ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Ghyuiop (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Toppytoto (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 2: บรรทัด 2:
| bgcolour =
| bgcolour =
| name = รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส
| name = รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส
| image = Rungruedee 1252727.jpg
| image = [[ไฟล์:รุ่งฤดี_แพ่งผ่องใส.jpg|200px]]
| caption =
| caption =
| birthname =
| birthname =

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:20, 30 พฤษภาคม 2564

รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส
ไฟล์:Rungruedee 1252727.jpg
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด13 มีนาคม พ.ศ. 2489 (78 ปี)
คู่สมรสพลตำรวจเอก จรัส เพ็งเจริญ
บุตรนางวรภัทร ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์
อาชีพนักร้อง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2508 - ปัจจุบัน
ผลงานเด่น"เอาความขมขื่นไปทิ้งแม่โขง"
ศิลปินแห่งชาติพ.ศ. 2563 - สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง)

รุ่งฤดี แพ่งผ่องใส หรือ นางรุ่งฤดี เพ็งเจริญ ศิลปินแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2563 (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) นักร้องเพลงไทยสากลรางวัลพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ จากเพลง "บัวขาว" เมื่อปีพ.ศ. 2514 และเพลง "หลานย่าโม" ในปีพ.ศ. 2522 โดยมีเพลงสร้างชื่ออื่นๆ อาทิเช่น เอาความขมขื่นไปทิ้งแม่โขง พัทยาลาก่อน คนหน้าเดิม โจโจ้ซัง เป็นต้น

ประวัติ

รุ่งฤดี พื้นเพครอบครัว อยู่ใกล้ๆ วัดบ้านหม้อ ตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ในวัยเด็กมีความชอบและใจรักเรื่องการร้องเพลงมาก ผู้ใหญ่ที่นับถือกันจึงพาไปฝาก ครูเอื้อ สุนทรสนาน เพื่อให้เป็นนักร้องประจำวงดนตรีสุนทราภรณ์ ที่กรมประชาสัมพันธ์ แม้ในขณะนั้นยังเรียนอยู่ที่โรงเรียนดุสิตพาณิชยการ ในปี พ.ศ. 2508 อยู่ก็ตาม

ครูเอื้อ สุนทรสนาน ให้เลือกเพลงที่คิดว่าร้องได้ดีที่สุดเพื่อทดสอบ จึงร้องเพลง "ภูกระดึง" ของ มัณฑนา โมรากุล ให้ครูเอื้อฟัง ปรากฏว่าสอบผ่านเลยได้เรียนวิชาการขับร้องกับครูสริ ยงยุทธ ซึ่งเป็นมือเปียโนประจำวงตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา

จากนั้นเธอได้มีโอกาสร้องเพลงภูกระดึงอีกครั้ง โดยร้องสดบนเวทีเป็นครั้งแรกในรายการที่สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังสวนดุสิต ซึ่งรุ่งฤดีได้ยอมรับว่ามีความประหม่าและตื่นเต้นมาก ต่อมาได้บันทึกแผ่นเสียงเพลง "พัทยาลาก่อน" ของครูศรีสวัสดิ์ พิจิตรวรการ เป็นเพลงแรก ตามด้วยเพลง "ร้ายกว่าผี" ได้รับความนิยมชื่นชมจากแฟนเพลงอย่างมากมายเกินความคาดหมาย

รุ่งฤดีได้อยู่กับวงดนตรีสุนทราภรณ์และกรมประชาสัมพันธ์ได้เพียง 3 ปี ก็ลาออกไปใช้ชีวิตเป็นนักร้องตามไนท์คลับที่กำลังมีชื่อเสียงอยู่ในตอนนั้น เช่น สีดาไนท์คลับ ถนนราชดำเนิน ทำให้มีโอกาสได้ร้องเพลงของครูเพลงคนอื่น ๆ อีกหลายคน เช่น ครูทวีพงษ์ มณีนิล, ครู ป.ชื่นประโยชน์, ครูไพบูลย์ บุตรขัน ที่สำคัญก็คือ ครูพยงค์ มุกดา ศิลปินแห่งชาติ ได้แต่งเพลง "เอาความขมขื่นไปทิ้งแม่โขง" ให้ขับร้อง เลยเป็นที่มาของบทเพลงประจำตัวของรุ่งฤดีจนกระทั่งปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2514 ได้รับพระราชทานแผ่นเสียงทองคำ จากเพลง "บัวขาว" ผลงานของท่านผู้หญิงพวงร้อย อภัยวงศ์ และในปี พ.ศ. 2522 จากเพลง "หลานย่าโม" ซึ่งเป็นผลงานชิ้นเอกของครูพรเลิศ ศาลานิตยกุล

ต่อมา ครูเอื้อ สุนทรสนาน ได้ให้บันทึกแผ่นเสียงเพลงคู่ "ชุดดำเนินทราย" ของห้างเมโทรเทปและแผ่นเสียงของวรชัย ธรรมสังคีติ ในปี พ.ศ. 2522 ซึ่งก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเช่นเดิม

รุ่งฤดีมีผลงานบันทึกแผ่นเสียงไว้มากกว่า 2000 เพลง และมีเพลงที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมากอาทิ หลานย่าโม เอาความขมขื่นไปทิ้งแม่โขง กังหันสวาท แม่สอดสะอื้น แฟนซีชีวิต สามหัวใจ คนหน้าเดิม เธอคือดวงใจ ช่างเขาเถิดนะหัวใจ ชีวิตคนเศร้า สตรีที่โลกลืม วาสนาคนจน โจโจ้ซัง นักรบชายแดน ใจหวนครวญรำพัน ยากจะหักใจลืม เป็นต้น ในปัจจุบันรุ่งฤดียังคงร้องเพลงให้กับงานคอนเสิร์ตการกุศลต่างๆ และยังทำงานให้กับสมาคมนักร้องแห่งประเทศไทย สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และองค์กรสำคัญต่างๆ

ชีวิตครอบครัว

สมรสกับ พลตำรวจเอก จรัส เพ็งเจริญ อดีตรองอธิบดีกรมตำรวจ ซึ่งถึงแก่อนิจกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2539 หลังจากครองคู่กันมา 24 ปี มีบุตรสาวเพียงคนเดียวคือ[1]

  • นางวรภัทร ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ สมรสกับ นายแพทย์ไพโรจน์ ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์ มีบุตรชายสองคนคือ
    • นายพีรภัทร ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์
    • นายภัทรพล ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์

ตัวอย่างผลงาน

  • เอาความขมขื่นไปทิ้งแม่โขง
  • หลานย่าโม
  • คนหน้าเดิม
  • บัวขาว
  • กังหันสวาท
  • โจโจ้ซัง
  • พัทยาลาก่อน
  • สามหัวใจ
  • แม่สอดสะอื้น
  • สตรีที่โลกลืม
  • ชีวิตคนเศร้า
  • วาสนาคนจน
  • เธอคือดวงใจ
  • แฟนซีชีวิต
  • ใจหวนครวญรำพัน
  • นักรบชายแดน
  • ช่างเขาเถิดนะหัวใจ
  • ยากจะหักใจลืม

เป็นต้น

ดูเพิ่ม

บรรณานุกรม

  • ไพบูลย์ สำราญภูติ. หนังสือพระเจ้าทั้งห้า ตำนานความเป็นมาของสุนทราภรณ์

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น