ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Formcruz (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tonnamth (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20: บรรทัด 20:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
[[ไฟล์:50 years Education Dome.jpg|thumb|250px|left|โดม 50 ปี คณะศึกษาศาสตร์]]
[[ไฟล์:EDU Building1 MSU.jpg|thumb|250px|left|อาคารคณะศึกษาศาสตร์หลังแรก]]
[[ไฟล์:EDU Building2.jpg|thumb|250px|right|อาคารคณะศึกษาศาสตร์ 2]]
[[ไฟล์:EDU Building3.jpg|thumb|250px|right|อาคารวิทยพัฒนา]]
[[ไฟล์:ลานศึกษาศาสตร์สารคาม.jpg|thumb|250px|right|ลานกิจกรรมคณะศึกษาศาสตร์]]
วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 ได้ก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามขึ้นมาโดยศาสตราจารย์บุญถิ่น อัตถากร อดีตอธิบดีกรมการฝึกหัดครูในสมัยนั้น ในช่วงระยะแรกของการก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามนั้นต้องประสบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานจากความไม่พร้อมในด้านอาคารสถานที่ บุคลากร และอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน จึงต้องอาศัยวิทยาลัยครูมหาสารคาม ([[มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]] ในปัจจุบัน) ในเบื้องต้นเกือบทั้งหมด ซึ่งช่วยสนับสนุนและเป็นพี่เลี้ยงในช่วงก่อตั้ง วิทยาลัยวิชาการศึกษาอื่นที่ไปตั้งในแต่ละภูมิภาคต่างก็ประสบในทำนองเดียวกันและช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหาดังกล่าว หลักสูตรที่เปิดสอนในปีการศึกษาแรก พ.ศ. 2511 มี 2 วิชาเอก คือ วิชาเอกภาษาอังกฤษและชีววิทยา โดยสามารถเปิดรับนิสิตได้จำนวน 134 คน ซึ่งนิสิตที่มาเรียนในระยะแรก ปีการศึกษา 2511 – 2515 ได้รับการดเลือกจากผู้สมัครที่มีผลการเรียนดีจากวิทยาลัยครูทั่วประเทศมาศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรี 2 ปี<ref>{{cite book|author=กรมฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ|year=2535|page=137|title=แนวคิดและผลงานศาสตราจารย์บุญถิ่น อัตถากร}}</ref>
วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 ได้ก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามขึ้นมาโดยศาสตราจารย์บุญถิ่น อัตถากร อดีตอธิบดีกรมการฝึกหัดครูในสมัยนั้น ในช่วงระยะแรกของการก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามนั้นต้องประสบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานจากความไม่พร้อมในด้านอาคารสถานที่ บุคลากร และอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน จึงต้องอาศัยวิทยาลัยครูมหาสารคาม ([[มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม]] ในปัจจุบัน) ในเบื้องต้นเกือบทั้งหมด ซึ่งช่วยสนับสนุนและเป็นพี่เลี้ยงในช่วงก่อตั้ง วิทยาลัยวิชาการศึกษาอื่นที่ไปตั้งในแต่ละภูมิภาคต่างก็ประสบในทำนองเดียวกันและช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหาดังกล่าว หลักสูตรที่เปิดสอนในปีการศึกษาแรก พ.ศ. 2511 มี 2 วิชาเอก คือ วิชาเอกภาษาอังกฤษและชีววิทยา โดยสามารถเปิดรับนิสิตได้จำนวน 134 คน ซึ่งนิสิตที่มาเรียนในระยะแรก ปีการศึกษา 2511 – 2515 ได้รับการดเลือกจากผู้สมัครที่มีผลการเรียนดีจากวิทยาลัยครูทั่วประเทศมาศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรี 2 ปี<ref>{{cite book|author=กรมฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ|year=2535|page=137|title=แนวคิดและผลงานศาสตราจารย์บุญถิ่น อัตถากร}}</ref>



รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:16, 25 มิถุนายน 2564

คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
Faculty of Education,
Mahasarakham University
ไฟล์:EDU MSU.png
ชื่อย่อศษ. / EDU
คติพจน์การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม
สถาปนา27 มีนาคม พ.ศ. 2511 (56 ปี)
สังกัดการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม
คณบดีรศ.ดร. พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร
ที่อยู่
อาคารวิทยพัฒนา เลขที่ 269 ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม 44000
โทร. 043-721764
วารสารวารสารศึกษาศาสตร์
วารสารการวัดผลการศึกษา
วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา
วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
สี  สีแสด
สถานปฏิบัติโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เว็บไซต์edu.msu.ac.th

