ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Fight588 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Fight588 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6: บรรทัด 6:
| term_start = 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
| term_start = 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
| term_end = 24​ กุมภาพันธ์​ พ.ศ.​2564
| term_end = 24​ กุมภาพันธ์​ พ.ศ.​2564
|primeminister = [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา|พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา]]
|primeminister = [[ประยุทธ์ จันทร์โอชา]]
| predecessor = [[พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์]]
| predecessor = [[พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์]]
| successor = [[อิทธิพล คุณปลื้ม]] (รักษาราชการแทน)
| successor = [[อิทธิพล คุณปลื้ม]] (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รักษาราชการแทน)
| order1 = [[รายนามโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของไทย|ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี]]
| order1 = [[รายนามโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของไทย|ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี]]
| term_start1 = 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561<ref>[http://spm.thaigov.go.th/FILEROOM/spm-thaigov/DRAWER001/GENERAL//DATA0000/00000548.PDF คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 275/2561 เรื่อง มอบหมายใก้ปฏิบัติหน้าที่]</ref>
| term_start1 = 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561<ref>[http://spm.thaigov.go.th/FILEROOM/spm-thaigov/DRAWER001/GENERAL//DATA0000/00000548.PDF คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 275/2561 เรื่อง มอบหมายใก้ปฏิบัติหน้าที่]</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:03, 23 มีนาคม 2564

พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 24​ กุมภาพันธ์​ พ.ศ.​2564
นายกรัฐมนตรีประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าพิเชฐ ดุรงคเวโรจน์
ถัดไปอิทธิพล คุณปลื้ม (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รักษาราชการแทน)
ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
26 ตุลาคม พ.ศ. 2561[1] – 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
นายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ก่อนหน้าพลโท สรรเสริญ แก้วกำเนิด
ถัดไปนฤมล ภิญโญสินวัฒน์
รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
11 กันยายน พ.ศ. 2561 – 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
นายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
30 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2552
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐด้านข้อมูลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
10 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 (55 ปี)
นิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2544-2561)
พลังประชารัฐ (2561-ปัจจุบัน)
คู่สมรสนุสบา (วานิชอังกูร) ปุณณกันต์
ชื่อเล่นบี

พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ (ชื่อเล่น: บี; เกิดวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511) เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ,สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[2] และแกนนำพรรคพลังประชารัฐ อดีตรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา อดีต สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ประวัติ

นายพุทธิพงษ์ เกิดเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2511 (55 ปี) ที่รัฐนิวเจอร์ซีย์ สหรัฐอเมริกา[3] มีชื่อเล่นว่า บี เป็นบุตรคนโตของ ศ.คลินิก เกียรติคุณ เหลือพร และนางดาริกา ปุณณกันต์ เป็นพี่ชายของนายดนุพร ปุณณกันต์ (บรู๊ค)

ทั้งยังเป็นหลานของ พลเอกพงษ์ ปุณณกันต์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และกระทรวงอุตสาหกรรม

การศึกษา

นายพุทธิพงษ์ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2535 และจบปริญญาโท บริหารธุรกิจ (MBA) จาก European University, Montreux สวิตเซอร์แลนด์ เมื่อปี พ.ศ. 2539 และกลับมาทำงานโดยเป็นผู้ช่วยผู้จัดการโครงการ บริษัท ราชธานี กรุ๊ป และรับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการลงทุน (BOI) สำนักนายกรัฐมนตรี ก่อนเข้าสู่วงการเมือง

การเมือง

ไฟล์:55520590 c725e38368.jpg
นายพุทธิพงษ์ คนที่ 2 จากซ้ายมือ ในภาพการรณรงค์หาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์

ชื่อ "พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์" เป็นที่รู้จักมากขึ้นจากการเป็นสามีของ นุสบา วานิชอังกูร ดาราสาวชื่อดัง โดยถูกเรียกติดปากว่า "พี่บี" ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คน ชื่อ "ปุณณ" และ "กันต์" ตามลำดับ

ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 นายพุทธิพงษ์ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในนาม พรรคประชาธิปัตย์ พื้นที่เขต 4 กรุงเทพมหานคร ซึ่งก็คือ เขตพญาไท โดยแข่งขันกับ นางกรรณิกา ธรรมเกษร อดีตพิธีกรโทรทัศน์ ผู้สมัครจากพรรคไทยรักไทย ผลการนับคะแนนนางกรรณิการ์เป็นฝ่ายชนะได้รับการเลือกตั้ง และได้เป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แต่ทว่า หลังจากสภาฯ ชุดดังกล่าวทำงานไปได้เกือบ 1 ปี คณะกรรมการการเลือกตั้งตัดสินใจให้ใบเหลือง นางกรรณิการ์ และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2545 ซึ่งครั้งนี้ ชัยชนะก็เป็นของนายพุทธิพงษ์แทน

