ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮอนด้า ซิตี้"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 123: บรรทัด 123:
| มาเลเซีย: [[อะลอร์กาจะห์]], [[มะละกา]] (Pegoh Plant)
| มาเลเซีย: [[อะลอร์กาจะห์]], [[มะละกา]] (Pegoh Plant)
}}
}}
| body_style = 4-door [[sedan (car)|sedan]]
| body_style = 4-ประตู [[sedan (car)|sedan]]<br>5-ประตู แฮทช์แบ็ก
| layout = [[Front-engine, front-wheel-drive layout|Front-engine, front-wheel-drive]]
| layout = [[Front-engine, front-wheel-drive layout|Front-engine, front-wheel-drive]]
| related = [[Honda Fit#fourth|Honda Fit/Jazz (4th gen.)]]
| related = [[Honda Fit#fourth|Honda Fit/Jazz (4th gen.)]]
บรรทัด 166: บรรทัด 166:
File:2020 Honda City e HEV RS interior (Malaysia).png|ภายใน (e:HEV RS)
File:2020 Honda City e HEV RS interior (Malaysia).png|ภายใน (e:HEV RS)
</gallery>
</gallery>

===ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ก===
ในวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้ ในประเทศไทย มีการเปิดตัว ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ก และ ฮอนด้า ซิตี้ e:HEV
{{clear}}
{{clear}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:52, 16 พฤศจิกายน 2563

ฮอนด้า ซิตี้
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตฮอนด้า
เริ่มผลิตเมื่อ2524–ปัจจุบัน
แหล่งผลิต
ประเทศไทย: พระนครศรีอยุธยา
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก (2524–2537, 2539–2562)
รถยนต์นั่งขนาดเล็ก (2562–ปัจจุบัน)

ฮอนด้า ซิตี้ (Honda City) เป็นรถรุ่นหนึ่งที่ฮอนด้า ผลิตออกมาเพื่อให้เป็นรถรุ่นที่มีขนาดเล็กมาก (Subcompact car) เริ่มผลิตตั้งแต่ พ.ศ. 2524 เป็นรถยนต์ขนาดเล็กที่ประสบความสำเร็จมากในแถบเอเชีย รถรุ่นนี้ แรกเริ่มเดิมที จะผลิตเป็นรถ Hatchback (รถท้ายกุด ไม่มีกระโปรงหลัง เช่น แจ๊ซ หรือยาริส ในปัจจุบัน เป็นต้น) แต่ไม่ประสบความสำเร็จทางการตลาดเท่าใดนัก จึงได้เปลี่ยนรูปแบบมาเป็นรถซีดาน (มีท้าย และกระโปรงหลัง) อย่างปัจจุบัน

ปัจจุบัน ฮอนด้า ซิตี้ เป็นคู่แข่งทางธุรกิจกับยี่ห้ออื่นหลายรุ่น เช่น โตโยต้า วีออส, เชฟโรเลต อาวีโอ, ฟอร์ด เฟียสตา, มาสด้า 2, ฮุนได แอกเซนท์ ฯลฯ ด้วยความที่เป็นรถขนาดเล็กคล้ายคลึงกัน และมีราคาใกล้เคียงกัน

ฮอนด้า ซิตี้ เริ่มเป็นที่รู้จักของคนไทยเมื่อปี พ.ศ. 2539 ซึ่งก็คือโฉมที่ 3 โดยก่อนหน้านั้น มีรถยนต์ในระดับเดียวกับซิตี้คือ โอเปิล คอร์ซา, ฟอร์ด แอสปาย, ฮุนได เอ็กเซล, ฮุนได แอกเซนท์, ฮอนด้า ซีวิค (3 ประตู) ก่อนที่จะมีรถยนต์คู่แข่งอื่นๆ ตามมาในภายหลัง เช่น โตโยต้า โซลูน่า, โตโยต้า วีออส, โตโยต้า ยาริส, มาสด้า 2, ฟอร์ด เฟียสตา, เชฟโรเลต อาวีโอ, เชฟโรเลต โซนิค, เกีย พิแคนโต นอกจากนี้ ยังเป็นคู่แข่งการตลาดกับรถ Eco Car บางรุ่น ซึ่งมีขนาดใกล้เคียงและหรือเท่า B-Car เช่น นิสสัน มาร์ช, นิสสัน อัลเมร่า, มิตซูบิชิ มิราจ, ซูซูกิ สวิฟท์ เป็นต้น

