ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: ถูกแทน ถูกย้อนกลับแล้ว การแก้ไขแบบเห็นภาพ
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ดูเพิ่มที่|คณะราษฎร|การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475}}
{{ดูเพิ่มที่|คณะราษฎร|การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475}}


'''ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร'''แสดงรายการเหตุการณ์สำคัญนับตั้งแต่การก่อตั้งคณะราษฎรในปี 2469 จนหมดอำนาจในปี 2490
'''ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร'''แสดงรายการเหตุ[[กบฏวังหลวง]]

[[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475|เหตุการณ์ปฏิวัติสยาม]]เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ไทย และทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาช้านานเสียอำนาจส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าวใน พ.ศ. 2475 การต่อสู้ทางการเมืองก็ยังมิได้จบลงไปอย่างสิ้นเชิง ยังคงมีการต่อสู้กันระหว่างผู้นำใน[[สมบูรณาญาสิทธิราชย์|ระบอบเก่า]] กับ[[ประชาธิปไตย|ระบอบใหม่]] หรือความขัดแย้งในผู้นำคณะราษฎรด้วยกันเอง จน[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490]] ถือได้ว่าเป็นการล้างอำนาจทางการเมืองของคณะราษฎรเสียสิ้น

== บุคคลสำคัญ ==
{{col-begin}}
{{col-2}}
; คณะราษฎร
* [[พระยาพหลพลพยุหเสนา]] (พจน์ พหลโยธิน) แกนนำฝ่ายทหาร นายกรัฐมนตรีคนที่ 2
* [[หลวงประดิษฐ์มนูธรรม]] (ปรีดี พนมยงค์) แกนนำฝ่ายพลเรือน นายกรัฐมนตรีคนที่ 7
* [[หลวงพิบูลสงคราม]] (แปลก พิบูลสงคราม) แกนนำฝ่ายทหารหนุ่ม นายกรัฐมนตรีคนที่ 3
{{col-2}}
; ฝ่ายเจ้า
* [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 7
* [[กรมพระนครสวรรค์วรพินิต|สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต]] (กรมพระนครสวรรค์วรพินิต) ผู้รักษาพระนครขณะเกิดการปฏิวัติ
* [[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช]] ผู้นำกบฏบวรเดช
* [[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]] (ก้อน หุตะสิงห์) นายกรัฐมนตรีคนที่ 1
* [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล]] รัชกาลที่ 8
* [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช]] รัชกาลที่ 9
{{col-end}}

== ก่อนการปฏิวัติ (พ.ศ. 2469–2475) ==
=== พ.ศ. 2469 ===
* 5 กุมภาพันธ์ – ตั้ง[[คณะราษฎร]] และมีการประชุมครั้งแรกที่บ้านพักเลขที่ 9 [[Rue Du Sommerard|ถนนซอมเมอราร์ด]] [[ปารีส|กรุงปารีส]] ประเทศฝรั่งเศส ผู้เข้าร่วมประชุมมี 7 คน การประชุมกินเวลานาน 5 วัน และลงมติให้ปรีดี พนมยงค์เป็นประธาน และหัวหน้าคณะราษฎรไปก่อนจะมีผู้ที่เหมาะสม<ref>[http://thunder.prohosting.com/~jub/2475-90.html thunder.prohosting.com สยาม 2475 - 2490 คณะราษฎร]</ref><ref name="history-politics">ชาญวิทย์ เกษตรศิริ, ประวัติการเมืองไทย 2475 - 2550</ref>{{ต้องการอ้างอิงเต็ม}}

=== พ.ศ. 2474 ===
* 19 มิถุนายน - [[พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช]] เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ลาออกจากตำแหน่ง หลังมีความขัดแย้งกับ[[กรมพระนครสวรรค์วรพินิต|สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต]] อภิรัฐมนตรี ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้เปิดโอกาสอย่างมากให้แก่คณะราษฎร<ref>[http://heritage.mod.go.th/nation/nation.htm เหตุการณ์ในแผ่นดินเมื่อปี พ.ศ. 2475]</ref>

