ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โอลิมปิกฤดูร้อน 2020"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PP2014 (คุย | ส่วนร่วม)
PP2014 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 941: บรรทัด 941:
{{ดูเพิ่มที่|สรุปเหรียญโอลิมปิกฤดูร้อน 2020}}
{{ดูเพิ่มที่|สรุปเหรียญโอลิมปิกฤดูร้อน 2020}}


{{:สรุปเหรียญโอลิมปิกฤดูร้อน 2020}}
{{Medals table
| caption =
| host = JPN
| flag_template = flagIOC
| event = ฤดูร้อน 2020
| team =
| gold_CHN = 2 | silver_CHN = 0 | bronze_CHN = 1 |
| gold_ECU = 1 | silver_ECU = 0 | bronze_ECU = 0 |
| gold_IRI = 1 | silver_IRI = 0 | bronze_IRI = 0 |
| gold_KOR = 1 | silver_KOR = 0 | bronze_KOR = 0 |
| gold_IND = 0 | silver_IND = 1 | bronze_IND = 0 |
| gold_BEL = 0 | silver_BEL = 1 | bronze_BEL = 0 |
| gold_NED = 0 | silver_NED = 1 | bronze_NED = 0 |
| gold_ROC = 0 | silver_ROC = 1 | bronze_ROC = 0 |
| gold_SRB = 0 | silver_SRB = 1 | bronze_SRB = 0 |
| gold_INA = 0 | silver_INA = 0 | bronze_INA = 1 |
| gold_MEX = 0 | silver_MEX= 0 | bronze_MEX = 1 |
| gold_SUI = 0 | silver_SUI = 0 | bronze_SUI = 1 |
| gold_SLO = 0 | silver_SLO = 0 | bronze_SLO = 1 |
}}


==สื่อมวลชน==
==สื่อมวลชน==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:55, 24 กรกฎาคม 2564

กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 32
第三十二回オリンピック競技大会
เมืองเจ้าภาพญี่ปุ่น โตเกียว ญี่ปุ่น
คำขวัญค้นพบอนาคต
(ญี่ปุ่น: 明日をつかもう)
ประเทศเข้าร่วม206
นักกีฬาเข้าร่วม12,000+
กีฬา324 ใน 33 กีฬา
พิธีเปิด23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
พิธีปิด8 สิงหาคม พ.ศ. 2564
ประธานพิธีสมเด็จพระจักรพรรดินารูฮิโตะ
(จักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น)
ผู้จุดคบเพลิงนาโอมิ โอซากะ
สนามกีฬาหลักกรีฑาสถานแห่งชาติญี่ปุ่น

กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 (ญี่ปุ่น: 2020年夏季オリンピック) หรือชื่อที่เป็นทางการ กีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 32 (ญี่ปุ่น: 第三十二回オリンピック競技大会) หรือเป็นที่รู้จักในชื่อ โตเกียว 2020 เป็นมหกรรมกีฬานานาชาติที่สำคัญในประเพณีโอลิมปิก ควบคุมโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ซึ่งจัดในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 กรกฎาคม ถึง 8 สิงหาคม พ.ศ. 2564

กรุงโตเกียวได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556 ในประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล สมัยที่ 123 ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา[1] นับเป็นครั้งที่ 3 ที่กรุงโตเกียวได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพโอลิมปิก ครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1940 ได้รับสิทธิ์เป็นเจ้าภาพโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งแรกของทวีปเอเชีย และเมืองซัปโปโรสำหรับโอลิมปิกฤดูหนาว แต่ได้ถอนตัวจากการแข่งขันเนื่องจากสงครามระหว่างจีนและญี่ปุ่น และกลับมาเป็นเจ้าภาพอีกครั้งในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1964 (พ.ศ. 2507) ซึ่งครั้งนี้ กรุงโตเกียวเป็นเมืองที่ 5 (และเมืองที่ 1 ในทวีปเอเชีย) ที่ได้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนมากกว่า 1 ครั้ง รวมถึงกรุงโตเกียวก็ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพกีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 สำหรับนักกีฬาคนพิการเช่นกัน

กีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ได้บรรจุกีฬาเบสบอล และกีฬาซอฟท์บอล อีกครั้งหลังจากกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2008 รวมถึงกีฬาคาราเต้, กีฬาสเกตบอร์ด, กีฬาโต้คลื่น และกีฬาปีนผา ซึ่งได้ถูกบรรจุเป็นครั้งแรกเช่นกัน

ในวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2563 จากสถานการณ์การระบาดทั่วของโคโรนาไวรัสในทั่วโลก ทำให้คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (IOC) โดยโทมัส บัค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ได้ปรึกษาหารือกับชินโซ อาเบะ นายกรัฐมนตรีของประเทศญี่ปุ่น ก่อนจะตัดสินใจร่วมกันในการเลื่อนการแข่งขันโอลิมปิกและพาราลิมปิกฤดูร้อนออกไปในปี พ.ศ. 2564 และออกแถลงการณ์ยืนยันเลื่อนจัดการแข่งขันโอลิมปิก 2020 และพาราลิมปิก 2020 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ออกไปเป็นเวลา 1 ปี อย่างเป็นทางการแต่ไม่ช้ากว่าปี พ.ศ. 2564 เพื่อความปลอดภัยของนักกีฬาและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโอลิมปิกและประชาคมโลก[2] แต่ยังคงเป็นชื่อเดิม คือ โตเกียว 2020 ต่อไป[3]

สำหรับการตัดสินใจเลื่อนการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 และพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 ออกไปเป็นเวลา 1 ปี นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของการแข่งขันที่โอลิมปิกเลื่อน ในช่วงเวลาที่โลกไม่พบเจอกับสงคราม โดยก่อนหน้านี้สงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 ได้ทำให้การแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 1916ที่กรุงเบอร์ลิน โอลิมปิกฤดูร้อน 1940ที่กรุงโตเกียว และโอลิมปิกฤดูร้อน 1944ที่กรุงลอนดอน ต้องถูกยกเลิกการแข่งขัน[4]

การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ

นายเมารีซีโอ มากรี ขณะนั้นได้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีกรุงบัวโนสไอเรส ประกาศสุนทรพจน์ในประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล สมัยที่ 123
เมืองที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย

เมืองที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพโดยคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาตินั้น ๆ รับรอง และได้รับคัดเลือกรอบแรกโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ได้แก่

เมืองที่ไม่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก

เมืองที่เสนอตัวเป็นเจ้าภาพโดยคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาตินั้น ๆ รับรอง และไม่ได้รับคัดเลือกรอบแรกโดยคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ได้แก่

คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้ลงคะแนน เพื่อคัดเลือกเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556 ในประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล สมัยที่ 123 ณ โรงแรมฮิลตัน บัวโนสไอเรส ในกรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา โดยใช้ระบบการลงคะแนนลับ ในการลงคะแนนครั้งแรกนั้น ไม่มีเมืองใดได้คะแนนเป็นกึ่งหนึ่งของผู้ลงคะแนนทั้งหมด ซึ่งกรุงมาดริด และกรุงอิสตันบูลได้คะแนนเท่ากัน จึงได้มีการลงคะแนนรอบคัดออก เพื่อหาเมืองใดเมืองหนึ่งเข้ารอบสุดท้ายต่อไป ซึ่งการลงคะแนนรอบสุดท้ายกรุงโตเกียว ได้ถูกเลือกเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก โดยการชนะกรุงอิสตันบูลด้วยคะแนน 60 คะแนน ต่อ 36 คะแนน

การลงคะแนนเลือกเมืองเจ้าภาพ โอลิมปิก 2020[5]
เมือง ประเทศ รอบที่ 1 คัดออก รอบที่ 2
โตเกียว ธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น 42 60
อิสตันบูล ธงของประเทศตุรกี ตุรกี 26 49 36
มาดริด ธงของประเทศสเปน สเปน 26 45

การเตรียมความพร้อมและพัฒนาการ

นายโยะชิโร โมะริ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันโตเกียว 2020

