ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิวอัมสเตอร์ดัม (จังหวัดสมุทรปราการ)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Dharmadana (คุย | ส่วนร่วม)
Waniosa Amedestir (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
มีบันทึกที่กล่าวถึงนิวอัมสเตอร์ดัมของชาวต่างประเทศหลายรายที่เดินทางเข้ามาตามลำน้ำเจ้าพระยา อย่างเช่น
มีบันทึกที่กล่าวถึงนิวอัมสเตอร์ดัมของชาวต่างประเทศหลายรายที่เดินทางเข้ามาตามลำน้ำเจ้าพระยา อย่างเช่น


[[เอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์]] นายแพทย์ชาวเยอรมัน ซึ่งเข้ามากรุงศรีอยุธยากับคณะทูตฮอลันดาใน พ.ศ. 2223 ในสมัยระเพทราชา ได้บันทึกถึงช่วงมาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยาไว้ว่า "“...ปากแม่น้ำนั้นบานออกเป็นทะเล ในระหว่างที่ดินอันเป็นดอนเตี้ยๆขนาบทั้งสองข้าง ซึ่งไม่มีอะไรเลยนอกจากกองโคลน ไม่ไกลออกไปเท่าไรนัก เราเห็นรังดินปืนทิ้งอยู่กับปืนใหญ่ทั้งสองฟากแม่น้ำ ตั้งแต่คราวเกิดเหตุยุ่งยากกับฝรั่งเศสที่แล้วมา... ตกเที่ยงเราก็มาถึงหมู่บ้านและโรงสินค้าของเนเธอร์แลนด์ ชื่อ อัมสเตอร์ดัม ตั้งอยู่ห่างปากแม่น้ำมาเกือบ 2 ลีก นายบ้านตำบลนี้ชื่อคอเร เป็นชาวสวีเดนโดยกำเนิด วันที่ 8 มิถุนายน ตอนเช้า ข้าพเจ้าไปเดินเลียบเลาะป่าละเมาะใกล้หมู่บ้าน แต่ไม่ได้ผลอะไรมากนัก ด้วยว่าบริเวณป่านั้นน้ำท่วมเสียเป็นส่วนมาก ส่วนบริเวณที่น้ำมิได้ท่วมก็เป็นที่อยู่ของเสือและสัตว์ร้ายอื่นๆ...”"<ref name="ผู้จัดการออนไลน์"/>
[[เอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์]] นายแพทย์ชาวเยอรมัน ซึ่งเข้ามากรุงศรีอยุธยากับคณะทูตฮอลันดาใน พ.ศ. 2223 ในสมัยพระเพทราชา ได้บันทึกถึงช่วงมาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยาไว้ว่า "“...ปากแม่น้ำนั้นบานออกเป็นทะเล ในระหว่างที่ดินอันเป็นดอนเตี้ยๆขนาบทั้งสองข้าง ซึ่งไม่มีอะไรเลยนอกจากกองโคลน ไม่ไกลออกไปเท่าไรนัก เราเห็นรังดินปืนทิ้งอยู่กับปืนใหญ่ทั้งสองฟากแม่น้ำ ตั้งแต่คราวเกิดเหตุยุ่งยากกับฝรั่งเศสที่แล้วมา... ตกเที่ยงเราก็มาถึงหมู่บ้านและโรงสินค้าของเนเธอร์แลนด์ ชื่อ อัมสเตอร์ดัม ตั้งอยู่ห่างปากแม่น้ำมาเกือบ 2 ลีก นายบ้านตำบลนี้ชื่อคอเร เป็นชาวสวีเดนโดยกำเนิด วันที่ 8 มิถุนายน ตอนเช้า ข้าพเจ้าไปเดินเลียบเลาะป่าละเมาะใกล้หมู่บ้าน แต่ไม่ได้ผลอะไรมากนัก ด้วยว่าบริเวณป่านั้นน้ำท่วมเสียเป็นส่วนมาก ส่วนบริเวณที่น้ำมิได้ท่วมก็เป็นที่อยู่ของเสือและสัตว์ร้ายอื่นๆ...”"<ref name="ผู้จัดการออนไลน์"/>


