ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดทุ่งศรีเมือง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thomson Walt (คุย | ส่วนร่วม)
Thomson Walt (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 53: บรรทัด 53:
ในปี พ.ศ. 2503 สมัยพระวิโรจน์รัตโนบล (พิมพ์ นารโท) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ได้เห็นว่าหอพระพุทธบาทชำรุดทรุดโทรมมาก เนื่องจากสังกะสีและเครื่องไม้ต่างๆบนหลังคาชำรุดผุพัง จึงได้มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่อีกครั้ง จึงได้รื้อหลังคาเดิมออกและเปลี่ยนเป็นหลังคากระเบื้องกระเบื้องเคลือบ เปลี่ยน[[ลำยอง|ช่อฟ้าระกา]]จากแต่เดิมเป็นไม้แกะสลักมาเป็นซีเมนต์ ซึ่งต่อมาใน พ.ศ. 2547 สำนักงานศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี ได้มีบูรณะหอพระพุทธบาทครั้งใหญ่ ได้แก่ การซ่อมหลังคาและโครงสร้างทั้งหมด การสเริมความั่นคงของผนังเสริมโครงสร้างเสาระเบียงหลังคามุข เสริมฐานราก ซ่อมพื้น บันได ราวบันได มีการปิดทองประดับกระจกตามขอบเดิม ปิดทองหัวบัวเสา และมีการเปลี่ยนช่อฟ้า [[รวยระกา]] [[หางหงส์]] มาใช้เป็นไม้สลักตามเดิม รวมไปถึงการซ่อมประตู หน้าต่าง ปูกระเบื้องภายใน และซ่อมเสาไม้ค้ำยันขื่อที่ผุด้วยการตัดต่อส่วนโคนของเสา และอีก 1 ปีต่อมา สำนักงานศิลปากรฯ ได้มีการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์หอพระพุทธบาทอีกครั้ง อาทิ ซ่อมกำแพงแก้ว รื้อซุ้มประตูกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกแล้วสร้างขึ้นใหม่ตามแบบของเดิมที่เป็นเสาหัวเม็ด รวมไปถึงการปรับพื้นและที่บรรจุอัฐิของกำแพงข้างต้น{{sfn|สมศรี ชัยวณิชยา|ปกรณ์ ปุกหุต|2005|p=22}}
ในปี พ.ศ. 2503 สมัยพระวิโรจน์รัตโนบล (พิมพ์ นารโท) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ได้เห็นว่าหอพระพุทธบาทชำรุดทรุดโทรมมาก เนื่องจากสังกะสีและเครื่องไม้ต่างๆบนหลังคาชำรุดผุพัง จึงได้มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่อีกครั้ง จึงได้รื้อหลังคาเดิมออกและเปลี่ยนเป็นหลังคากระเบื้องกระเบื้องเคลือบ เปลี่ยน[[ลำยอง|ช่อฟ้าระกา]]จากแต่เดิมเป็นไม้แกะสลักมาเป็นซีเมนต์ ซึ่งต่อมาใน พ.ศ. 2547 สำนักงานศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี ได้มีบูรณะหอพระพุทธบาทครั้งใหญ่ ได้แก่ การซ่อมหลังคาและโครงสร้างทั้งหมด การสเริมความั่นคงของผนังเสริมโครงสร้างเสาระเบียงหลังคามุข เสริมฐานราก ซ่อมพื้น บันได ราวบันได มีการปิดทองประดับกระจกตามขอบเดิม ปิดทองหัวบัวเสา และมีการเปลี่ยนช่อฟ้า [[รวยระกา]] [[หางหงส์]] มาใช้เป็นไม้สลักตามเดิม รวมไปถึงการซ่อมประตู หน้าต่าง ปูกระเบื้องภายใน และซ่อมเสาไม้ค้ำยันขื่อที่ผุด้วยการตัดต่อส่วนโคนของเสา และอีก 1 ปีต่อมา สำนักงานศิลปากรฯ ได้มีการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์หอพระพุทธบาทอีกครั้ง อาทิ ซ่อมกำแพงแก้ว รื้อซุ้มประตูกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกแล้วสร้างขึ้นใหม่ตามแบบของเดิมที่เป็นเสาหัวเม็ด รวมไปถึงการปรับพื้นและที่บรรจุอัฐิของกำแพงข้างต้น{{sfn|สมศรี ชัยวณิชยา|ปกรณ์ ปุกหุต|2005|p=22}}


หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น[[โบราณสถาน]]ของชาติ โดย[[กรมศิลปากร]] [[กระทรวงวัฒนธรรม]] ตามประกาศใน[[ราชกิจจานุเบกษา]] เล่มที่ 112 ตอนที่ 59 ง. เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2538<ref name=rat11259>{{cite web|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/D/059/13.PDF|title=ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน|date=1995|work=กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม|accessdate=24 July 2021|archivedate=24 July 2021|archiveurl=https://web.archive.org/web/20210724160056/http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/D/059/13.PDF}}</ref>
หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น[[โบราณสถาน]]ของชาติ โดย[[กรมศิลปากร]] [[กระทรวงวัฒนธรรม]] ตามประกาศใน[[ราชกิจจานุเบกษา]] เล่มที่ 112 ตอนที่ 59 ง. เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2538<ref name=rat11259>{{cite web|url=http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/D/059/13.PDF|title=ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน|date=1995|work=กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม|accessdate=24 July 2021|archivedate=24 July 2021|archiveurl=https://web.archive.org/web/20210724160056/http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2538/D/059/13.PDF}}</ref>{{efn|name=fn2}}


ภายในหอพระพุทธบาท มีโบราณวัตถุที่สำคัญ 5 อย่าง คือ
ภายในหอพระพุทธบาท มีโบราณวัตถุที่สำคัญ 5 อย่าง คือ
บรรทัด 63: บรรทัด 63:


ด้านหลังของหอพระพุทธบาทมีเจดีย์อิงครึ่งองค์ ใช้บรรจุอัฐิของเสด็จเจ้าอุปราชคำพันธ์ เจ้าองค์ครองนครจำปาศักดิ์ ซึ่งถูกทายาทนำมาบรรจุไว้เมื่อปี พ.ศ. 2517{{sfn|เอกพรไพศาล, ห้างหุ้นส่วนจำกัด|2004|p=15}}{{efn|name=fn1}} ปัจจุบัน หลังการบูรณะหอพระพุทธบาทได้นำอัฐิดังกล่าวไปเก็บรักษาไว้ที่อื่นแทน{{sfn|สมศรี ชัยวณิชยา|ปกรณ์ ปุกหุต|2005|p=20}} นอกจากนี้ บริเวณนอกกำแพงของหอพระพุทธบาทมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง บรรจุอัฐิของพระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นนฺตโร) ผู้ก่อตั้งวัดทุ่งศรีเมือง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2492 โดยพระครูวิจิตรธรรมภาณี (กิ่ง มหปฺผโล) เจ้าอาวาสวัดมณีวนารามในขณะนั้น{{sfn|สมศรี ชัยวณิชยา|ปกรณ์ ปุกหุต|2005|p=20}} ส่วนบริเวณด้านหลังของหอพระพุทธบาทนั้นเป็นประตูวัดทิศตะวันออก หรือซุ้มประตูโขง ชื่อ ''ซุ้มประตูหาญชนะ'' ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ .2502 โดย ช่างคำเหมา ศิษย์ของพระครูวิโรจน์ฯ ส่วนซุ้มประตูทางทิศเหนือฝั่งวิหารศรีเมืองถูกสร้างขึ้นแบบศิลปะเขมรโบราณ สร้างโดยตระกูลเวียงสมศรี ซึ่งเป็นตระกูลช่างใหญ่ของเมืองอุบลราชธานีในขณะนั้น ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 8 ปี (พ.ศ. 2525-2533) และซุ้มประตูทางทิศใต้เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2537 ใช้เวลาในการก่อสร้าง 2 ปี{{sfn|สมศรี ชัยวณิชยา|ปกรณ์ ปุกหุต|2005|p=21}}
ด้านหลังของหอพระพุทธบาทมีเจดีย์อิงครึ่งองค์ ใช้บรรจุอัฐิของเสด็จเจ้าอุปราชคำพันธ์ เจ้าองค์ครองนครจำปาศักดิ์ ซึ่งถูกทายาทนำมาบรรจุไว้เมื่อปี พ.ศ. 2517{{sfn|เอกพรไพศาล, ห้างหุ้นส่วนจำกัด|2004|p=15}}{{efn|name=fn1}} ปัจจุบัน หลังการบูรณะหอพระพุทธบาทได้นำอัฐิดังกล่าวไปเก็บรักษาไว้ที่อื่นแทน{{sfn|สมศรี ชัยวณิชยา|ปกรณ์ ปุกหุต|2005|p=20}} นอกจากนี้ บริเวณนอกกำแพงของหอพระพุทธบาทมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง บรรจุอัฐิของพระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นนฺตโร) ผู้ก่อตั้งวัดทุ่งศรีเมือง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2492 โดยพระครูวิจิตรธรรมภาณี (กิ่ง มหปฺผโล) เจ้าอาวาสวัดมณีวนารามในขณะนั้น{{sfn|สมศรี ชัยวณิชยา|ปกรณ์ ปุกหุต|2005|p=20}} ส่วนบริเวณด้านหลังของหอพระพุทธบาทนั้นเป็นประตูวัดทิศตะวันออก หรือซุ้มประตูโขง ชื่อ ''ซุ้มประตูหาญชนะ'' ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ .2502 โดย ช่างคำเหมา ศิษย์ของพระครูวิโรจน์ฯ ส่วนซุ้มประตูทางทิศเหนือฝั่งวิหารศรีเมืองถูกสร้างขึ้นแบบศิลปะเขมรโบราณ สร้างโดยตระกูลเวียงสมศรี ซึ่งเป็นตระกูลช่างใหญ่ของเมืองอุบลราชธานีในขณะนั้น ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 8 ปี (พ.ศ. 2525-2533) และซุ้มประตูทางทิศใต้เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2537 ใช้เวลาในการก่อสร้าง 2 ปี{{sfn|สมศรี ชัยวณิชยา|ปกรณ์ ปุกหุต|2005|p=21}}
====หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง====


