ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาษาแต้จิ๋ว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Somsak Ung (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Somsak Ung (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23: บรรทัด 23:


:''สำหรับแต้จิ๋ว ที่เป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บริเวณเมืองทางทิศตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง ติดกับมณฑลฮกเกี้ยน หรือ ฝูเจี้ยน ในภาษาจีนกลาง ดู'''[[แต้จิ๋ว]]'''''
:''สำหรับแต้จิ๋ว ที่เป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บริเวณเมืองทางทิศตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง ติดกับมณฑลฮกเกี้ยน หรือ ฝูเจี้ยน ในภาษาจีนกลาง ดู'''[[แต้จิ๋ว]]'''''
'''ภาษาแต้จิ๋ว''' (潮州話, เตี่ยจิวอ่วย) เป็นหนึ่งในตระกูล[[หมิ่นหนาน|ภาษาจีน หมิ่น-หนาน]] จัดเป็นหนึ่งในตระกูลภาษาของฮกเกี้ยน และ เป็นหนึ่งในภาษาที่พูดกันในภูมิภาคของ[[ประเทศจีน|จีน]] คำว่าแต้จิ๋วในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Teochew (Diojiu, Teochiu, Tiuchiu, Teochew เขียนสะกดได้หลายแบบ) หรือ Chaozhou (เฉาโจว อ่านตามภาษาจีนกลาง)
'''ภาษาแต้จิ๋ว''' หรือที่จริงต้องเรียกว่า '''ภาษาเตี่ยจิว''' (潮州話, เตี่ยจิวอ่วย) เป็นหนึ่งในตระกูล[[หมิ่นหนาน|ภาษาจีน หมิ่น-หนาน]] จัดเป็นหนึ่งในตระกูลภาษาของฮกเกี้ยน และ เป็นหนึ่งในภาษาที่พูดกันในภูมิภาคของ[[ประเทศจีน|จีน]] คำว่าแต้จิ๋วในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Teochew (Diojiu, Teochiu, Tiuchiu, Teochew เขียนสะกดได้หลายแบบ) หรือ Chaozhou (เฉาโจว อ่านตามภาษาจีนกลาง)


== ชื่อเรียก ==
== ชื่อเรียก ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:33, 7 มิถุนายน 2564

ภาษาจีนแต้จิ๋ว
潮州話 เตี่ยจิวอ่วย หรือ เฉาโจวฮว่า
ประเทศที่มีการพูดจีน มาเลเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา เวียดนาม ไทย อินโดนีเซีย
ภูมิภาคในจีน: ตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง ประกอบด้วยแต้จิ๋ว ซัวเถา กิ๊กเอี๊ย โผวเล้ง เตี่ยอัง เหยี่ยวเพ้ง ฮุ่ยไล้ เถ่งไฮ่ ฮงสุน และ ตั้วโป่ว
จำนวนผู้พูดประมาณ 10 ล้านคนในแผ่นดินใหญ่ ประมาณ 2.5 ล้านในต่างแดน (49 ล้านพูดหมิ่นหนาน)  (ไม่พบวันที่)
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนจีน
รหัสภาษา
ISO 639-3
นักภาษาศาสตร์nan-cha (Chao-Shan)
 nan-teo (Teochew – ambiguous)
 nan-chs (Chaozhou proper)
[also redundant codes nan-cho and nan-chz
  แต้จิ๋ว
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด
สำหรับแต้จิ๋ว ที่เป็นกลุ่มคนที่อาศัยอยู่บริเวณเมืองทางทิศตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง ติดกับมณฑลฮกเกี้ยน หรือ ฝูเจี้ยน ในภาษาจีนกลาง ดูแต้จิ๋ว