บันทึกการเดินทางของเรือดีไลต์ โดย กัปตันจอห์น สมิท ในภารกิจของ[[บริษัทอินเดียตะวันออก]]ของอังกฤษ ซึ่งเดินทางมาจากประเทศจีนว่า "...วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1683 (พ.ศ. 2226) เราได้มาถึงก้นอ่าวสยามและพบแม่น้ำ ได้ส่งนายอับร. นาวาโรขึ้นฝั่งไป...ในตอนเย็นนายนาวาโรได้กลับมายังเรือ และได้นำตัวคนนำร่องชาวฮอลันดาจากสำนักงานของนายท่าที่อยู่ปากแม่น้ำมาด้วย เพื่อนำเรือของเราข้ามสันดอน และได้มาทอดสมอในแม่น้ำประมาณ 1 ลีกเหนือที่ทำการท่าเรือของฮอลันดา ซึ่งเรียกว่า อัมสเตอร์ดัม..."<ref name="ผู้จัดการออนไลน์"/>
บันทึกการเดินทางของเรือดีไลต์ โดย กัปตันจอห์น สมิท ในภารกิจของ[[บริษัทอินเดียตะวันออก]]ของอังกฤษ ซึ่งเดินทางมาจากประเทศจีนว่า "...วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1683 (พ.ศ. 2226) เราได้มาถึงก้นอ่าวสยามและพบแม่น้ำ ได้ส่งนายอับร. นาวาโรขึ้นฝั่งไป...ในตอนเย็นนายนาวาโรได้กลับมายังเรือ และได้นำตัวคนนำร่องชาวฮอลันดาจากสำนักงานของนายท่าที่อยู่ปากแม่น้ำมาด้วย เพื่อนำเรือของเราข้ามสันดอน และได้มาทอดสมอในแม่น้ำประมาณ 1 ลีกเหนือที่ทำการท่าเรือของฮอลันดา ซึ่งเรียกว่า อัมสเตอร์ดัม..."<ref name="ผู้จัดการออนไลน์"/>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:50, 22 กรกฎาคม 2564

แผนที่โดย Pierre d' Hondt ราว พ.ศ. 2295 หรือ 2296 ปรากฏชื่อ นิวอัมสเตอร์ดัม

นิวอัมสเตอร์ดัม (อังกฤษ: New Amsterdam) ในอดีตเคยเป็นสถานีการค้าของชาวฮอลันดาที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีลักษณะเป็นคลังสินค้าและท่าเรือขนถ่ายสินค้า ปัจจุบันตั้งอยู่ใน หมู่ 1 ซอยสุขสวัสดิ์ 55 ถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลปากคลองบางปลากด อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ สภาพในปัจจุบันไม่หลงเหลือสิ่งก่อสร้าง เป็นที่อยู่อาศัย[1]

ประวัติ

ชาวฮอลันดาได้เข้ามาค้าขายกับไทยในสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ พ่อค้าที่มีความดีความชอบกับทางราชการแผ่นดินหลายอย่าง สมเด็จพระเอกาทศรถจึงได้ทรงพระราชทานที่ดินบริเวณเหนือคลองปลากด ใช้เป็นที่ตั้งคลังสินค้าและเป็นที่อาศัยของเจ้าหน้าที่เป็นสถานที่งดงามและมีเครื่องใช้ที่จําเป็นและทันสมัย จนถึงกับมีการยกย่องในหมู่ชาวฮอลันดาว่าเป็นเมือง "นิวอัมสเตอร์ดัม" (New Amsterdam)[2]

มีบันทึกที่กล่าวถึงนิวอัมสเตอร์ดัมของชาวต่างประเทศหลายรายที่เดินทางเข้ามาตามลำน้ำเจ้าพระยา อย่างเช่น

เอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์ นายแพทย์ชาวเยอรมัน ซึ่งเข้ามากรุงศรีอยุธยากับคณะทูตฮอลันดาใน พ.ศ. 2223 ในสมัยพระเพทราชา ได้บันทึกถึงช่วงมาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยาไว้ว่า "“...ปากแม่น้ำนั้นบานออกเป็นทะเล ในระหว่างที่ดินอันเป็นดอนเตี้ยๆขนาบทั้งสองข้าง ซึ่งไม่มีอะไรเลยนอกจากกองโคลน ไม่ไกลออกไปเท่าไรนัก เราเห็นรังดินปืนทิ้งอยู่กับปืนใหญ่ทั้งสองฟากแม่น้ำ ตั้งแต่คราวเกิดเหตุยุ่งยากกับฝรั่งเศสที่แล้วมา... ตกเที่ยงเราก็มาถึงหมู่บ้านและโรงสินค้าของเนเธอร์แลนด์ ชื่อ อัมสเตอร์ดัม ตั้งอยู่ห่างปากแม่น้ำมาเกือบ 2 ลีก นายบ้านตำบลนี้ชื่อคอเร เป็นชาวสวีเดนโดยกำเนิด วันที่ 8 มิถุนายน ตอนเช้า ข้าพเจ้าไปเดินเลียบเลาะป่าละเมาะใกล้หมู่บ้าน แต่ไม่ได้ผลอะไรมากนัก ด้วยว่าบริเวณป่านั้นน้ำท่วมเสียเป็นส่วนมาก ส่วนบริเวณที่น้ำมิได้ท่วมก็เป็นที่อยู่ของเสือและสัตว์ร้ายอื่นๆ...”"[3]

บันทึกการเดินทางของเรือดีไลต์ โดย กัปตันจอห์น สมิท ในภารกิจของบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ ซึ่งเดินทางมาจากประเทศจีนว่า "...วันอาทิตย์ที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1683 (พ.ศ. 2226) เราได้มาถึงก้นอ่าวสยามและพบแม่น้ำ ได้ส่งนายอับร. นาวาโรขึ้นฝั่งไป...ในตอนเย็นนายนาวาโรได้กลับมายังเรือ และได้นำตัวคนนำร่องชาวฮอลันดาจากสำนักงานของนายท่าที่อยู่ปากแม่น้ำมาด้วย เพื่อนำเรือของเราข้ามสันดอน และได้มาทอดสมอในแม่น้ำประมาณ 1 ลีกเหนือที่ทำการท่าเรือของฮอลันดา ซึ่งเรียกว่า อัมสเตอร์ดัม..."[3]