==หมายเหตุ==
==หมายเหตุ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:17, 24 กรกฎาคม 2564

วัดทุ่งศรีเมือง
หอไตรกลางน้ำวัดทุ่งศรีเมือง
แผนที่
ที่ตั้งเลขที่ 95 ซ ถนนหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี 34000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายมหานิกาย
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดทุ่งศรีเมือง เป็นวัดเก่าแก่ในจังหวัดอุบลราชธานี ตั้งอยู่บริเวณทิศตะวันออกของทุ่งศรีเมือง อำเภอเมืองฯ จังหวัดอุบลราชธานี ก่อตั้งโดยพระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมล อุบลสัมฆปาโมกข์ (สุ้ย) ในช่วงปลายรัชสมัยของพระบามสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันมีพระวิโรจน์ รัตนโนบล (จันทร์ จนฺทสโร) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส

ประวัติ

รูปปั้นพระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลคณาภิบาลสังฆปาโมกข์ (สุ้ย) เจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมืององค์แรก ประดิษฐาน ณ มณฑปหน้าพระอุโบสถวัดทุ่งศรีเมือง

ในสมัยปลายแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) พระอริยวงศาจารย์ญาณวิมลอุบลสั'ฆปาโมกข์ (สุ้ย) ซึ่งเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานีโดยกำเนิด ได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นมาเป็นผู้ปกครองคณะสงฆ์เมืองอุบลราชธานี (หรือตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน)[1] โดยพระอริยวงศาจารย์ฯ ได้มาจำพรรษาอยู่ ณ วัดมณีวนาราม (วัดป่าน้อย) และเห็นว่าพื้นที่ป่าชายดงอู่ผึ้ง (พื้นที่ทุ่งศรีเมืองในปัจจุบัน) มีความเงียบสงบ จึงได้ริเริ่มที่จะสร้างวัดทุ่งศรีเมืองขึ้น และได้มีการสร้างหอพระพุทธขึ้นมาเพื่อประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองที่ได้จำลองแบบมาจากวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร[2] อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบริเวณที่ตั้งวัดทุ่งศรีเมืองเป็นที่ลุ่ม เมื่อถึงฤดูฝนมักเกิดน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน ในช่วงแรกของการสร้างนั้น จำเป็นต้องมีการถมดินเพื่อยกระดับความสูงของพื้นที่ขึ้น จึงได้มีการขุดดินบริเวณโดยรอบขึ้นมาใช้จนเกิดเป็นหนองน้ำ 3 แห่ง คือ หนองหมากแซว, หนองดินจี่ (ปัจจุบันถูกถมไปแล้วทั้ง 2 แห่ง)[2] และหนองน้ำทางทิศเหนือของวัดในปัจจุบัน ซึ่งต่อมาได้มีการสร้างหอพระไตรปิฎกขึ้นที่กลางหนองน้ำดังกล่าว เพื่อเก็บรักษาพระไตรปิฎกและคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา[3] นอกจากนี้ ดินที่จากการขุดนี้ส่วนหนึ่งถูกนำมาทำเป็นอิฐก้อนเพื่อสร้างหอพระพุทธบาทข้างต้น[2] โดยการก่อสร้างวัดทุ่งศรีเมืองในช่วงแรกนั้นอยู่ภายใต้การดูแลของพระอริยวงศาจารย์ฯ, พระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นนตฺโร), ครูช่างคำเหมา แสนงาม และช่างโพธิ์ ส่งศรี[4][5][6] ส่วนปีที่เริ่มสร้างนั้นยังไม่อาจสรุปได้ เนื่องจากเอกสารต่างๆให้ข้อมูลไม่สอดคล้องกัน โดยอาจเป็นปี พ.ศ. 2356 หรือ พ.ศ. 2365 อย่างใดอย่างหนึ่ง[7]

