ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนเจริญราษฎร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Boripat2543 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
==ประวัติ==
==ประวัติ==
ถนนเจริญราษฎร์ตัดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร [[พ.ศ. 2526]] โดยมีแนวเส้นทางตัดผ่านซอยสาทร 17 (โรงน้ำแข็ง) ซอยเจริญกรุง 57 (ดอนกุศล) ถนนจันทน์ ซอยอยู่ดี ซอยเจริญกรุง 107 (ประดู่ 1) และ[[ถนนพระรามที่ 3|ถนนเจ้าพระยา]] ไปสิ้นสุดที่[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] (เมื่อก่อสร้างจริงสิ้นสุดที่[[ถนนพระรามที่ 3|ถนนเจ้าพระยา]]) เนื่องจากระบบถนนสายต่าง ๆ ในพื้นที่เขตยานนาวาขณะนั้นมีเขตทางแคบมากและมีเส้นทางคดเคี้ยวไปมา จึงต้องตัดถนนขึ้นเพื่อแบ่งเบาปริมาณการจราจรบนถนนที่อยู่โดยรอบ เช่น ถนนเจริญกรุง ถนนสาธร และถนนจันทน์แต่กฎหมายดังกล่าวได้หมดอายุบังคับใช้ไปก่อนที่กรุงเทพมหานครจะสำรวจแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนให้แล้วเสร็จ จึงได้ออกพระราชกฤษฎีกาเดียวกันอีกครั้งในปี [[พ.ศ. 2531]] จากนั้นจึงเริ่มก่อสร้างจนเสร็จและเปิดการจราจรในปี [[พ.ศ. 2540]] ประชาชนทั่วไปรวมทั้งหน่วยงานราชการเรียกถนนสายนี้ว่า '''ถนนเหนือ-ใต้''' หรือ '''ถนนสาทรตัดใหม่''' จนกระทั่งในปี [[พ.ศ. 2544]] กรุงเทพมหานครได้ตั้งชื่อถนนสายนี้ใหม่ว่า '''ถนนเจริญราษฎร์''' ตามที่สำนักงานเขตบางคอแหลมเสนอไป เนื่องจากเจริญราษฎร์เป็นชื่อที่มีความหมายและยังคล้องกับ[[ถนนเจริญกรุง]]และ[[ถนนเจริญนคร]]ที่อยู่ในแนวขนานกันอีกด้วย
ถนนเจริญราษฎร์ตัดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร [[พ.ศ. 2526]] โดยมีแนวเส้นทางตัดผ่านซอยสาทร 17 (โรงน้ำแข็ง) ซอยเจริญกรุง 57 (ดอนกุศล) ถนนจันทน์ ซอยอยู่ดี ซอยเจริญกรุง 107 (ประดู่ 1) และ[[ถนนพระรามที่ 3|ถนนเจ้าพระยา]] ไปสิ้นสุดที่[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] (เมื่อก่อสร้างจริงสิ้นสุดที่[[ถนนพระรามที่ 3|ถนนเจ้าพระยา]]) เนื่องจากระบบถนนสายต่าง ๆ ในพื้นที่เขตยานนาวาขณะนั้นมีเขตทางแคบมากและมีเส้นทางคดเคี้ยวไปมา จึงต้องตัดถนนขึ้นเพื่อแบ่งเบาปริมาณการจราจรบนถนนที่อยู่โดยรอบ เช่น ถนนเจริญกรุง ถนนสาธร และถนนจันทน์แต่กฎหมายดังกล่าวได้หมดอายุบังคับใช้ไปก่อนที่กรุงเทพมหานครจะสำรวจแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนให้แล้วเสร็จ จึงได้ออกพระราชกฤษฎีกาเดียวกันอีกครั้งในปี [[พ.ศ. 2531]] จากนั้นจึงเริ่มก่อสร้างจนเสร็จและเปิดการจราจรในปี [[พ.ศ. 2540]] ประชาชนทั่วไปรวมทั้งหน่วยงานราชการเรียกถนนสายนี้ว่า '''ถนนเหนือ-ใต้''' หรือ '''ถนนสาทรตัดใหม่''' จนกระทั่งในปี [[พ.ศ. 2544]] กรุงเทพมหานครได้ตั้งชื่อถนนสายนี้ใหม่ว่า '''ถนนเจริญราษฎร์''' ตามที่สำนักงานเขตบางคอแหลมเสนอไป เนื่องจากเจริญราษฎร์เป็นชื่อที่มีความหมายและยังคล้องกับ[[ถนนเจริญกรุง]]และ[[ถนนเจริญนคร]]ที่อยู่ในแนวขนานกันอีกด้วย

