ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เอะอาวาเซะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nullzerobot (คุย | ส่วนร่วม)
ลบลิงก์ที่ซ้ำซ้อน wikidata
Waniosa Amedestir (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Genji0017.jpg|thumb]]
[[ไฟล์:Genji0017.jpg|thumb]]


'''เอะ อะวะเสะ''' - '' แข่งขันประชันภาพ'' (絵合, E Awase ) "Picture Contest" เป็นบทที่ 17 ของ[[ตำนานเก็นจิ]] ผลงานของ [[มุระซะกิ ชิคิบุ]] จากทั้งหมด 54 บท
'''เอะอาวาเซะ''' ({{nihongo|絵合|E Awase}}; ''แข่งขันประชันภาพ'') เป็นบทที่ 17 ของ[[ตำนานเก็นจิ]] ผลงานของ [[มุระซะกิ ชิคิบุ]] จากทั้งหมด 54 บท


== ที่มาของชื่อบท ==
== ที่มาของชื่อบท ==


'''เอะอะวะเสะ''' แปลว่า การประชันภาพวาด โดย จะแบ่งคู่แข่งขันเป็นสองฝ่าย แต่ละฝ่ายส่งภาพมาประชันกันฝ่ายละ 1 ภาพ ( จะประชันกันกี่คู่ก็ได้ ) ไม่มีหลักฐานปรากฏว่ามีการประชันภาพเกิดขึ้นมาก่อนในยุคก่อนหน้าที่นิยายเรื่องนี้เขียนขึ้น แต่แบบอย่างของการประชันภาพในนิยายเรื่องนี้นั้น เขียนเลียนแบบการประชันบทกวี ( อุตะอะวะเสะ ) ที่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรว่า เคยจัดประชันกันในพระราชวัง ในเดือนสามตามจันทรคติของปี ค.ศ. 960<ref>โรแยล ไทเลอร์,The Tale of Genji,EAWASE - The Picture Contest,สำนักพิมพ์ Penguin Books , 2001, หน้า 319</ref>
'''เอะอาวาเซะ''' แปลว่า การประชันภาพวาด โดย จะแบ่งคู่แข่งขันเป็นสองฝ่าย แต่ละฝ่ายส่งภาพมาประชันกันฝ่ายละ 1 ภาพ ( จะประชันกันกี่คู่ก็ได้ ) ไม่มีหลักฐานปรากฏว่ามีการประชันภาพเกิดขึ้นมาก่อนในยุคก่อนหน้าที่นิยายเรื่องนี้เขียนขึ้น แต่แบบอย่างของการประชันภาพในนิยายเรื่องนี้นั้น เขียนเลียนแบบการประชันบทกวี ( อุตะอะวะเสะ ) ที่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรว่า เคยจัดประชันกันในพระราชวัง ในเดือนสามตามจันทรคติของปี ค.ศ. 960<ref>โรแยล ไทเลอร์,The Tale of Genji,EAWASE - The Picture Contest,สำนักพิมพ์ Penguin Books , 2001, หน้า 319</ref>


== ตัวละครสำคัญในบท ==
== ตัวละครสำคัญในบท ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:30, 19 กุมภาพันธ์ 2564

เอะอาวาเซะ (ญี่ปุ่น: 絵合โรมาจิE Awase; แข่งขันประชันภาพ) เป็นบทที่ 17 ของตำนานเก็นจิ ผลงานของ มุระซะกิ ชิคิบุ จากทั้งหมด 54 บท

ที่มาของชื่อบท

เอะอาวาเซะ แปลว่า การประชันภาพวาด โดย จะแบ่งคู่แข่งขันเป็นสองฝ่าย แต่ละฝ่ายส่งภาพมาประชันกันฝ่ายละ 1 ภาพ ( จะประชันกันกี่คู่ก็ได้ ) ไม่มีหลักฐานปรากฏว่ามีการประชันภาพเกิดขึ้นมาก่อนในยุคก่อนหน้าที่นิยายเรื่องนี้เขียนขึ้น แต่แบบอย่างของการประชันภาพในนิยายเรื่องนี้นั้น เขียนเลียนแบบการประชันบทกวี ( อุตะอะวะเสะ ) ที่มีหลักฐานเป็นลายลักษณ์อักษรว่า เคยจัดประชันกันในพระราชวัง ในเดือนสามตามจันทรคติของปี ค.ศ. 960[1]