มหานครโตเกียวได้ตั้งกองทุนสำรองจำนวน 400 พันล้านเยน (มากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายของการเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกครั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาความจุของท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียว และท่าอากาศยานนานาชาตินะริตะ เพื่อที่จะขยายให้รองรับการแข่งขันครั้งนี้ รวมถึงโครการสร้างรางรถไฟสายใหม่ ซึ่งมีการวางแผนที่จะเชื่อมโยงสนามบินทั้งสองจะสิ้นสุดที่สถานีรถไฟโตเกียว เพื่อลดระยะเวลาการเดินทางจากสถานีรถไฟโตเกียวไปยังท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวจาก 30 นาที เหลือ 18 นาที และจากสถานีรถไฟโตเกียวไปยังท่าอากาศยานนานาชาตินะริตะจาก 55 นาที เหลือ 36 นาที โดยโครงการนี้ต้องใช้งบประมาณ 400 พันล้านเยน[6] นอกจากภาครัฐแล้ว ภาคเอกชนยังสนับสนุนการลงทุนอีกด้วย แต่บริษัทรถไฟอีสต์ เจอาร์ ก็ยังมีการวางแผนเส้นทางรถไฟใหม่จากสถานีรถไฟทามาชิไปยังท่าอากาศยานนานาชาติโตเกียวด้วยเช่นกัน กองทุนนี้ยังมีการวางแผนที่จะเร่งโครงการทางพิเศษชุโตะ ทางพิเศษโตเกียวไงคัน ทางพิเศษเคนโอะ และปรับปรุงทางด่วนอื่นๆในพื้นที่[7] นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะขยายระบบคมนาคมไร้คนขับ (สายยุริกะโมะเมะ) จากสถานีที่มีอยู่คือ สถานีโทะโยะซุ ไปยังอาคารใหม่ของสถานีคาจิโดกิ ซึ่งผ่านหมู่บ้านนักกีฬา แม้ว่ายุริกะโมะเมะยังไม่สามารถที่จะให้บริการ ซึ่งเพียงพอต่อการใช้บริการเป็นจำนวนมากในเขตโอะไดบะ ที่เป็นหนึ่งในพื้นที่บริการของยุริกะโมะเมะ[8]

ซึ่งโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งนี้ดูแลโดย อดีตนายกรัฐมนตรีโยะชิโร โมะริ ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขันโตเกียว 2020[9] และรัฐมนตรีโทะชิอะกิ เอ็นโด เป็นผู้กำกับดูแลการเตรียมการในนามของรัฐบาลญี่ปุ่น[10]

สถานที่และโครงสร้างพื้นฐาน

ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติโตเกียว (โตเกียวบิกไซท์) เป็นสถานที่ตั้งของศูนย์สื่อมวลชน
กรีฑาสถานแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)
สนามกีฬาอาริอาเกะ อารีนา (Ariake Arena)
ศูนย์กีฬาทางน้ำโอลิมปิก
Yokohama Stadium – Baseball, softball
ทัศนียภาพของสะพานสายรุ้ง ซึ่งถ่ายจากบริเวณสวนน้ำโอไดบะ
วะกะซุโอลิมปิกมารีนา สถานที่จัดกีฬาเรือใบ

จากการที่ได้รับการยืนยันในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ว่า กรีฑาสถานแห่งชาติในกรุงโตเกียว จะได้รับงบประมาณ 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อปรับปรุงเพิ่มเติม และฟื้นฟูบูรณะอย่างเต็มรูปแบบ สำหรับการแข่งขันรักบี้ชิงแชมป์โลก 2019 รวมถึงกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020[11] ซึ่งได้มีการประกวดออกแบบสนามใหม่ โดยสภากีฬาญี่ปุ่นได้ประกาศผู้ชนะเลิศการประกวด เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 ซึ่งสถาปนิกซาฮา ฮาดิด เป็นผู้ชนะการประกวด จากผู้เข้าประกวดทั้งหมด 46 คน รวมถึงการรื้อถอนสนามกีฬาเดิม เพื่อขยายความจุที่นั่งจาก 50,000 ที่นั่ง ไปยัง 80,000 ที่นั่ง[12] ซึ่งเป็นความจุที่นิยมของการจัดโอลิมปิกในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามนายกรัฐมนตรีชินโซ อะเบะ ได้ประกาศเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2558 ว่าแผนที่จะสร้างกรีฑาสถานแห่งชาติใหม่ได้ถูกยกเลิก แล้วได้มีการจัดการประกวดอีกครั้ง ในท่ามกลางความไม่พอใจของประชาชนในช่วงการก่อสร้างสนามกีฬา ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ ในฤดูใบไม้ร่วง พ.ศ. 2558 การออกแบบใหม่โดยนายเคนโกะ คุมะ ได้รับการอนุมัติเป็นผู้ชนะในการประกวดออกแบบสนามกีฬาแห่งใหม่ที่ลดลงความจุระหว่าง 60,000-80,000 ที่นั่ง [13]

สถานที่จัดการแข่งขันทั้งหมด 28 กีฬาจาก 33 กีฬา จะจัดการแข่งขันในกรุงโตเกียว ซึ่งอยู่ภายใน 8 กิโลเมตร (5 ไมล์) ของหมู่บ้านนักกีฬา โดยมีการสร้างสนามใหม่มากถึง 11 สนาม[14]

ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 มีรายงานว่าค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิก อาจจะมากกว่าการคาดการณ์งบประมาณเดิมถึงสี่เท่า และดังนั้นมีการเสนอให้มีการปรับปรุงแผนงาน เพื่อลดงบประมาณต่างๆ รวมถึงการย้ายสถานที่จัดการแข่งขันออกนอกกรุงโตเกียว[15]

เขตประวัติศาสตร์

เขตประวัติศาสตร์มีสถานที่จัดการแข่งขันทั้งหมด 7 สถานที่ โดยเขตประวัติศาสตร์ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจใจกลางของกรุงโตเกียว ซึ่งเขตนี้อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหมู่บ้านนักกีฬา สถานที่บางส่วนเคยจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1964

สถานที่ กีฬา ความจุ ประเภท
กรีฑาสถานแห่งชาติ พิธีการ
Pictogram. กีฬากรีฑา
Pictogram. กีฬาฟุตบอล (รอบชิงชนะเลิศ)
60,000 ที่นั่ง สถานที่แห่งใหม่
สนามกีฬาในร่มแห่งชาติโยโยงิ Pictogram. กีฬาแฮนด์บอล 12,000 ที่นั่ง สถานที่มีอยู่แล้ว
สนามกีฬานิปปงบูโดกัง Pictogram. กีฬายูโด 12,000 ที่นั่ง สถานที่ถูกบูรณะ
สนามกีฬาในร่มมหานครโตเกียว Pictogram. กีฬาเทเบิลเทนนิส 10,000 ที่นั่ง สถานที่มีอยู่แล้ว
สนามกีฬาแห่งชาติเรียวโงกุ Pictogram. กีฬามวยสากลสมัครเล่น 11,098 ที่นั่ง สถานที่มีอยู่แล้ว
ศูนย์การประชุมนานาชาติโตเกียว Pictogram. กีฬายกน้ำหนัก
Pictogram. กีฬาปีนหน้าผา
5,000 ที่นั่ง สถานที่มีอยู่แล้ว
นวอุทยานพระราชวังหลวงโตเกียว Pictogram. กีฬาจักรยาน (ถนน) 5,000 ที่นั่ง สถานที่ชั่วคราว

เขตอ่าวโตเกียว

เขตอ่าวโตเกียวร์มีสถานที่จัดการแข่งขันทั้งหมด 20 สถานที่ โดยเขตเขตอ่าวโตเกียวตั้งอยู่ในพื้นที่ของอ่าวโตเกียว ซึ่งเขตนี้อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่บ้านนักกีฬา

