ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนุสาวรีย์คู่บารมีกู้แผ่นดิน"

พิกัด: 17°39′09″N 100°08′29″E / 17.652572°N 100.141491°E / 17.652572; 100.141491
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{Infobox monument | image = King Taksin & Phraya Pichai Dabhak Monument in Wat Kungtapao 010.jpg | caption = อนุสาวรีย์คู่บา...
 
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 74: บรรทัด 74:
== แหล่งข้อมูลอื่น==
== แหล่งข้อมูลอื่น==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Monument in Wat Khung Taphao}}
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Monument in Wat Khung Taphao}}
{{Coord|17.652572|N|100.141491|E|type:landmark_region:TH|display=title}}
{{geolinks-bldg|17.652572|100.141491}}
{{หน่วยการปกครองและสถานที่สำคัญในตำบลคุ้งตะเภา}}

{{สร้างปี|2563}}
{{สร้างปี|2558}}
[[หมวดหมู่:อนุสาวรีย์ในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:อนุสาวรีย์ในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในอำเภอจังหวัดอุตรดิตถ์]]
[[หมวดหมู่:สิ่งก่อสร้างในอำเภอจังหวัดอุตรดิตถ์]]
[[หมวดหมู่:อนุสาวรีย์ในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:อนุสาวรีย์ในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]]
[[หมวดหมู่:สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]]
[[หมวดหมู่:ตำบลคุ้งตะเภา]]
[[หมวดหมู่:จังหวัดอุตรดิตถ์]]
{{โครงสถานที่}}
{{โครงสถานที่}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:55, 30 ธันวาคม 2563

อนุสาวรีย์คู่บารมีกู้แผ่นดิน
อนุสาวรีย์คู่บารมีกู้แผ่นดิน เมื่อปี 2563
แผนที่
พิกัด17°39′09″N 100°08′29″E / 17.652572°N 100.141491°E / 17.652572; 100.141491
ที่ตั้งหัวทุ่งสมรภูมิสวางคบุรี หน้าวัดคุ้งตะเภา จังหวัดอุตรดิตถ์
ผู้ออกแบบอ.ยุทธกิจ ประสมผล, อ.สงกรานต์ กุณารบ นายช่างศิลปกรรมกรมศิลปากร
ประเภทพระบรมราชานุสาวรีย์ และอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญ
วัสดุทองเหลืองและทองแดงรมดำ
ความสูง3.10
เริ่มก่อสร้างพ.ศ. 2558
สร้างเสร็จพ.ศ. 2563
อุทิศแด่

อนุสาวรีย์คู่บารมีกู้แผ่นดิน หรือที่มักเรียกกันว่า อนุสาวรีย์คู่บารมี เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่รำลึกถึงเหตุการณ์สิ้นสุดสภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ในการรวบรวมแผ่นดินไทยได้สำเร็จหลังสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ยกทัพปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง เมืองสวางคบุรี ได้เป็นชุมนุมสุดท้าย ในปี พ.ศ. 2313 ตั้งอยู่ที่หน้าวัดคุ้งตะเภา จังหวัดอุตรดิตถ์ สร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2563

อนุสาวรีย์คู่บารมี ตั้งอยู่กลางตำบลคุ้งตะเภา หรือชื่อเดิม เมืองฝางสวางคบุรี บริเวณหน้าวัดคุ้งตะเภา อดีตวัดที่สถิย์ของเจ้าคณะใหญ่เมืองฝางหรือตำแหน่งสังฆราชาเมืองฝางในสมัยอยุธยา[1] ด้านหน้าติดกับถนนพิษณุโลก-เด่นชัย ซึ่งบริเวณนี้ ถือเป็นศูนย์กลางของจุดเริ่มต้นการปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง หน้าอนุสาวรีย์มีลานกว้างขนาดใหญ่ ด้านตรงข้ามของอนุสาวรีย์เป็นทุ่งสมรภูมิสวางคบุรี สถานที่ทรงกระทำศึกรวบรวมแผ่นดินไทยได้สำเร็จตามพระราชพงศาวดาร[2]

สถานที่

สถานที่จัดสร้างอนุสาวรีย์อยู่ในที่ตั้งของวัดคุ้งตะเภาโดยได้รับสนับสนุนการดูแลพื้นที่จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเทศบาลตำบลคุ้งตะเภา ภายในบริเวณอนุสาวรีย์มีพิพิธภัณฑ์พระราชประวัติการพระราชสงครามฯ สำนักงาน ลานกิจกรรม สวนสาธารณะ และประติมากรรมต่าง ๆ ด้านหน้าอนุสาวรีย์เป็นแยกคุ้งตะเภา ซึ่งเป็นสี่แยกไฟแดงสุดท้ายบนถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 (พิษณุโลก-เด่นชัย) ก่อนขึ้นสู่จังหวัดแพร่ และเป็นต้นทางเข้าสู่วัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถ และโบราณสถานอื่นๆ ของเมืองสวางคบุรีบนฝั่งซ้ายแม่น้ำน่านในจังหวัดอุตรดิตถ์