เดิมทีพื้นที่ของวัดทุ่งศีเมืองในปัจจุบันนั้นถือเป็นส่วนหนึ่งของวัดมณีวนาราม หลังจากสร้างหอพระพุทธบาทเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2385 จึงได้แยกพื้นที่ออกมาก่อตั้งเป็น วัดทุ่งศรีเมือง หรือ วัดทุ่งชายเมือง โดยขณะนั้นมีพระจำพรรษาอยู่เพียง 2 รูป คือ พระอริยวงศาจารย์ฯ และญาคูช่าง ซึ่งเป็นพระเถระจากเวียงจันทน์ที่ได้มาศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดมณีมนารามในขณะนั้น[7]

พื้นที่ภายใน

เขตพุทธาวาส

เขตพุทธาวาสประกอบไปด้วยศาสนสถานสำคัญ ได้แก่ หอพระพุทธบาท หอพระไตรปิฎก และวิหารศรีเมือง

หอพระพุทธบาท

หอพระบาทวัดทุ่งศรีเมือง ถูกสร้างในช่วงราว พ.ศ. 2330 ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างล้านช้าง อยุธยาตอนปลาย และรัตนโกสินทร์ตอนต้น

หอพระพุทธบาทสร้างขึ้นในสมัยพระอริยวงศาจารย์ฯ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ประมาณปี พ.ศ. 2330 (บ้างอ้างว่าสร้างราว พ.ศ. 2395) โดยมีญาคูช่างเป็นช่างในการดำเนินการก่อสร้าง เพื่อเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลองที่จำลองมาจากวัดวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร[2] และใช้เป็น "สิม" หรือพระอุโบสถของวัดด้วย[8] โดยอาคารจะมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่างยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ล้านช้าง และอยุธยาตอนปลาย มีขนาด 3 ห้อง ก่ออิฐถือปูน หันหน้าไปทางทิศตะวันออก จากการสำรวจของกลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง กองโบราณคดี กรมศิลปากร สันนิษฐานว่าในอดีตมีใบเสมาปรากฏอยู่ที่ฐานอุโบสถ แต่พบใบเสมเพียงชิ้นเดียวแนบติดอยู่กับฐานหอพระพุทธบาทบริเวณมุมอุโบสถด้านตะวันออกเฉียงใต้ เป็นใบเสมปูนปั้นเรียบ ไม่มีลวดลาย อย่างไรก็ตาม ใบเสมาชิ้นดังกล่าวได้ผุพังไปแล้วในปัจจุบัน[9] ระเบียงด้านหน้าและราวบันไดเป็นรูปพญานาคขี่จระเข้ เป็นทวารบาลอยู่หน้าหอพระพุทธบาท ลักษณะเป็นศิลปะแบบท้องถิ่นอีสาน ส่วนฐานของบันไดเป็นฐานปากกระเภาผสมฐานสิงห์ และมีฐานเขียงรองรับอีกชั้น[10] โครงหลังคาของหอพระพุทธบาทเป็นศิลปะแบบรัตนโกสินทร์ เป็นหลังคาแบบชั้นลด 2 ชั้น ชั้นละ 3 ตับมีลักษณะแบบอีสานผสมกับรัตนโกสินทร์ ส่วนหน้าบันหรือหน้าจั่ว ด้านหน้าและด้านหลังจำหลักไม้ปิดทองประดับกระจกเป็นรูปพระอินทร์ประทับในบุษบกบนช้างเอราวัณ ประดับด้วยลายก้านขด มีเสาบัวกลีบขนุน 4 ต้น แกะสลักลวดลายดอกกาละกับ นอกจากนี้ยังมีคันทวยรูปเทพพนมรองรับไขราทั้งสิ้น 10 ตัว มีเสาพาไลคู่ด้านหน้ารองรับหลังคา[11]