สถานที่ กีฬา ความจุ ประเภท
สวนป่าริมอ่าวโตเกียว Pictogram. กีฬาขี่ม้า (อีเวนติ้ง และครอสคันทรี) 20,000 ที่นั่ง สถานที่ชั่วคราว
สวนป่าริมอ่าวโตเกียว (บริเวณกำแพงกั้นคลื่น) Pictogram. กีฬาเรือแคนู (สปรินท์)
Pictogram. กีฬาเรือพาย
20,000 ที่นั่ง สถานที่แห่งใหม่
ศูนย์กีฬาทางน้ำโอลิมปิก Pictogram. กีฬาว่ายน้ำ
Pictogram. กีฬากระโดดน้ำ
Pictogram. กีฬาระบำใต้น้ำ
18,000 ที่นั่ง สถานที่แห่งใหม่
สนามกีฬาอาริอาเกะ Pictogram. กีฬาวอลเลย์บอล 12,000 ที่นั่ง สถานที่แห่งใหม่
ศูนย์ยิมนาสติกโอลิมปิก Pictogram. กีฬายิมนาสติก 12,000 ที่นั่ง สถานที่แห่งใหม่
สวนชิโอกาเซะ Pictogram. กีฬาวอลเลย์บอล (ชายหาด) 12,000 ที่นั่ง สถานที่ชั่วคราว
สนามกีฬาในร่มอาริอาเกะ Pictogram. กีฬาเทนนิส 10,000 ที่นั่ง สถานที่ถูกบูรณะ
สนามกีฬาฮอกกี้โออิ Pictogram. กีฬาฮอกกี้ 10,000 ที่นั่ง สถานที่แห่งใหม่
อุทยานคะไซริงกาอิ Pictogram. กีฬาเรือแคนู (สลาลม) 8,000 ที่นั่ง สถานที่แห่งใหม่
สนามกีฬาโอลิมปิกบีเอ็มเอ็กซ์ Pictogram. กีฬาจักรยาน (บีเอ็มเอ็กซ์) 6,000 ที่นั่ง สถานที่ชั่วคราว
เกาะยุเมโนชิมะ Pictogram. กีฬายิงธนู
Pictogram. กีฬาสเกตบอร์ด
6,000 ที่นั่ง สถานที่แห่งใหม่
สวนน้ำโอไดบะ Pictogram. กีฬาไตรกีฬา
Pictogram. กีฬาว่ายน้ำ (มาราธอน)
5,000 ที่นั่ง สถานที่ชั่วคราว
ศูนย์กีฬาว่ายน้ำนานาชาติทัตสึมิ [16] Pictogram. กีฬาโปโลน้ำ 3,500 ที่นั่ง สถานที่มีอยู่แล้ว

เขตนอกหมู่บ้านกีฬา (ระยะเกิน 8 กิโลเมตร)

สถานที่ กีฬา ความจุ ประเภท
สนามกีฬาโตเกียว[17] Pictogram. กีฬาฟุตบอล
Pictogram. กีฬาปัญจกีฬาสมัยใหม่ (ว่ายน้ำ, ขี่ม้า, วิ่ง และยิงปืน)
Pictogram. กีฬารักบี้ 7 คน
60,000 ที่นั่ง สถานที่มีอยู่แล้ว
สนามกีฬาโยโกฮามะ[18] Pictogram. กีฬาซอฟต์บอล
Pictogram. กีฬาเบสบอล
30,000 ที่นั่ง สถานที่มีอยู่แล้ว
สนามกอล์ฟคาซูมิกาเซกิ Pictogram. กีฬากอล์ฟ 30,000 ที่นั่ง สนามที่มีอยู่แล้ว
ไซตามะซูเปอร์อารีนา[19] Pictogram. กีฬาบาสเกตบอล 22,000 ที่นั่ง สนามที่มีอยู่แล้ว
เกาะเอโนชิมะ[20] Pictogram. กีฬาเรือใบ
Pictogram. กีฬาโต้คลื่น
10,000 ที่นั่ง สนามที่มีอยู่แล้ว
มากูฮาริเม็สเซะ[21] Pictogram. กีฬาฟันดาบ
Pictogram. กีฬาเทควันโด
Pictogram. กีฬามวยปล้ำ
Pictogram. กีฬาคาราเต้
6,000 ที่นั่ง
8,000 ที่นั่ง
สนามที่มีอยู่แล้ว
ศูนย์กีฬามูซาชิโนะ[22] Pictogram. กีฬาแบดมินตัน
Pictogram. กีฬาปัญจกีฬาสมัยใหม่ (ฟันดาบ)
6,000 ที่นั่ง สถานที่แห่งใหม่
อิซุเวโลโดรม[23] Pictogram. กีฬาจักรยาน (ลู่) 5,000 ที่นั่ง สถานที่แห่งใหม่
สนามยิงปืนอาซากะ Pictogram. กีฬายิงปืน สถานที่ชั่วคราว
ศูนย์กีฬาจักรยาน[24] Pictogram. กีฬาจักรยาน (เสือภูเขา) สถานที่แห่งใหม่
บาจิ โคเอ็น[25] Pictogram. กีฬาขี่ม้า
(ศิลปะการบังคับม้า, อีเวนติ้ง
และกระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง)
สถานที่ชั่วคราว

สนามแข่งขันกีฬาฟุตบอล

สนามกีฬาซัปโปโระโดม ในเมืองซัปโปโระ
สถานที่ กีฬา ความจุ ประเภท
สนามกีฬานานาชาติโยโกฮามะ Pictogram. กีฬาฟุตบอล 70,000 ที่นั่ง สถานที่มีอยู่แล้ว
สนามกีฬาไซตามะ 2002 Pictogram. กีฬาฟุตบอล 62,000 ที่นั่ง สถานที่มีอยู่แล้ว
กรีฑาสถานแห่งชาติญี่ปุ่น พิธีการ
Pictogram. กีฬากรีฑา
Pictogram. กีฬาฟุตบอล (รอบชิงชนะเลิศ)
60,000 ที่นั่ง สถานที่แห่งใหม่
สนามกีฬาโตเกียว Pictogram. กีฬาฟุตบอล
Pictogram. กีฬาปัญจกีฬาสมัยใหม่ (ว่ายน้ำ, ขี่ม้า, วิ่ง และยิงปืน)
Pictogram. กีฬารักบี้ 7 คน
50,000 ที่นั่ง สถานที่มีอยู่แล้ว
สนามกีฬามิยางิ Pictogram. กีฬาฟุตบอล 48,000 ที่นั่ง สถานที่มีอยู่แล้ว
สนามกีฬาซัปโปโระโดม Pictogram. กีฬาฟุตบอล 40,000 ที่นั่ง สถานที่มีอยู่แล้ว

สถานที่อื่นๆ

สถานที่ กิจกรรม ประเภท
โรงแรมอิมพีเรียลโตเกียว สถานที่พักของเจ้าหน้าที่
สถานที่จัดการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล
สถานที่มีอยู่แล้ว
หมู่บ้านนักกีฬา (ย่านฮารูมิ ฟูโตะ) สถานที่พักของนักกีฬา สถานที่แห่งใหม่
ศูนย์แสดงสินค้านานาชาติโตเกียว (โตเกียวบิกไซท์) ศูนย์สื่อมวลชน สถานที่มีอยู่แล้ว

ตั๋วการแข่งขัน

ราคาตั๋วของพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิก 2020 ตั้งราคาไว้ระหว่าง 25,000 - 150,000 เยน ส่วนราคาตั๋วของกีฬายอดนิยม อาทิ กีฬากรีฑา และกีฬาว่ายน้ำในรอบชิงชนะเลิศ จะตั้งราคาสูงสุดถึง 30,000 เยน ซึ่งค่าเฉลี่ยของราคาตั๋วในกีฬาโอลิมปิก 2020 ทั้งหมดเป็นเงิน 7,700 เยน โดยร้อยละ 60 ของตั๋วทั้งหมด ตั้งราคาไว้ 4,400 เยน หรือน้อยกว่านั้น ตั๋วในกีฬาโอลิมปิก 2020 จะจำหน่ายผ่านร้านสะดวกซื้อทั้งหมด 40,000 สาขาทั่วประเทศญี่ปุ่น และจำหน่ายในอินเทอร์เน็ตอีกด้วย[26]