ด้านหน้าอนุสาวรีย์คู่บารมีกู้แผ่นดิน

อนุสาวรีย์ดังกล่าว ประดิษฐานบริเวณหน้าวัดคุ้งตะเภาหันหน้าสู่ทุ่งสมรภูมิสวางคบุรี เพื่อรำลึกถึงอดีตเมืองสวางคบุรีในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายซึ่งเคยเป็นพื้นที่ ๆ พระยาพิชัยดาบหักได้มาฝึกมวยกับครูเมฆแห่งบ้านท่าเสา-คุ้งตะเภา ในวัยเด็ก และเป็นพื้นที่เกิดวีรกรรมการปรามชุมนุมเจ้าพระฝางแห่งเมืองสวางคบุรี สิ้นสุดสภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง เป็นชุมนุมสุดท้ายในสมัยธนบุรี รวมถึงยังเป็นสถานที่พระยาสีหราชเดโชได้รับเลื่อนยศเป็นพระยาพิชัยผู้สำเร็จราชการครองเมืองพิชัย รับพระราชทานเครื่องยศเสมอเจ้าพระยาสุรสีห์ ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในพระราชพงศาวดาร[3]

ประวัติการก่อสร้าง

การก่อสร้างอนุสาวรีย์คู่บารมี ณ หัวทุ่งสมรภูมิสวางคบุรี เกิดขึ้นจากความต้องการของประชาชนและผู้เคารพศรัทธาในความกล้าหาญของท่านมาช้านาน ต่อมาได้มีการจัดตั้งมูลนิธิ 250 ปี วัดคุ้งตะเภา[4] เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการจัดสร้างอนุสาวรีย์ โดยมีนายภีมเดช อมรสุคนธ์ และคณะผู้ศรัทธาจากจังหวัดระยอง เป็นประธานที่ปรึกษา และในวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ประชาชนชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ได้พร้อมใจกันจัดพิธีเชิญดวงวิญญาณพระยาพิชัยดาบหัก (แทนอัฐิ) ตามโบราณประเพณี และมีพิธีวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์ฯ โดยมี ฯพณฯ ศาสตราจารย์ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี เป็นประธานในพิธีวางศิลาฤกษ์ ซึ่งประชาชนได้นำไม้โบราณมาแกะสลักเป็นอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักจากไม้ตะเคียนองค์แรกขนาดเท่าครึ่ง เพื่อประดิษฐานในบริเวณดังกล่าวให้ประชาชนผู้เคารพศรัทธาได้ระลึกถึงวีรกรรมความกล้าหาญเสียสละของท่าน ในปี พ.ศ. 2561 เป็นเบื้องต้น[5] ต่อมาได้มีการระดมทุนจากการบริจาคจากประชาชนผู้มีจิตศรัทธา และมีการก่อสร้างฐานอนุสาวรีย์สำเร็จมาโดยลำดับ

ภาพ ฯพณฯ ศาสตราจารย์ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ขณะเป็นประธานในพิธีบวงสรวงวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์คู่บารมีกู้แผ่นดิน

ใน พ.ศ. 2563 ซึ่งเป็นวาระครบ 250 ปี วัดคุ้งตะเภา และครบรอบ 250 ปี การสำเร็จศึกปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง สิ้นสุดสภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง และครบรอบ 250 ปี ทรงสถาปนายศพระยาพิชัยดาบหัก ประชาชนชาวอุตรดิตถ์จึงได้พร้อมใจกันจัดสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์หล่อด้วยทองเหลืองและทองแดงรมดำ มีขนาดเท่าครึ่ง สูง 3.10 เมตร และ 2.70 เมตร ใช้เวลา 6 เดือนในการออกแบบและทำการปั้นโดย อาจารย์ยุทธกิจ ประสมผล หล่อโดย อาจารย์สงกรานต์ กุณารบ นายช่างศิลปกรรมกรมศิลปากร โดยคณะสงฆ์จังหวัดอุตรดิตถ์ นำโดยพระปัญญากรโมลี เจ้าคณะจังหวัดอุตรดิตถ์ พระเทพสิทธาคม เจ้าคณะจังหวัดตาก พระสุขวโรทัย ที่ปรึกษาเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย และพระเกจิคณาจารย์จากจังหวัดหัวเมืองฝ่ายเหนือที่เกี่ยวข้องกับการพระราชสงครามในคราวสภาพจลาจลหลังการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สอง ได้พร้อมใจประกอบพิธีเสกจัดสร้างเหรียญที่ระลึกขึ้นในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2563[6] และมีพิธีเททองหล่อ ในวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 โดยมีนายวิบูรณ์ แววบัณฑิต รองผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน นายพีระศักดิ์ พอจิต สมาชิกวุฒิสภา และอดีตรองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เป็นประธานในพิธี ณ สถานที่จัดสร้างอนุสาวรีย์หน้าวัดคุ้งตะเภา[7]