ภาษาแต้จิ๋ว หรือที่จริงต้องเรียกว่า ภาษาเตี่ยจิว (潮州話, เตี่ยจิวอ่วย) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน หมิ่น-หนาน จัดเป็นหนึ่งในตระกูลภาษาของฮกเกี้ยน และ เป็นหนึ่งในภาษาที่พูดกันในภูมิภาคของจีน คำว่าแต้จิ๋วในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า Teochew (Diojiu, Teochiu, Tiuchiu, Teochew เขียนสะกดได้หลายแบบ) หรือ Chaozhou (เฉาโจว อ่านตามภาษาจีนกลาง)

ชื่อเรียก

คำว่าแต้จิ๋วเป็นการอ่านออกเสียงผิดเพียนโดยชาวไทยสยาม โดยชาวแต้จิ๋วเองจะเรียกชื่อภาษาตัวเองว่า เตี่ยจิวอ่วย ส่วนในภาษาจีนกลางจะออกเสียงว่า เฉาซ่านฮว่า ต่อมาเมื่อเมืองซัวเถาเจริญรุ่งเรื่องขึ้นเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการเมืองแทนเมืองแต้จิ๋ว คนต่างถิ่นจึงนิยมเรียกภาษานี้ว่า ซ่านโถวฮว่า หรือ ซัวเถาอ่วย ในภาษาแต้จิ๋ว หมายถึงภาษาพูดถิ่นซัวเถา ต่อมานิยมเรียกว่า เฉาซ่านฮว่า (เตี่ยซัวอ่วย) หมายถึง ภาษาพูดถิ่นแต้จิ๋ว-ซัวเถา เพื่อให้ครอบคลุมท้องถิ่นที่พูดภาษานี้ชัดเจนยิ่งขึ้น ในแวดวงวิชาภาษาศาสตร์และภาษาถิ่นจีนนิยมเรียกว่า เฉาซ่านฟางเอี๋ยน (เตี่ยซัวฮวงงั้ง) หมายถึงภาษาถิ่นแต้จิ๋ว อีกชื่อหนึ่งที่นิยมใช้เป็นภาษาหนังสือเรียกภาษาถิ่นนี้คือ เฉาอี่ว์ (เตี่ยงื่อ) หมายถึงภาษาของจีนแต้จิ๋วหรือภาษาแต้จิ๋วนั่นเอง

มีอีกชื่อหนึ่งที่ชาวจีนแคะใช้เรียกภาษานี้จนเป็นที่รู้จักคือภาษาฮกล่อ (ภาษาแคะว่า ฮอล่อว้า) เนื่องจากคำว่าฮกล่อเป็นชื่อกลุ่มชาติพันธุ์แต้จิ๋วที่แพร่หลายอีกชื่อหนึ่ง[1]

ประวัติและท้องถิ่นที่พูด

ภาษาแต้จิ๋วในปัจจุบัน เป็นภาษาที่พัฒนามาจากภาษาจีนโบราณของตระกูลหมิ่นหนาน เมื่อประมาณ คริตศตวรรษ ที่ 9 จนถึง ที่ 15 มีกลุ่มชาว หมิ่น (หมิ่น) ได้อพยพลงใต้จากมณฑลฝูเจี้ยน (หรือฮกเกี้ยน) มาที่ทางตะวันออกของมณฑลกวางตุ้ง ในเขตที่เรียกว่า เตี่ยซัว การอพยพดังกล่าวมีสาเหตุมาจากประชากรที่มากขึ้นในมณฑลฝูเจี้ยน เนื่องจากภูมิประเทศใหม่ที่ค่อนข้างตัดขาดจากมณฑลฮกเกี้ยนเดิม และการได้รับอิทธิพลจากภาษากวางตุ้งและแคะ ภาษาแต้จิ๋วจึงได้กลายมาเป็นภาษาเอกเทศในภายหลัง ภาษาแต้จิ๋วนั้นจะพูดในเขตที่เรียกรวมกันว่า "เตี่ยซัว" ซึ่งมีเมืองแต้จิ๋ว ( หรือ เฉาโจว ในภาษาจีนกลาง) และซัวเถา (หรือ ซั่นโถว ในภาษาจีนกลาง) เป็นหลัก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ "เตี่ยซัว" ดังกล่าว นอกจากนั้น ยังพูดกันในเมืองกิ๊กเอี๊ย เตี่ยเอี๊ยะ โผวเล้ง เตี่ยอัง เหยี่ยวเพ้ง ฮุ่ยไล้ และ เถ่งไฮ่ เขตเตี่ยซัวเคยเป็นเขตหนึ่งที่มีคนจีนอพยพออกนอกประเทศเป็นอันมากไปยังเอเซียอาคเนย์ในคริสต์ศตวรรษที่18-20 ซึ่งทำให้ภาษาแต้จิ๋วเป็นภาษาหลักหนึ่งในภาษาที่พูดกันมากในกลุ่ม ชาวจีนอพยพ โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศไทย กัมพูชา สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ฮ่องกง และยังมีในทวีปยุโรป และ ทวีปอเมริกา ที่มีชาวจีนแต้จิ๋วอพยพไป