=== พ.ศ. 2475 ===
* 12 มิถุนายน – คณะราษฎรวางแผนการที่บ้าน ร.ท.[[ประยูร ภมรมนตรี]] เพื่อจะดำเนินการควบคุม[[กรมพระนครสวรรค์วรพินิต|สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต]] ผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร
* 24 มิถุนายน – คณะราษฎรประกาศ เปลี่ยนแปลง[[การปกครอง]]ของ[[ประเทศไทย]] จาก[[ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์]]ไปเป็น[[ระบอบประชาธิปไตย]] ในการปฏิบัติการ มีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นหัวหน้าคณะราษฎร

== ลำดับเหตุการณ์หลังการปฏิวัติ (พ.ศ. 2475–2490) ==

=== พ.ศ. 2475 ===
* 27 มิถุนายน – [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ลงพระปรมาภิไธยในธรรมนูญการปกครองประเทศ โดยทรงเพิ่มคำว่า ''"ชั่วคราว"'' ต่อท้ายธรรมนูญการปกครองประเทศ ซึ่ง[[หลวงประดิษฐ์มนูธรรม]]เป็นผู้ร่าง<ref>''คือวิญญาณเสรี ปรีดี พนมยงค์'' หนังสือครบรอบ 100 ปี ชาตกาล รัฐบุรุษอาวุโส 11 พ.ค. 2543 หน้า 111</ref>
* 28 มิถุนายน
** มีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรกตามธรรมนูญการปกครองประเทศชั่วคราว มีสมาชิก 70 คน โดยแต่งตั้งจากคณะราษฎร 31 คน และจากข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในระบอบเดิม 39 คน เลือก[[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]] เป็นประธานกรรมการราษฎร ถือว่าเป็น[[นายกรัฐมนตรีไทย]]คนแรก<ref name="sarakadee-24-june-2475">[http://www.sarakadee.com/feature/1999/06/2475.htm www.sarakadee.com ยุทธการยึดเมือง ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕]</ref> [[เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี]]เป็น[[ประธานสภาผู้แทนราษฎร]]คนแรก และมีหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็น[[เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร]]คนแรก<ref>''คือวิญญาณเสรี ปรีดี พนมยงค์'' หนังสือครบรอบ 100 ปี ชาตกาล รัฐบุรุษอาวุโส 11 พ.ค. 2543 หน้า 112</ref> (ดูเพิ่มที่ [[คณะกรรมการราษฎร]])
** มีการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 7 นาย ซึ่งกรรมการมีหลวงประดิษฐ์มนูธรรมเป็นสมาชิกคณะราษฎรคนเดียว
* 25 สิงหาคม – [[วัน จามรมาน|พระยานิติศาสตร์ไพศาล]] จดทะเบียนจัดตั้ง ''[[สมาคมคณะราษฎร]]'' ซึ่งอาจถือได้ว่าเป็นพรรคการเมืองแรกของไทย<ref>รากฐานไทย, [http://www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/country_info/index.html?topic_id=157 ความเป็นมาพรรคการเมืองไทย], เว็บไซต์[[รากฐานไทย]]</ref><ref name="sarakadee-khana-ratsadon-society">สารคดี, [http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=News&file=article&sid=2327 วันนี้ในอดีต: 25 สิงหาคม], [[นิตยสารสารคดี]], 25 สิงหาคม พ.ศ. 2550</ref>
* 10 ธันวาคม – สภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบ[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม|รัฐธรรมนูญฉบับถาวรฉบับแรก]] ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง[[คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 2|ผู้บริหารชุดใหม่ในนามใหม่]] คือ นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจำนวน 20 นาย คณะบริหารชุดใหม่มีพระยามโนปกรณ์นิติธาดาเป็นนายกรัฐมนตรี ในจำนวนนี้สมาชิกคณะราษฎรเป็น[[รัฐมนตรีลอย]] 10 นาย<ref name="history-politics" />
*