เมื่อครั้นสมัยพระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นนฺตโร) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ได้เกิดรอยแตกร้าวขนาดใหญ่บริเวณฝาผนังด้านทิศตะวันตกของหอพระพุทธบาท คาดว่าอาจมีสาเหตุมาจากแรงสั่นสะเทือนจากการจุดพลุดอกไม้ไฟในงานพิธีต่างๆในบริเวณสนามทุ่งศรีเมือง จึงได้มีการซ่อมแซมรอยร้าวดังกล่าว พร้อมกับก่อสร้างเพิ่มเติมให้ผนังของหอพระพุทธบาททั้งหมดมีความหนามากกว่าเดิมประมาณ 1 เมตร และได้ทำการเปลี่ยนจากการมุงหลังคาด้วยไม้เกล็ดเป็นสังกะสีแทน ลายรดน้ำที่ปรากฏบนบานหน้าต่างของหอพระพุทธบาทก็ถูกวาดขึ้นเวลาเดียวกันกับการซ่อมแซมในครั้งนี้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการสร้างกำแพงรอบหอพระพุทธบาทเพิ่มขึ้นอีก 1 ชั้น (กำแพงชั้นนอกในปัจจุบัน)[12]

ในปี พ.ศ. 2503 สมัยพระวิโรจน์รัตโนบล (พิมพ์ นารโท) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ได้เห็นว่าหอพระพุทธบาทชำรุดทรุดโทรมมาก เนื่องจากสังกะสีและเครื่องไม้ต่างๆบนหลังคาชำรุดผุพัง จึงได้มีการบูรณะซ่อมแซมครั้งใหญ่อีกครั้ง จึงได้รื้อหลังคาเดิมออกและเปลี่ยนเป็นหลังคากระเบื้องกระเบื้องเคลือบ เปลี่ยนช่อฟ้าระกาจากแต่เดิมเป็นไม้แกะสลักมาเป็นซีเมนต์ ซึ่งต่อมาใน พ.ศ. 2547 สำนักงานศิลปากรที่ 11 อุบลราชธานี ได้มีบูรณะหอพระพุทธบาทครั้งใหญ่ ได้แก่ การซ่อมหลังคาและโครงสร้างทั้งหมด การสเริมความั่นคงของผนังเสริมโครงสร้างเสาระเบียงหลังคามุข เสริมฐานราก ซ่อมพื้น บันได ราวบันได มีการปิดทองประดับกระจกตามขอบเดิม ปิดทองหัวบัวเสา และมีการเปลี่ยนช่อฟ้า รวยระกา หางหงส์ มาใช้เป็นไม้สลักตามเดิม รวมไปถึงการซ่อมประตู หน้าต่าง ปูกระเบื้องภายใน และซ่อมเสาไม้ค้ำยันขื่อที่ผุด้วยการตัดต่อส่วนโคนของเสา และอีก 1 ปีต่อมา สำนักงานศิลปากรฯ ได้มีการบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์หอพระพุทธบาทอีกครั้ง อาทิ ซ่อมกำแพงแก้ว รื้อซุ้มประตูกำแพงแก้วด้านทิศตะวันออกแล้วสร้างขึ้นใหม่ตามแบบของเดิมที่เป็นเสาหัวเม็ด รวมไปถึงการปรับพื้นและที่บรรจุอัฐิของกำแพงข้างต้น[12]

หอพระพุทธบาท วัดทุ่งศรีเมือง ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ โดยกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 112 ตอนที่ 59 ง. เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2538[13][a]