นับตั้งแต่เริ่มผลิตมา ฮอนด้า ซิตี้ ได้ทำออกมาทั้งหมด 7 generation (7 รุ่น) ตามช่วงเวลาได้ ดังนี้

Generation ที่ 1 (พ.ศ. 2524 - 2529)

ฮอนด้า ซิตี้ โฉมที่ 1

ฮอนด้า ซิตี้ รุ่นแรก เริ่มผลิตเป็นรถ hatchback 3 ประตู (ซ้าย ขวา และหลัง) มีจุดเด่นตรงที่รถมีความสูงมาก และมีพื้นที่ภายในที่ดูกว้างขวาง ทั้งๆ ที่ดูภายนอกแล้วรถมีขนาดเล็ก

ซิตี้รุ่นแรกนี้ มีกระแสตอบรับมากพอสมควร จนในปีถัดมา (พ.ศ. 2525) ซิตี้ก็เริ่มทำรถแบบ convertible (เปิดประทุนได้) และแบบรถสปอร์ต และอีกปีถัดมา (พ.ศ. 2526) ที่นิวซีแลนด์ ซิตี้ ได้เข้าไปแทนที่รถมินิ ในสายการผลิตของโรงงานผลิตรถยนต์ที่นั่น และในปีเดียวกัน ก็มีการส่งออกรถซิตี้ไปยังประเทศออสเตรเลียเป็นจำนวนมากเช่นกัน

Generation ที่ 2 (พ.ศ. 2529 - 2537)

ฮอนด้า ซิตี้ โฉมที่ 2

โฉมนี้ ซิตี้ ยกเลิกการผลิตรถรุ่นเปิดประทุน โฉมนี้ไม่เป็นที่รู้จักของผู้คนโดยทั่วไป เนื่องจากโฉมนี้ไม่ประสบความสำเร็จมากนัก และได้ยกเลิกการนำเข้ารถซิตี้มาขายในออสเตรเลีย เปลี่ยนไปนำเข้ารถ ฮอนด้า โลโก้ มาจำหน่ายแทน

ซิตี้โฉมนี้ หยุดการผลิตลงใน พ.ศ. 2537 และซิตี้หยุดการผลิตไปนานถึง 2 ปี ก่อนจะนำกลับมาผลิตใหม่อีกครั้ง ซึ่ง Generation ถัดจากนี้เป็นต้นไป ซิตี้ ก็เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย


Generation ที่ 3 (พ.ศ. 2539 - 2545)

ซิตี้ โฉมที่ 3 รุ่นก่อนปรับโฉม
ฮอนด้า ซิตี้ โฉมที่ 3 โฉม "Type Z"

โฉมนี้เป็นโฉมแรกที่บริษัทฮอนด้านำเข้ามาขายในประเทศไทย ในประเทศไทยพ่อค้าเรียกว่าซิตี้รุ่นแรก ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนโฉมเป็น Type Z ซึ่งโฉบเฉี่ยว สวยกว่ารุ่นอื่นๆได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เป้าหมายคู่แข่งเป็น Civic ด้วยกันแรงและสวยกว่า Civic ทางฮอนด้า ยกเลิกเป้าหมายที่จะให้ซิตี้เป็นที่นิยมในวงกว้างทั่วโลก เปลี่ยนมาตั้งเป้าหมายให้ซิตี้เป็นที่นิยมในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงได้ออกแบบซิตี้โฉมนี้มาเพื่อคนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะ โดยเปลี่ยนมาเน้นการผลิตรถ sedan แทนรถ hatchback และช่วงนี้ ซิตี้เป็นคู่แข่งทางธุรกิจกับ โตโยต้า เทอร์เซล หรืออีกชื่อหนึ่ง โตโยต้า โซลูน่า