การแข่งขัน

กีฬาที่แข่งขัน

กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020ได้จัดการแข่งขันทั้งหมด 33 ชนิดกีฬา 50 สาขากีฬา รวมทั้งหมด 339 รายการ

กีฬาที่แข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 2020

กีฬาใหม่ที่ถูกบรรจุเข้าแข่งขัน

ต่อจากกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2012 คณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี ได้ประเมิน 26 กีฬาหลักที่จัดขึ้นในกรุงลอนดอน ด้วยการพิจารณา 25 กีฬาหลัก และกีฬาใหม่ที่บรรจุในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2016 คือ กีฬากอล์ฟ และกีฬารักบี้ 7 คน เพื่อที่จะบรรจุในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ซึ่งในที่นี้จะมีกีฬาที่ถูกถอดออก 1 ชนิดกีฬาที่ได้จัดการแข่งขันในนครรีโอเดจาเนโร ซึ่งไอโอซีจะหาทางที่จะบรรจุกีฬาเพิ่มจากตัวเลือกที่มี 7 กีฬา แทนที่กีฬาที่ถูกถอดออกไป เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2556 คณะบริหารไอโอซีได้ลงมติให้ถอดถอนกีฬามวยปล้ำออกจากกีฬาโอลิมปิก ซึ่งเป็นการตัดสินที่น่าแปลกใจที่ได้ถอดถอนกีฬาที่เก่าแก่ที่สุดในกีฬาโอลิมปิก ออกจากการแข่งขันครั้งนี้[27] หลังจากการตัดสินใจที่ถอดถอนกีฬามวยปล้ำออกจากกีฬาโอลิมปิกในครั้งนี้ ได้ถูกต่อต้านในหลายประเทศสมาชิก[28][29][30][31] ดังนั้นสหพันธ์มวยปล้ำนานาชาติ หรือ ฟีล่า จึงได้ยื่นสมัครเพื่อที่ให้กีฬามวยปล้ำบรรจุเข้าสู่กีฬาโอลิมปิก 2020 อีกครั้ง

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 คณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี ได้ประกาศ 3 กีฬาสุดท้ายที่จะถูกบรรจุกีฬาโอลิมปิก 2020 คือ กีฬาสควอช, กีฬาเบสบอล / ซอฟท์บอล และกีฬามวยปล้ำ[32] ส่วน 5 กีฬาอื่น ๆ คือกีฬาคาราเต้, กีฬาสเกตบอร์ด, กีฬาปีนเขา, กีฬาเวกบอร์ด และกีฬาวูซู ได้ตกรอบในการพิจารณาในครั้งนี้[33] เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556 ในการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล สมัยที่ 125 คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้เลือกกีฬามวยปล้ำกลับเข้าสู่กีฬาโอลิมปิกอีกครั้ง ซึ่งได้คะแนนเสียงทั้งหมด 49 คะแนน ส่วนกีฬาเบสบอล / ซอฟท์บอล และกีฬาสควอช ได้คะแนนเสียงทั้งหมด 24 และ 22 คะแนนตามลำดับ[34]

ภายใต้นโยบายใหม่ของคณะกรรมการโอลิมปิกสากลที่สามารถให้ประเทศเจ้าภาพได้เสนอเพิ่มกีฬาต่าง ๆ เข้ามาบรรจุในกีฬาโอลิมปิกได้ โดยนโยบายนี้จะดึงดูดความสนใจของประเทศเจ้าภาพ จากการบรรจุกีฬาที่นิยมในประเทศเข้าสู่กีฬาโอลิมปิก[35] อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายใหม่ คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้ประกาศกีฬาที่สนใจในการบรรจุใหม่รวมทั้งหมด 8 กีฬา คือ กีฬาเบสบอล / ซอฟท์บอล, กีฬาโบว์ลิ่ง, กีฬาคาราเต้, กีฬาสเกตบอร์ด, กีฬาปีนหน้าผา, กีฬาสควอช, กีฬาโต้คลื่อน และกีฬาวูซู[36] เมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2558 ทางคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2020 ได้คัดเลือกกีฬาที่บรรจุกีฬาในกีฬาโอลิมปิก 2020 ให้แก่คณะกรรมการโอลิมปิกสากล รวมทั้งหมด 5 จาก 8 กีฬา คือ กีฬาเบสบอล / ซอฟท์บอล, กีฬาคาราเต้, กีฬาปีนหน้าผา, กีฬาโต้คลื่อน และกีฬาสเกตบอร์ด[37] โดย 5 กีฬานี้ได้รับการอนุมัติ เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2016 ในการประชุมคณะกรรมการโอลิมปิกสากล สมัยที่ 129 ที่นครรีโอเดจาเนโร ประเทศบราซิล ดั้งนั้นกีฬาโอลิมปิก 2020 จะมีจำนวนกีฬาทั้งหมด 33 กีฬา[38] อย่างไรก็ตามกีฬาเหล่านี้ได้รับการอนุมัติให้จัดการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก 2020 เท่านั้น โดยไม่สามารถจัดการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิก 2024 ได้[39]

ปฏิทินกำหนดการแข่งขัน

วันที่แสดงเป็นเวลาท้องถิ่นของกรุงโตเกียว (UTC+09:00) ปฏิทินนี้อ้างอิงมาจากเอกสารการรับสมัคร[40]

OC พิธีเปิด การแข่งขันรอบทั่วไป 1 เหรียญทอง CC พิธีปิด
กรกฎาคม / สิงหาคม 22
พ.
23
พฤ.
24
ศ.
25
.ส
26
อา.
27
จ.
28
อ.
29
พ.
30
พฤ.
31
ศ.
1
ส.
2
อา.
3
จ.
4
อ.
5
พ.
6
พฤ.
7
ศ.
8
ส.
9
อา.
จำนวนเหรียญทอง
พิธีการ OC CC
กระโดดน้ำ 1 1 1 1 1 1 1 1 8
กรีฑา 2 2 4 6 6 5 6 7 8 1 47
กอล์ฟ 1 1 2
ขี่ม้า 2 1 1 1 1 6
จักรยาน 1 1 2 2 2 1 1 1 3 2 1 1 18
ไตรกีฬา 1 1 2
เทควันโด 2 2 2 2 8
เทนนิส 2 3 4
เทเบิลเทนนิส 2 3 5
บาสเกตบอล 1 1 2
แบดมินตัน 1 2 2 5
ปัญจกีฬาสมัยใหม่ 1 1 2
โปโลน้ำ 1 1 2
ฟันดาบ 1 1 1 1 2 1 1 1 1 10
ฟุตบอล 1 1 2
มวยปล้ำ 2 2 3 2 2 2 2 3 18
มวยสากลสมัครเล่น 3 5 5 13
ยกน้ำหนัก 1 2 2 2 2 2 1 1 1 1 15
ยูโด 2 2 2 2 2 2 2 14
ยิงธนู 1 1 1 1 4
ยิงปืน 2 2 2 2 1 2 1 2 1 15
ยิมนาสติก 1 1 1 1 5 5 18
รักบี้ 7 คน 2 2
ระบำใต้น้ำ 1 1 2
เรือแคนู 1 1 2 16
เรือใบ 2 2 2 1 1 1 1 10
เรือพาย 3 3 4 4 14
วอลเลย์บอล 1 1 1 1 4
ว่ายน้ำ 4 4 4 4 4 4 4 4 1 1 34
แฮนด์บอล 1 1 2
ฮอกกี้ 1 1 2
รวมเหรียญทอง 0 0 0 11 16 16 21 19 19 23 21 25 20 19 15 23 17 30 11 306
รวมการสะสมจากวันก่อน 0 0 0 11 27 43 64 83 102 125 146 171 191 210 225 248 265 295 306
กรกฎาคม / สิงหาคม 22
พ.
23
พฤ.
24
ศ.
25
ส.
26
อา.
27
จ.
28
อ.
29
พ.
30
พฤ.
31
ศ.
1
ส.
2
อา.
3
จ.
4
อ.
5
พ.
6
พฤ.
7
ศ.
8
ส.
9
อา.
จำนวนเหรียญทอง


