ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ท่าอากาศยานนานาชาติเบตง"

พิกัด: 5°47′35.3″N 101°09′43.1″E / 5.793139°N 101.161972°E / 5.793139; 101.161972
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 7: บรรทัด 7:
| image-width =
| image-width =
| caption =
| caption =
| IATA =
| IATA = To Be Confirmed (ถ้ามีแล้วขอแหล่งอ้างอิงด้วย)
| ICAO = VTSY
| ICAO = VTSY


บรรทัด 17: บรรทัด 17:
| elevation-f =
| elevation-f =
| elevation-m =
| elevation-m =
| coordinates ={{coord|5|47|35.3|N|101|09|43.1|E|type:airport_region:TH|display=inline, title}}
| coordinates =
| website = https://minisite.airports.go.th/betong
| website = https://minisite.airports.go.th/betong


| coordinates = {{coord|5|47|35.3|N|101|09|43.1|E|type:airport_region:TH|display=inline, title}}
| pushpin_map = Thailand
| pushpin_map = Thailand
| pushpin_map_alt = ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
| pushpin_map_alt = ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:04, 14 เมษายน 2564

ท่าอากาศยานนานาชาติเบตง
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
เจ้าของกรมท่าอากาศยาน
พื้นที่บริการอำเภอเบตง
สถานที่ตั้งเลขที่ 125 หมู่ที่ 8 ตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
พิกัด5°47′35.3″N 101°09′43.1″E / 5.793139°N 101.161972°E / 5.793139; 101.161972
เว็บไซต์https://minisite.airports.go.th/betong
แผนที่
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
VTSY
ตำแหน่งของท่าอากาศยานในประเทศไทย
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
07/25 1,800 5,905 ยางมะตอย

ท่าอากาศยานนานาชาติเบตง (อังกฤษ: Betong International Airport) เป็นท่าอากาศยานแห่งที่ 29 ของกรมท่าอากาศยาน และเป็นแห่งที่ 39 ในประเทศไทย ตั้งอยู่เลขที่ 125 หมู่ที่ 8 ตำบลยะรม อำเภอเบตง จังหวัดยะลา อยู่ห่างจากตัวเมืองเบตงไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 10 กิโลเมตร[1] มีขนาดพื้นที่ 920 ไร่

ประวัติ

ในปี พ.ศ. 2543 JICA ได้ศึกษาแผนแม่บทสนามบินของประเทศไทย และได้เสนอแนะให้มีท่าอากาศยานเบตง ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 กรมการขนส่งทางอากาศ กระทรวงคมนาคม จึงได้มีการศึกษาความเหมาะสมในการก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง และทำการสำรวจพื้นที่และออกแบบท่าอากาศยาน

การก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง เริ่มหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2558 เห็นชอบในหลักการให้กรมท่าอากาศยาน (ทย.) กระทรวงคมนาคม ดำเนินโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง ในวงเงิน 1,900 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินโครงการ 3 ปี (2559 – 2562) ซึ่งเป็นท่าอากาศยานแห่งใหม่ ลำดับที่ 29 สังกัดกรมท่าอากาศยาน และนับเป็นท่าอากาศยานของประเทศไทย แห่งที่ 39[2] ซึ่งจุดประสงค์ที่ก่อให้เกิดท่าอากาศยานเบตงนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการคมนาคมในพื้นที่อำเภอเบตงที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชันไม่สะดวกต่อการเดินทาง และเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาเศรษฐกิจและความมั่นคงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม การเมือง และจะทำให้การคมนาคมขนส่งภายในจังหวัดยะลา และการเชื่อมต่อสู่ประเทศมาเลเซียที่ด่านเบตงและพื้นที่ใกล้เคียงจะสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

ล่าสุด คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 อนุมัติให้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการขยายทางวิ่งท่าอากาศยานเบตงเพิ่มอีก 300 เมตรจากเดิม 1,800 เมตร เพิ่มเป็น 2,100 เมตร เพื่อให้สามารถรองรับอากาศยานขนาดใหญ่ อย่างแอร์บัส เอ320 และโบอิง 737

อาคารผู้โดยสาร ลานจอดอากาศยาน ทางขับ และทางวิ่ง ได้แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2562[3] และอุปกรณ์อำนวยการเดินอากาศได้ติดตั้งแล้วเสร็จในต้นปี พ.ศ. 2563 แต่เนื่องจากเหตุการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ทำให้ต้องเลื่อนเปิดท่าอากาศยานอย่างไม่มีกำหนด[4]

อาคารสถานที่

อาคารผู้โดยสาร

  • อาคารที่พักผู้โดยสารเป็นอาคาร 2 ชั้น มีพื้นที่ 7,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารในชั่วโมงเร่งด่วนได้ 300 คนต่อชั่วโมง หรือรองรับผู้โดยสารได้ 876,000 คนต่อปี[1]
  • ลานจอดเครื่องบินขนาดกว้าง 94 เมตร และยาว 180 เมตร สามารถจอดอากาศยานประเภทเอทีอาร์ 72ได้ 3 ลำ[5][6]

ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์)

  • ทางวิ่งขนาดกว้าง 30 เมตร ยาว 1,800 เมตร สามารถรองรับเครื่องบินขนาด 80 ที่นั่ง (ATR-72/Q-400) ได้มากกว่า 4,000 เที่ยวต่อปี
  • ทางขับ ประกอบด้วยทางขับ A ขนาด 18X587 เมตร ทางขับ B ขนาด 18X115 เมตร[5]

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 ""สนามบินเบตง" เล็กแต่สวยหรู สนามบินน้องใหม่ที่ตกแต่งด้วยไม้ไผ่ หนึ่งเดียวในไทย". ผู้จัดการออนไลน์. 20 ตุลาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "ผุดสนามบินเบตง". เดลินิวส์. 6 ตุลาคม 2558. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "อวดโฉมอาคารผู้โดยสาร 'สนามบินเบตง' คอนเฟิร์มเปิดใช้ มิ.ย. ปีหน้า". 28 พฤศจิกายน 2562. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "เลื่อนเปิด "สนามบินเบตง" หลัง COVID-19 กระทบสายการบิน". ไทยพีบีเอส. 14 พฤษภาคม 2563. สืบค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. 5.0 5.1 "ทย.ถือฤกษ์ดีวางศิลาฤกษ์สนามบินเบตงแล้ว". บ้านเมือง. 8 ธันวาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. ""อาคม" วางศิลาฤกษ์ก่อสร้างสนามบินเบตงเสร็จปี'62 เชื่อมการเดินทาง-ท่องเที่ยวชายแดนไทย-มาเลย์". ประชาชาติ. 8 ธันวาคม 2560. สืบค้นเมื่อ 6 พฤษภาคม 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)