ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แฟรนไชส์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Yutsoodtect (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
[[ไฟล์:McDonalds in Moncton.jpg|thumb|right|ตัวอย่างแฟรนไชส์แมคโดนัลด์]]
[[ไฟล์:McDonalds in Moncton.jpg|thumb|right|ตัวอย่างแฟรนไชส์แมคโดนัลด์]]
'''แฟรนไชส์''' ({{lang-en|franchise}}) เป็นชื่อเรียกการทำธุรกิจโดยมีการให้สิทธิและส่วนการครอบครองการบริหารจัดการและการจัดจำหน่ายทั้งหมดในมือของผู้ที่ได้รับกรรมสิทธิ์โดยชอบธรรม โดยเริ่มมาจากบริษัท ทำรางรถไฟ และบริษัทสาธารณูปโภค ที่พยายามขยายการเติบโตของบริษัทให้มากที่สุด โดยการออกขายสิทธิ์ที่ได้รับสัมปทาน รวมทั้งขายชื่อของกิจการ รวมทั้งระบบการทำงานของตัวเองให้ผู้อื่นโดยทำให้มีแบบแผนในการจัดการไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการขยายตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจผ่านผู้ประกอบการอิสระโดยบริษัทจะให้สิทธิเครื่องหมายการค้าและวิธีการในการทำธุรกิจที่จะถ่ายทอดให้ในรูปแบบของการทำงานทั้งหมด เช่น ระบบการผลิต ระบบการขาย ระบบการบริหารการตลาด เพื่อที่จะให้รูปแบบวิธีดำเนินธุรกิจในทุกๆสาขาให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกันตามต้นแบบของบริษัท
<ref>{{Cite web|title=แฟรนไซส์ (Franchise) คืออะไร|url=https://www.pattanakit.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=524296&Ntype=121|website=www.pattanakit.net}}</ref>'''แฟรนไชส์''' ({{lang-en|franchise}}) เป็นชื่อเรียกการทำธุรกิจโดยมีการให้สิทธิและส่วนการครอบครองการบริหารจัดการและการจัดจำหน่ายทั้งหมดในมือของผู้ที่ได้รับกรรมสิทธิ์โดยชอบธรรม โดยเริ่มมาจากบริษัท ทำรางรถไฟ และบริษัทสาธารณูปโภค ที่พยายามขยายการเติบโตของบริษัทให้มากที่สุด โดยการออกขายสิทธิ์ที่ได้รับสัมปทาน รวมทั้งขายชื่อของกิจการ รวมทั้งระบบการทำงานของตัวเองให้ผู้อื่นโดยทำให้มีแบบแผนในการจัดการไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการขยายตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจผ่านผู้ประกอบการอิสระโดยบริษัทจะให้สิทธิเครื่องหมายการค้าและวิธีการในการทำธุรกิจที่จะถ่ายทอดให้ในรูปแบบของการทำงานทั้งหมด เช่น ระบบการผลิต ระบบการขาย ระบบการบริหารการตลาด เพื่อที่จะให้รูปแบบวิธีดำเนินธุรกิจในทุกๆสาขาให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกันตามต้นแบบของบริษัท


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:35, 22 มีนาคม 2564

ตัวอย่างแฟรนไชส์แมคโดนัลด์

[1]แฟรนไชส์ (อังกฤษ: franchise) เป็นชื่อเรียกการทำธุรกิจโดยมีการให้สิทธิและส่วนการครอบครองการบริหารจัดการและการจัดจำหน่ายทั้งหมดในมือของผู้ที่ได้รับกรรมสิทธิ์โดยชอบธรรม โดยเริ่มมาจากบริษัท ทำรางรถไฟ และบริษัทสาธารณูปโภค ที่พยายามขยายการเติบโตของบริษัทให้มากที่สุด โดยการออกขายสิทธิ์ที่ได้รับสัมปทาน รวมทั้งขายชื่อของกิจการ รวมทั้งระบบการทำงานของตัวเองให้ผู้อื่นโดยทำให้มีแบบแผนในการจัดการไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการขยายตลาดและช่องทางการจัดจำหน่ายของธุรกิจผ่านผู้ประกอบการอิสระโดยบริษัทจะให้สิทธิเครื่องหมายการค้าและวิธีการในการทำธุรกิจที่จะถ่ายทอดให้ในรูปแบบของการทำงานทั้งหมด เช่น ระบบการผลิต ระบบการขาย ระบบการบริหารการตลาด เพื่อที่จะให้รูปแบบวิธีดำเนินธุรกิจในทุกๆสาขาให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกันตามต้นแบบของบริษัท