โอลิมปีกครั้งต่อไปจัดขึ้นประเทศอะไรณ์อย่างเป็นทางการสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิก 2020 ได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 25 .เมษายน พ.ศ. 2559 ซึ่งออกแบบโดยนายอาซาโอะ โทโกโร่ ผู้ได้รับรางวัลการประกวดการออกแบบสัญลักษณ์จากทั่วประเทศ[41] ซึ่งสัญลักษณ์นี้มาจากการนำศิลปะแบบดั้งเดิมของญี่ปุ่นคือ ลายตารางหมากรุกที่เรียกว่า "อิชิมัตสุ โมโย" ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยเอโดะ หรือเมื่อราว 300 - 400 ปีที่แล้ว ผสมผสานกับการจัดวางรูปแบบใหม่ที่กำหนดให้เป็นตัวแทนของความแตกต่างของชนชาติต่างๆ ภายใต้แนวคิด "Unity in Diversity" หรือ เอกภาพภายในความแตกต่างหลากหลาย[42][43] โดยสัญลักษณ์นี้ได้แทนที่สัญลักษณ์ที่ถูกยกเลิกจากการที่ถูกกล่าวหาว่าลอกเลียนแบบสัญลักษณ์ของโรงละครในประเทศเบลเยี่ยม[44]

ประเทศที่เข้าร่วมแข่งขัน

ณ วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2564 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ 200 ประเทศ ที่ผ่านการคัดเลือก (ยกเว้น กีฬากรีฑาและว่ายน้ำซึ่งเป็นกีฬาสากล ที่ทั้ง 206 ประเทศสามารถส่งนักกีฬาเข้าแข่งขันโดยไม่ต้องผ่านการคัดเลือก)

คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่เข้าแข่งขัน

สรุปเหรียญรางวัล

  *  ประเทศเจ้าภาพ (ประเทศญี่ปุ่น)

ตารางสรุปเหรียญโอลิมปิกฤดูร้อน 2020
ลำดับที่ประเทศทองเงินทองแดงรวม
1สหรัฐ สหรัฐ (USA)394133113
2ประเทศจีน จีน (CHN)38321888
3ประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น (JPN)*27141758
4สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร (GBR)22212265
5อาร์โอซี อาร์โอซี (ROC)20282371
6ประเทศออสเตรเลีย ออสเตรเลีย (AUS)1772246
7ประเทศเนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ (NED)10121436
8ประเทศฝรั่งเศส ฝรั่งเศส (FRA)10121133
9ประเทศเยอรมนี เยอรมนี (GER)10111637
10ประเทศอิตาลี อิตาลี (ITA)10102040
11–93ประเทศที่เหลือ137150206493
รวม (93 ประเทศ)3403384021080

สื่อมวลชน

ผู้ให้การสนับสนุน

ในปีพ.ศ. 2558 มูลค่าของผู้ให้การสนับสนุนในกีฬาโอลิมปิก 2020 ทั้งหมดสูงถึง 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมูลค่าของผู้ให้การสนับสนุนในครั้งนี้มีมากที่สุดในประวัติศาสตร์โอลิมปิก โดยมากกว่าสถิติเดิมในกีฬาโอลิมปิก 2008 ที่มีมูลค่าของผู้ให้การสนับสนุนทั้งหมด 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[45]

ผู้ให้การสนับสนุนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2020
ผู้ให้การสนับสนุนหลักกีฬาโอลิมปิก
ผู้ให้การสนับสนุนหลัก ประจำกีฬาโอลิมปิก 2020
ผู้ให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการ ประจำกีฬาโอลิมปิก 2020

ความกังวลและข้อถกเถียง

การติดสินบนกับสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ

ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 จากรายงานฉบับที่สองของคณะกรรมาธิการองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก หรือ วาด้า ได้กล่าวถึงรายละเอียดการสนทนาระหว่างนายคาลิล ดิแอค บุตรชายนายลามีน ดิแอค อดีตประธานสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ หรือ ไอเอเอเอฟ กับเจ้าหน้าที่ในการเสนอตัวโอลิมปิก 2020 ของกรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี[77] หลักฐานของการสนทนานั้นยังได้อ้างถึงในการโอนบัญชีประมาณ 4-5 ล้านดอลลาร์สหรัฐของเจ้าหน้าที่ในการเสนอตัวโอลิมปิก 2020 ของกรุงโตเกียวเพื่อสนับสนุนให้แก่ สหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติอีกด้วย[77] ซึ่งทางกรุงอิสตันบูลไม่ได้ทำเช่นนั้น เป็นสาเหตุให้กรุงอิสตันบูลสูญเสียในการสนับสนุนของนายลามีน ดิแอค ในการชิงเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก 2020[77]

ในเดือนกรกฎาคม และตุลาคม พ.ศ. 2556 (ช่วงเวลาก่อน และหลังการประกาศเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิก 2020) กรุงโตเกียวได้โอนบัญชีผ่าน 2 ธนาคาร เป็นเงินจำนวน 2.8 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์แก่บริษัท "แบล็ค ไทดิงส์" โดยเป็นบริษัทที่ปรึกษาในสิงคโปร์ของนายปาปา มาสซาตา ดิแอค บุตรชายของนายลามีน ดิแอค อดีตประธานสหพันธ์สมาคมกรีฑานานาชาติ หรือ ไอเอเอเอฟ ซึ่งกำลังถูกดำเนินคดีโดยอัยการฝรั่งเศสในข้อหาคอร์รัปชั่นภายในไอเอเอเอฟ ที่ส่งผลให้ดิแอคผู้เป็นพ่อต้องพ้นจากตำแหน่งประธานไอเอเอเอฟเมื่อปีที่แล้ว[78] บริษัทแบล็ค ไทดิงส์นั้น ถูกบริหารโดยนายเอียน ตัน ตง ฮัน ที่ปรึกษาด้านการบริหาร และบริการของไอเอเอเอฟ ซึ่งจัดการสิทธิในเชิงพาณิชย์ และมีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบริษัทเดนท์สุในประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้บริษัทแบล็ค ไทดิงส์ยังเกี่ยวข้องกับการใช้สารกระตุ้นของทีมนักกรีฑารัสเซีย[78][79][80]

นายสึเนะคะสึ ทะเคะดะ ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกญี่ปุ่น และผู้บริหารกีฬาโอลิมปิก 2020 ได้แถลงข่าวว่าการโอนบัญชีให้นั้น เป็นการโอนค่าที่ปรึกษา ค่าร่วมปฏิบัติงานในขั้นเตรียมการ และเสนอแผนงาน อันเป็นวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกประการ แต่ปฏิเสธที่จะหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกต่อไป เพราะมันเป็นความลับของหน่วยงาน หลังจากนั้นนายโทะชิอะกิ เอนโดะยังได้เรียกร้องให้นายทะเคะดะเปิดเผยเรื่องนี้ต่อสาธารณชน ส่วนนายมาสซาตาได้ปฏิเสธว่าเขาได้รับเงินจากการคณะกรรมการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพโอลิมปิก 2020 ของญี่ปุ่น[78][80] รวมถึงคณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี ได้จัดตั้งทีมงานเพื่อตรวจสอบเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดร่วมกับการติดตามการสืบสวนของทางการฝรั่งเศสอีกด้วย[81]

การคัดลอกสัญลักษณ์

การออกแบบสัญลักษณ์ของกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 ครั้งแรกได้เปิดตัวเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งสัญลักษณ์นั้นมีรูปร่างคล้ายตัว "T" โดยมีวงกลมสีแดงอยู่ที่มุมขวาบน โดยวงกลมสีแดงนี้ แสดงถึง “จิตวิญญาณแห่งชัยชนะ” ซึ่งปรากฏอยู่ในธงชาติของประเทศญี่ปุ่น รวมถึงการที่คนทั้งโลกทุกคนยอมรับซึ่งกันและกันอีกด้วย และมีแถวสีดำอยู่กึ่งกลางของสัญลักษณ์ แสดงถึงความหลากหลาย[82]