อย่างไรก็ตาม ในยุคโลกาภิวัตน์นั้นภาษาแต้จิ๋วได้ลดความนิยมลงไปมากในหมู่ชาวแต้จิ๋ว เช่น ในสิงคโปร์ เยาวชนที่เดิมพูดแต้จิ๋วได้เปลี่ยนไปพูดภาษาอังกฤษ ภาษาจีนกลาง และ ฮกเกี้ยนมากขึ้น เนื่องจากวัฒนธรรมส่วนใหญ่และอิทธิพลของสื่อสารมวลชน แต่โดยรวมแล้วภาษาแต้จิ๋วก็ยังคงเป็นภาษาที่พูดกันในหมู่คนจีนในสิงคโปร์เป็นอันดับสองรองจากภาษาฮกเกี้ยน ถึงแม้ว่าภาษาจีนกลางกำลังเข้ามาแทนที่ภาษาท้องถิ่นเหล่านี้ในฐานะภาษาแม่ในหมู่เยาวชนยุคใหม่ก็ตาม

สัทศาสตร์

อักษรละตินตัวเอนหมายถึงอักษรที่นิยมใช้ทับศัพท์แทนเสียง อักษรไทยในวงเล็บคือเสียงอักษรที่ใกล้เคียง

เสียงพยัญชนะ

เสียงพยัญชนะของภาษาแต้จิ๋ว
  ริมฝีปาก ปุ่มเหงือก เพดานอ่อน เส้นเสียง
นาสิก /m/ m (ม) /n/ n (น) /ŋ/ ng (ง)  
กัก ไม่ก้อง ธนิต /pʰ/ p (พ) /tʰ/ t (ท) /kʰ/ k (ค)  
ไม่ก้อง สิถิล /p/ b (ป) /t/ d (ต) /k/ g (ก) /ʔ/ - (อ)
ก้อง /b/ bh (บ)   /ɡ/ gh (ก̃)  
ผสม
เสียดแทรก
ไม่ก้อง ธนิต   /tsʰ/ c (ช)    
ไม่ก้อง สิถิล   /ts/ z (จ)    
ก้อง   /dz/ j/r (จ̃)    
เสียดแทรก   /s/ s (ซ)   /h/ h (ฮ)
เปิด   /l/ l (ล)    

เสียงสระและพยัญชนะสะกด

เสียงสระอาจเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ได้ แต่สำหรับเสียงสระ+สะกดกักแสดงด้วยเสียงสั้นเท่านั้น คล้ายวิธีอ่านสระเสียงสั้นในภาษาไทย สระขึ้นจมูกมิได้หมายความว่าสะกดด้วย น แต่เวลาออกเสียงสระให้ปล่อยลมทางจมูกด้วย

