ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 16: บรรทัด 16:
| successor2 =
| successor2 =
| order3 =
| order3 =
| primeminister3 = ทวี บุณยเกตุ
| primeminister3 = [[หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]]
| term_start3 = 19 กันยายน พ.ศ. 2488
| term_start3 = 19 กันยายน พ.ศ. 2488
| term_end3 = 31 มกราคม พ.ศ. 2489
| term_end3 = 31 มกราคม พ.ศ. 2489
บรรทัด 28: บรรทัด 28:
| successor4 =
| successor4 =
| order5 =
| order5 =
| primeminister5 = พจน์ สารสิน
| primeminister5 = [[พจน์ สารสิน]]
| term_start5 = 23 กันยายน พ.ศ. 2500
| term_start5 = 23 กันยายน พ.ศ. 2500
| term_end5 = 1 มกราคม พ.ศ. 2501
| term_end5 = 1 มกราคม พ.ศ. 2501

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:26, 5 กุมภาพันธ์ 2564

สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 – 17 กันยายน พ.ศ. 2488
นายกรัฐมนตรีทวี บุณยเกตุ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
ดำรงตำแหน่ง
31 สิงหาคม พ.ศ. 2488 – 17 กันยายน พ.ศ. 2488
นายกรัฐมนตรีทวี บุณยเกตุ
ดำรงตำแหน่ง
19 กันยายน พ.ศ. 2488 – 31 มกราคม พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ดำรงตำแหน่ง
24 มีนาคม พ.ศ. 2489 – 23 สิงหาคม พ.ศ. 2489
นายกรัฐมนตรีปรีดี พนมยงค์
ดำรงตำแหน่ง
23 กันยายน พ.ศ. 2500 – 1 มกราคม พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีพจน์ สารสิน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447
จังหวัดตรัง ราชอาณาจักรสยาม
เสียชีวิต16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 (81 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสไสว เทพหัสดิน ณ อยุธยา

สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา หรือ หลวงสุนทรเทพหัสดิน (12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447 - 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528) เป็นอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมของไทย 1 สมัย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไทย 5 สมัย และเป็นหนึ่งในสมาชิกคณะราษฎร

ประวัติ

นายสพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา สมรสกับนางไสว เทพหัสดิน ณ อยุธยา (สกุลเดิม บุณยเกตุ) เป็นน้องสาวของนายทวี บุณยเกตุ[1] จบการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ จากนั้นสอบชิงทุนของกรมรถไฟหลวง ไปศึกษาต่อด้านวิศวกรรมโยธาที่ประเทศอังกฤษ โดยเป็นนักเรียนทุนของกรมรถไฟหลวงรุ่นที่ 4 เมื่อปี พ.ศ.2464 สำเร็จการศึกษาและกลับถึงสยามประเทศ เมื่อปี พ.ศ.2469

การทำงาน

หลวงสุนทรเทพหัสดิน (สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ได้เข้ารับราชการในกรมรถไฟหลวง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2469 ในตำแหน่ง นายช่างผู้ช่วย กรมรถไฟหลวง ปี พ.ศ.2475 เป็น นายช่างกำกับภาค และในปี พ.ศ.2477 ได้โอนไปรับราชการในกองทาง กรมโยธาเทศบาล และเป็นอธิบดีกรมโยธาเทศบาล ในปีพ.ศ.2485

ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2476[2] พ.ศ. 2480[3] และในปี พ.ศ. 2481[4]

สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายควง อภัยวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2487[5] ต่อในปี พ.ศ. 2488 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายทวี บุณยเกตุ[6] แต่ก็ดำรงตำแหน่งได้เพียง 17 วัน นายทวี บุณยเกตุ นายกรัฐมนตรี ก็ลาออกจากตำแหน่ง ส่งผลให้คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลงไปด้วย

ในปีเดียวกันนั้น เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[7] แต่นายกรัฐมนตรีก็ได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรในเดือนถัดมา แต่ก็ยังทำหน้าที่รักษาการไปจนถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2489 หลังการเลือกตั้งเขาไม่ได้รับตำแหน่งใดๆ ในรัฐบาลต่อมาของนายควง อภัยวงศ์

จนกระทั่งอีก 3 เดือนต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมอีกครั้ง ในรัฐบาลของนายปรีดี พนมยงค์[8] และได้รับแต่งตั้งอีกในรัฐบาลต่อมา[9] จากนั้นเป็นต้นมาเขาก็ว่างเว้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2500 เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อีกสมัย ในรัฐบาลของนายพจน์ สารสิน

นายสพรั่ง เคยทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญการบินพลเรือน ประจำกระทรวงคมนาคม[10]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง