ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โฆยาเดเซเรน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nomedizas (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Nomedizas (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 13: บรรทัด 13:
| Session = 17
| Session = 17
| Area = {{convert|3,200|ha|acre|abbr=on}}
| Area = {{convert|3,200|ha|acre|abbr=on}}
| locmapin = El Salvador#Mesoamerica
| latitude = 13.827500
| longitude = -89.369167
| map_caption = ที่ตั้งของโฮยาเดเซเรนในเอลซัลวาดอร์และมีโซอเมริกา
| relief =
}}
}}
'''โฮยาเดเซเรน''' ({{lang-es|Joya de Cerén}}; {{lit|อัญมณีแห่งเซเรน}}) เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งหนึ่งในหุบเขาซาโปติตัน [[จังหวัดลาลิเบร์ตัด]] [[ประเทศเอลซัลวาดอร์]] ห่างจากกรุง[[ซานซัลวาดอร์]]ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 36 กิโลเมตร<ref name="Castellanos, p. 94">Castellanos, p. 94.</ref> ประกอบด้วยหมู่บ้านเกษตรกรรมใน[[อารยธรรมมายา]][[สมัยก่อนโคลัมบัส]] คาดกันว่าแหล่งนี้มีการตั้งถิ่นฐานอยู่ระหว่าง ค.ศ. 200 ถึง ค.ศ. 600<ref name="Castellanos, p. 94"/>
'''โฮยาเดเซเรน''' ({{lang-es|Joya de Cerén}}; {{lit|อัญมณีแห่งเซเรน}}) เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งหนึ่งในหุบเขาซาโปติตัน [[จังหวัดลาลิเบร์ตัด]] [[ประเทศเอลซัลวาดอร์]] ห่างจากกรุง[[ซานซัลวาดอร์]]ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 36 กิโลเมตร<ref name="Castellanos, p. 94">Castellanos, p. 94.</ref> ประกอบด้วยหมู่บ้านเกษตรกรรมใน[[อารยธรรมมายา]][[สมัยก่อนโคลัมบัส]] คาดกันว่าแหล่งนี้มีการตั้งถิ่นฐานอยู่ระหว่าง ค.ศ. 200 ถึง ค.ศ. 600<ref name="Castellanos, p. 94"/>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:50, 24 สิงหาคม 2564

แหล่งโบราณคดีโฮยาเดเซเรน *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ซากหมู่บ้านมายาแห่งโฮยาเดเซเรนใน ค.ศ. 2012
พิกัด13°49′39.0″N 89°22′09.0″W / 13.827500°N 89.369167°W / 13.827500; -89.369167พิกัดภูมิศาสตร์: 13°49′39.0″N 89°22′09.0″W / 13.827500°N 89.369167°W / 13.827500; -89.369167
ประเทศ เอลซัลวาดอร์
ภูมิภาค **ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(iii), (iv)
อ้างอิง675
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน1993 (คณะกรรมการสมัยที่ 17)
พื้นที่3,200 ha (7,900 เอเคอร์)
โฆยาเดเซเรนตั้งอยู่ในเอลซัลวาดอร์
โฆยาเดเซเรน
ที่ตั้งของโฮยาเดเซเรนในเอลซัลวาดอร์และมีโซอเมริกา
โฆยาเดเซเรนตั้งอยู่ในมีโซอเมริกา
โฆยาเดเซเรน
โฆยาเดเซเรน (มีโซอเมริกา)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

โฮยาเดเซเรน (สเปน: Joya de Cerén; แปลว่า อัญมณีแห่งเซเรน) เป็นแหล่งโบราณคดีแห่งหนึ่งในหุบเขาซาโปติตัน จังหวัดลาลิเบร์ตัด ประเทศเอลซัลวาดอร์ ห่างจากกรุงซานซัลวาดอร์ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 36 กิโลเมตร[1] ประกอบด้วยหมู่บ้านเกษตรกรรมในอารยธรรมมายาสมัยก่อนโคลัมบัส คาดกันว่าแหล่งนี้มีการตั้งถิ่นฐานอยู่ระหว่าง ค.ศ. 200 ถึง ค.ศ. 600[1]

โฮยาเดเซเรนเป็นที่รู้จักจากการเก็บรักษาหลักฐานการตั้งถิ่นฐานในมีโซอเมริกาสมัยคลาสสิกไว้อย่างดีเยี่ยม บริเวณนี้ถูกฝังอยู่ภายใต้เถ้าถ่านภูเขาไฟโลมากัลเดราซึ่งปะทุเมื่อประมาณ ค.ศ. 600[2] บางครั้งแหล่งโบราณคดีนี้จึงได้รับการขนานนามว่าเป็น "ปอมเปอีแห่งอเมริกา"[3] โดยเปรียบเทียบกับซากเมืองโบราณที่มีชื่อเสียงของจักรวรรดิโรมัน ความอุดมสมบูรณ์ของซากทางบรรพพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน (paleoethnobotany) ที่ค้นพบที่โฮยาเดเซเรนเมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งโบราณคดีมายาอื่น ๆ ทำให้โฮยาเดเซเรนมีความสำคัญเป็นพิเศษในการศึกษาชีวิตประจำวันของชุมชนเกษตรกรรมมายาโบราณ

สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือการค้นพบทุ่งมันสำปะหลังโบราณซึ่งมีขนาดอย่างน้อยหนึ่งในสามของสนามฟุตบอล ถือเป็นตัวอย่างแรกในแหล่งโบราณคดีโลกใหม่ที่ได้รับการพิสูจน์ระบุว่าเป็นแปลงเพาะปลูกมันสำปะหลัง[4] โฮยาเดเซเรนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโกใน ค.ศ. 1993 และในปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลักแห่งหนึ่งของเอลซัลวาดอร์[1]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 Castellanos, p. 94.
  2. Conyers, pp. 377-378.
  3. Llorente, Analía. "Joya de Cerén, el extraordinario sitio precolombino en el El Salvador que fue cubierto por la erupción de un volcán hace 1.400 años y sigue intacto". BBC Mundo (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2020-10-07.
  4. CU team discovers Mayan crop system. เก็บถาวร 2015-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน University of Colorado at Boulder, June 16, 2009

บรรณานุกรม

  • Castellanos, Carolina, and Descamps, Francoise 2004 Joya de Cerén, El Salvador: site interpretation in participatory management planning. Blackwell Publishing. 56(3), 94–103.
  • Conyers, Lawrence B. (1996) "Archaeological evidence for dating the Loma Caldera eruption, Ceren, El Salvador", in Geoarchaeology Vol. 11, Iss. 5, pp. 377–391.