หลังจากที่มีการเปิดตัวสัญลักษณ์ไม่นาน นายโอลิวิเยร์ เดบี นักออกแบบกราฟิกเบลเยียมได้กล่าวหาคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้คัดลอกผลงานของเขา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของโรงละคร "เธียเตอร์ เดอ ลีแอจ" ในประเทศเบลเยี่ยม โดยนอกเหนือจากวงกลมนั้น จะมีการประกอบเป็นรูปร่างที่แทบจะเหมือนกัน หลังจากนั้นคณะกรรมการจัดงานของกรุงโตเกียวกล่าวปฏิเสธในการคัดลอกสัญลักษณ์ เนื่องจากทางคณะกรรมการได้ตรวจสอบเครื่องหมายการค้าทั่วโลก ก่อนนำมาใช้งาน[83][84] ส่งผลให้นายเดบีได้ยื่นฟ้องต่อคณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี เพื่อที่ไม่ให้สัญลักษณ์ของเขาถูกละเมิด[44]

นายเคนจิโระ ซาโนะ ผู้ออกแบบสัญลักษณ์ได้ปกป้องการออกแบบของเขาที่ระบุว่า เขาไม่เคยเห็นสัญลักษณ์โรงละครชเธียเตอร์ เดอ ลีแอจเลย ขณะคณะกรรมการจัดการแข่งขันได้ให้เกียรติเขาในการออกแบบสัญลักษณ์ โดยเขาได้ออกแบบที่เน้นความเก๋ของตัวที "T" และไม่ได้มีลักษณะคล้ายกับสัญลักษณ์โรงละครชเธียเตอร์ เดอ ลีแอจเลย[44] อย่างไรก็ตามพบว่านายซาโนะมีประวัติของการคัดลอกผลงานของคนอื่น ๆ อาทิเช่น การออกแบบผลงานแรกของเขา ซึ่งได้คัดลอกผลงานของนายฮาน ทิช โฮ รวมถึงผลงานอื่นๆอีกด้วย เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558 ได้มีการประชุมฉุกเฉินของคณะกรรมการจัดการแข่งขัน โดยนายโยอิชิ มาซูโซเอะ ผู้ว่าราชการกรุงโตเกียวได้ประกาศที่จะปลดสัญลักษณ์นี้ในกีฬาโอลิมปิก 2020 หลากจากนั้นได้มีการประชุมอีกครั้งเพื่อหารือในการออกแบบสัญลักษณ์ใหม่ในวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558[44]

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 คณะกรรมการการประกวดสัญลักษณ์ได้ถูกตั้งขึ้นเพื่อจัดการประกวด โดยเปิดให้ประชาชนทีมีอายุ 18 ปีขึ้นไป สามารถประกวดออกแบบสัญลักษณ์ได้โดยจะต้องส่งภายในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งผู้ชนะจะได้รับ 1 ล้านเยน และตั๋วพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 อีกด้วย[41][85][86] เมื่อวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2559 คณะกรรมการการประกวดสัญลักษณ์ได้ประกาศตัวเลือก 4 สัญลักษณ์สุดท้าย โดยสามารถให้ประชาชนลงความคิดเห็น เพื่อเลือกสัญลักษณ์ได้ โดยจะมีการเปิดตัวสัญลักษณ์ของกีฬาโอลิมปิก และพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 อีกครั้งเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2559 [85]


สัญลักษณ์ของกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่ถูกยกเลิก
สัญลักษณ์ของกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่ถูกยกเลิก 
สัญลักษณ์ของกีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่ถูกยกเลิก
สัญลักษณ์ของกีฬาพาราลิมปิกฤดูร้อน 2020 ที่ถูกยกเลิก 
สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020
สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 

การถ่ายทอดสด

ในประเทศสหรัฐอเมริกา กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 2020 จะมีการถ่ายทอดสดโดยสถานีโทรทัศน์เอ็นบีซียูนิเวอร์แซล ซึ่งได้ลงทุนซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดทั้งสิ้น 4.38 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยได้สิทธิ์การถ่ายทอดสดตั้งแต่กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 ที่เมืองโซชี ประเทศรัสเซีย เป็นต้นมา[87]

ในประเทศญี่ปุ่น สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเค, สถานีโทรทัศน์โตเกียว, สถานีโทรทัศน์ทีวี อาซาฮี และสถานีโทรทัศน์ฟุจิ ทีวี จะออกอากาศในทุกแพลตฟอร์ม ขณะที่สถานีโทรทัศน์ทีวี โตเกียว, สถานีโทรทัศน์นิปปอน ทีวี และสถานีโทรทัศน์อิสระจะออกอากาศเฉพาะในโทรทัศน์ภาคพื้นดิน

ในทวีปยุโรปนี้จะมีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ดิสคัฟเวอรี่ คอมมิวนิเคชั่น ซึ่งเป็นกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งแรก ภายใต้สิทธิ์การถ่ายทอดสดในทวีปยุโรปของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ ไอโอซี โดยได้สิทธิ์การถ่ายทอดสดตั้งแต่กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว 2018 ที่เมืองพย็องชัง ประเทศเกาหลีใต้ เป็นต้นมา โดยสิทธิ์การถ่ายทอดสดในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนปี 2020 จะครอบคลุมทวีปยุโรปเกือบทั้งหมด ยกเว้นประเทศฝรั่งเศส และประเทศรัสเซีย เนื่องจากประเทศฝรั่งเศสยังมีสิทธิ์การถ่ายทอดสดอยู่ ซึ่งจะหมดสัญญาการถ่ายทอดสดในการแข่งขันครั้งนี้ โดยสถานีโทรทัศน์ดิสคัฟเวอรี่จะคุ้มครองใบอนุญาตย่อยในแต่ละประเทศ ซึ่งจะส่งระบบสัญญาณที่สามารถให้บริการฟรี (Free to Air) ทั่วทวีปยุโรป ในประเทศสหราชอาณาจักร จะเป็นครั้งสุดท้ายที่สถานีโทรทัศน์บีบีซี ถือสิทธิ์การถ่ายทอดสดอย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งในครั้งต่อไปสถานีโทรทัศน์บีบีซีจะถือใบอนุญาตย่อยของสถานีโทรทัศน์ดิสคัฟเวอรี่แทน[88][89][90][91]

รายชื่อสถานีโทรทัศน์ที่ถือสิทธิ์การถ่ายทอดสด

^1 – ครอบคลุมใน 22 ประเทศในเอเชีย นอกจากนี้ยังมีการขายลิขสิทธิ์ย่อยแก่ประเทศต่าง ๆ
^2 – ยกเว้นประเทศฝรั่งเศส และประเทศรัสเซีย.
^3 – ครอบคลุมในประเทศหมู่เกาะคุก , ประเทศฟิจิ, ประเทศคิริบาส, ประเทศหมู่เกาะมาร์แชลล์, ประเทศไมโครนีเซีย, ประเทศนาอูรู, ประเทศนีอูเอ, ประเทศปาเลา, ประเทศซามัว, ประเทศหมู่เกาะโซโลมอน, ประเทศตองงา, ประเทศตูวาลู และประเทศวานูอาตู

หมายเหตุ

  1. นักกีฬาเป็นกลางของประเทศรัสเซียเข้าแข่งขันภายใต้ธงของคณะกรรมการโอลิมปิกรัสเซีย แต่ไม่ใช่ในฐานะทีมชาติ

