ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระกาลี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Hokuop (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
พระแม่กาลี หรือ เจ้าแม่กาลี ทรงมีอำนาจอิทธิฤทธิ์ในการปราบปรามสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง มีเทวานุภาพอันแรงกล้า สร้างความวิบัติแก่เหล่าอสูรอย่างรุนแรง และเด็ดขาด แฝงเร้นไว้ซึ่งความน่ากลัว ผู้บูชาพระแม่กาลีอย่างถูกต้องและเคร่งครัด พระแม่จะประทานความแข็งแกร่ง ความกล้าหาญ และอำนาจเหนือผู้อื่น
พระแม่กาลี หรือ เจ้าแม่กาลี ทรงมีอำนาจอิทธิฤทธิ์ในการปราบปรามสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง มีเทวานุภาพอันแรงกล้า สร้างความวิบัติแก่เหล่าอสูรอย่างรุนแรง และเด็ดขาด แฝงเร้นไว้ซึ่งความน่ากลัว ผู้บูชาพระแม่กาลีอย่างถูกต้องและเคร่งครัด พระแม่จะประทานความแข็งแกร่ง ความกล้าหาญ และอำนาจเหนือผู้อื่น


พระแม่กาลี ตามความเชื่อของไทยนั้นทรงมีพลังอำนาจในการขจัด[[คุณไสย]] ลบล้างไสยเวทย์ด้านมืด หากบุคคลใดถูกกระทำทางไสยศาสตร์ เมื่อผู้นั้นได้สวดบูชาอ้อนวอนต่อพระองค์ท่านแล้ว พระองค์ท่านก็มักให้พรซึ่งขจัดสิ่งอาถรรพ์ชั่วร้ายให้มลายหายไป และประทานสิ่งที่เป็นไปได้ยากให้ได้รับอย่างง่ายดาย ผู้ใดกระทำการสวดบูชา สรรเสริญ และถวายเครื่องสังเวยแด่พระแม่กาลีเป็นประจำ พระองค์ท่านจะประทานความปลอดภัยมาสู่ผู้นั้น ทรงดลบันดาลให้เกิดความสันติผาสุกแก่ผู้ครองเรือนทั่วไป คุ้มครองผู้บูชาจากภยันตรายและอุบัติเหตุร้ายแรง
พระแม่กาลี ตามความเชื่อของไทยนั้นทรงมีพลังอำนาจในการขจัด[[คุณไสย]] ลบล้างไสยเวทย์ด้านมืด หากบุคคลใดถูกกระทำทางไสยศาสตร์ เมื่อผู้นั้นได้สวดบูชาอ้อนวอนต่อพระองค์ท่านแล้ว พระองค์ท่านก็มักให้พรซึ่งขจัดสิ่งอาถรรพ์ชั่วร้ายให้มลายหายไป และประทานสิ่งที่เป็นไปได้ยากให้ได้รับอย่างง่ายดาย ผู้ใดกระทำการสวดบูชา สรรเสริญ และถวายเครื่องสังเวยแด่พระแม่กาลีเป็นประจำ พระองค์ท่านจะประทานความปลอดภัยมาสู่ผู้นั้น ทรงดลบันดาลให้เกิดความสันติผาสุกแก่ผู้ครองเรือนทั่วไป คุ้มครองผู้บูชาจากภยันตรายและอุบัติเหตุร้ายแรง บทสวดภาษาเทพพระแม่กาลี โอม สิทธิเทวี นะมะสิกะเรมะ เจกีโฮ อัมเปรรูซีเจฮัม กาลี ชัยยะ เทวี


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:17, 26 พฤศจิกายน 2563

พระแม่กาลี
กาลเวลา, การสร้าง, การทำลาย และ พลังอำนาจ
ส่วนหนึ่งของ ทศเทวีมหาวิทยา
พระศิวะทรงทอดกายมิให้พระแม่กาลีกระทืบเท้า
ชื่อในอักษรเทวนาครีकाली
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตพระแม่ทุรคา, พระแม่ปารวตี และ พระมหากาลี
ส่วนเกี่ยวข้องมหากาลี, พระแม่ปารวตี , มหาวิทยา, นิกายศักติ
อาวุธScimitar, ดาบ, ตรีศูล
พาหนะสิงโต
เทศกาลกาลีบูชา, นวราตรี
คู่ครองพระศิวะ (มหากาลา)
รูปปั้นนูนสูงของพระแม่กาลีและพระแม่ทุรคาประดับเทวสถานพระแม่จามุนดา ประเทศอินเดีย