=== พ.ศ. 2476 ===
* 15 มีนาคม – หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเสนอ "[[สมุดปกเหลือง|เค้าโครงร่างเศรษฐกิจ]]" ("สมุดปกเหลือง")<ref name="pridi-fo2">[http://www.pridi-fo.th.com/pridi-profile.htm www.pridi-fo.th.com ปฏิทินชีวิต นายปรีดี พนมยงค์]</ref><ref>อนุสรณ์ ธรรมใจ, [http://www.pridiinstitute.com/autopage/show_page.php?h=25&s_id=2&d_id=1 ปาฐกถาปรีดี พนมยงค์ พุทธศักราช 2547], 24 มิถุนายน พ.ศ. 2547 ณ ห้องประชุมใหญ่ สถาบันปรีดี พนมยงค์ กรุงเทพมหานคร</ref>
* 1 เมษายน – [[รัฐประหารในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2476]]: [[พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์)]] นายกรัฐมนตรี ออกพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร และงดใช้รัฐธรรมนูญเกือบทุกมาตรา<ref name="samesky-05-02">บทความ ''เมรุคราวกบฏบวร: เมรุสามัญชนครั้งแรกกลางท้องสนามหลวง'' ชาตรี ประกิตนนทการ - นิตยสารฟ้าเดียวกัน ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 เม.ย. - มิ.ย. 2550</ref> บ้างอธิบายว่าพฤติการณ์ดังกล่าวว่าเพื่อจัดตั้งคณะรัฐบาลใหม่<ref name="history-politics" /> โดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรมพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี
* 2 เมษายน – มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยคอมมิวนิสต์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี<ref name="thai-cons-dev" /> เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการกำจัดฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง<ref name="history-politics" />
* 12 เมษายน – หลวงประดิษฐ์มนูธรรมถูกบังคับให้เดินทางออกนอกประเทศไปยังประเทศฝรั่งเศส เนื่องจากความเห็นของหลวงประดิษฐ์มนูธรรมถูกโจมตีว่าเป็น[[คอมมิวนิสต์]] ภายหลังการเสนอเค้าโครงร่างทางเศรษฐกิจ<ref name="geocities-siamintellect">[http://web.archive.org/20070723175344/www.geocities.com/siamintellect/intellects/pridi/biography.htm geocities.com/siamintellect ชีวประวัติ ปรีดี พนมยงค์]</ref>
* 10 มิถุนายน – พระยาพหลพลพยุหเสนา พระยาทรงสุรเดช พระประศาสน์พิทยายุทธ และพระยาฤทธิอัคเนย์ ผู้นำสายทหารของคณะราษฎรยื่นจดหมายลาออก<ref name="samesky-05-02" />
* 20 มิถุนายน – [[พระยาพหลพลพยุหเสนา|พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา]][[รัฐประหารในประเทศไทย มิถุนายน พ.ศ. 2476|รัฐประหาร]][[พระยามโนปกรณ์นิติธาดา]] นายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลว่าการปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรเป็นเผด็จการ จากนั้นมีการล้างมลทินให้หลวงประดิษฐมนูธรรม
* 29 กันยายน – หลวงประดิษฐ์มนูธรรมเดินทางกลับสยาม
* 1 ตุลาคม–15 พฤศจิกายน – มี[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476|การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรผ่านผู้แทนตำบล]] นับเป็นการเลือกตั้งโดยอ้อมครั้งแรกและครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ไทย
* 11 ตุลาคม – [[กบฏบวรเดช]]: พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช อดีตเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารนำกำลังทหารจากหัวเมืองภาคอีสานล้มล้างการปกครองของรัฐบาล โดยระบุเหตผลว่ารัฐบาลปล่อยให้มีการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและปล่อยให้หลวงประดิษฐ์มนูธรรมกระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์
* 25 ตุลาคม – หลังทราบว่าแพ้ต่อรัฐบาลแน่แล้ว พระองค์เจ้าบวรเดช หัวหน้าคณะกบฏและพระชายา ทรงขึ้นเครื่องบินเดินทางหนีไปยังประเทศ[[อินโดจีนฝรั่งเศส]]
* 7 พฤศจิกายน – ออกพระราชบัญญัติป้องกันรักษารัฐธรรมนูญ อันเป็นเครื่องมือที่จะตอบโต้ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล<ref name="history-politics" />
* 16 ธันวาคม – พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี และตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่หลังจาก[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2476]] การเลือกตั้งสมาชิกสภาแบบ 2 ชั้น (1 ตุลาคม - 15 พฤษภาคม) <ref name="thai-cons-dev" />
* 25 ธันวาคม – [[หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ]]ทรงเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาเรื่องที่ เป็นคอมมิวนิสต์ ได้ลงมติว่าหลวงประดิษฐ์มนูธรรมมิได้เป็นคอมมิวนิสต์<ref name="history-politics" />

