่มีชื่อใดที่ถูกถอนเลยในปีดังกล่าว ชื่อไอเซอัสและทุกชื่อตั้งแต่พอเลตต์ถึงวิลเฟรดถูกใช้เป็นครั้งแรกในฤดูกาลนี้

ในฤดูกาล 2563 ชื่อในชุดรายชื่อถูกนำมาใช้ทั้งหมด 21 ชื่อ กับรายชื่อจากชุดรายชื่อเพิ่มเติม (ตัวเอียง) อีก 9 ชื่อ รวมแล้วมีชื่อถูกใช้เป็นชื่อพายุ 30 ชื่อ

รายชื่อพายุหมุนเขตร้อนของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือในฤดูกาล 2563
รหัสพายุ ชื่อพายุ รหัสพายุ ชื่อพายุ รหัสพายุ ชื่อพายุ รหัสพายุ ชื่อพายุ รหัสพายุ ชื่อพายุ
01L อาร์เทอร์
(Arthur)
07L กอนซาโล
(Gonzalo)
14L มาร์โก
(Marco)
20L เทดดี
(Teddy)
26L เดลตา
(Delta)
02L เบอร์ทา
(Bertha)
08L แฮนนา
(Hanna)
15L โอมาร์
(Omar)
21L วิกกี
(Vicky)
27L เอปซิลอน
(Epsilon)
03L กริสโตบัล
(Cristobal)
09L ไอเซอัส
(Isaias)
16L นานา
(Nana)
22L เบตา
(Beta)
28L เซตา
(Zeta)
04L ดอลลี
(Dolly)
11L โจเซฟีน
(Josephine)
17L พอเลตต์
(Paulette)
23L วิลเฟรด
(Wilfred)
29L อีตา
(Eta)
05L เอดัวร์
(Edouard)
12L ไคล์
(Kyle)
18L เรเน
(Rene)
24L แอลฟา
(Alpha)
30L ทีตา
(Theta)
06L เฟย์
(Fay)
13L ลอรา
(Laura)
19L แซลลี
(Sally)
25L แกมมา
(Gamma)
31L ไอโอตา
(Iota)

ดูเพิ่ม

หมายเหตุ

  1. พายุเฮอริเคนที่มีกำลังบรรลุระดับ 3 (111 ไมล์ต่อชั่วโมง หรือ 179 กิโลเมตรต่อชั่วโมง*) และสูงกว่าตามมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สันที่แบ่งออกเป็นห้าระดับนั้น จะถูกพิจารณาเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่[1]
  2. มูลค่าความเสียหายทั้งหมดเป็นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปี 2020 เท่านั้น เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น