ในช่วงแรกๆ ซิตี้ในประเทศไทยมีเฉพาะเครื่องยนต์ขนาด 1300 ซีซี แต่ในภายหลังได้ออกเครื่องยนต์ 1500 ซีซีด้วย เครื่อง hyper

ซิตี้โฉมนี้ ออกแบบมาเพื่อให้เป็นรถ "ฮอนด้า ซีวิคย่อส่วน" ซึ่งค่อนข้างถูกใจคนเอเชีย ช่วงรุ่นนี้ของซิตี้ ออกแบบมาจากซีวิคโฉมไฟท้าย 2 ชั้น (EF) ซิตี้โฉมนี้เป็นที่นิยมในประเทศอินเดีย, ไทย, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และ ปากีสถาน ยิ่งโดยเฉพาะโฉมนี้ซึ่งมีฮอนด้า ซิตี้ Type Z ซึ่งเป็นรุ่นพิเศษซึ่งก็เป็นที่นิยมไม่น้อยในไทย โดยมีขายในช่วง พ.ศ. 2542- 2545

ส่วนตัวบอดี้ได้อิทธิพลมาจาก ฮอนด้า ซีวิค โฉมที่ 4

Generation ที่ 4 (พ.ศ. 2545 - 2551)

ฮอนด้า ซิตี้ โฉมที่ 4

โฉมนี้ในบางประเทศจะใช้ชื่อว่า "ฮอนด้า ฟิต เอเรีย" (Honda Fit Aria) โฉมนี้ยังคงเป็นที่นิยมในถิ่นเดิม เช่นเดียวกับโฉมที่แล้ว และโฉมนี้ มีรุ่นที่ปรับโฉมเล็กน้อย (ไมเนอร์เชนจ์) คือ ฮอนด้า ซิตี้ ZX ซึ่งเริ่มผลิตขึ้นใน พ.ศ. 2548 โฉมนี้เป็นที่รู้จักกันดีคือจะใช้ระบบเกียร์แบบใหม่ CVT 7 สปีด ควบคู่เกียร์อัตโนมัติธรรมดา โดยที่เกียร์ธรรมดา (เกียร์กระปุก) ก็ยังมีขาย และใช้เครื่องยนต์หัวฉีด i-DSI หรือ VTEC

โฉมนี้ เป็นโฉมที่ซิตี้ เริ่มแข่งขันทางการตลาดกับโตโยต้า วีออส ซึ่งแข่งมาถึงปัจจุบัน ซึ่งโดยรวมแล้ว ถือว่า ซิตี้ได้เปรียบวีออสในเรื่องของการประหยัดเชื้อเพลิง (โดยเฉพาะรุ่นเครื่องยนต์ i-DSI) แต่เสียเปรียบวีออสในเรื่องการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ความเป็นที่นิยมของรถ (ก่อนที่จะมีซิตี้ ZX นั้น ซิตี้รุ่นนี้ขายดีน้อยกว่าพอสมควร) สมรรถนะของรถ และความดูทันสมัยในรถ (เช่น วีออส ใช้หน้าปัดดิจิตอลแสดงความเร็วรถ แต่ซิตี้ยังเป็นเข็ม) สำหรับคุณภาพของตัวรถนั้นถือว่าใกล้เคียงกัน

Generation ที่ 5 (พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2557 )

ฮอนด้า ซิตี้ โฉมที่ 5

โฉมนี้ เปิดตัวในประเทศไทยเมื่อวันที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551 โดยจะมี 3 รุ่นให้เลือกในประเทศไทย คือ รุ่น S , V และ SV ซึ่งรุ่น S จะมีราคาที่ถูกสุด และ SV จะมีราคาแพงที่สุด

ราคาที่จำหน่าย Honda City 5th Gen. Pre-facelift

  • S MT 524,000 บาท
  • S AT 564,000 บาท
  • V AT ABS 619,000 บาท
  • V AT (AS) 644,000 บาท
  • SV AT (AS) 694,000 บาท

