ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตุ๊กกาย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
จากตุ๊กแกเป็นตุ๊กกาย
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 45: บรรทัด 45:
* ตุ๊กกายหมอบุญส่ง ''[[Cyrtodactylus lekaguli]]''
* ตุ๊กกายหมอบุญส่ง ''[[Cyrtodactylus lekaguli]]''
* ตุ๊กกายป่าท้าวแสนปม ''[[Cyrtodactylus macrotuberculatus]]''
* ตุ๊กกายป่าท้าวแสนปม ''[[Cyrtodactylus macrotuberculatus]]''
* ตุ๊กแกคอขวั้น ''[[Cyrtodactylus oldhami]]''
* ตุ๊กกายคอขวั้น ''[[Cyrtodactylus oldhami]]''
* ตุ๊กกายลายผีเสื้อ ''[[Cyrtodactylus papilionoides]]''
* ตุ๊กกายลายผีเสื้อ ''[[Cyrtodactylus papilionoides]]''
* ตุ๊กกายลายจุด, จิ้งจกดินลายหินอ่อน ''[[Cyrtodactylus peguensis]]''
* ตุ๊กกายลายจุด, จิ้งจกดินลายหินอ่อน ''[[Cyrtodactylus peguensis]]''

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:57, 6 พฤษภาคม 2564

ตุ๊กกาย
Cyrtodactylus marmoratus พบในชวา, อินโดนีเซีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Sauria
วงศ์: Gekkonidae
วงศ์ย่อย: Gekkoninae
สกุล: Cyrtodactylus
Gray, 1827
ชนิด
89 ชนิด (ประมาณ)
ชื่อพ้อง
  • Geckoella

ตุ๊กกาย หรือ ตุ๊กแกป่า (อังกฤษ: Curve-toed geckos) สัตว์เลื้อยคลานจำพวกหนึ่ง มีรูปร่างคล้ายตุ๊กแก แต่มีขนาดเล็กกว่า อยู่ในวงศ์ Gekkonidae เช่นเดียวกับตุ๊กแกและจิ้งจก โดยอยู่ในสกุล Cyrtodactylus

มีลักษณะสำคัญ คือ มีนิ้วเท้าและเล็บที่แหลมยาว ไม่มีปุ่มดูดจึงไม่สามารถดูดติดเกาะผนังได้เหมือนตุ๊กแกและจิ้งจก ใช้ได้เพียงแค่ปีนป่ายเหมือนกิ้งก่าเท่านั้น

อาศัยอยู่ในถ้ำและป่า ของทวีปเอเชียไม่พบในเมือง มีประมาณ 89 ชนิด ปัจจุบันพบแล้วในประเทศไทยประมาณ 30 ชนิด[1] [2]

สถานะปัจจุบันเป็นสัตว์หายากชนิดหนึ่ง เคยเป็นสัตว์ที่ถูกบรรจุชื่อไว้ในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 แต่เมื่อมีการปรับปรุงใหม่ในปี พ.ศ. 2546 ถูกถอดชื่อออกไป

โดยคำว่า "ตุ๊กกาย" ผู้ที่บัญญัติชื่อนี้ขึ้นมา คือ นายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล อดีตนักอนุรักษ์ธรรมชาติที่มีชื่อเสียงของไทย[3]

รายชื่อตุ๊กกายที่พบในประเทศไทย

รายชื่อตุ๊กกายที่อาจพบได้ในประเทศไทย

รอรายงานอย่างเป็นทางการ

อ้างอิง

  1. http://siamensis.org/content/2920 Genus: Cyrtodactylus สกุล: ตุ๊กกาย, ตุ๊กแกป่า Siamensis.org Species Index
  2. "กรมอุทยานฯเตรียมบรรจุ ตุ๊กกาย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง". ที่นี่ดอตคอม. สืบค้นเมื่อ 31 December 2015.
  3. Grismer, L.L. et al. 2012: A phylogeny and taxonomy of the Thai-Malay Peninsula bent-toed geckos of the Cyrtodactylus pulchellus complex (Squamata: Gekkonidae): combined morphological and molecular analyses with descriptions of seven new species. Zootaxa 3520: 1–55
  4. 4.0 4.1 4.2 "สวนสัตว์โคราชเปิดตัว 3 ตุ๊กกายชนิดใหม่ของโลกรับวันเด็ก". ไทยรัฐ. 9 January 2015. สืบค้นเมื่อ 31 December 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น