เสียงสระของภาษาแต้จิ๋ว [2]
กลุ่มสระ อ้าปาก แย้มฟัน ห่อปาก
สระพื้นฐาน [i] i (อี) [u] u (อู)
[a] a (อา) [ia] ia (เอีย) [ua] ua (อัว)
[o] o (โอ) [io] io (อี-โอ)
[e] ê (เอ) [ie] (อี-เอ) [ue] (อู-เอ)
[ɯ] e (อือ)
[ai] ai (อาย) [uai] uai (อวย)
[oi] oi (โอย) [ui] ui (อูย)
[ao] ao (อาว)
[ou] ou (โอว) [iou] iou (เอียว)
[iu] iu (อีว)
สระขึ้นจมูก [ĩ] in (อีน̃)
[ã] an (อาน̃) [ĩã] ian (เอียน̃) [ũã] uan (อวน̃)
[ĩõ] ion (อี-โอน̃)
[ẽ] ên (เอน̃) [ĩẽ] iên (อี-เอน̃) [ũẽ] uên (อู-เอน̃)
[ɯ̃] en (อืน̃)
[ãĩ] ain (อายน̃) [ũãĩ] uain (อวยน̃)
[õĩ] oin (โอยน̃) [ũĩ] uin (อูยน̃)
[ãõ] aon (อาวน̃)
[õũ] oun (โอวน̃)
[ĩũ] iun (อีวน̃)
สระ+สะกดนาสิก [im] im (อีม)
[am] am (อาม) [iam] iam (เอียม) [uam] uam (อวม)
[iŋ] ing (อีง) [uŋ] ung (อูง)
[aŋ] ang (อาง) [iaŋ] iang (เอียง) [uaŋ] uang (อวง)
[oŋ] ong (โอง) [ioŋ] iong (อี-โอง)
[eŋ] êng (เอง) [ieŋ] iêng (อี-เอง) [ueŋ] uêng (อู-เอง)
[ɯŋ] eng (อืง)
สระ+สะกดกัก [iʔ] ih (อิ)
[aʔ] ah (อะ) [iaʔ] iah (เอียะ) [uaʔ] uah (อัวะ)
[oʔ] oh (โอะ) [ioʔ] ioh (อิ-โอะ)
[eʔ] êh (เอะ) [ueʔ] uêh (อุ-เอะ)
[oiʔ] oih (โอะ-อิ)
[aoʔ] aoh (อะ-โอะ)
[ip̚] ib (อิบ)
[ap̚] ab (อับ) [iap̚] iab (เอียบ) [uap̚] uab (อ็วบ)
[ik̚] ig (อิก) [uk̚] ug (อุก)
[ak̚] ag (อัก) [iak̚] iag (เอียก) [uak̚] uag (อ็วก)
[ok̚] og (อก) [iok̚] iog (อิ-อก)
[ek̚] êg (เอ็ก) [iek̚] iêg (อิ-เอ็ก) [uek̚] uêg (อุ-เอ็ก)
[ɯek̚] eg (อึก)
สระเสริม [m] m (มฺ) [ŋ] ng (งฺ) [ŋʔ] ngh (งฺอ์)

เสียงวรรณยุกต์

เสียงวรรณยุกต์มีสองกลุ่มคือ อิม (陰 หรือหยิน) กับ เอี๊ยง (陽 หรือหยาง) กลุ่มละสี่เสียง รวมแปดเสียง เสียงสระ+สะกดกักจะมีเสียงวรรณยุกต์ 4 หรือ 8 เท่านั้น