ในระหว่างที่ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในสมัยแรก (พ.ศ. 2547-พ.ศ. 2551) นายพุทธิพงษ์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง โฆษกกรุงเทพมหานคร นับเป็นบุคคลแรกที่รับตำแหน่งนี้ และต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ดูแลงานด้านการศึกษาและพัฒนาสังคม กีฬา การท่องเที่ยว และด้านการพานิชย์ของกรุงเทพมหานคร

ในปี พ.ศ. 2553 นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม และรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ควบคู่กับการดำรงตำแหน่ง กรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งได้ลาออกจากตำแหน่งรองโฆษกฯ ในเวลาต่อมา[4]

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร เขต 7 (เขตห้วยขวาง)

ในปี พ.ศ. 2561 เขาได้เข้าร่วมงานในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา โดยเข้ารับตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (ฝ่ายการเมือง) และในเดือนตุลาคมของปีเดียวกัน ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 นายพุทธิพงษ์ ได้ลาออกจากตำแหน่งข้าราชการการเมือง เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคพลังประชารัฐ[5] และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ[6]

ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นกรรมการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในรัฐบาลของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา

ตำแหน่งทางการเมือง

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 นายพุทธิพงษ์เป็นหนึ่งใน 9 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและกรรมการบริหารพรรค และเข้าเป็นหนึ่งในแกนนำ กปปส. ร่วมกับแกนนำและแนวร่วมคนอื่นๆ ที่เป็นคนหนุ่มวัยใกล้เคียงกัน คือ นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ, นายชุมพล จุลใส และนายสกลธี ภัททิยกุล [7] [8]

โดยในระยะแรกของการชุมนุม ซึ่งสถานที่ชุมนุมยังเป็นที่บริเวณสถานีรถไฟสามเสน นายพุทธิพงษ์เป็นผู้สำรวจสถานที่และตัดสินใจเอาสถานที่นี้เป็นที่ชุมนุมร่วมกับนายณัฏฐพล[9]

ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 จากการชุมนุมในครั้งนั้น ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา เพื่อติดตามตัวมาดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย โดย นายพุทธิพงษ์เป็นผู้ต้องหาหมายเลขที่ 4[10] [11]

หลังเหตุการณ์นี้ นายพุทธิพงษ์ก็ได้เข้าอุปสมบทที่วัดพระรามเก้ากาญจนาภิเษก และย้ายไปจำวัดที่วัดธารน้ำไหล จังหวัดสุราษฎร์ธานี เช่นเดียวกับแกนนำคนอื่น ๆ [12]

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ศาลอาญามีคำพิพากษาให้จำคุกนายพุทธิพงษ์ เป็นเวลา 7 ปี ส่งผลให้นายพุทธิพงษ์พ้นสภาพการเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมทันที[13]

งานบันเทิง

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์

และเคยเป็นพิธีกรร่วมกับนางอรทัย ฐานะจาโร ในรายการ "พลังจิตที่ 5" ทางช่อง 5 อยู่ช่วงหนึ่ง สมัยที่ยังเป็น ส.ส. กรุงเทพมหานคร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 275/2561 เรื่อง มอบหมายใก้ปฏิบัติหน้าที่
  2. ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
  3. http://www.thaigov.go.th/mobile/submore.asp?pageid=467&directory=2297&contents=5995&pageno=2&no=10
  4. “พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์” ลาออกจากรองโฆษกรัฐบาล
  5. ‘พุทธิพงษ์’ แถลงลาออก รองเลขานายกฯ-โฆษกรบ.แล้ว เตรียมลุยงานการเมือง
  6. ประกาศคณะกรรมการการเลือกต้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ
  7. ""4 คุณหนู" ฮาร์ดคอร์ สุดยอดคอนเนกชัน-ใครอย่าแตะ!". ผู้จัดการออนไลน์. 6 กุมภาพันธ์ 2557. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "4 เสือ กปปส. เวทีสวนลุมพินี 27 04 57". ยูทิวบ์. 27 เมษายน 2557. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. หน้า 059-061, ทวนเส้นทาง'มวลมหาประชาชน' . นิตยสาร ฅ คน Magazine ปีที่ 9 ฉบับที่ 2 (97): มกราคม 2557
  10. "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "มองผ่านเลนส์คม:'พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์'ลาบวช". คมชัดลึก. 23 กุมภาพันธ์ 2558. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "บี-ตั้น-ถาวร" เจอโทษ พ้นรัฐมนตรี 8 กปปส.นอนคุก พร้อมพวกลุงกำนัน
  14. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๕, เล่ม ๑๒๙, ตอน ๓๕ ข , ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕, หน้า ๒
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย
  16. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2549/B/023/1.PDF
  17. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ และเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี 2551
ก่อนหน้า พุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ ถัดไป
พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(10 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 – 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564)
-
พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png
ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
(26 ตุลาคม พ.ศ. 2561 - 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562)
นฤมล ภิญโญสินวัฒน์