อนุสาวรีย์คู่บารมีกู้แผ่นดินในวันอัญเชิญฯประดิษฐานบนแท่นพระบรมราชานุสาวรีย์

จากนั้นจึงได้มีการอัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ขึ้นประดิษฐานบนแท่นพระบรมราชานุสาวรีย์ และแท่นอนุสาวรีย์ ในวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 11.09 น. (ราชาฤกษ์วันสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) อนุสาวรีย์ประกอบด้วย พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชประทับด้านซ้ายเป็นประธาน พระหัตถ์ทรงกุมเตรียมเก็บพระแสงดาบ พระยาพิชัยดาบหักอยู่เบื้องขวา ยืนคู่พระบารมีในฐานะขุนศึกคู่พระทัย เพื่อระลึกถึงวีรกรรมและความกล้าหาญของท่าน ที่ได้เคยร่วมรบเคียงคู่พระวรกายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ในการกอบกู้คืนอิสรภาพและความเป็นปึกแผ่นของไทยจนสำเร็จสมบูรณ์ได้ในปี พ.ศ. 2313 ณ เมืองสวางคบุรี ทั้งนี้ตัวฐานอนุสาวรีย์มีความสูงกว่า 8 เมตร เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่สูงที่สุดในภาคเหนือ และเป็นอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักที่สูงที่สุดในประเทศไทย [8]

ระเบียงภาพ

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ตั้งตำแหน่งพระสงฆ์, เล่ม ๕ ตอน ๑๗, ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๑, หน้า ๑๓๘
  2. สำนักข่าวเนชั่นทีวี. (2563). อุตรดิตถ์-สร้างเหรียญคู่บารมีกู้แผ่นดินเทิดทูนพระเจ้าตากสิน-พระยาพิชัยดาบหัก. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.nationtv.tv/main/content/378791308
  3. ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2558). สวางคบุรีศรีคุ้งตะเภา : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสมรภูมิสวางคบุรี-คุ้งตะเภา อนุสรณ์ ๒๔๕ ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา. อุตรดิตถ์ : สำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม. ISBN 978-616-543-334-1
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศนายทะเบียนมูลนิธิจังหวัดอุตรดิตถ์ เรื่อง จดทะเบียนจัดตั้งมูลนิธิ "มูลนิธิ ๒๕๐ ปี วัดคุ้งตะเภา", เล่ม ๑๓๓ ตอน ๔๔ ง, ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๙, หน้า ๔๙-๕๐
  5. ข่าวสดออนไลน์. (2563). เหรียญคู่บารมีกู้แผ่นดิน พระเจ้าตาก-พระยาพิชัยดาบหัก. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/news_4830891
  6. สำนักข่าวเนชั่นทีวี. (2563). อุตรดิตถ์-สร้างเหรียญคู่บารมีกู้แผ่นดินเทิดทูนพระเจ้าตากสิน-พระยาพิชัยดาบหัก. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.nationtv.tv/main/content/378791308
  7. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม. (2563). พิธีเททองหล่อรูปเหมือนองค์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และรูปเหมือนพระยาพิชัยดาบหัก. [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.m-culture.go.th/uttaradit/ewt_news.php?nid=2913
  8. เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของวัดคุ้งตะเภา จ.อุตรดิตถ์. (2563). พิธีประดิษฐานองค์คู่บารมีกู้แผ่นดิน สมโภช ๒๕๐ ปี วัดคุ้งตะเภา (๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๓). [ออน-ไลน์]. แหล่งที่มา : https://sites.google.com/site/watkungtaphao/news/phithipradisthanxngkhkhubarmikuphaendinsmphoch250piwadkhungtaphea28thanwakhm2563

ดูเพิ่ม

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • ธีระวัฒน์ แสนคำ. (2558). สวางคบุรีศรีคุ้งตะเภา : สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับสมรภูมิสวางคบุรี-คุ้งตะเภา อนุสรณ์ ๒๔๕ ปี แห่งการสถาปนาวัดคุ้งตะเภา. อุตรดิตถ์ : สำนักงานสภาวัฒนธรรมจังหวัดอุตรดิตถ์ กระทรวงวัฒนธรรม. ISBN 978-616-543-334-1
  • ศิริวรรณ คุ้มโห้. "พระยาพิชัยดาบหัก." บุคคลสำคัญของชาติ เล่ม ๑. กรุงเทพฯ : เดอะบุ๊คส์, [ม.ป.ป.]. หน้า 43-46. ISBN 978-974-394-229-7
  • มณเฑียร ดีแท้. "ประวัติวัดพระฝางสวางคบุรีมุนีนาถและเจ้าพระฝางหัวหน้าก๊กเจ้าพระฝาง เมืองอุตรดิตถ์". อุตรดิตถ์ : วิทยาลัยครูอุตรดิตถ์, 2519.

แหล่งข้อมูลอื่น

17°39′09″N 100°08′29″E / 17.652572°N 100.141491°E / 17.652572; 100.141491