อ้างอิง

  1. "Olympics 2020: Tokyo wins climbing".
  2. "Joint Statement from the International Olympic Committee and the Tokyo 2020 Organising Committee".
  3. McDonald, Scott (2020-03-25). "The Reason why Olympics in 2021 will still be called the 2020 Olympic Games". newsweek.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 April 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-03-30.
  4. "Olympics history: Have the Games been postponed before?". Los Angeles Times. 24 March 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2020. สืบค้นเมื่อ 29 March 2020.
  5. "2020 Olympics Vote Total Box". Associated Press. Miami Herald. 7 กันยายน พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. JR東日本、東京五輪を前に都心部と羽田空港結ぶ新路線整備を ที่ยูทูบ
  7. "羽田・成田発着を拡大、五輪へインフラ整備急ぐ". 日本経済新聞. 10 กันยายน พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน พ.ศ. 2556. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  8. "五輪で東京に1000万人 過密都市ゆえの課題多く". 日本経済新聞. 10 กันยายน พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน พ.ศ. 2556. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  9. PST (24 มกราคม พ.ศ. 2557). "Mori heads Tokyo 2020 organizing committee". Sports.yahoo.com. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  10. "Toshiaki Endo appointed Olympics minister". The Japan Times.
  11. "Super Bowl Ads; Japan National Stadium Upgrade; Contador Banned".
  12. "Notice".
  13. Himmer, Alastair (17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558). "Japan rips up 2020 Olympic stadium plans to start anew". news.yahoo.com. AFP. สืบค้นเมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  14. "Tokyo 2020 candidature file – section 8 – Sports and Venues" (PDF). Tokyo 2020. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "Tokyo panel: Olympic cost could expand fourfold". NHK. 29 กันยายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  16. Originally to be held at Water Polo Arena in Koto, Tokyo; venue moved in June 2015. "東京五輪、26競技の会場決定 自転車・サッカー除き". Nihon Keizai Shimbun. 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  17. Rugby sevens originally to be held at National Olympic Stadium; venue moved in June 2015. "東京五輪、26競技の会場決定 自転車・サッカー除き". Nihon Keizai Shimbun. 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  18. "横浜スタジアム会場案…東京五輪に野球など追加".
  19. Originally to be held at Youth Plaza Arena; proposal for venue change to Saitama Super Arena in late 2014 was confirmed in March 2015 by the IOC. "IOC supports Tokyo's plans to relocate Olympic venues". The Japan Times. 19 November 2014. สืบค้นเมื่อ 10 June 2015. "Moving 2020 hoops to Saitama latest blow for game". The Japan Times. 3 มีนาคม พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  20. Originally to be held at Wakasu Olympic Marina; venue moved in June 2015. "東京五輪、26競技の会場決定 自転車・サッカー除き". Nihon Keizai Shimbun. 9 June 2015. สืบค้นเมื่อ 9 June 2015.
  21. All three events originally to be held at Tokyo Big Sight; venue moved in June 2015. "東京五輪、26競技の会場決定 自転車・サッカー除き". Nihon Keizai Shimbun. 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  22. Badminton originally to be held at Youth Plaza Arena; venue moved in June 2015. "東京五輪、26競技の会場決定 自転車・サッカー除き". Nihon Keizai Shimbun. 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  23. Wilson, Stephen (10 ธันวาคม พ.ศ. 2558). "IOC approves switch of cycling venues for Tokyo Olympics". japantoday.com. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  24. "IOC approves switch of cycling venues for Tokyo Olympics". japantimes.co.jp. 9 ธันวาคม พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  25. "Change to Tokyo 2020 equestrian venue approved". inside.fei.org. 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  26. "Tickets for Olympic Games / Tokyo Olympic Japan 2020".
  27. Wilson, Stephen. "IOC Drops Wrestling From 2020 Olympics". ABC News (U.S.). Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  28. Supron odesłał medal IO na znak protestu – Sporty walki – www.orange.pl
  29. Staff (14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556). "IOC drops wrestling from 2020 Olympics". ESPN. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  30. Gallagher, Jack (6 มีนาคม พ.ศ. 2556). "Wrestlers promote Tokyo's 2020 Olympic bid". Yahoo! Sports. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  31. Staff (3 มีนาคม พ.ศ. 2556). "Bulgaria's wrestling coach starts hunger strike". USA Today. สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  32. IOC: Baseball/softball, squash and wrestling make cut for IOC Session vote in Buenos Aires
  33. "Wrestling, baseball/softball and squash shortlisted by IOC for 2020 as five fail to make cut".
  34. "Wrestling added to Olympic programme for 2020 and 2024 Games". IOC. 8 กันยายน พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน พ.ศ. 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  35. "Olympic Agenda 2020 Recommendations" (PDF). IOC. สืบค้นเมื่อ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  36. "Baseball, softball among 8 sports proposed for 2020 Games". ESPN.com.
  37. "Olympics: Skateboarding & surfing among possible Tokyo 2020 sports". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  38. "IOC approves five new sports for Olympic Games Tokyo 2020". Olympic.org. 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= และ |date= (help)
  39. "You're in! Baseball/softball, 4 other sports make Tokyo cut". USA TODAY. 3 สิงหาคม พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  40. "Candidature file for the Tokyo 2020 Summer Olympics" (PDF). p. 8-9. สืบค้นเมื่อ 9 September 2013.
  41. 41.0 41.1 "Tokyo 2020 Emblems Committee relax competition rules ahead of search for new logo". InsideTheGames.biz. สืบค้นเมื่อ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  42. "Checkered pattern by artist Tokolo chosen as logo for 2020 Tokyo Olympics". Japan Times. สืบค้นเมื่อ 25 April 2016.
  43. "เผยโลโก้ใหม่โอลิมปิก "โตเกียว 2020" หลังข่าวอื้อฉาวเรื่องลอกเลียนแบบโลโก้". voathai.com.
  44. 44.0 44.1 44.2 44.3 "Tokyo 2020 Olympics logo scrapped after allegations of plagiarism". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  45. Fukase, Atsuko (15 เมษายน พ.ศ. 2558). "2020 Tokyo Olympics Attract Record Sponsorship". The Wall Street Journal Japan Real Time. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  46. "Tokyo 2020 Appoints Asahi Breweries as a Gold Partner of the 2020 Olympic and Paralympic Games". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  47. "ASICS Becomes Tokyo 2020's Tenth Gold Partner". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  48. "Canon announced as Tokyo 2020's latest Gold Partner, official "Still Cameras and Desktop Reprographic Hardware" provider". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  49. "Fujitsu becomes Tokyo 2020 Gold Partner in the "Data Centre Hardware" category". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  50. "JX日鉱日石エネルギー株式会社との東京2020スポンサーシップ契約について". 東京オリンピック・パラリンピック競技大会組織委員会.
  51. "Tokyo 2020 Welcomes LIXIL as its Fifteenth Gold Partner". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  52. "Meiji Becomes Tokyo 2020's Fourteenth Gold Partner". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  53. "Mitsui Fudosan Becomes Tokyo 2020's Thirteenth Gold Partner". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  54. 54.0 54.1 "Mizuho and SMFG join Tokyo 2020 Gold Partner Programme". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  55. "Nippon Life Insurance becomes Tokyo 2020 Gold Partner". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  56. "NEC selected as Tokyo 2020 Gold Partner in the categories of "Specialist Public Safety Equipment & Software" and "Network Equipment"". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  57. "Tokyo 2020 Appoints NTT as the First Gold Partner of the 2020 Olympic and Paralympic Games". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  58. "Nomura selected as Tokyo 2020 Gold Partner in the category "Securities"". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  59. "Tokio Marine & Nichido Announced as a Tokyo 2020 Gold Partner". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  60. "Tokyo 2020 Welcomes airweave inc. as an Official Partner". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  61. "Tokyo 2020 Welcomes Ajinomoto Co., Inc. as an Official Partner". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  62. 62.0 62.1 "ANA and JAL Become Tokyo 2020's First Official Partners". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  63. 63.0 63.1 63.2 63.3 63.4 63.5 "Four Leading National Newspapers Become Tokyo 2020 Official Partners". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  64. "Tokyo 2020 Welcomes Cisco Systems G.K. as an Official Partner". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  65. 65.0 65.1 "Tokyo 2020 Welcomes Dai Nippon Printing Co., Ltd. And Toppan Printing Co., Ltd. as Tokyo 2020 Official Partners". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  66. 66.0 66.1 "Tokyo 2020 Welcomes Daiwa House Industry Co., Ltd. as a Tokyo 2020 Official Partner".
