ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 113: บรรทัด 113:
หลักสูตรที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี มีดังนี้ <ref>[https://ka.mahidol.ac.th/th/curriculum.php หลักสูตรมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี] เข้าถึงเมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564</ref>
หลักสูตรที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี มีดังนี้ <ref>[https://ka.mahidol.ac.th/th/curriculum.php หลักสูตรมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี] เข้าถึงเมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564</ref>
;ระดับปริญญาตรี
;ระดับปริญญาตรี

* หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
* หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
** สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร (Agricultural Science)
** สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร (Agricultural Science)
บรรทัด 127: บรรทัด 128:
* หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
* หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
** สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ (Environmental Engineering and Disaster Management)
** สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ (Environmental Engineering and Disaster Management)



;ระดับปริญญาโท
;ระดับปริญญาโท

* หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
* หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
** สาขาวิชาความยั่งยืนทางทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ (Food Resources and Ecosystem Sustainability)
** สาขาวิชาความยั่งยืนทางทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ (Food Resources and Ecosystem Sustainability)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:13, 19 สิงหาคม 2564

มหาวิทยาลัยมหิดล
วิทยาเขตกาญจนบุรี
ชื่อย่อMUKA
คติพจน์อตฺตานํ อุปมํ กเร
(พึงปฏิบัติต่อผู้อื่น เหมือนดังปฏิบัติต่อตนเอง)
ประเภทวิทยาเขต
สถาปนา18 เมษายน พ.ศ. 2541
รองอธิการบดีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์
ที่ตั้ง
เลขที่ 199 หมู่ 9 ถนนแสงชูโต ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี 71150
สี  สีแดงอิฐ [1]
เว็บไซต์www.ka.mahidol.ac.th

มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เป็นส่วนงานระดับคณะ สังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล จัดการเรียนการสอนในหลายสาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิทยาศาสตร์ สาขาบริหารธุรกิจ สาขาบัญชี และสาขาวิศวกรรมศาสตร์

ประวัติ

วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2541 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงวางศิลาฤกษ์ “มหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี” (ชื่อในขณะนั้น) ณ หมู่บ้านไตรรัตน์ ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี

เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2538 คณะรัฐมนตรี ได้มีมติให้มหาวิทยาลัยมหิดลรับภารกิจในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี ในโครงการขยายการศึกษาขั้นอุดมศึกษาไปสู่ภูมิภาค มหาวิทยาลัยมหิดล จึงจัดตั้งโครงการจัดตั้งมหาวิทยามหิดล ณ กาญจนบุรี ขึ้นในสังกัดสำนักงานอธิการบดีในปี พ.ศ. 2538 ซึ่งจากการประสานงานระหว่าง รัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย ผู้แทนจังหวัดกาญจนบุรีและอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เห็นชอบที่จะให้มหาวิทยาลัยมหิดลขยายวิทยาเขตการศึกษาไปที่จังหวัดกาญจนบุรี โดยจังหวัดได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการจัดหาที่ดินเพื่อเป็นที่ตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นใหม่ เพื่อทำหน้าที่สำรวจ ตรวจสอบและศึกษา พื่นที่แปลงต่างๆ ที่เหมาะสม โดยได้เสนอพื้นที่ให้มหาวิทยาลัยพิจารณารวม 3 แห่ง คือ อำเภอห้วยกระเจา อำเภอพนมทวน และอำเภอไทรโยค

วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2538 คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย และคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดลได้เดินทางไปสำรวจพื้นที่ที่จังหวัดเสนอไว้ทั้ง 3 แห่ง และมหาวิทยาลัยมหิดลได้มีมติให้เลือกพื้นที่บริเวณอำเภอไทรโยค ซึ่งตั้งอยู่ที่หมู่บ้านไตรรัตน์ หมู่ที่ 9 ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอโทรโยค เนื้อที่ประมาณ 6,000 ไร่ และบางส่วนอยู่ติดกับทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 323 (กาญจนบุรี – ทองผาภูมิ) เป็นสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี

เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2540 มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เริ่มก่อสร้างอาคารเรียนรวมและอาคารอำนวยการขึ้นเป็นจุดแรกของพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งเป็นภาพความทรงจำและความภาคภูมิใจ ที่ชาวจังหวัดกาญจนบุรี และบุคลากรที่เข้ามามีส่วนร่วมในการเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี เป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน อำเภอไทรโยค สภาพเป็นที่ราบสูงและภูเขา เป็นที่ดินจำนวน 58 แปลงเนื้อที่ประมาณ 4,000 ไร่ นอกจากนี้เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีสถานที่สวยงานสำหรับการประชุมและสัมมนา ชาวจังหวัดกาญจนบุรียังได้จัดซื้อที่ดินติดริมแม่น้ำแควน้อย ในเขตสุขาภิบาลลุ่มสุ่ม อำเภทโทรโยค จำนวน 24 ไร่ 1 งาน 67 ตารางวา มอบให้แก่มหาวิทยาลัยอีกด้วย

วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 มีประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2552 เพื่อให้การบริหารงานของมหาวิทยาลัยมหิดลมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550 โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหิดล ณ กาญจนบุรี จึงยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี นับตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงปัจจุบัน [2]

ทำเนียบรองอธิการบดีวิทยาเขตกาญจนบุรี

มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
รองอธิการบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ไพโรจน์ สุวรรณสุทธิ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2542 - 30 กันยายน พ.ศ. 2545
2. รองศาสตราจารย์ ดร.นพดล ไชยคำ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2545 - 30 กันยายน พ.ศ. 2549
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นคร เหมะ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 (วาระที่ 1)
4. รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปรีชา สุนทรานันท์ (รักษาการ) 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 - 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เชิญโชค ศรขวัญ (รักษาการ) 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554 (วาระที่ 1)
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นคร เหมะ 22 ธันวาคมพ.ศ. 2554 (วาระที่ 2)
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์ กำลัง ชุมพลบัญชร 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555 - 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เชิญโชค ศรขวัญ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 (วาระที่ 2)
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ (รักษาการ) 1 สิงหาคม พ.ศ. 2560 - ปัจจุบัน

โครงสร้างการบริหารงาน

สำนักวิชาสหวิทยาการ

สำนักงานวิทยาเขตกาญจนบุรี

  • กลุ่มงานการศึกษาและวิชาการ
    • งานการศึกษา
    • งานวิจัยและส่งเสริมวิชาการ
    • งานบริหารงานวิจัยและบริการวิชาการ
  • กลุ่มงานบริหาร
    • งานธุรการสำนักวิชาสหวิทยาการ
    • หน่วยสารบรรณ
    • หน่วยทรัพยากรบุคคล
    • หน่วยเลขานุการ
  • กลุ่มวางแผนและพัฒนาคุณภาพ
    • งานคลังและพัสดุ
    • หน่วยนโยบายและแผน
    • หน่วยหอสมุดและคลังความรู้
  • กลุ่มงานสร้างเสริมภาพลักษณ์องค์กร
    • งานกายภาพและสิ่งแวดล้อม
    • งานวิเทศสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร
    • หน่วยอาคารที่พักอาศัยและศูนย์พัฒนาฝึกอบรม

ส่วนงานอื่นๆ

หลักสูตร

หลักสูตรที่เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี มีดังนี้ [3]

ระดับปริญญาตรี
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
    • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การเกษตร (Agricultural Science)
    • สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร (Food Technology)
    • สาขาวิชาชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ (Conservation Biology)
    • สาขาวิชาธรณีศาสตร์ (Geoscience)
  • หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
    • สาขาวิชาการจัดการ (Management)
  • หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
    • สาขาวิชาบัญชี (Accounting)
  • หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต
    • สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ (Environmental Engineering and Disaster Management)


ระดับปริญญาโท
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
    • สาขาวิชาความยั่งยืนทางทรัพยากรอาหารและระบบนิเวศ (Food Resources and Ecosystem Sustainability)

พิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์พืช (Her barium) อาจเปรียบเทียบได้กับหอสมุดพรรณไม้ โดยเป็นแหล่งข้อมูลต่างๆ ของพืช และส่วนสำคัญที่สุด คือ เป็นที่เก็บรวบรวมพันธุ์ไม้รักษาสภาพ ซึ่งทำการเก็บเป็นตัวอย่างแห้ง ที่จัดเป็นหมวดหมู่อย่างมีระบบ

นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างในสภาพอื่นๆ เช่น ตัวอย่างดอง ภาพถ่าย ภาพวาด ตัวอย่างเนื้อไม้ เปลือกไม้ ซากดึกดำบรรพ์ (fossil) หนังสือ ตำราเกี่ยวกับพันธุ์ไม้ทั้งทางด้านอนุกรมวิธาน นิเวศวิทยา ธรรมชาติวิทยา พฤกษศาสตร์เศรษฐกิจ เป็นต้น

อ้างอิง

  1. สีประจำมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เข้าถึงเมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564
  2. ราชกิจจานุเบกษา การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2552
  3. หลักสูตรมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เข้าถึงเมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2564

แหล่งข้อมูลอื่น