=== พ.ศ. 2477 ===
* 2 มีนาคม – [[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงสละราชสมบัติ ขณะประทับรักษาพระเนตรอยู่ใน[[ประเทศอังกฤษ]], วันเดียวกัน [[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล]]เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 8 แห่ง[[ราชวงศ์จักรี]] ขณะที่มีพระชนมายุ 9 พรรษา ได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
* 13 กันยายน – รัฐบาลลาออก เพราะแพ้คะแนนเสียงในสภาเรื่องสัญญาการจำกัดยาง<ref name="thai-cons-dev" />
* 22 กันยายน – ตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ โดยมีพระยาพหลพลพยุหเสนาเป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และหลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย<ref name="thai-cons-dev" />

=== พ.ศ. 2478 ===
* 3 สิงหาคม – เกิดเหตุการณ์[[กบฏนายสิบ]]

=== พ.ศ. 2479 ===
* 14 ตุลาคม – เปิด[[อนุสาวรีย์ปราบกบฏ]] หรือ[[อนุสาวรีย์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ]] ที่เขตบางเขน (ปัจจุบันเรียกเพียงว่า "[[อนุสาวรีย์หลักสี่]]")<ref>ประชาไท, [http://www.prachatai3.info/journal/2007/09/14218 ชาตรี ประกิตนนทการ : สถาปัตย์คณะราษฎร บนพื้นที่ศักดิ์สิทธิแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์] (ย่อหน้า 8), [[ประชาไท]], 19 กันยายน พ.ศ. 2550</ref>
* 10 ธันวาคม - มีพิธีฝัง[[หมุดคณะราษฎร]]

=== พ.ศ. 2480 ===
* 27 กรกฎาคม – พระยาพหลพลพยุหเสนาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากกรณีอื้อฉาวที่มีกระทู้ถามเรื่องการนำที่ดินของ[[พระคลังข้างที่]]มาซื้อขายในราคาถูกเป็นพิเศษ เพื่อเป็นแสดงความบริสุทธิ์และแสดงให้เห็นถึงความไม่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายที่ดินดังกล่าว<ref name="history-politics" />

=== พ.ศ. 2481 ===
* 18 กรกฎาคม – รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนาออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง "วันชาติ" กำหนดให้วันที่ 24 มิถุนายน เป็น[[วันชาติ]] ซึ่งตรงกับวันปฏิวัติ<ref name="techapeera-national-day">เกษียร เตชะพีระ, [http://www.crma.ac.th/histdept/archives/viewpoint/thai-05-09-03.htm 20 พฤษภาฯ วันสิ้น (วัน) ชาติ], [[มติชน]] ปีที่ 26 ฉบับที่ 9310, 5 กันยายน พ.ศ. 2546 (อ้างผ่านเว็บไซต์[[โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า]]) </ref><ref name="talkingmachine">พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย, [http://www.talkingmachine.org/national_day_24_june.html เพลงวันชาติ 24 มิถุนายน], เว็บไซต์พิพิธภัณฑ์เครื่องเล่นกระบอกเสียงและหีบเสียงไทย</ref>
* 11 กันยายน – พระยาพหลพลพยุหเสนา ยุบสภา เนื่องจากรัฐบาลแพ้คะแนนเสียงเรื่องการชี้แจงรายรับ-รายจ่ายที่รัฐบาลจัดทำเสนอ<ref name="history-politics" />
* 16 ธันวาคม – พันเอก หลวงพิบูลสงคราม เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
* 29 มกราคม – รัฐบาลจับกุมศัตรูของรัฐบาล 51 คน แล้วตั้งศาลพิเศษโดยมีพันเอก หลวงพรหมโยธีเป็นประธาน

