ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สนธิสัญญาญี่ปุ่น–เกาหลี ค.ศ. 1910"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 74: บรรทัด 74:
[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิเกาหลี]]
[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิเกาหลี]]
[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาในคริสต์ศตวรรษที่ 20]]
[[หมวดหมู่:สนธิสัญญาในคริสต์ศตวรรษที่ 20]]
[[หมวดหมู่:การล่มสลายของจักรวรรดิเกาหลี]]
[[หมวดหมู่:เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น]]
[[หมวดหมู่:เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:20, 15 พฤษภาคม 2564

สนธิสัญญาผนวกดินแดน
ญี่ปุ่น-เกาหลี
ประเภทสนธิสัญญาตั้งอาณานิคม
วันลงนาม22 สิงหาคม ค.ศ. 1910
ที่ลงนามกรุงฮันซอง, จักรวรรดิเกาหลี
วันตรา22 สิงหาคม ค.ศ. 1910
วันมีผล29 สิงหาคม ค.ศ. 1910
ผู้ลงนามจักรวรรดิญี่ปุ่น เทราอุจิ มาซาตาเกะ
(ผู้แทนต่างพระองค์ฯ)
จักรวรรดิเกาหลี อี วันยง
(นายกรัฐมนตรี)
ภาคีจักรวรรดิญี่ปุ่น จักรวรรดิญี่ปุ่น
จักรวรรดิเกาหลี จักรวรรดิเกาหลี
ภาษาญี่ปุ่น และ เกาหลี

สนธิสัญญาผนวกดินแดนญี่ปุ่น-เกาหลี (ญี่ปุ่น: 韓国併合ニ関スル条約โรมาจิคังโกะกุ-เฮโก นิกันซุรุ โจยะกุ) หรือที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่ง สนธิสัญญาญี่ปุ่น-เกาหลี ค.ศ. 1910 เป็นสนธิสัญญาที่กระทำขึ้นระหว่างจักรวรรดิญี่ปุ่นกับจักรวรรดิเกาหลี เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1910 ณ กรุงฮันซอง สนธิสัญญาฉบับนี้ทำให้เกาหลีหมดสิ้นอำนาจการปกครองตนเองโดยสมบูรณ์ ซึ่งเป็นผลมาจากที่ก่อนหน้านี้เกาหลีตกเป็นรัฐในอารักขา อันเนื่องมาจากสนธิสัญญาอึลซา เมื่อ ค.ศ. 1905

ญี่ปุ่นเมินคำขอของ จักรพรรดิซุนจงแห่งเกาหลี ที่ทรงต้องการให้สนธิสัญญาอยู่ภายใต้กฎหมายของเกาหลี ดังนั้นแล้วพระองค์จึงปฏิเสธการลงพระนาม ทำให้ นายกรัฐมนตรีเกาหลี อี วันยง ต้องลงนามแทน โดยมีผู้แทนจากฝ่ายญี่ปุ่นคือ ไวเคานต์ เทราอุจิ มาซาตาเกะ ผู้แทนต่างพระองค์ประจำเกาหลี

รัฐบาลพระจักรพรรดิญี่ปุ่นได้แต่งตั้งรัฐบาลข้าหลวงแห่งเกาหลีเพื่อบริหารราชการและกิจการของดินแดนเกาหลี โดยให้ เทราอุจิ มาซาตาเกะ ผู้แทนต่างพระองค์ประจำเกาหลี เป็นข้าหลวงต่างพระองค์คนแรก ทั้งนี้รัฐบาลข้าหลวงอยู่ภายใต้การกำกับของรัฐบาลกลางที่กรุงโตเกียว ในขณะที่ฝ่ายขุนนางและชนชั้นปกครองเดิมของเกาหลีก็ไม่อาจยอมรับการปกครองของญี่ปุ่น และไปจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นแห่งประเทศเกาหลีขึ้นที่เซี่ยงไฮ้และฉงชิ่ง