พระแม่กาลี หรือ กาลิกา (ฮินดี: काली, ละติน: Kālī, แปลตรงตัวว่า สตรีดำ) เป็นปางอวตารภาคหนึ่งของพระอุมาเทวี ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลักษณะพระวรกายมีกายสีดำสนิท มีพระพักตร์ที่มีลักษณะดุร้าย มี ๑๐ พระกร ถืออาวุธร้าย แลบลิ้นยาวถึงทรวงอก ที่ริมฝีปากมีเลือดไหลหยดเป็นทางยาว เครื่องประดับเป็นหัวกะโหลก มีงูใหญ่ร้อยคาดองค์เป็นสังวาลย์

พระแม่กาลี หรือ เจ้าแม่กาลี ทรงมีอำนาจอิทธิฤทธิ์ในการปราบปรามสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง มีเทวานุภาพอันแรงกล้า สร้างความวิบัติแก่เหล่าอสูรอย่างรุนแรง และเด็ดขาด แฝงเร้นไว้ซึ่งความน่ากลัว ผู้บูชาพระแม่กาลีอย่างถูกต้องและเคร่งครัด พระแม่จะประทานความแข็งแกร่ง ความกล้าหาญ และอำนาจเหนือผู้อื่น

พระแม่กาลี ตามความเชื่อของไทยนั้นทรงมีพลังอำนาจในการขจัดคุณไสย ลบล้างไสยเวทย์ด้านมืด หากบุคคลใดถูกกระทำทางไสยศาสตร์ เมื่อผู้นั้นได้สวดบูชาอ้อนวอนต่อพระองค์ท่านแล้ว พระองค์ท่านก็มักให้พรซึ่งขจัดสิ่งอาถรรพ์ชั่วร้ายให้มลายหายไป และประทานสิ่งที่เป็นไปได้ยากให้ได้รับอย่างง่ายดาย ผู้ใดกระทำการสวดบูชา สรรเสริญ และถวายเครื่องสังเวยแด่พระแม่กาลีเป็นประจำ พระองค์ท่านจะประทานความปลอดภัยมาสู่ผู้นั้น ทรงดลบันดาลให้เกิดความสันติผาสุกแก่ผู้ครองเรือนทั่วไป คุ้มครองผู้บูชาจากภยันตรายและอุบัติเหตุร้ายแรง บทสวดภาษาเทพพระแม่กาลี โอม สิทธิเทวี นะมะสิกะเรมะ เจกีโฮ อัมเปรรูซีเจฮัม กาลี ชัยยะ เทวี

ประวัติ

ภาพวาดแสดงพระศิวะทรงนอนใต้พระบาทพระแม่กาลี

ตำนานกล่าวว่า พระอุมาซึ่งอยู่ในปางอัมพิกา พระสิริโฉมงดงามเสด็จสู่สนามรบ เมื่อเหล่าอสูรได้เห็นก็พยายามจะได้นางเป็นชายา แต่นางได้ต่อสู้กับเหล่าอสูรด้วยความพิโรธ ในปางพระแม่กาลี จนอสูรทั้งหลายตายจนเกือบหมด เหลือเพียงมาธูอสูร ที่ทรงสังหารอย่างไรก็ไม่ตาย เพราะเคยได้รับพรจากพระศิวะให้มีชีวิตเป็นอมตะ หากเลือดหยดถึงพื้นดินก็จะเกิดเป็นอสูรอีกมากมายไม่สิ้นสุด[1] ร้อนถึงพระศิวะ ทรงประทานวิธีให้พระแม่กาลีดื่มเลือดอสูรทุกครั้งอย่าให้ตกถึงดิน มาธูอสูรจึงถึงแก่ความตาย