=== พ.ศ. 2482 ===
* 24 มิถุนายน - รัฐบาลพลตรี หลวงพิบูลสงคราม รับสนองพระบรมราชโองการแก้ไขเพิ่มเติมว่าด้วยนามประเทศ โดยให้เรียกชื่อประเทศว่า "ประเทศไทย" และเปลี่ยนคำว่า "สยาม" ให้เป็น "ไทย" แทน โดยเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงหลักการของลัทธิชาติ-ชาตินิยมว่า ''รัฐบาลเห็นควรถือเป็นรัฐนิยมให้ใช้ชื่อประเทศ ให้ต้องตามชื่อเชื้อชาติ และความนิยมของประชาชน'' <ref>[[มติชนสุดสัปดาห์]] ฉบับที่ 1401, 1402 ฉบับวันที่ 22 และ 29 มิ.ย. 2550 (ผ่านหนังสือ ''จากสยามเป็นไทย: นามนั้นสำคัญมากฉะนี้หรือ? เอกสารโครงการตลาดวิชา มหาวิทยาลัยชาวบ้าน หน้า 8 [[ชาญวิทย์ เกษตรศิริ) </ref>
* 20 พฤศจิกายน – ศาลพิเศษตัดสินประหารชีวิต 18 นาย และจำคุกตลอดชีวิตอีกรวม 25 นาย

=== พ.ศ. 2483 ===
* 24 มิถุนายน – มีพิธีเปิด[[อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]]

=== พ.ศ. 2484 ===
* 8 ธันวาคม – [[สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย]]: กองทัพญี่ปุ่น[[การบุกครองไทยของญี่ปุ่น|ยกพลขึ้นบกที่หลายจังหวัดติดอ่าวไทย]]
* 11 ธันวาคม – รัฐบาลไทยยอมยุติการต่อสู้กับกองกำลังญี่ปุ่น และประกาศทางวิทยุให้ทุกฝ่ายหยุดยิง
* 12 ธันวาคม – [[หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]] เอกอัครทูตไทยประจำสหรัฐ ไม่ยอมรับการประกาศเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่นของรัฐบาลไทย และได้ประกาศ[[ขบวนการเสรีไทย]]ขึ้นที่นั่น โดยต่อมาคณะราษฎรฝ่ายพลเรือนหลายคน เช่น [[หลวงประดิษฐ์มนูธรรม]], [[ทวี บุณยเกตุ]] และ[[หลวงโกวิทอภัยวงศ์]] แยกตัวจากรัฐบาลมาเข้าร่วมกับขบวนการเสรีไทยในประเทศ

=== พ.ศ. 2486 ===

=== พ.ศ. 2487 ===
* 24 กรกฎาคม – จอมพล ป. พิบูลสงครามถูกกดดันให้ลงออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เนื่องจากนโยบาย ร่างพระราชบัญญัติระเบียบราชการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์<ref name="history-politics" />
* 1 สิงหาคม – [[พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา|พลโท พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา]] ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง สภาผู้แทนราษฎรจึงได้ลงมติแต่งตั้งให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แต่เพียงผู้เดียว
* 24 สิงหาคม – จอมพล ป. พิบูลสงครามถูกปลดจากตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุด<ref name="history-politics" />

=== พ.ศ. 2488 ===
* 16 สิงหาคม – [[ปรีดี พนมยงค์]]ในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ออก[[ประกาศสันติภาพ]] ว่าการประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2485 เป็น "โมฆะ"
* 20 สิงหาคม – รัฐบาลควง อภัยวงศ์ลาออกจากตำแหน่ง<ref name="history-politics" />
* 1 กันยายน – [[ทวี บุณยเกตุ]]ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ<ref name="history-politics" />
* 17 กันยายน – หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมชเดินทางกลับจากสหรัฐมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี และได้ดำเนินการเจรจา[[ความตกลงสมบูรณ์แบบ]]
* 27 กันยายน – รัฐบาลเสนอพระราชบัญญัติอาชญากรสงคราม ต่อสภาผู้แทนราษฎร เพื่อใช้จัดการกับ จอมพล ป. พิบูลสงครามและคณะ<ref name="history-politics" />
* 15 ตุลาคม – หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ยุบสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่

