ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุรถไฟตกรางในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2552"

พิกัด: 12°27′32″N 99°58′12″E / 12.458916°N 99.969881°E / 12.458916; 99.969881
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mr.BuriramCN (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 84: บรรทัด 84:


[[หมวดหมู่:อุบัติเหตุทางรถไฟในประเทศไทย|ห]]
[[หมวดหมู่:อุบัติเหตุทางรถไฟในประเทศไทย|ห]]
[[หมวดหมู่:พ.ศ. 2552]]
[[หมวดหมู่:ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2552]]
[[หมวดหมู่:จังหวัดประจวบคีรีขันธ์]]
[[หมวดหมู่:จังหวัดประจวบคีรีขันธ์]]
{{โครง}}
{{โครง}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:32, 5 เมษายน 2564

เหตุรถไฟตกรางในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ภาพจากเว็บไซต์สำนักนายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่เกิดเหตุ
เหตุรถไฟตกรางในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2552ตั้งอยู่ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
เหตุรถไฟตกรางในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2552
ที่ตั้งสถานที่เกิดเหตุในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
รายละเอียด
วันที่5 ตุลาคม พ.ศ. 2552
04:20
สถานที่สถานีเขาเต่า ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
พิกัด12°27′32″N 99°58′12″E / 12.458916°N 99.969881°E / 12.458916; 99.969881
ประเทศประเทศไทย
สายสายใต้
ผู้ให้บริการการรถไฟแห่งประเทศไทย
เจ้าของการรถไฟแห่งประเทศไทย
บริการรถด่วนที่ 84 มุ่งหน้าสถานีกรุงเทพ
ประเภทเหตุการณ์รถไฟตกราง
จำนวน
รถไฟ1
ยานยนต์1
เสียชีวิต7
บาดเจ็บ88
Route map
กม.
212.99
หัวหิน
216.96
หนองแก
221.03
สวนสนประดิพัทธ์
225.04
เขาเต่า (จุดเกิดเหตุ)
232.85
วังก์พง
235.85
ปราณบุรี

เหตุการณ์รถไฟตกรางที่หัวหิน พ.ศ. 2552 เป็นเหตุการณ์ที่นับว่าเป็นอุบัติเหตุทางรถไฟไทยที่มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บมากที่สุดรอบในหลายปี เหตุเกิดขึ้นเมื่อเวลา 04.20 น. ของวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552 โดยรถด่วนขบวนที่ 84 วิ่งจากสถานีตรังปลายทางสถานีกรุงเทพ เกิดตกรางที่สถานีเขาเต่า ตำบลหนองแก อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ทำให้ตู้โดยสารทั้งหมด 15 ตู้ พลิกคว่ำเสีย 6 ตู้ มีผู้เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บ 88 ราย และทำให้วันนั้นทั้งวัน รถไฟสายใต้ทุกขบวนต้องหยุดให้บริการทั้งหมด

ในเบื้องต้น ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ประเมินค่าเสียหายทั้งหมดนับ 100 ล้านบาท[1] จากขบวนรถไฟตู้โดยสารทั้งหมด 14 ตู้ ได้รับความเสียหาย 9 ตู้ และความเสียหายของราง คิดเป็นมูลค่าประมาณ 120 ล้านบาท และความเสียหายจากการสั่งระงับการให้บริการรถไฟในเส้นทางสายใต้ 28 เที่ยว และขบวนรถสินค้า 5 เที่ยว เป็นเงิน 9 ล้านบาท[2]

หลังเกิดเหตุ ได้มีการระดมทีมกู้ภัยลงไปช่วย นายมานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็ได้ลงพื้นที่ไปดูสถานที่เกิดเหตุและเยี่ยมเยียนผู้ได้รับบาดเจ็บ การกู้ซากรถไฟและการซ่อมแซมรางแล้วเสร็จในเวลาใกล้เที่ยงของอีกวัน พร้อมกับเปิดให้บริการรถไฟสายใต้ทุกขบวนได้อีกครั้งตามปกติ

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ

วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2552 เวลา 11.30 น. นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย แถลงสถานการณ์หลังเกิดเหตุรถไฟตกรางบริเวณสถานีเขาเต่า อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ว่าสาเหตุที่ทำให้รถไฟตกราง เบื้องต้นคาดว่าอาจเกิดจากพนักงานขับรถไฟหลับใน เพราะมีหลักฐานว่า พนักงานขับรถไฟซึ่งจะต้องแวะจอดเพื่อรอรับเอกสารใบสับหลีกขบวนรถที่บริเวณ สถานีวังก์พง แต่ปรากฏว่าขบวนรถคันดังกล่าวได้ขับขบวนรถฝ่าไฟแดงตรงไปยังสถานีเขาเต่า ซึ่งมีขบวนรถสินค้าขาล่องจอดรอสับหลีก แต่เมื่อได้รับการติดต่อว่าขบวนรถดังกล่าววิ่งฝ่ามาด้วยความเร็วสูงถึง 105 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พนักงานที่สถานีเขาเต่าจึงได้สับหลีกรางเพื่อไม่ให้ขบวนรถไปชนกับขบวนรถสินค้าที่จอดอยู่ ทำให้รถไฟเกิดตกราง[3]

ต่อมา ทางสหภาพแรงงานการรถไฟแห่งประเทศได้มีแถลงการณ์แสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่เชื่อว่าสาเหตุของอุบัติเหตุในครั้งนี้ไม่น่าจะเกิดมาจากพนักงานขับรถไฟ แต่น่าจะเกิดขึ้นมาจากมติของคณะรัฐมนตรีที่ปรับพนักงานออก ทำให้เหลือพนักงานทำงานไม่มาก และต้องทำงานหนักจนไม่มีเวลาได้พักผ่อน[ต้องการอ้างอิง] บ้างก็ว่าความเสื่อมของอุปกรณ์[4]

อ้างอิง