ประวัติ

การพัฒนาของระบบ'แฟรนไชส์'นั้นเริ่มจากบริษัทซิงเกอร์ ในปี ค.ศ.1850 โดยซิงเกอร์เป็นผู้วางระบบการค้าปลีกแก่ร้านลูกข่ายโดยมีการอบรมและการมอบรูปแบบการพัฒนาการจัดการร้านในแบบของบริษัทถือเป็นต้นแบบเสมือนเป็นแฟรนไชซอร์ ซิงเกอร์นั้นใช้วิธีสร้างเครือข่ายการขายปลีกด้วยระบบพนักงาน และการเป็นตัวแทนจำหน่าย โดยมีค่าใช้จ่ายเพียงค่าสิทธิ์ในการเป็นผู้จัดจำหน่าย ในระดับภูมิภาค แม้ว่าการจัดการในระบบของซิงเกอร์จะไม่สมบูรณ์แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการเริ่มทำธุรกิจในระบบนี้เลยที่เดียว

จุดเปลี่ยน

จนถึงต้นศตวรรษที่ 19 เกิดการขาดแคลนช่องทางจัดจำหน่ายสินค้า โดยบริษัทไม่มีเงินทุนมากพอ ที่จะซื้อทรัพย์สิน สร้างโรงงาน หรือลงทุนเปิดร้านค้าจำนวนมาก เพื่อเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้า หรือลงทุนจ้างผู้จัดการเสมียน และพนักงานทำให้เกิดค่าใช้จ่ายที่สุรุ่ยสุร่ายเกินไป ดังนั้น แทนที่จะส่งสินค้าไปสต๊อกก็เปลี่ยนเป็นเก็บสินค้าไว้ที่ตัวแล้วรอการมารับไปจำหน่ายต่อแทนเป็นการลดความเสี่ยงในด้านการผลิตไปในตัวอีกด้วยโดยมีการเรียกวิธีนี้ว่าว่า "Product Franchise" ที่ให้สิทธิ์การผลิต และตราสินค้าเพียงรายเดียว ในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ แต่ก็เริ่มเสื่อมถอยลงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

การพัฒนา

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่นานร้านค้าปลีกที่ยังดำเนินกิจการอยู่ได้ทำการยกระดับธุรกิจจากการพัฒนาตัวสินค้า เปลี่ยนมาเป็นงานบริการแทน โดยการให้บริการแบบขับรถเข้าไปซื้อ เนื่องจากมีคนจำนวนมากที่มาอยู่ในบริเวณ ชานเมืองมักจะมีรถและต้องการความรวดเร็วในการซื้อสินค้าไปทานข้างนอก โดยรูปแบบนี้มีร้านตัวแทนเป็นจำนวนมากกระจายลงสู่พื้นที่ โดย แบรนด์สินค้าแรกคือ A&W และเทสตี้ ฟรีซ (Tastee Freeze) ที่กลายเป็นที่นิยมกันข้ามประเทศ ซึ่งเป็นจุดต่อของรูปแบบแฟรนไชส์อย่างเต็มรูปแบบ Format Franchising ในยุค ค.ศ.1950 เชื่อมมาสู่อีกยุคหนึ่งโดย แมคโดนัลด์, เบอร์เกอร์คิงส์, ดังกิ้นโดนัท, เคเอฟซี และฟาสท์ฟู้ด เกิดแฟรนไชส์ระดับชาติในช่วงเวลา ดังกล่าว

โดยหนึ่งในร้านค้านั้น แมคโดนัลด์ โดย เรย์ คร็อก ได้รับฉายา ราชาแห่งแฮมเบอร์เกอร์ และเป็นแฟรนไชส์ซอร์ที่ไม่ธรรมดาเลย เนื่องมาจากคร็อกคือผู้ประยุกต์ระบบแฟรนไชส์ให้สามารถพัฒนามาใช้งานได้ดีเยี่ยมมากที่สุดและสามารถนำมาใช้ได้ทุกรูปแบบ เขาเปรียบเสมือนนักปฏิวัติ ผู้ยิ่งใหญ่ของอเมริกาโดยก่อนหน้านี้ก็คือ เฮนรี่ ฟอร์ด ผู้ที่ประยุกต์การผลิตรถยนต์ อันเป็นสาเหตุเดียวกันที่บุคคลทั้ง 2 กลายเป็นผู้ที่ถูกกล่าวขานถึงความสำเร็จ ที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อโครงสร้าง เศรษฐกิจของอเมริกา

ความนิยม

หลังจากการประสบความสำเร็จในการใช้รูปแบบธุรกิจแฟรนไชส์ แมคโดนัลด์ ได้เข้าไประดมทุนในตลาดหุ้นครั้งแรก ซึ่งราคาหุ้นของแมคโดนัลด์นั้นสามารถขึ้นได้สูงสุดเป็น 2 เท่าตัวในทุกเดือนและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในไม่ช้า หุ้นแฟรนไชส์ของโรงแรมฮอลิเดย์อินน์, เคเอฟซี และแฟรนไชส์อื่นๆ เข้ามาขายในตลาดหลักทรัพย์อีก โดยการนำร่องโดย กลุ่มฟาสท์ฟู้ด และได้ฝังรากลึกลงไปในวิถีชีวิตของคนอเมริกัน แต่ก็มีแฟรนไชส์ใหม่ที่ประสบความสำเร็จ ในหมวดของธุรกิจบริการด้านสุขภาพ อาหารใหม่ๆ เช่น พิซซ่าฮัท และอาหารเม็กซิกัน จนในปลายทศวรรษที่ 1980 ธุรกิจแฟรนไชส์ได้รับความนิยมในกลุ่มที่แตกต่างไปจากเดิมโดยมีหลากหลายการให้บริการ เช่น ศูนย์เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องcastal, ตัวแทนจัดหางานJob, บริการที่เกี่ยวกับรถยนต์, รถเช่า, อาหารนานาชาติ ส่วนแฟรนไชส์ที่ขายบริการ เช่น งานพิมพ์, จัดจ้างพนักงานชั่วคราว รวมไปถึงร้านคอมพิวเตอร์ ซึ่งงานให้บริการเหล่านี้ ได้รับความนิยมมากในเมือง และชานเมือง และเริ่มขยายตัวอย่างสูงเข้าสู่มหานครใหญ่ๆทั่วโลก