=== พ.ศ. 2489 ===
* [[1 มกราคม]] - ม.ร.ว.เสนีย์ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากเสร็จภารกิจเจรจากับประเทศอังกฤษ
* [[6 มกราคม]] - มี[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มกราคม พ.ศ. 2489|การเลือกตั้งทั่วไป]]
* [[31 มกราคม]] - มติสภาผู้แทนราษฎรเลือก[[ควง อภัยวงศ์]]เป็นนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2
* [[18 มีนาคม]] - ควง อภัยวงศ์ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะแพ้การลงมติในสภาผู้แทนราษฎร เรื่องร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองค่าใช้จ่ายฯ<ref name="history-politics" />
* [[24 มีนาคม]] - ปรีดี พนมยงค์ ได้รับเสียงสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรี<ref name="history-politics" />
* [[9 พฤษภาคม]] - รัฐสภามีรัฐพิธีลงพระปรมาภิไธยใน[[รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489|รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 3]]<ref name="thai-cons-dev" />
* 8 มิถุนายน – ปรีดีลาออกจากตำแหน่งเพื่อให้เป็นไปตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญ หลังรัชกาลที่ 8 พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่รัฐสภาก็มีมติเป็นเอกฉันท์ให้กลับมาดำรงตำแหน่งอีกครั้ง
* [[9 มิถุนายน]]
** [[เหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8|เหตุการณ์เสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล]]:
** ปรีดีและคณะรัฐมนตรีได้ขอความเห็นชอบต่อสภาว่า ผู้ที่จะขึ้นครองราชย์สืบสันตติวงศ์ควรได้แก่ สมเด็จ[[พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช|พระอนุชา]] เมื่อสภามีมติเห็นชอบแล้ว นายปรีดีก็ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยเหตุผลว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงแต่งตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรีนั้นได้สวรรคตเสียแล้ว
** ศัตรูทางการเมืองของนายปรีดี ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มทหารที่สูญเสียอำนาจและพรรคการเมืองฝ่ายค้าน รวมถึงพรรคประชาธิปัตย์{{อ้างอิง}} สบโอกาสในการทำลายนายปรีดีทางการเมือง โดยการกระจายข่าวว่า "ปรีดีฆ่าในหลวง" ซึ่งเป็นคำกล่าวอ้างที่ร้ายแรงมาก จนกลายเป็นกระแสข่าวลือ และนำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองทั้งหมดในเดือนพฤศจิกายน
* [[5 สิงหาคม]] - [[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป สิงหาคม พ.ศ. 2489|การเลือกตั้งเพิ่มเติม]]
* [[23 สิงหาคม]] - พลเรือตรี [[ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์]] เป็นนายกรัฐมนตรี<ref name="history-politics" />

=== พ.ศ. 2490 ===
* 19–26 พฤษภาคม – [[พรรคประชาธิปัตย์]]อภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นานถึง 8 วัน 7 คืนติดต่อกัน จนถูกเรียกว่า "มหกรรม 8 วัน" การลงมติปรากฏว่า พล.ร.ต.ถวัลย์ ได้มติไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งต่ออย่างท่วมท้น แต่เนื่องจากกระแสกดดันอย่างมากทั้งในและนอกสภาผู้แทนราษฎร จึงต้องลาออกในวันรุ่งขึ้น แต่ก็กลับเข้ารับตำแหน่งอีกครั้งในวันถัดมา
* 8 พฤศจิกายน – [[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490]]: พล.ท.[[ผิน ชุณหะวัณ]] และ น.อ.[[กาจ กาจสงคราม]] นำกำลังทหารยึดอำนาจจากปกครองจากรัฐบาล พล.ร.ต.[[ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์]] (รับช่วงต่อจากนายปรีดี) โดยอ้างว่าไม่สามารถสะสาง[[เหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8|กรณีสวรรคต]]ได้ และยกเลิกรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2489<ref name="soldier-politics">ทหารกับการเมืองในอุษาคเนย์: ศึกษาเปรียบเทียบในกรณีของ ไทย พม่า อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (บรรณาธิการ)</ref> ปรีดี และพล.ร.ต.ถวัลย์ หลบหนีออกนอกประเทศไปยัง[[สหรัฐอเมริกา]] ในขณะนั้นรัฐบาลสหรัฐอเมริกาสนับสนุนฝ่ายรัฐประหาร ปรีดีจึงเดินทางไป[[ประเทศจีน]]แทน<ref name="geocities-siamintellect" /> รัฐประหารครั้งนี้ถึงแม้จอมพล ป. ซึ่งเป็นสมาชิกคณะราษฎร จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีก็ตาม แต่สมาชิกและบุคคลร่วมคณะในรัฐบาลก็มิได้เป็นสมาชิกคณะราษฎรเลย โดยรัฐประหารครั้งนั้นถือได้ว่าเป็นการล้างอำนาจทางการเมืองของคณะราษฎรเสียสิ้น<ref name="Sarakadee">สารคดี, [http://www.sarakadee.com/feature/1999/06/2475.htm ยุทธการยึดเมือง 24 มิถุนายน 2475], [[นิตยสารสารคดี]], ปรับปรุงล่าสุด 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549</ref>