  67. "Tokyo 2020 Announces Japan Post Holdings as an Official Partner". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  68. 68.0 68.1 68.2 "Tokyo 2020 Welcomes Three Travel Companies as Official Partners". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  69. 69.0 69.1 "Tokyo 2020 Welcomes Two Railway Companies as Official Partners". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  70. "Tokyo 2020 Welcomes Kikkoman Corporation as an Official Partner". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  71. "Tokyo 2020 Welcomes Mitsubishi Electric as an Official Partner". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  72. "Tokyo 2020 Welcomes Kikkoman Corporation as an Official Partner". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  73. "Tokyo 2020 Welcomes SECOM and ALSOK as Official Partners". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  74. "Tokyo 2020 Announces Tokyo Gas as an Official Partner". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  75. "Tokyo 2020 Welcomes TOTO as an Official Partner". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  76. "Yamato Holdings Becomes a Tokyo 2020 Official Partner". The Tokyo Organising Committee of the Olympic and Paralympic Games.
  77. 77.0 77.1 77.2 "Tokyo Olympics 2020: French prosecutors probe '$2m payment'". BBC News. 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  78. 78.0 78.1 78.2 "Tokyo Olympics: Japan to 'fully cooperate' with suspicious payments inquiry". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  79. "Life bans for three athletics figures over alleged doping cover-up". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  80. 80.0 80.1 "Tokyo 2020 Olympic bid leader refuses to reveal Black Tidings details". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  81. "IOC concerned at suspect payments made by Tokyo 2020 bid team". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  82. "Tokyo 2020 unveils official emblem with five years to go". Olympic.org. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  83. "Tokyo Olympic Games logo embroiled in plagiarism row". The Guardian. 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  84. "Tokyo Olympics emblem said to look similar to Belgian theater logo". The Japan Times. 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  85. 85.0 85.1 "Japan unveils final four candidates for Tokyo 2020 Olympics logo". Japan Times. 8 เมษายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน พ.ศ. 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  86. "Tokyo Games organizers decide to scrap Sano emblem". NHK World. 1 September 2015. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |access-date= (help)
  87. McCarthy, Michael (7 มิถุนายน พ.ศ. 2554). "NBC wins U.S. TV rights to four Olympic Games through 2020". USA Today. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  88. "Olympics coverage to remain on BBC after Discovery deal". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  89. "IOC awards European broadcast rights to SPORTFIVE". ESPN. 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  90. "Discovery Lands European Olympic Rights Through '24". Sports Business Journal. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  91. "BBC dealt another blow after losing control of TV rights for Olympics". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  92. 92.0 92.1 "IOC awards SBS broadcast rights for 2018, 2020, 2022 and 2024 Olympic Games". Olympic.org. 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  93. "IOC awards 2018–2020 broadcast rights in Canada". International Olympic Committee. Olympic.org. 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  94. "CBC Joins with Bell, Rogers to Deliver 2018, 2020 Olympics". sportscastermagazine. 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2557. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  95. Furlong, Christopher (20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559). "IOC awards 2018–2020 broadcast rights in the Caribbean". International Olympic Committee. Olympic.org. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  96. Lloyd, Tom (2 มิถุนายน พ.ศ. 2559). "Discovery sign Croatian and Irish Olympic deals". SportsPro. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  97. "IOC awards 2018–2024 broadcast rights in China". International Olympic Committee. Olympic.org. 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  98. Polák, Lukáš (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559). "Olympiáda zůstane neplacená, práva od Discovery získala Česká televize". Digitální rádio (ภาษาเช็ก). rozhlas.cz. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  99. Morgan, Liam (9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559). "Discovery Communications sign broadcast deal with Česká Televize for Pyeongchang 2018 and Tokyo 2020". inside the games. สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  100. "IOC awards 2018–2024 broadcast rights in Japan". International Olympic Committee. Olympic.org. 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  101. 101.0 101.1 "IOC awards 2018–2024 broadcast rights in New Zealand and Pacific Island Territories". Olympic.org. 23 มีนาคม พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  102. Emmett, James (21 มีนาคม พ.ศ. 2559). "Dutch broadcaster follows BBC with Discovery Olympic deal". SportsPro. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม พ.ศ. 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  103. "IOC reaches agreement for broadcast rights in Brazil with Grupo Globo through to 2032". International Olympic Committee. Olympic.org. 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  104. Dziadul, Chris (5 ตุลาคม พ.ศ. 2559). "Discovery inks Belarus Olympics deal". Broadband TV News. Broadbandtvnews.com. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  105. "IOC awards TV rights in Germany, Korea, France". USA Today. 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |deadurl= ถูกละเว้น แนะนำ (|url-status=) (help)
  106. Kennedy, Mike (16 มิถุนายน พ.ศ. 2558). "France Télévisions in Canal Plus sub-licensing deal". SportsPro. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  107. Lloyd, Tom (21 เมษายน พ.ศ. 2559). "Finnish broadcaster in Discovery Olympics deal". SportsPro. สืบค้นเมื่อ 22 เมษายน พ.ศ. 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  108. "IOC awards all TV and multiplatform broadcast rights in Europe to Discovery and Eurosport for 2018–2024 Olympic Games". International Olympic Committee. Olympic.org. 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  109. 109.0 109.1 Morgan, Liam (30 สิงหาคม พ.ศ. 2559). "Discovery Communications sign two more deals for Pyeongchang 2018 and Tokyo 2020". inside the games. insidethegames.biz. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน พ.ศ. 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  110. "Discovery Communications Inc.: Swiss Viewers to Enjoy Enhanced Olympic Games Coverage Following New Discovery Communications and SRG SSR Agreement". The Wall Street Transcript. twst.com. 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  111. "IOC awards broadcast rights in United Kingdom for 2014, 2016, 2018 and 2020 Olympic Games to the BBC". Olympic.org. 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555. สืบค้นเมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  112. "BBC & Discovery Communications Sign Long-Term Olympic Games Partnership". Discovery Communications. corporate.discovery.com. 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  113. "IOC awards US broadcast rights for 2014, 2016, 2018 and 2020 Olympic Games to NBCUniversal". Olympic.org. มิถุนายน พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2554. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  114. "Seven Network reclaims rights to broadcast Summer Olympics in Rio de Janeiro in 2016 and Tokyo in 2020". News.com.au. 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  115. Pavitt, Michael (13 มิถุนายน พ.ศ. 2559). "Austrian broadcaster ORF agree deal for Pyeongchang 2018 and Tokyo 2020". inside the games. สืบค้นเมื่อ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  116. "IOC awards 2018–2024 broadcast rights in Asia". International Olympic Committee. Olympic.org. 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  117. "RTÉ secures rights for Tokyo 2020 Olympic Games". RTÉ. 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  118. "Hungarian Public Television Agrees Deal To Broadcast Summer And Winter Olympics Until 2024". Hungary today. hungarytoday.hu. 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2559. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  119. "IOC awards 2018–2024 broadcast rights in Middle East and North Africa". International Olympic Committee. Olympic.org. 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  120. "แพลนบี คว้าสิทธิ์ถ่ายทอดสดโอลิมปิก 2020 ที่ประเทศญี่ปุ่น". Brandinside. brandinside.asia. 5 August 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 August 2019. สืบค้นเมื่อ 6 August 2019.
  121. "AIS lands deal to broadcast Olympics". Bangkok Post. bangkokpost.com. 4 September 2019. สืบค้นเมื่อ 4 September 2019.

แหล่งข้อมูลอื่น


ก่อนหน้า โอลิมปิกฤดูร้อน 2020 ถัดไป
โอลิมปิกฤดูร้อน 2016
(รีโอเดจาเนโร บราซิล)
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน
(23 กรกฎาคม - 8 สิงหาคม ค.ศ. 2021)
โอลิมปิกฤดูร้อน 2024
(ปารีส ฝรั่งเศส)