ระบบแฟรนไชส์ในเมืองไทย

ธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยที่มีการริเริ่มมากกว่า 20 ปี เริ่มตั้งแต่ปีพ.ศ. 2526 ธุรกิจแรกๆ ที่พยายามผลักดันการขยายงานโดยใช้รูปแบบแฟรนไชส์ เป็นธุรกิจด้านอาหารและร้านค้าแบบมินิมาร์ท แต่ส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่องความเข้าใจที่ถูกต้องของสิทธิ ที่มักให้แฟรนไชส์เป็นผู้ลงทุน ที่เน้นทำธุรกิจแบบซื้อเพื่อการลงทุน ไม่มีการมองถึงการสร้างธุรกิจของตนเอง บางครั้งยังใช้การบริหารแบบเก่าที่เน้นความเป็นระบบครอบครัวทำให้อัตราความล้มเหลวธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยในภาพรวมเพิ่มขึ้น [ต้องการอ้างอิง] บางครั้งการลงทุนของแฟรนไชส์ซีที่ประสบปัญหาเกิดจากการจัดการของตนเองบ้าง หรือก็เกิดจากระบบงานของบริษัทแม่ที่เน้นการขยายธุรกิจที่มุ่งผลทางการตลาด อ้างอิงจาก ThaiFranchiseCenter.com

ธุรกิจแฟรนไชส์จะต้องประกอบด้วยปัจจัยหลัก 3 ประการคือ

  • มีผู้ซื้อและผู้ขายแฟรนไชส์ เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ฝ่าย ก็คือแฟรนไชส์ซอร์ และแฟรนไชส์ซี ซึ่งมีการตกลงร่วมในการทำธุรกิจร่วมกันทั้งมีสัญญาและไม่มีสัญญา แต่ในอนาคตรูปแบบข้อตกลงจะปรับรูปสู่ระบบการสร้างสัญญาทั้งหมด เพื่อให้ทั้งระบบแฟรนไชส์ในตลาดจะต้องถูกระบบ เพราะไม่เช่นนั้นแฟรนไชส์ซีที่ไม่ดีจะทำลายระบบด้วย
  • เครื่องหมายการค้า หรือบริการ มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีรูปแบบ ระบบธุรกิจ และใช้เครื่องหมายการค้าเดียวกัน ระบบการจัดการธุรกิจอาจจะเป็นเครื่องมือ หรือสูตรที่คิดค้นขึ้นมาเอง ในการผลิตสินค้า หรือบริการ โดยมีมาตรฐานที่อยู่ในตราสินค้า Brand เดียวกัน
  • มีการจ่ายค่าตอบแทนอย่างน้อย 2 อย่าง คือ ค่าแรกเข้าในการใช้เครื่องหมายการค้า (Franchise Fee) และค่าตอบแทนผลดำเนินการ (Royalty Fee)

สถิติธุรกิจแฟรนไชส์ในไทย

จำนวนธุรกิจแฟรนไชส์ในประเทศไทยนั้น มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าธุรกิจแฟรนไชส์ ก็เหมือนธุรกิจ SMEs อื่นๆในเรื่องของ การล้มหายตายจาก ไปจากระบบนั้น ยอมรับว่ายังคงมีอยู่ สิ่งสำคัญคือ ธุรกิจแฟรนไชส์ในบ้านเรานั้น เหลือที่ทำการตลาดอย่างแท้จริง อยู่กี่กิจการ และขยายสาขาไปได้มากน้อยแค่ไหน

ข้อมูลเหล่านี้ มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักวิชาการ, นักวิจัย รวมถึงผู้สนใจในธุรกิจแฟรนไชส์โดยทั่วไป เพื่อให้มองเห็นภาพรวม ความเป็นไป และแนวโน้มการเจริญเติบโตของธุรกิจแฟรนไชส์ ในประเทศไทย เพื่อเป็นดัชนีชี้วัด และเตรียมความพร้อมรับมือกับนานาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) อ้างอิงจาก ThaiFranchiseCenter.com

  1. "แฟรนไซส์ (Franchise) คืออะไร". www.pattanakit.net.