== เหตุการณ์ภายหลัง ==
21 พฤษภาคม 2503 รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ประกาศยกเลิกวันชาติ 24 มิถุนายน ซึ่งตรงกับวันที่คณะราษฎรปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง และให้ถือเอาวันพระราชสมภพของพระมหากษัตริย์เป็นวันชาติแทน<ref name="ratchakitcha2503">[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2503/D/043/1452.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้ถือวันพระราชสมภพ เป็นวันเฉลิมฉลองของชาติไทย]; ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 77 ตอน 43 24 พฤษภาคม 2503 หน้า 1452</ref> ถือเป็นการสิ้นสุดสัญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎร

วันที่ 14 เมษายน 2560 มีข่าวว่าหมุดคณะราษฎรถูกเปลี่ยน โดยหมุดใหม่มีข้อความว่า "ความนับถือรักใคร่ในพระรัตนตรัยก็ดี ในรัฐของตนก็ดี ในวงศ์ตระกูลของตนก็ดี มีจิตซื่อตรงในพระราชาของตนก็ดี ย่อมเป็นเครื่องทำให้รัฐของตนเจริญยิ่ง ขอประเทศสยามจงเจริญยั่งยืนตลอดไป ประชาชนสุขสันต์ หน้าใส เพื่อเป็นพลังของแผ่นดิน"<ref>[http://www.matichon.co.th/news/529711 แชร์ว่อน! หมุดคณะราษฎรถูกเปลี่ยน ผอ.เขตดุสิตปัดเกี่ยว กรมศิลป์แจงไม่อยู่ในความรับผิดชอบ]</ref>

ในปี 2563 มีการเปลี่ยนชื่อค่ายพหลโยธินและค่ายพิบูลสงคราม ซึ่งได้ชื่อตามผู้นำคณะราษฎร เป็น "ค่ายภูมิพล" และ "ค่ายสิริกิติ์" ตามลำดับ<ref>[https://www.bbc.com/thai/thailand-52024179 คณะราษฎร : โปรดเกล้าฯ เปลี่ยนนาม "ค่ายพหลโยธิน" และ "ค่ายพิบูลสงคราม" เป็น "ค่ายภูมิพล" และ "ค่ายสิริกิติ์"]</ref>

== หมายเหตุ ==
* ในลำดับเหตุการณ์ข้างต้น ระหว่างปี พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2503 ซึ่งปี[[พุทธศักราช]]มีการเปลี่ยนแปลงวันเริ่มศักราช จากเดิมเริ่มต้นปีในวันที่ 1 เมษายน แต่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2484 ประเทศไทยได้ปรับวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลในปีก่อน พ.ศ. 2483 เกิดความสับสนในการเรียงลำดับ

== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง|2}}

== ดูเพิ่ม ==

{{wikisource|ประมวญเหตุการณ์และภาพในการเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎร}}

<div style="-moz-column-count:2; column-count:2;">
* [[การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475]]
* [[กบฏบวรเดช]]
* [[สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย]]
* [[เสรีไทย]]
* [[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490]]
* [[กบฏวังหลวง]]
</div>


[[หมวดหมู่:คณะราษฎร]]
[[หมวดหมู่:คณะราษฎร]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:31, 23 กุมภาพันธ์ 2564

ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎรแสดงรายการเหตุกบฏวังหลวง