เสียงวรรณยุกต์ของภาษาแต้จิ๋ว
วรรณยุกต์ 1 2 3 4 5 6 7 8
ชื่อ อิมเพ้ง (陰平) อิมเจี่ยน (陰上) อิมขื่อ (陰去) อิมยิบ (陰入) เอี๊ยงเพ้ง (陽平) เอี๊ยงเจี่ยน (陽上) เอี๊ยงขื่อ (陽去) เอี๊ยงยิบ (陽入)
ระดับเสียง ˧˧ 33 ˥˨ 52 ˨˩˧ 213 ˨ʔ 2 ˥˥ 55 ˧˥ 35 ˩˩ 11 ˦ʔ 4
ลักษณะ กลางราบ สูงตก ต่ำยก ต่ำหยุด สูงราบ สูงยก ต่ำราบ สูงหยุด
ตัวอย่าง
คำอ่าน hung1 (ฮูง) hung2 (หู้ง/ฮู่ง) hung3 (หู่ง-ปลายยก) hug4 (หุก) hung5 (ฮู้ง) hung6 (หูง) hung7 (หู่ง/หูง) hug8 (ฮุก)

ภาษาแต้จิ๋วในไทย

ภาษาจีนแต้จิ๋วในประเทศไทยส่วนใหญ่มีภาษาใกล้เคียงกับคนแต้จิ๋วแถบเมืองเตี่ยอังและเถ่งไห้ ซึ่งมีลักษณะเสียงที่นุ่มนวลไม่แข็งกระด้างเช่นถิ่นอื่น อีกทั้งภาษาพูดของชาวแต้จิ๋วในประเทศไทยก็ไม่เหน่อเช่นคนแต้จิ๋วในจีนพูดกัน หากเป็นรุ่นลูกรุ่นหลานที่เกิดในไทย ก็จะยิ่งเห็นความแตกต่างกันในเรื่องภาษาพูดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ภาษาแต้จิ๋วจะยึดภาษาเมืองเตี่ยอังเป็นเกณฑ์ ส่วนชาวแต้จิ๋วในไทยรุ่นแรกใช้ภาษาเมืองเถ่งไห้ แต่ทั้งสองภาษานี้คล้ายกันมาก จนแทบไม่มีความแตกต่างกัน จึงอาจถือได้ว่าภาษาจีนแต้จิ๋วในไทยมีความเป็นเอกภาพมากกว่าภาษาแต้จิ๋วในประเทศจีนเสียอีก

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศมหาอำนาจได้แบ่งโลกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ทุนนิยม และคอมมิวนิสต์ ด้วยเหตุนี้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนแผ่นดินใหญ่จึงถูกตัดขาดมานานกว่า 30 ปี ส่งผลให้ชาวจีนในไทยแทบไม่มีโอกาสติดต่อไปมาหาสู่กับญาติพี่น้องได้ ทำให้เกิดวิวัฒนาการทางด้านภาษาของจีนในไทย โดยภาษาจีนในไทยยังคงลักษณะดั้งเดิมก่อนทศวรรษ 1950 แต่อย่างไรก็ตามภาษาจีนในไทยเองก็ได้รับอิทธิพลของภาษาไทยมากขึ้น ทำให้ภาษาแต้จิ๋วในไทยแตกต่างกับภาษาแต้จิ๋วในจีน

ภาษาแต้จิ๋วในไทยยังมีการใช้คำศัพท์เก่า ในขณะที่ภาษาแต้จิ๋วในจีนไม่มีใช้ ไม่ได้ใช้ หรือใช้กันน้อยมากจนแทบหายไปจากการประมวลคำ ภาษาแต้จิ๋วในไทยและจีนมีคำศัพท์ที่ต่างกันมากมายหลายสิบคำ และมีคำหลาย ๆ คำที่ภาษาแต้จิ๋วในไทยมีใช้กัน ขณะที่ภาษาแต้จิ๋วในจีนไม่ใช้ เช่น แขะจั่ง (客棧) — โรงแรม, เอี่ยฮั้ง (洋行) — ห้างสรรพสินค้า, เถ่าแก (頭家) — เจ้าของกิจการ, เถ่าแกเนี้ย (頭家娘) — ภรรยาของเจ้าของกิจการ, อาเสี่ย (阿舍) — ลูกคนรวย, อาเสี้ยเนี้ย (阿舍娘) — ภรรยาของลูกคนรวย, เซ้ง (承)—รับโอนกรรมสิทธิ์, เชียอู่ (車塢) — อู่ซ่อมรถ, ยัวะ (熱)—ร้อน, กาเชีย (駕車) — ขับรถ ฯลฯ

