ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สกุลเสือลายเมฆ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Octahedron80 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 5588720 สร้างโดย 27.145.112.225 (พูดคุย)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{Taxobox
{{Taxobox
| name =
| name =
| fossil_range = Early [[Pleistocene]] to recent
| image = Clouded Leopard b d.jpg
| image = Clouded Leopard b d.jpg
| image_caption = [[เสือลายเมฆ]] (''Neofelis nebulosa'')
| image_caption = [[เสือลายเมฆ]] (''Neofelis nebulosa'')

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:36, 15 มกราคม 2564

สกุลเสือลายเมฆ
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Early Pleistocene to recent
เสือลายเมฆ (Neofelis nebulosa)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Felidae
วงศ์ย่อย: Pantherinae
สกุล: Neofelis
Gray, 1867 [1]
ชนิด
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์

สกุลเสือลายเมฆ เป็นสกุลของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อจำพวกเสือขนาดใหญ่สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Neofelis จัดอยู่ในวงศ์เสือและแมว (Felidae)

โดยคำว่า Neofelis นั้น มาจากภาษากรีกคำว่า νεο หมายถึง "ใหม่" และภาษาละตินคำว่า feles หมายถึง "แมว" รวมความแล้วหมายถึง "แมวใหม่"[2][3]

สกุลนี้ตั้งขึ้นโดย จอห์น เอ็ดเวิร์ด เกรย์ นักสัตววิทยาชาวอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1867[1] ลักษณะเด่นของเสือในสกุลนี้ คือ มีกะโหลกส่วนใบหน้าที่กว้าง หน้าผากมีขนาดใหญ่และจมูกยาว ขากรรไกรล่างและขากรรไกรบนมีฟันเขี้ยวที่คมและปลายขอบตัดขวาง ซึ่งกะโหลกลักษณะนี้คล้ายคลึงกับเสือเขี้ยวดาบที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ นอกจากนี้แล้วเสือลายเมฆที่พบในภูมิภาคซุนดามีเขี้ยวบนยาวและมีเพดานปากที่แคบระหว่างเขี้ยวนั้น[4] [5]

โดยรวมแล้ว เสือลายเมฆเป็นเสือขนาดใหญ่ที่มีรูปร่างเล็กกว่าเสือขนาดใหญ่ชนิดอื่น ๆ พบกระจายพันธุ์เฉพาะภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ไปจนถึงเกาะบอร์เนียว และพบได้ในพื้นที่ภาคกลางและภาคใต้ของจีน

ลักษณะกะโหลกและฟันเขี้ยวของเสือลายเมฆ

การจำแนก

  • เสือลายเมฆ (Neofelis nebulosa) พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางตั้งแต่ภูมิภาคจีนตอนกลางและตอนใต้ จนถึงภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ที่เป็นผืนแผ่นดินใหญ่
  • เสือลายเมฆบอร์เนียว (Neofelis diardi) เป็นชนิดที่เพิ่งได้รับการยอมรับว่าเป็นชนิดใหม่ แยกออกมาในปี ค.ศ. 2006 พบได้ในหมู่เกาะต่าง ๆ ของอินโดนีเซีย และภูมิภาคซุนดา มีลักษณะเด่น คือ มีฟันเขี้ยวที่ยาวมาก จนนับได้ว่ายาวที่สุดในบรรดาสัตว์ประเภทเสือและแมวทั้งหมด[6]

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Neofelis ที่วิกิสปีชีส์