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (อังกฤษ : Faculty of Education, Mahasarakham University) เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะวิชาสังกัดมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ถือกำเนิดมาจาก "วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม" ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตบุคลากรทางการศึกษาในสาขาวิชาการต่าง ๆ ที่มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาการศึกษาท้องถิ่น โดยเฉพาะตามโรงเรียนโดยทั่วไปในแถบพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม ได้ยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม" และในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ได้แยกตัวเป็นเอกเทศจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็น "มหาวิทยาลัยมหาสารคาม" ซึ่งคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามก็ได้ถูกยกฐานะเป็น "คณะ" อย่างสมบูรณ์

ประวัติ

โดม 50 ปี คณะศึกษาศาสตร์
อาคารคณะศึกษาศาสตร์หลังแรก
อาคารคณะศึกษาศาสตร์ 2
อาคารวิทยพัฒนา
ลานกิจกรรมคณะศึกษาศาสตร์

วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2511 ได้ก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามขึ้นมาโดยศาสตราจารย์บุญถิ่น อัตถากร อดีตอธิบดีกรมการฝึกหัดครูในสมัยนั้น ในช่วงระยะแรกของการก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามนั้นต้องประสบปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานจากความไม่พร้อมในด้านอาคารสถานที่ บุคลากร และอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอน จึงต้องอาศัยวิทยาลัยครูมหาสารคาม (มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ในปัจจุบัน) ในเบื้องต้นเกือบทั้งหมด ซึ่งช่วยสนับสนุนและเป็นพี่เลี้ยงในช่วงก่อตั้ง วิทยาลัยวิชาการศึกษาอื่นที่ไปตั้งในแต่ละภูมิภาคต่างก็ประสบในทำนองเดียวกันและช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหาดังกล่าว หลักสูตรที่เปิดสอนในปีการศึกษาแรก พ.ศ. 2511 มี 2 วิชาเอก คือ วิชาเอกภาษาอังกฤษและชีววิทยา โดยสามารถเปิดรับนิสิตได้จำนวน 134 คน ซึ่งนิสิตที่มาเรียนในระยะแรก ปีการศึกษา 2511 – 2515 ได้รับการดเลือกจากผู้สมัครที่มีผลการเรียนดีจากวิทยาลัยครูทั่วประเทศมาศึกษาต่อในหลักสูตรปริญญาตรี 2 ปี[1]

ในปีการศึกษา 2512 การก่อสร้างอาคารสถานที่ของวิทยาลัยเสร็จสมบูรณ์และเปิดใช้งาน คือ อาคารเรียน 1, หอสมุด หอศิลป์ โรงอาหาร หอพักชาย และหอพักหญิง จากนั้นวิทยาลัยจึงได้มีการพัฒนามาตามลำดับ

ในปี 2514 ได้มีการดำเนินการขอพื้นที่ฝั่งตรงข้ามซึ่งเป็นที่ราชพัสดุของกองทัพอากาศ ซึ่งได้ใช้เป็นสนามแข่งม้าและสนามบินจากนั้นจึงได้มีการก่อสร้างอาคารเรียนและหอพักเพิ่มเติม

ในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2517 ในราชกิจจานุเบกษา[2]  ซึงเป็นการรวมวิทยาลัยเขตทั้งหมดเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และโอนสถานะไปสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และเรียกชื่อมหาวิทยาลัยและชื่อวิทยาเขตตามสถานที่ตั้งของวิทยาเขตต่อท้าย

วันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคามได้ยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม" หลังจากที่ได้ยกฐานะแล้ว ทางมหาวิทยาลัยได้เปิดรับสมัครสอบนิสิตชั้นปีที่ 1 เข้าเรียนหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปีเป็นปีแรกโดยใช้ วิธีการสอบผ่านทบวงมหาวิทยาลัย โดยรับทั้งสิ้น 63 คน สำหรับวิชาเอกที่เปิดในปีการศึกษา 2517 มีดังนี้ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภูมิศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ ชีววิทยา และการประถมศึกษา

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคามได้มีพัฒนาการมาตามลำดับโดยอาศัยเงื่อนไขของเวลาในการสร้างความพร้อมต่าง ๆ กระทั่งสามารถดำเนินการแยกเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศสำเร็จภายใต้ชื่อ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวฯทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติของมหาวิทยาลัย ซึ่งได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา[3] ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา [4]  นับเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งที่ 22 ของประเทศไทย ทำให้คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามก็ได้ถูกยกฐานะเป็น "คณะ" อย่างสมบูรณ์เช่นเดียวกับคณะต่าง ๆ ถือเป็น 1 ใน 3 คณะแรกของมหาวิทยาลัยมหาสารคามที่เติบโตมาพร้อม ๆ คู่กับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ในปี พ.ศ. 2561 ในการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 3/2561 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 ที่ประชุมให้ความเห็นชอบกับระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ว่าด้วยการบริหารงานโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และออกเป็นประกาศมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 มีนาคม 2561 สาระสำคัญคือ ให้โรงเรียนสาธิตเป็นหน่วยงานในกำกับคณะศึกษาศาสตร์ โดยมุ่งหวังเพื่อเพิ่มศักยภาพทางวิชาการและการใช้บุคลากรร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