บันทึกของคณะสงฆ์ไทยที่เดินทางจากกรุงศรีอยุธยาไปลังกาทวีปใน พ.ศ. 2294 สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้บันทึกไว้ว่า "“...ลงไปถึงเมืองธนบุรีเพลาบ่าย 5 โมงเย็นมีเศษ ครั้นรุ่งขึ้น ณ วันจันทร์ เดือนยี่ ขึ้น 5 ค่ำ เพลาเช้า กรมการนิมนต์พระสงฆ์ขึ้นไปฉัน ณ ศาลากลาง แล้วมาเวียนเทียนสมโภชพระราชสาส์น แล้วลงไปที่ตึกวิลันดา ณ บางปลากด นายกำปั่นได้ทอดสมอบรรทุกฝาง 6 วัน.. ถึงเมืองพระประแดงรุ่งขึ้นวันพุธ เดือนยี่ เวียนเทียนสมโภชพระราชสาส์นแล้ว ออกไปถึงน้ำเขียวปากน้ำบางเจ้าพระยา...”"[3]

หลังการเสียกรุงศรีอยุธยา ทั้งเมืองสมุทรปราการและเมืองนิวอัมส์เตอร์ดัมได้ถูกกองทัพพม่าทำลาย จนไม่มีผู้อาศัย ในสมัยกรุงธนบุรีมีการรื้ออิฐจากนิวอัมสเตอร์ดัมที่ถูกทิ้งร้างมาสร้างกรุงธนบุรี อีกทั้งบริเวณนั้นก็เป็นคุ้งน้ำเจ้าพระยาที่ถูกน้ำพุ่งเซาะ ตลิ่งพังลงน้ำไปทุกปี ตึกวิลันดาและนิวอัมสเตอร์ดัมก็คงจมลงไปอยู่ก้นแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งหมด ไม่เหลือร่องรอยไว้ให้คนรุ่นหลังได้เห็นแล้ว ากการสำรวจบ้างก็คาดว่าคงอยู่แถวบริษัทกระจกไทยอาซาฮี ที่ปากคลองบางปลากด[3]

อาคาร

จากการศึกษาเปรียบเทียบกับสภาพของสถานีการค้าของฮอลันดาที่พระนครศรีอยุธยาที่สร้างในสมัยพระเจ้าปราสาททอง อาคารเหล่านี้ประกอบด้วยโรงเก็บสินค้า ห้องอยู่อาศัย ห้องโถงต่าง ๆ และหอสังเกตการณ์เดินเรือ สภาพของสถานีสินค้าของฮอลันดาบริเวณปากน้ำจึงไม่น่าจะต่างกันมากมายนัก[4] จนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระยาวิไชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) อัครมหาเสนาบดีผู้รับใช้พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสอย่างเต็มที่ ได้กีดกันการค้าของฮอลันดาจนต้องย้ายฐานออกไปจากกรุงสยามไปพักหนึ่ง ภายหลังเมื่อการค้ากับเมืองสยามลดน้อยลงจึงทอดทิ้งคลังสินค้าและชุมชนบริเวณนี้ไป จนปัจจุบันไม่พบร่องรอยหลักฐานหลงเหลืออยู่[5]

จากบันทึกของเอ็งเงิลแบร์ท เค็มพ์เฟอร์ บันทึกไว้ด้วยว่า โกดังสินค้าและสำนักงานของนิวอัมสเตอร์ดัมนี้สร้างด้วยไม่ไผ่ แต่ในบันทึกของคณะสงฆ์ในอีก 61 ปีต่อมา บอกว่าเป็นตึกวิลันดา จึงสันนิษฐานว่าคงสร้างเป็นอาคารถาวรภายหลัง[3]

อ้างอิง

  1. "นิวอัมสเตอร์ดัม". ระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม.
  2. "การจำ แนกเขตเพื่อการจัดการ ด้านธรณีวิทยาและทรัพยากรธรณี จังหวัดสมุทรปราการ" (PDF).
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 โรม บุนนาค. "อัมสเตอร์ดัมอยู่ฮอลแลนด์ นิวอัมสเตอร์ดัมอยู่ไทยแลนด์! สร้างขึ้นในยุคเดียวกับนิวยอร์ค!!". ผู้จัดการออนไลน์.
  4. เอกสารประกอบโครงการอบรมทบทวนอาสาสมัครท้องถิ่นในการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรม ปี 2549 จังหวัดสมุทรปราการ. สำนักงานศิลปากรที่ 1 ราชบุรี.
  5. วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. "จากปากน้ำถึงสมุทรปราการ เมืองหน้าด่านชายทะเล". มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์.