ตัวละครสำคัญในบท

  • เก็นจิ  : ตำแหน่งไนไดจิน อายุ 31
  • อะกิโคะโนะมุ  : อดีตไซกู ปัจจุบันเป็นพระชายาแห่งอิเสะ อายุ 22
  • ฟุจิตสึโบะ  : อดีตจักรพรรดินีในองค์คิริสึโบะอิน อายุ 36
  • อดีตจักรพรรดิสุซะคุอิน  : พระเชษฐาต่างมารดาของเก็นจิ อายุ 33
  • จักรพรรดิเรเซ  : อายุ 13
  • พระชายาโคกิเด็ง  : บุตรีของโทโนะจูโจ อายุ 14
  • กอนไดนะกอน  : โทโนะจูโจ สหานสนิทและพี่ภรรยาที่ล่วงลับของเก็นจิ
  • เฮียวบุเคียวโนะมิยะ  : พี่ชายของฟุจิตสึโบะ บิดาของมุราซากิ
  • มุระซะกิ  : ภรรยารักของเก็นจิ อายุ 23
  • เหล่านางกำนัลฝ่ายซ้าย  : นางกำนัลตำหนักอุเมะ ( อุเมะสึโบะ ) นางกำนัลของอะกิโคะโนะมุ
  • เหล่านางกำนัลฝ่ายขวา  : นางกำนัลของพระชายาโคกิเด็ง
  • องค์ชายโฮะตะรุ  : พระอุปราช น้องชายต่างมารดาของเก็นจิ

เรื่องย่อ

เก็นจิและฟุจิตสึโบะร่วมมือกันสนับสนุนอะกิโคะโนะมุ อดีตไซกู ธิดาจองอดีตพระชายาแห่งโระคุโจ เข้าถวายตัวเป็นพระชายาในองค์จักรพรรดิเรเซ เพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของขุมอำนาจในวัง อดีตจักรพรรดิสุซะคุสงเสียพระทัยมากเนื่องจากพระองค์แอบมีพระทัยให้อะกิโคะโนะมุมานานแล้ว และหากดูจากอายุ ทั้งสองจะเป็นคู่ที่เหมาะสมกันมาก เก็นจิเลือกสรรชี้แนะผู้ติดตามในการเข้าวังให้อะกิโคะโนะมุอย่างพิถีพิถัน

จักรพรรดิเรเซนั้น โปรดเรื่องการวาดภาพมาก ดังนั้นจึงมีการจัดการประชันภาพวาดเพื่อให้ทรงพระสำราญ โดยประชันกันระหว่างพระชายา 2 ขั้วอำนาจใหญ่ในวัง ( นอกจากประชันภาพวาดแล้ว ทั้งสองฝ่ายยังประชันกันเพื่อแยงความโปรดปรานจากองคฺจักรพรรดิเรเซด้วย ) คือฝ่ายพระชายาโคกิเด็ง นั่งอยู่ฝ่ายขวา แต่งกายด้วยสีฟ้า กล่องใส่ภาพวาดที่นำมาประชันเป็นสีฟ้าด้วย และ พระชายาอะกิโคะโนะมุตำหนักอุเมะ นั่งอยู่ฝ่ายซ้าย เครื่องแต่งกายและกล่องภาพวาดใช้สีแดง อดีตจักรพรรดินีพระราชชนนีฟุจิตสึโบะร่วมชมการประชันภาพอยู่หลังม่าน เก็นจิและโทโนะจูโจมาร่วมชมการประชันด้วย ทั้งคู่ถือหางคนละฝ่ายกัน องค์ชายโฮะตะรุทำหน้าที่กรรมการ ทว่าภาพวาดมากมายที่นำมาประชันสูสีกันจนไม่อาจตัดสินเด็ดขาดลงไปได้ ในที่สุดทางฝ่ายซ้ายนำภาพวาดที่เก็นจิวาดขณะเนรเทศตัวเองไปหาดสุมะมาประชัน จนฝ่ายซ้ายได้รับชัยชนะไปอย่างไม่มีข้อโต้แย้ง [2]

อ้างอิง

  1. โรแยล ไทเลอร์,The Tale of Genji,EAWASE - The Picture Contest,สำนักพิมพ์ Penguin Books , 2001, หน้า 319
  2. " เอะอะวะเสะ".The Tale of Genji .Unesco Global Heritage Pavilion.