ภาษาแต้จิ๋วในไทยยังรับเอาเสียงและความหมายจากภาษาอื่นมาใช้ในภาษาของตนเอง เช่น แพทย์—หมอ, แม่ค้า—แมค่า, ตลาด—ตั๊กลั๊ก, วัด—อวก, จักรยานยนต์—มอตอไซ, เครื่องปรับอากาศ—แอ, ลิฟต์—ลิบ, ขวด—ก๊วก, กะปิ—กั้บติ๊, ชมพู่—เจียมผุ ฯลฯ

ภาษาแต้จิ๋วในไทยมีคำใช้ที่ใช้เฉพาะภาษาแต้จิ๋วในไทยเท่านั้น แต่คนแต้จิ๋วในจีนไม่นิยมใช้หรือไม่มีใช้กันอาทิเช่น แปะเจี้ย—เงินกินเปล่าที่แลกกับสิทธิบางประการ, โต่ยจี๊—การบริจาคเงินเพื่อการกุศลด้วยจิตศรัทธา, จ่อซัว—คนรวยมั่งมีเงินทอง (เจ้าสัว), เจี๊ยะฮวงฉู่—บ้านพักตากอากาศต่อมาได้ขยายความเป็นบ้านเดี่ยวหรูหราตามชานเมือง, ซึงกาเกี้ย หรือ ซึงกา—มะนาว, ซึงตู๊—ตู้เย็น, ซัวปา—คนต่างจังหวัดนอกกรุงเทพฯ, ซัวปานั้ง—พวกบ้านนอก, เค้กเกี้ย—แขกอินเดีย—ปากีสถาน, เหลาเกี้ย—ชาวอีสานและชาวลาว[3]

ตัวอย่างคำแต้จิ๋วในไทย

ภาษาแต้จิ๋วในไทย ภาษาแต้จิ๋วในจีน คำแปลภาษาไทย
1 บะย้ง (肉毧) เหน็กซง (肉鬆) หมูหยอง
2 บะโป้ว (肉脯) เหน็กโป้ว (肉脯) หมูแผ่น
3 เขี่ยเงี้ยบ (企業) กี่เงี้ยบ (企業) กิจการค้า
4 หวยลั้ง (火砻) เตียงบีเฉี้ยง (碾米廠) โรงสี
5 อั่งม้อ (紅毛) ไซฮึงนั้ง (西方人) คนต่างชาติ (ฝรั่ง)
6 ฮวงนั้ง (番人) ไทก๊กนั้ง (泰國人) คนไทย
7 ตึ่งนั้ง (唐人) ตงก๊กนั้ง (中國人) คนจีน
8 ตึ่งหนั่งเกี้ย (唐人仔) ฮั่วอี้ (華裔) ลูกคนจีนในไทย
9 กกบู่อี่เจี้ยง (國務院長) จ๋งลี่ (總理) นายกรัฐมนตรี

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. ถาวร สิกขโกศล. ภาษาแต้จิ๋ว (๑). ในศิลปวัฒนธรรม ปีที่ 30 ฉบับที่ 12 ตุลาคม 2552 กรุงเทพ:สำนักพิมพ์มติชน,2552. หน้า 141
  2. Dylan W.H. Sung (28 มกราคม พ.ศ. 2546). "Min - Chaozhou Dialect" (ภาษาอังกฤษ). {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |accessmonthday= ถูกละเว้น (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |accessyear= ถูกละเว้น แนะนำ (|access-date=) (help)
  3. อดุลย์ รัตนมั่นเกษม. กำเนิดและวิวัฒนการของคนแต้จิ๋วอดีตถึงปัจจุบัน.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ขุนเขา. หน้า 210-220