==รายชื่อทางแยก==


{{เรียงลำดับ|เจริญราษฎร์}}
{{เรียงลำดับ|เจริญราษฎร์}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:03, 25 พฤศจิกายน 2563

ถนนเจริญราษฎร์ (อักษรโรมัน: Thanon Charoen Rat) เป็นเส้นทางการคมนาคมในพื้นที่เขตสาทรและเขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร โดยเริ่มต้นจากถนนสาทรใต้ที่แยกสาทร-สุรศักดิ์ในพื้นที่แขวงยานนาวา เขตสาทร แล้วเลียบใต้ทางพิเศษศรีรัชไปทางทิศใต้ เข้าพื้นที่แขวงทุ่งวัดดอน ก่อนตัดกับถนนจันทน์ที่แยกเจริญราษฎร์-จันทน์ จากนั้นจึงแยกออกจากแนวทางพิเศษ เข้าพื้นที่แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม แล้วมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ จนกระทั่งบรรจบกับถนนพระรามที่ 3 ที่แยกเจริญราษฎร์ (ระหว่างคลองบางโคล่กลางกับคลองบางโคล่สาร) ระยะทางรวมประมาณ 3.5 กิโลเมตร

ประวัติ

ถนนเจริญราษฎร์ตัดขึ้นตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่แขวงยานนาวา แขวงทุ่งวัดดอน และแขวงบางโคล่ เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2526 โดยมีแนวเส้นทางตัดผ่านซอยสาทร 17 (โรงน้ำแข็ง) ซอยเจริญกรุง 57 (ดอนกุศล) ถนนจันทน์ ซอยอยู่ดี ซอยเจริญกรุง 107 (ประดู่ 1) และถนนเจ้าพระยา ไปสิ้นสุดที่แม่น้ำเจ้าพระยา (เมื่อก่อสร้างจริงสิ้นสุดที่ถนนเจ้าพระยา) เนื่องจากระบบถนนสายต่าง ๆ ในพื้นที่เขตยานนาวาขณะนั้นมีเขตทางแคบมากและมีเส้นทางคดเคี้ยวไปมา จึงต้องตัดถนนขึ้นเพื่อแบ่งเบาปริมาณการจราจรบนถนนที่อยู่โดยรอบ เช่น ถนนเจริญกรุง ถนนสาธร และถนนจันทน์แต่กฎหมายดังกล่าวได้หมดอายุบังคับใช้ไปก่อนที่กรุงเทพมหานครจะสำรวจแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนให้แล้วเสร็จ จึงได้ออกพระราชกฤษฎีกาเดียวกันอีกครั้งในปี พ.ศ. 2531 จากนั้นจึงเริ่มก่อสร้างจนเสร็จและเปิดการจราจรในปี พ.ศ. 2540 ประชาชนทั่วไปรวมทั้งหน่วยงานราชการเรียกถนนสายนี้ว่า ถนนเหนือ-ใต้ หรือ ถนนสาทรตัดใหม่ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2544 กรุงเทพมหานครได้ตั้งชื่อถนนสายนี้ใหม่ว่า ถนนเจริญราษฎร์ ตามที่สำนักงานเขตบางคอแหลมเสนอไป เนื่องจากเจริญราษฎร์เป็นชื่อที่มีความหมายและยังคล้องกับถนนเจริญกรุงและถนนเจริญนครที่อยู่ในแนวขนานกันอีกด้วย