หลังจากชนะอสูรมาธู พระนางทรงดีพระทัย กระโดดเต้นเพื่อฉลองชัยชนะ แต่ด้วยตบะอันแรงกล้าทำให้เกิดความเดือดร้อน ต่อด้วยโลกธาตุทั้งปวงเมื่อพระนางกระทืบพระบาท พระศิวะจะเข้าห้ามปรามก็เกรงความดุร้ายของพระนาง จึงใช้อุบายทรงทอดพระกายลงบนพื้นที่พระนางจะกระทืบพระบาท เมื่อพระกาลีเห็นพระศิวะที่พื้น ด้วยปางหนึ่งที่เป็นพระปารวตี ซึ่งรักและภักดีในพระศิวะยิ่ง ก็ทรงชะงัก และแลบลิ้นด้วยความขวยเขิน[2]

ความเชื่อ

เทวรูปพระแม่กาลีศิลปะบาหลี

พระแม่กาลีทรงมีพระบุคลิกภาพที่ยากแก่การเข้าใจ มีความลึกลับที่สุดในบรรดาเทพเทวาทั้งปวง พระนางทรงมีความดุดัน เกรี้ยวกราด รูปลักษณ์และอุปนิสัยล้วนเต็มไปด้วยความน่าสะพรึงกลัว แต่กระนั้นพระนางก็จะทำลายเฉพาะอสูร ปีศาจ และมนุษย์ที่กระทำการชั่วร้ายเท่านั้น เนื่องจากพระแม่กาลีก็คือเทพซึ่งปกป้องคุ้มครองผู้กระทำความดีเช่นเดียวกันทุกพระองค์ ฉะนั้น แม้ผู้ที่บูชาพระแม่อย่างเคร่งครัด แต่เป็นคนที่ไม่ดี มีความคิดที่ชั่วร้าย พระแม่ท่านก็จะทำลายบุคคลผู้นั้นเสียเช่นกัน ผู้ที่มีจิตใจไม่มั่นคง กำลังประสบหรือผ่านพ้นจากเหตุการณ์ร้ายแรงทำให้จิตใจอ่อนแอ สามารถกระทำการบูชาพระองค์ เพื่อขอความเข้มแข็ง และเด็ดขาด ผู้ที่เจอคุณไสย และถูกเบียดเบียนจากพลังงานชั่วร้ายหรืออำนาจไม่ดีทั้งจากมนุษย์และอมนุษย์ สามารถขอพระเมตตา จาก พรหมวิหารธรรมของท่าน ขจัดและทำลายให้พินาศสิ้น ผู้ที่ฝันร้าย เจออวมงคล นิมิตอันเป็นเหตุไม่ดี มีประการต่างๆ สามารถกระทำการบูชา ด้วยประทีปสีแดงและดำ ช่วยปัดเป่าให้มลายหายไป ผู้ที่มีโรคร้ายแรง ยากแก่การรักษา สามารถกระทำ ปฏิบัติบูชา อันจะกล่าวภายหลัง เพื่อหาหนทางบรรเทาโรคภัยได้ ผู้ที่ผิดหวังในรัก รักเพศเดียวกัน รักซ้อนรักแทรก สามารถกระทำปฏิบัติบูชาและบูชาเทวรุปประจำองค์ท่านได้เพื่อความสมหวังทั้งปวง นอกจากนั้น ท่านยังเด่นในเรื่อง การให้โชคลาภและยศฐาบันดาศักดิ์ด้วย

การบูชา

เทวรูปพระแม่กาลีศิลปะทมิฬนาดู

พระมหาเทวีท่านโปรดปรานการบูชา ด้วยประทีปหรืออัคนี (อารตีไฟ) โดยทั่วไปให้ปูเทวรูปด้วยผ้าแดงหรือสีดำ (หรือสามารถใช้ สีเงินหรือสีขาว เพื่อระลึกถึง พรหมวิหารธรรมของพระองค์ได้ด้วย)

การบูชาพระแม่กาลี ต้องใช้เลือดบริสุทธิ์ ในอดีตมีการใช้หญิงพรหมจารีย์ไปบูชายัญด้วยเลือดจากลำคอแต่เมื่อบริธิช ราชเข้าปกครองอินเดีย ทางการได้สั่งห้ามการฆ่าคนเพื่อบูชายัญ ปัจจุบันนี้การบูชาพระแม่กาลีนิยมใช้เลือดแพะแทน

สำหรับการบูชาโดยทั่วไปนั้น วิธีการบูชาเจ้าแม่กาลีจะต้องถวายน้ำ นม ผลไม้ ดอกไม้ โดยเฉพาะ ดอกชบาแดง ผู้บูชาที่เคร่งครัดต้องสวดบทบูชาเจ้าแม่กาลีทั้งเช้าเย็นว่า

"โอม ศรี มหากาลิกาไย นะมะห์"
โอม เจมาตากาลี
โอม สตี เยมา ตา กาลี


โอม ศรี มหากาลี มาตา นมัช

หรือทำสมาธิถวายปรานแก่องค์พระแม่เพื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับพระแม่ เชื่อกันว่าเจ้าแม่กาลีที่มีชื่อเสียงที่สุดในประเทศไทยประดิษฐานที่วัดพระศรีมหาอุมาเทวี ผู้ที่ประสบเคราะห์กรรมหรือโดนรังแกนิยมไปไหว้ท่านเพื่อแก้ไขดวงชะตา

ความเข้าใจผิด

เทวรูปพระแม่กาลี

จากการที่พระแม่กาลีเป็นปางหนึ่งของพระอุมาเทวีที่ดุร้าย มีรูปลักษณ์คล้ายปีศาจและใช้เลือดและชีวิตในการบูชายัญ จึงมีความเข้าใจผิดกันว่า พระแม่กาลีเป็นเทพเจ้าแห่งความชั่วร้าย ในสำนวนไทยจึงมีคำว่า "กาลี" ซึ่งหมายความว่า สิ่งที่ชั่วร้าย เช่น "กาลีบ้านกาลีเมือง" หมายถึง "สิ่งที่ชั่วร้ายต่อบ้านเมือง" เป็นต้น บ้างก็ว่าเจ้าแม่กาลีเป็นเทพเจ้าที่โจรบูชา แต่แท้ที่จริงแล้ว ถ้าคนไม่ดีบูชาเจ้าแม่กาลี ก็จะมีอันเป็นไปในเร็ววัน

อนึ่ง ในปรณัมเทวตำนานฮินดู มีมารตนหนึ่ง ชือว่า "กลี" ซึ่งทางฮินดูถือว่าเป็นการจุติของสรรพสิ่งที่เป็น "อธรรม" เทียบได้กับซาตานในศาสนาคริตส์ โดยทุกอวตารของพระวิษณุนั้น ก็เพื่อมาปราบอวตารของมาร "กลี" นั่นเอง

การมาอวตารครั้งล่าสุดของพระวิษณุ (หากไม่นับการอวตารเป็นพระโคตมพุทธเจ้า) ซึ่งก็คือ "กฤษณะอวตาร" นั้น เป็นการอวตารมาเพื่อช่วยนำทางเหล่ามนุษย์ฝ่ายธรรม คือ ฝ่ายปาณฑพ ปราบปรามมนุษย์ฝ่ายอธรรม คือ ฝ่ายเการพ ซึ่งนำโดย ทุรโยธน์ ที่เป็นการกลับชาติมาเกิดของมาร "กลี" นั่นเอง

ในอวตารสุดท้ายของพระวิษณุ ซึ่งก็คือ "กัลกีอวตาร" จะเกิดขึ้นในช่วงของ "กลียุค" ที่อธรรมนั้นปกครองโลก โดยพระกัลกี ทำศึกเพื่อปราบมาร "กลี" เป็นครั้งสุดท้าย

จะสังเกตได้ว่า ชื่อของเทวี "กาลี" และมาร "กลี" นั้นคล้ายคลึงกันมาก สันนิษฐานได้ว่าอาจจะมีการสับสนการใช้คำว่า "กลีบ้าน-กลีเมือง" (จากคำว่ากลียุค) จนเพี้ยนไปเป็น "กาลีบ้าน-กาลีเมือง" ไป

อีกทั้งพราหมณ์ในยุคโบราณแต่ก่อน แทบจะประกอบพิธีอยู่แต่ภายในราชสำนัก ยากที่สามัญชนจะเข้าถึง การให้ความรู้ในสมัยก่อนก็อาศัยการบอกเล่า จึงเป็นไปได้ว่า "กาลีเทวี" และ "มารกลี" ได้ถูกผนวกเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน บวกกับรูปลักษณ์ ทำให้เทวีถูกเข้าใจผิดว่าเป็นเทพที่ชั่วร้ายไป

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น