ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ISO 639-3"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Kirito (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ 2001:FB1:11D:9351:4985:C8B0:4948:504B (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย Kirito
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
'''มาตรฐาน ISO 639-3''' เป็นมาตรฐานกำหนดรหัสของภาษามนุษย์ทั้งหมดเท่าที่ทราบว่ามี โดยใช้ตัว'''อักษร'''ละติน<ref name=":0" />
'''มาตรฐาน ISO 639-3''' เป็นมาตรฐานกำหนดรหัสของภาษามนุษย์ทั้งหมดเท่าที่ทราบว่ามี โดยใช้ตัวอักษรละติน<ref name=":0" />


== รายละเอียด ==
== รายละเอียด ==
บรรทัด 48: บรรทัด 48:
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.sil.org/iso639-3/relationship.asp Relationship between ISO 639-3 and the other parts of ISO 639 ]
* [http://www.sil.org/iso639-3/relationship.asp Relationship between ISO 639-3 and the other parts of ISO 639 ]
* [http://www.sil.org/iso639-3/types.asp Types of individual languages]
*


[[หมวดหมู่:ภาษา]]
[[หมวดหมู่:ภาษา]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:31, 2 มีนาคม 2564

มาตรฐาน ISO 639-3 เป็นมาตรฐานกำหนดรหัสของภาษามนุษย์ทั้งหมดเท่าที่ทราบว่ามี โดยใช้ตัวอักษรละติน[1]

รายละเอียด

มาตรฐาน ISO 639-3 เป็นมาตรฐานในชุดเดียวกับ ISO 639 ที่มีความพยายามจะกำหนดสัญลักษณ์แทนภาษาให้มีความครอบคลุมภาษาต่าง ๆ มาตรฐานที่ถูกกำหนดเป็นส่วนที่ 3 ในมาตรฐาน ISO 639 โดยมีความแตกต่างจากมาตรฐานในส่วนที่ 1 คือ ISO 639-1 และ ส่วนที่ 2 คือ ISO 639-2 ซึ่งเน้นไปที่ภาษาที่มีการใช้กันเป็นภาษาหลักหรือมีการใช้บ่อย ๆ ในขณะที่ ISO 639-3 ถูกสร้างขี้นเพื่อให้ครอบคลุมการใช้งานในทุกลักษณะงานเท่าที่เป็นไปได้ โดยจะใช้รหัสตัวอักษรละตินสามตัวแทนชื่อภาษานั้น ๆ ซึ่งครอบคลุมไปถึงภาษาที่ปรากฏอยู่แล้วในสองมาตรฐานแรก ซึ่งเป็นภาษาที่พบใช้อยู่ในปัจจุบัน ภาษาที่ไม่มีการใช้แล้ว ภาษาโบราณ และภาษาที่สร้างขึ้น โดยกลุ่มบุคคลบางกลุ่มด้วยเหตุผลบางประการ โดยกลุ่มคนเหล่านั้นไม่ได้มีความเกี่ยวเนื่องทางวัฒนธรรม หรือบางทีที่เรียกกันทั่วไปว่าเรียกว่าภาษาประดิษฐ์ ตัวอย่างภาษาประดิษฐ์ที่พอรู้จักกันโดยทั่วไป เช่น เอสเปรันโต (Esperanto) และ อิดอ (Ido) ทำให้มาตรฐานส่วนที่ 3 ครอบคลุมภาษาที่คนส่วนใหญ่ไม่มีความคุ้นเคยจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม มาตรฐานส่วนนี้ไม่ได้ครอบคลุมถึงโปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์และภาษาที่ตั้งขึ้นจากสมมุติฐาน เช่น ภาษาอินโด-ยูโรเปียนดั้งเดิม (Proto-Indo-European) หรือที่เรียกกันว่า PIE

มาตรฐาน ISO 639-3 มีความเฉพาะเจาะจงกว่า ISO 639-1 และ 639-2 คือระบุรหัสสำหรับภาษาที่ถูกเรียกเป็นภาษาถิ่นและไม่มีรหัสเฉพาะใน ISO 639-1 และ 639-2 ด้วย

รหัสสามตัวอักษรของ ISO 639-3 นั้นจะมีแค่แบบเดียวสำหรับหนึ่งภาษา คือแบบที่เรียกว่า T code ของ ISO 639-2 (ใน ISO 639-2 บางภาษาจะมีรหัสสองแบบ คือแบบ B code และ T code)

มาตรฐานล่าสุดของ ISO 639-3 คือ ISO 639-3:2007[1]

ตัวอย่าง

639-3 639-2 (B/T) 639-1 ชื่อภาษา กลุ่มที่ใช้ ประเภท
arb + อื่น ๆ ara ar อาหรับ กระจายกลุ่ม มีใช้อยู่
eng eng en อังกฤษ เฉพาะกลุ่ม มีใช้อยู่
deu ger/deu de เยอรมัน เฉพาะกลุ่ม มีใช้อยู่
hbs sh Serbo-Croatian กระจายกลุ่ม มีใช้อยู่
ido ido io อิดอ เฉพาะกลุ่ม ประดิษฐ์
lab Linear A เฉพาะกลุ่ม โบราณ
lao lao lo ลาว เฉพาะกลุ่ม มีใช้อยู่
nan (zh-min-nan) หมิ่นหนาน (จีนฮกเกี้ยน) เฉพาะกลุ่ม มีใช้อยู่
tha tha th ไทย เฉพาะกลุ่ม มีใช้อยู่
zkh Khorezmian เฉพาะกลุ่ม ไม่มีใช้แล้ว
zho chi/zho zh จีน กระจายกลุ่ม มีใช้อยู่

ดูเพิ่ม

  • ISO 15924 รหัสสากลสำหรับตัวเขียน

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "ISO 639-3:2007 Codes for the representation of names of languages — Part 3: Alpha-3 code for comprehensive coverage of languages". February 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น