ข้อความ

สมเด็จพระจักรพรรดิกรุงญี่ปุ่นแลสมเด็จพระจักรพรรดิกรุงเกาหลี มีพระราชดำริตริตรองถึงความสัมพันธ์พิเศษแลใกล้ชิดสนิทเชื้อของสองแผ่นดิน ทรงปรารถนาให้สองแผ่นดินมีความบริบูรณ์ร่วมกันยิ่งขึ้นไปแลมีความสงบราบเรียบถาวรสืบไปในบูรพาทวีป ด้วยทรงเห็นว่าการดังกล่าวจะสำเร็จเสร็จผลที่สุดได้ก็โดยการผนวกกรุงเกาหลีเข้ากับจักรวรรดิกรุงญี่ปุ่นนั้น จึงทรงตัดสินพระทัยให้จัดทำสนธิสัญญาผนวกดินแดนดังกล่าวขึ้น แลเพื่อวัตถุประสงค์นั้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้านามผู้มีอำนาจในพระปรมาภิไธยไว้ ดังต่อไปนี้
สมเด็จพระจักรพรรดิกรุงญี่ปุ่น โดยไวเคานต์เทราอุจิ มาซาตาเกะ ผู้แทนต่างพระองค์ แลสมเด็จพระจักรพรรดิกรุงเกาหลี โดยอี วันยง หัวหน้าคณะรัฐมนตรี
หลังได้ประชุมปรึกษาหารือร่วมกันแล้ว จึงได้ตกลงตามข้อต่อไปนี้
ข้อ 1 สมเด็จพระจักรพรรดิกรุงเกาหลีทรงยกให้แก่สมเด็จพระจักรพรรดิกรุงญี่ปุ่นซึ่งสิทธิเด็ดขาดแลอำนาจอธิปไตยเหนือกรุงเกาหลีทั้งปวงเปนการถาวร
ข้อ 2 สมเด็จพระจักรพรรดิกรุงญี่ปุ่นทรงยอมรับการยกให้ซึ่งได้กล่าวไว้ในข้อก่อนหน้า แลทรงยินยอมให้การผนวกกรุงเกาหลีเข้ากับญี่ปุ่นเปนการสำเร็จเสร็จสมบูรณ์
ข้อ 3 สมเด็จพระจักรพรรดิกรุงญี่ปุ่นทรงยินยอมให้สมเด็จพระจักรพรรดิ แลอดีตพระจักรพรรดิ แลมกุฎราชกุมารกรุงเกาหลี ตลอดจนพระภริยาแลทายาททั้งหลาย คงไว้ซึ่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์ แลพระเกียรติยศ ตามฐานะของแต่ละพระองค์เปนลำดับ แลโปรดให้จัดเงินปีถวายตามสมควรเพื่อเปนการธำรงไว้ซึ่งพระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์ แลพระเกียรติยศนั้น
ข้อ 4 สมเด็จพระจักรพรรดิกรุงญี่ปุ่นจะทรงโปรดให้มีการปฏิบัติแลถวายพระเกียรติยศเปนสมควรแก่สมาชิกพระราชวงศ์เกาหลีตลอดจนบรรดาทายาทนอกเหนือจากองค์ที่กล่าวไว้ในข้อก่อนหน้า
ข้อ 5 สมเด็จพระจักรพรรดิกรุงญี่ปุ่นจะทรงโปรดฯพระราชทานยศขุนนางและเงินตราตกแก่ชาวเกาหลีผู้ซึ่งมีความดีความชอบสมควรแก่การยอมรับนับถือเปนพิเศษ
ข้อ 6 ด้วยผลแห่งการผนวกดินแดนตามที่กล่าวไว้ รัฐบาลกรุงญี่ปุ่นจะเข้ารับบรรดาราชการงานปกครองทั้งปวงของเกาหลี แลรับรองว่าจะให้การปกป้องคุ้มครองอย่างเต็มกำลังแก่บุคคลแลทรัพย์สมบัติของชาวเกาหลีที่ปฏิบัติตามพระราชกำหนดกฎหมายอันบังคับใช้เพื่อส่งเสริมความเปนอยู่สุขของชาวเกาหลีเหล่าที่ว่านี้
ข้อ 7 รัฐบาลกรุงญี่ปุ่นจะให้การบรรจุเปนข้าราชการญี่ปุ่นประจำเกาหลีแก่ชาวเกาหลีผู้ซึ่งยอมรับ ภักดี แลเลื่อมใสศรัทธาในระบอบการปกครองใหม่ แลผู้ซึ่งมีคุณสมบัติตรงตามหน้าที่ในงานราชการนั้นๆ
ข้อ 8 สนธิสัญญานี้ ได้รับพระบรมราชานุมัติจากสมเด็จพระจักรพรรดิกรุงญี่ปุ่นแลสมเด็จพระจักรพรรดิกรุงเกาหลีแล้ว ให้มีผลบังคับใช้เมื่อมีแถลงการประกาศใช้

ผู้มีอำนาจทั้งสองฝ่ายต่างได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญานี้ไว้เปนหลักฐานสำคัญ

22 สิงหาคม รัชศกเมจิปีที่ 43

'''寺內正毅''' (เทราอุจิ มาซาตาเกะ) ผู้แทนต่างพระองค์

22 สิงหาคม รัชศกยุงฮีปีที่ 4

'''李 完用''' (อี วันยง) หัวหน้าคณะรัฐมนตรี

การไม่ยอมรับของเกาหลีใต้

ระหว่างปี 2007 ถึง 2010 ฝ่ายเกาหลีใต้ ทั้งนักวิชาการ นักกิจกรรม และสมาชิกสภา ได้ออกมาเรียกร้องว่าสนธิสัญญาฉบับนี้ทำขึ้นมาโดยปราศจากการยินยอมของจักรพรรดิแห่งเกาหลี และการลงนามโดยนายกรัฐมนตรีเป็นการบีบบังคับของญี่ปุ่น สนธิสัญญาฉบับนี้จึงไม่ชอบธรรมทางกฎหมายทั้งปวง และทำการเรียกร้องไปยังนายนะโอะโตะ คัง นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นให้รอบรองว่า สนธิสัญญาดังกล่าวไม่เคยมีผลบังคับใช้ แต่ก็ไร้การตอบสนองใด ๆ กลับจากรัฐบาลญี่ปุ่น

นอกจากนี้ เกาหลีใต้ยังอ้างว่า การรับรองของจักรพรรดิซุนจงในบรรดาพันธะสัญญากับญี่ปุ่น ก็ไม่เป็นไปตามราชประเพณีการปกครองของเกาหลี ญี่ปุ่นบังคับให้จักรพรรดิเกาหลีลงพระนามด้วยชื่อจริงตามอย่างมาตรฐานตะวันตกไว้เหนือตราราชลัญจกรด้วย ซึ่งขัดต่อราชประเพณีการปกครองของเกาหลีเดิมที่จะมีเพียงการลงตราราชลัญจกร และอ้างกระทำเช่นนี้อาจทำให้เอกสารนั้นไม่สมบูรณ์

ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2010 มีนักกิจกรรมกว่า 1,000 คนในเกาหลีและญี่ปุ่นออกมาเดินขบวน ถือว่าสนธิสัญญาฉบับนี้ไม่เคยมีผลบังคับใช้