อ้างอิง

  1. "Saffir-Simpson Hurricane Wind Scale". Miami, Florida: National Hurricane Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 20, 2020. สืบค้นเมื่อ September 13, 2020.
  2. https://twitter.com/splillo/status/1327853652858470400
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ LastIsland
  4. Day, Cindy (November 2, 2020). "WEATHER U: The science behind the snowicane". The Chronicle Herald. Halifax, Nova Scotia. สืบค้นเมื่อ November 30, 2020.
  5. Philip Klotzbach [@philklotzbach] (November 8, 2020). "Tropical Storm #Eta has made landfall in Lower Matecumbe Key, FL" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ November 12, 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  6. Philip Klotzbach [@philklotzbach] (November 16, 2020). "For the first time on record, the Atlantic has had two major #hurricane formations in November" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ November 16, 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.
  7. Miller, Kimberly; McGrath, Gareth (April 6, 2020) [April 2, 2020]. "Hurricanes in a pandemic: 'Absolutely that's our nightmare scenario'". usatoday.com. USA TODAY Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 3, 2020. สืบค้นเมื่อ October 4, 2020.
  8. Shepherd, Marshall (July 22, 2020). "Coronavirus And An Active Hurricane Season Are Bad News – 3 Concerns As Gonzalo Forms". forbes.com. Forbes Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 25, 2020. สืบค้นเมื่อ October 4, 2020.
  9. Schultz, James M.; Fugate, Craig; Galea, Sandro (August 12, 2020). "Cascading Risks of COVID-19 Resurgence During an Active 2020 Atlantic Hurricane Season" (PDF). Journal of the American Medical Association. 324 (10): 935. doi:10.1001/jama.2020.15398. S2CID 221166201. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ August 15, 2020. สืบค้นเมื่อ October 4, 2020.
  10. "Background Information: The North Atlantic Hurricane Season". Climate Prediction Center. National Oceanic and Atmospheric Administration. August 9, 2012. สืบค้นเมื่อ December 13, 2013.
  11. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Dec11TSR
  12. Phil Klotzbach; Michael Bell; Jhordanne Jones (April 2, 2020). Extended Range Forecast of Atlantic Seasonal Hurricane Activity and Landfall Strike Probability for 2020 (PDF) (Report). Colorado State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-04-02. สืบค้นเมื่อ April 2, 2020.
  13. Mark Saunders; Adam Lea (April 7, 2020). "April Forecast Update for North Atlantic Hurricane Activity in 2020" (PDF). University College London. Tropical Storm Risk. สืบค้นเมื่อ April 8, 2020.
  14. Kyle Davis; Xubin Zeng (April 14, 2020). "University of Arizona (UA) April Forecast for North Atlantic Hurricane Activity in 2020" (PDF). University of Arizona. University of Arizona. สืบค้นเมื่อ April 14, 2020.
  15. Brian Donegan; Jonathan Belles (April 16, 2020). "2020 Atlantic Hurricane Season Expected to Be More Active Than Usual, The Weather Company Outlook Says". The Weather Channel. สืบค้นเมื่อ April 16, 2020.
  16. Tracey Peake; Lian Xie (April 17, 2020). "2020 Hurricane Season Will Be Active, NC State Researchers Predict". North Carolina State University. สืบค้นเมื่อ April 17, 2020.
  17. "Pronóstico de Ciclones Tropicales 2020". SMN. May 20, 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-02. สืบค้นเมื่อ May 20, 2020.
  18. "North Atlantic tropical storm seasonal forecast 2020". Met Office. May 20, 2020. สืบค้นเมื่อ May 20, 2020.
  19. "NOAA 2020 Atlantic Hurricane Season Outlook". Climate Prediction Center. May 21, 2020. สืบค้นเมื่อ May 21, 2020.
  20. "Acccuweather 2020 Atlantic Hurricane Season Outlook". Accuweather. May 25, 2020. สืบค้นเมื่อ May 25, 2020.
  21. "Pre-Season Forecast for North Atlantic Hurricane Activity in 2020" (PDF). Tropical Storm Risk. May 28, 2020. สืบค้นเมื่อ May 28, 2020.
  22. "EXTENDED RANGE FORECAST OF ATLANTIC SEASONAL HURRICANE ACTIVITY AND LANDFALL STRIKE PROBABILITY FOR 2020" (PDF). Colorado State University. June 4, 2020. สืบค้นเมื่อ June 4, 2020.
  23. Kyle Davis; Xubin Zeng (June 12, 2020). "University of Arizona (UA) June Forecast for North Atlantic Hurricane Activity in 2020". University of Arizona. สืบค้นเมื่อ June 13, 2020.
  24. "EXTENDED RANGE FORECAST OF ATLANTIC SEASONAL HURRICANEACTIVITY AND LANDFALL STRIKE PROBABILITY FOR 2020" (PDF). Colorado State University. July 7, 2020. สืบค้นเมื่อ July 7, 2020.
  25. "July Forecast for North Atlantic Hurricane Activity in 2020" (PDF). Tropical Storm Risk. July 7, 2020. สืบค้นเมื่อ July 7, 2020.
  26. "Active Atlantic Hurricane Season Outlook Update". The Weather Channel. July 16, 2020. สืบค้นเมื่อ July 16, 2020.
  27. "Accuweather 2020 Atlantic Hurricane Season Outlook". Accuweather. July 30, 2020. สืบค้นเมื่อ July 30, 2020.
  28. "FORECAST OF ATLANTIC SEASONAL HURRICANE ACTIVITY AND LANDFALL STRIKE PROBABILITY FOR 2020" (PDF). Colorado State University. August 5, 2020. สืบค้นเมื่อ August 5, 2020.
  29. "August Forecast Update for North Atlantic Hurricane Activity in 2020" (PDF). Tropical Storm Risk. August 5, 2020. สืบค้นเมื่อ August 7, 2020.
  30. "'Extremely active' hurricane season possible for Atlantic Basin". Climate Prediction Center. August 6, 2020. สืบค้นเมื่อ August 6, 2020.
  31. Philip J. Klotzbach and William M. Gray (December 10, 2008). "Extended Range Forecast of Atlantic Seasonal Hurricane Activity and U.S. Landfall Strike Probability for 2009" (PDF). Colorado State University. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 12, 2009. สืบค้นเมื่อ December 13, 2019.
  32. "NOAA's Atlantic Hurricane Season Classifications". National Oceanic and Atmospheric Administration. National Hurricane Center. May 22, 2008. สืบค้นเมื่อ December 13, 2019.
  33. Mark Saunders; Adam Lea (December 19, 2019). "Extended Range Forecast for Atlantic Hurricane Activity in 2020" (PDF). University College London. Tropical Storm Risk. สืบค้นเมื่อ December 19, 2019.
  34. Andrew Latto (May 12, 2020). "NHC Graphical Outlook Archive". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ May 16, 2020.
  35. Daniel Brown (May 14, 2020). "NHC Graphical Outlook Archive". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ May 16, 2020.
  36. John Cangialosi (May 16, 2020). "Tropical Depression One Discussion Number 1". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ May 16, 2020.
  37. Stacy Stewart (May 16, 2020). "Tropical Storm Arthur Discussion Number 2". National Hurricane Center. สืบค้นเมื่อ May 16, 2020.
  38. "Tropical Storm Arthur Forms Off Southeast Coast; Tropical Storm Watch Issued". The Weather Channel. May 16, 2020. สืบค้นเมื่อ May 16, 2020.
  39. "Tropical Storm Arthur Discussion 7". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2020-05-18.
  40. "Tropical Storm Arthur Discussion 8". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2020-05-18.
  41. "Tropical Storm Arthur Forecast Discussion". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2020-05-18.
  42. "Post-Tropical Cyclone Arthur Forecast Discussion". www.nhc.noaa.gov. สืบค้นเมื่อ 2020-05-19.
  43. "Why 2019's Hurricane Dorian Wasn't Retired by the World Meteorological Organization". The Weather Channel (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-02. สืบค้นเมื่อ April 2, 2020.
  44. "Here's What Happens If a Tropical Storm or Hurricane With a Greek Alphabet Name Needs to Be Retired". The Weather Channel. สืบค้นเมื่อ 23 September 2020.
  45. National Weather Service [@NWS] (October 6, 2020). "We're getting some questions about this as #Delta continues to strengthen: If Delta needed to be "retired" from the list of hurricane names, it would be retired as "Delta 2020" and "Delta" would continue to be used if the Greek alphabet were needed again" (ทวีต). สืบค้นเมื่อ October 6, 2020 – โดยทาง ทวิตเตอร์.

แหล่งข้อมูลอื่น