สัญลักษณ์

  • ตราสัญลักษณ์ : ตราโรจนศาสตร์ มีองค์ประกอบคือ หนังสือเป็นตัวแทนของการศึกษา หน้า 3 หน้า หมายถึง ศีลธรรม (สีเหลืองหมายถึงศาสนา) ปัญญา (สีเทาหมายถึงสมอง) และพัฒนาประชาคม (สีแสดหมายถึงสีของความทันสมัยและการปฏิรูป) หนังสือที่กางออก เสมือนปีกของนกที่จะโบยบินไปสู่ขอบฟ้ากว้าง หมายถึง การศึกษาทำให้คนมีอิสระทางความคิด ไม่มีกรอบ ไม่มีพรมแดน ตราโรจนากร สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม อยู่ในหนังสือ หมายถึง คณะศึกษาศาสตร์เป็นคณะแรกที่ก่อตั้งมาพร้อมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ต้นไม้ประจำคณะ : บุนนาค
  • สีประจำคณะ :   สีแสด หมายถึงสติปัญญาเป็นเลิศ มีคุณธรรม มีความกล้าหาญและความรุ่งเรือง
  • ปรัชญา : การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม
  • เพลงประจำคณะ : เปลวเทียน
  • อักษรย่อ : EDU

ประเพณีและกิจกรรมสร้างสรรค์

กิจกรรมร้องเพลงคณะศึกษาศาสตร์

เป็นกิจกรรมพิสูจน์รุ่นของนิสิตใหม่คณะศึกษาศาสตร์ชั้นปีที่ 1 เป็นกิจกรรมอย่างเป็นทางการที่ทางนิสิตสโมสรคณะศึกษาศาตร์จัดขึ้น เพื่อให้นิสิตใหม่ได้รู้จักคณะศึกษาศาสตร์มากขึ้น ได้พบปะเพื่อนใหม่ ๆ สานสัมพันธ์ระหว่างพี่และน้อง สร้างความสามัคคีและความภาคภูมิใจในคณะ

กิจกรรมประกวดสาวผู้พราว บ่าวผู้ดี ศรีบุนนาค

เป็นกิจกรรมที่ค้นหาเดือนและดาวประจำคณะศึกษาศาสตร์ เพื่อไปประกวดในงานเฟรชชี่เดย์เฟรชชี่ไหน์ของมหาวิทยาลัย

วันศึกษาศาสตร์

ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ได้เสนอให้กระทรวงศึกษาธิการก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษาขึ้นเพื่อให้เปิดสอน ถึงระดับปริญญา โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูงจึงได้รับ การสถาปนาเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 และได้ตราพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการ ศึกษาประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2497 โดยมีศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี เป็นอธิการ วิทยาลัยเป็นคนแรก ซึ่งถือเป็นจุดก่อกำเนิดคณะวิชาการศึกษารวม ทางคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามจึงกำหนดให้วันที่ 16 กันยายน ของทุกปี เป็นวันศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

นิสิตครูสู่ชุมชน

เป็นกิจกรรมที่ทางสโมสนิสิตคณะศึกษาศาสตร์จัดขึ้นเพื่อให้นิสิตใหม่ชั้นปีที่ 1 ลงชุมชนเพื่อทำจิตอาสาพัฒนาชุมชนในพื้นที่ต่าง ๆ

กิจกรรมศึกษาศาสตร์รวมใจติดป้ายบูชาครู

เป็นพิธีติดป้ายคณะศึกษาศาสตร์ให้กับนิสิตชั้นปีที่ 3 ที่เล่าเรียนศึกษาได้มาถึงครึ่งทาง

กีฬาเชื่อมสัมพันธ์ ครุศาสตร์- ศึกษาศาสตร์ มรม-มมส

เป็นกิจกรรมงานกีฬาเพื่อสานสัมพันธ์ระหว่างคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

บุนนาคเกมส์

เป็นกิจกรรมงานกีฬาภายในคณะศึกษาศาสตร์ โดยสาขาต่าง ๆ จะลงแข่งกีฬาชนิดต่าง ๆ รวมถึงการแข่งขันผู้นำเชียร์และแสตนด์เชียร์

กระดานดำสัมพันธ์

กระดานดำสัมพันธ์เป็นการแข่งขันกีฬาประเพณีคณะครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ หรือ กระดานดำสัมพันธ์ จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช 2548 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นการแข่งขันกีฬาเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ ของ นิสิต-นักศึกษา ในสายวิชาชีพครู 5 สถาบัน ได้แก่ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นอกจากการแข่งกีฬาแล้ว ยังมีการแสดงจากนิสิต-นักศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัยและคอนเสิร์ตในงานเลี้ยงกลางคืนทั้งมีการประกวดกองเชียร์และเชียร์หลีดเดอร์ของแต่ละมหาวิทยาลัย

หน่วยงานภายในคณะ

  • ภาควิชาหลักสูตรและการสอน
  • ภาควิชาการบริหารการศึกษา
  • ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา
  • ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
  • ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและการกีฬา
  • ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว
  • สำนักงานเลขานุการคณะศึกษาศาสตร์
  • ศูนย์ฝึกประสบการณ์และพัฒนาวิชาชีพ
  • ศูนย์บริการวิชาการ คลินิกวิจัย
  • สโมสรนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หลักสูตรการศึกษา

หลักสูตรที่เปิดสอนในคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม[5]
สำนักวิชา/ภาควิชา/สาขาวิชา ระดับปริญญาบัณฑิต ระดับปริญญามหาบัณฑิต ระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต

ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาจิตวิทยา

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)

  • สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาจิตวิทยา

ภาควิชาบริหารการศึกษา

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.)
  • สาขาวิชาสังคมศึกษา

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)

  • สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา

หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)

  • สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา

ภาควิชาหลักสูตรและการสอน

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.)

  • สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาภาษาไทย
  • สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)

  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
  • สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย*

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา

ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา

หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)

  • สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา

ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพและการกีฬา

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา

หมายเหตุ * หมายถึง หลักสูตรใหม่ที่เปิดรับนิสิตตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไป

ทำเนียบผู้บริหาร

ทำเนียบผู้บริหารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หัวหน้าคณะวิชาการศึกษา วิทยาลัยวิชาการศึกษามหาสารคาม
รายนามหัวหน้าคณะ วาระการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์ ดร.อารี สัณหฉวี พ.ศ. 2511 - พ.ศ. 2514
2. รองศาสตราจารย์ ดร.วีระ บุญยะกาญจน พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2517
รองคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตมหาสารคาม
รายนามรองคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
3. รองศาสตราจารย์สมบัติ มหารศ พ.ศ. 2517 - พ.ศ. 2522
4. ดร.ถวิล ลดาวัลย์ พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2526
5. ประพัทธ์ ชัยเจริญ พ.ศ. 2526 - พ.ศ. 2528
6. รองศาสตราจารย์จตุพร เพ็งชัย พ.ศ. 2528 - พ.ศ. 2532
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เผชิญ กิจระการ พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2536
8. รองศาสตราจารย์ ดร.ไชยยศ เรืองสุวรรณ พ.ศ. 2536 - พ.ศ. 2537
คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
9. รองศาสตราจารย์ ดร.พิศมัย ศรีอำไพ พ.ศ. 2537 - พ.ศ. 2542
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ นิ่มจินดา พ.ศ. 2542 - พ.ศ. 2545
11. รองศาสตราจารย์ ดร.ประสาท อิศรปรีดา พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2549
12. รองศาสตราจารย์ ดร.ประวิต เอราวรรณ์ พ.ศ. 2549 - พ.ศ. 2557
13. รองศาสตราจารย์ ดร.พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน

อาคารสิ่งก่อสร้าง

  • อาคารไอที
  • อาคารศึกษาศาสตร์ หรืออาคารแปดเลี่ยม
  • อาคารวิทยพัฒนา

การเดินทางมาสู่คณะ

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ตั้งอยู่บนเขตพื้นที่ ม.เก่า ถนนนครสวรรค์ ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ตรงข้ามคณะสัตวแพทยศาสตร์ ข้างคณะวัฒนธรรมศาสตร์ โดยสามารถเดินทางรถโดยสารประจำทาง คือ รถสองแถว สีเหลือง

อ้างอิง

  1. กรมฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ (2535). แนวคิดและผลงานศาสตราจารย์บุญถิ่น อัตถากร. p. 137.
  2. ราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๑๗, มาตรา เล่ม ๙๑ ตอนพิเศษ ๑๑๒ ประกาศใช้เมื่อ 28 มิถุนายน 2517. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561.
  3. ราชกิจจานุเบกษา ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่องการแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๙ (9-10), [จัดตั้งสถาบันวิจัยศิลปะและวัฒนธรรมอีสาน และให้มีสำนักงานเลขานุการในสถาบันดังกล่าว], มาตรา เล่ม ๑๐๓ ตอนพิเศษ ๑๙๘ ประกาศใช้เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2529. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561.
  4. ราชกิจจานุเบกษา เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๒๙ (36), ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย มาตรา เล่ม ๑๐๓ ตอนพิเศษ ๑๓๙ ประกาศใช้เมื่อ 7 สิงหาคม 2529. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2561.
  5. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, รายงานข้อมูลพื้นฐานประจำปี 2563 หน้า 137, 31 มีนาคม 2564

แหล่งข้อมูลอื่น