ภายในหอพระพุทธบาท มีโบราณวัตถุที่สำคัญ 5 อย่าง คือ

  1. พระเจ้าใหญ่องค์เงิน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งขัดสมาธิราบ ขนาดหน้าตัก 89 เซนติเมตร สูง 1.45 เมตร หล่อด้วยเงินฮาง (เงินโบราณของอีสาน)[14] กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 24 เป็นศิลปะแบบพื้นถิ่นอีสานหรือศิลปะล้านช้าง แต่เดิมปิดทองทับทั้งองค์ จึงทำให้เข้าใจกันมาโดยตลอดว่าเป็นพระปูนปั้น ทราบกันภายหลังว่าองค์พระเป็นเนื้อเงิน เนื่องจากต้องมีการปิดทองใหม่ในปี พ.ศ. 2547[15]
  2. รอยพระพุทธบาทจำลอง ที่ได้จำลองแบบมาจากวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร[2] มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 65 เซนติเมตร ยาว 1.65 เมตร การจัดสัญลักษณ์มงคลอยู่ในแผนผังจักรวาลมิติ ยกเว้นในส่วนของมหาพรหมโลกทั้ง 16 ชั้น ลายมงคลไม่ครบทั้ง 108 ประการ และปรากฏลวดลายที่มิได้อยู่ในมงคล 108 อาทิ นกหัสดีลิงค์ สุกร ค้างคาว[14]
  3. ภาพจิตรกรรมฝาผนัง บนฝาผนังทั้ง 4 ด้านของหอพระพุทธบาท กล่าวถึงพุทธประวัติตอนต่างๆ ภาพชาดก รวมไปถึงสภาพสังคม วิถีชีวิตท้องถิ่น ความเป็นอยู่ การละเล่น พิธีกรรม การดำเนินชีวิตของผู้คนในสมัยนั้น รวมไปถึงการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ อาทิ จีน ชาวตะวันตก อินเดีย และญวณ[16][17]
  4. บานประตู หอพระพุทธบาทมีประตูเข้าเพียงด้านเดียว ซุ้มประตูทรงมณฑปมี 2 บาน ทำจากไม้เนื้อแข็งทั้งแผ่น แกะสลักลายเถาวัลย์หรือลายก้นขดพรรณพฤกษาออกช่อดอกกาละกับ ตลอดแนวก้านขดประกอบด้วยใบกระหนก และแทรกด้วยรูปสัตว์ต่างๆ ไว้ตามช่องของลาย บานประตูลงรักปิดทองล่องกระจกสีเขียว[18]
  5. หน้าต่าง หอพระพุทธบาทมีหน้าต่างทั้งหมด 6 ช่อง โดยอยู่ผนังทิศเหนือและใต้อย่างละ 3 ช่อง เป็นซุ้มหน้าต่างทรงบันแถลง ส่วนยอดซุ้มทำเป็นซุ้มซ้อนกัน 2 ชั้น เสาซุ้มยกเป็น 2 ระดับบานหน้าต่างปิดทองลายฉลุบนพื้นสีดำเล่าเรื่อง ทศชาติชาดก พระชาติละ 1 บาน เวียนจากซ้ายไปขวาจนครบ 10 บาท ส่วนอีก 2 บานเขียนลายเครือเถาออกช่อเทพพนม การปิดทองลายฉลุดังกล่าวทำขึ้นโดยนายช่างอุทัยทอง จันทกรณ์[19][20]

ด้านหลังของหอพระพุทธบาทมีเจดีย์อิงครึ่งองค์ ใช้บรรจุอัฐิของเสด็จเจ้าอุปราชคำพันธ์ เจ้าองค์ครองนครจำปาศักดิ์ ซึ่งถูกทายาทนำมาบรรจุไว้เมื่อปี พ.ศ. 2517[21][b] ปัจจุบัน หลังการบูรณะหอพระพุทธบาทได้นำอัฐิดังกล่าวไปเก็บรักษาไว้ที่อื่นแทน[22] นอกจากนี้ บริเวณนอกกำแพงของหอพระพุทธบาทมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง บรรจุอัฐิของพระครูวิโรจน์รัตโนบล (รอด นนฺตโร) ผู้ก่อตั้งวัดทุ่งศรีเมือง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2492 โดยพระครูวิจิตรธรรมภาณี (กิ่ง มหปฺผโล) เจ้าอาวาสวัดมณีวนารามในขณะนั้น[22] ส่วนบริเวณด้านหลังของหอพระพุทธบาทนั้นเป็นประตูวัดทิศตะวันออก หรือซุ้มประตูโขง ชื่อ ซุ้มประตูหาญชนะ ถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ .2502 โดย ช่างคำเหมา ศิษย์ของพระครูวิโรจน์ฯ ส่วนซุ้มประตูทางทิศเหนือฝั่งวิหารศรีเมืองถูกสร้างขึ้นแบบศิลปะเขมรโบราณ สร้างโดยตระกูลเวียงสมศรี ซึ่งเป็นตระกูลช่างใหญ่ของเมืองอุบลราชธานีในขณะนั้น ใช้เวลาในการก่อสร้างนานถึง 8 ปี (พ.ศ. 2525-2533) และซุ้มประตูทางทิศใต้เริ่มสร้างในปี พ.ศ. 2537 ใช้เวลาในการก่อสร้าง 2 ปี[23]

หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง

หมายเหตุ

  1. ในขณะนั้น กรมศิลปากร อยู่ในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
  2. ขัดแย้งกับข้อมูลที่ปรากฏบนแผ่นหินอ่อนจารึกหน้าอัฐิ จำนวน 5 บรรทัด จารึกว่า "...เจ้าอุปราชคำพันธ์ ณ จำปาศักดิ์ เจ้าผู้ครองนครจำาปศักดิ์ ประสูติ พ.ศ. 2383 ถึงแก่พิราลัย พ.ศ. 2454 บรรจุ 20 พฤษภาคม 2507..."[22]

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. พระราชรัตนโนบล (1992). ประวัติอุบลราชธานี ประวัติวัดทุ่งศรีเมือง. อุบลราชธานี: วิทยาออฟเซ็ตการพิมพ์. p. 19.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 นิล พันธุ์เพ็ง (1934). ประวัติศาสตร์จังหวัดอุบลราชธานี. p. 132-133.
  3. สมศรี ชัยวณิชยา & ปกรณ์ ปุกหุต 2005, p. 3.
  4. สมศรี ชัยวณิชยา & ปกรณ์ ปุกหุต 2005, p. 8.
  5. พระมหาเจษฎา ปญฺญาธโร และคณะ (1970). ประวัติเมืองอุบลราชธานีและประวัติทุ่งศรีเมือง. กรุงเทพมหานคร: กรุงสยามการพิมพ์.
  6. พระสำลี ทิฏฐธมฺโม และคณะ (2003). วัดทุ่งศรีเมือง (2 ed.). อุบลราชธานี: วิทยาออฟเซตการพิมพ์.
  7. 7.0 7.1 สมศรี ชัยวณิชยา & ปกรณ์ ปุกหุต 2005, p. 4.
  8. สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 8 อุบลราชธานี, บ.ก. (2002). รายการบูรณะและพัฒนาสิม (โบสถ์) โบราณ หอไตรวัดทุ่งศรีเมือง. อุบลราชธานี: สุรศักดิ์ก่อสร้าง, ห้างหุ้นส่วนจำกัด.
  9. ยุทธนาวรากร แสงอร่าม 2008, p. 9-10.
  10. สมศรี ชัยวณิชยา & ปกรณ์ ปุกหุต 2005, p. 10.
  11. สุรชัย ศรีใส 2012, p. 1.
  12. 12.0 12.1 สมศรี ชัยวณิชยา & ปกรณ์ ปุกหุต 2005, p. 22.
  13. "ประกาศกรมศิลปากร เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน" (PDF). กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. 1995. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 24 July 2021. สืบค้นเมื่อ 24 July 2021.
  14. 14.0 14.1 ยุทธนาวรากร แสงอร่าม 2008, p. 11.
  15. ไกด์อุบล (2010). "ไขข้อพิศวงพระเจ้าใหญ่องค์เงิน วัดทุ่งศรีเมือง". Guideubon.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 April 2016. สืบค้นเมื่อ 12 October 2020.
  16. สมศรี ชัยวณิชยา & ปกรณ์ ปุกหุต 2005, p. 14.
  17. สุรชัย ศรีใส 2012, p. 19.
  18. ยุทธนาวรากร แสงอร่าม 2008, p. 12.
  19. สมศรี ชัยวณิชยา & ปกรณ์ ปุกหุต 2005, p. 17-18.
  20. ยุทธนาวรากร แสงอร่าม 2008, p. 13.
  21. เอกพรไพศาล, ห้างหุ้นส่วนจำกัด 2004, p. 15.
  22. 22.0 22.1 22.2 สมศรี ชัยวณิชยา & ปกรณ์ ปุกหุต 2005, p. 20.
  23. สมศรี ชัยวณิชยา & ปกรณ์ ปุกหุต 2005, p. 21.
บรรณานุกรม