รูปทรงใหม่ที่โฉบเฉี่ยว ทันสมัย กว้างขวางขึ้น ความมู่ทู่ลดลง ประหยัดน้ำมัน รถราคาถูก และประกอบกับภาวะน้ำมันแพง ทำให้ซิตี้โฉมนี้มียอดจองทะลุเป้าหมายที่ฮอนด้าตั้งไว้

ฮอนด้า ซิตี้ โฉมที่ 5 นี้ ได้รับรางวัลรถยนต์ยอดเยี่ยมแห่งปี ระดับประเทศไทย 2 ปีซ้อน (Thailand Car of the Year 2009,2010) ในประเภทรถยนต์นั่ง ในรุ่นไม่เกิน 1,500 ซีซี (Best Sedan under 1,500 cc.

ราคาที่จำหน่าย Honda City 5th Gen. Facelift

  • S MT 559,000 บาท
  • S AT 599,000 บาท
  • V AT 646,000 บาท
  • SV AT 704,000 บาท

ในปี พ.ศ. 2554 ฮอนด้าประเทศไทยได้มีการปรับโฉม Minorchange ฮอนด้า ซิตี้ และในปี พ.ศ. 2555 ฮอนด้าได้เปิดตัวรุ่น City CNG ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้พลังงานทางเลือก และ ยังมีรุ่นพิเศษ Modulo ซึ่งตกแต่งด้วยชุดแต่งModulo ก่อนที่จะมีการปรับโฉม Full Modelchange ในปี พ.ศ. 2557

ราคาที่จำหน่าย

Honda City CNG

  • S CNG AT 659,000 บาท
  • V CNG AT 706,000 บาท

Honda City Modulo

  • V AT 678,000 บาท

ล่าสุด พ.ศ. 2556 ทางฮอนด้าประเทศไทยก็ได้เพิ่มตัวเลือกอีกหนึ่งตัวเลือกในรุ่น SV นั่นก็คือรุ่น SV VSA โดยมีการเพิ่ม VSA, ระบบเตือนคาดเข็มขัดนิรภัยผู้โดยสารด้านหน้า, จุดยึดเบาะนั่งสำหรับเด็ก ISOFIX & Child Anchor แต่ก็ต้องขาด "เบาะด้านหลังปรับเอนได้หนึ่งระดับ" ที่มีมาให้เฉพาะในรุ่น SV ไป นอกจากนั้นอุปกรณ์ทุกอย่างเหมือนกับ SV ทุกประการ ยกเว้นราคาที่สูงกว่ารุ่น SV 14,000 บาทซึ่งอยู่ที่ 718,000 บาท

Generation ที่ 6 (พ.ศ. 2557 - 2562)

ฮอนด้า ซิตี้ รุ่นที่ 6 ด้านหน้า
ฮอนด้า ซิตี้ รุ่นที่ 6 ด้านหลัง

โฉมนี้ เปิดตัวในประเทศไทยในรอบสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2557 ที่ไบเทค บางนา โดยจะมี 5 รุ่นให้เลือกในประเทศไทย คือ รุ่น S (เกียร์ธรรมดา), V , V+ , SV และ SV+

สำหรับเครื่องยนต์ก็ยังใช้เครื่องยนต์ตัวเดิม ขนาด 1.5 ลิตร แต่พละกำลังถูกลดลงเล็กน้อยลงเหลือ 117 แรงม้าที่ 6,000 รอบ/นาที แรงบิดสูงสุดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 146 นิวตัว-เมตรที่ 4,700 รอบ/นาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ CVT พร้อมระบบ Paddle Shift 7 สปีด และมีเกียร์ธรรมดา 5 สปีดในรุ่นล่างสุด รองรับน้ำมันเชื้อเพลิง E85 ในทุกรุ่นย่อย พร้อมกับระบบ Econ Assist ที่ช่วยให้การขับขี่ประหยัดน้ำมันมากขึ้น

พร้อมทั้งยังมีโครงสร้างนิรภัย G-CON ระบบป้องกันการล็อกล้อ ABS ระบบควบคุมการทรงตัว VSA ระบบช่วยออกตัวในทางชัน HSA (ยกเว้นรุ่นเกียร์ธรรมดา) และไฟเตือนการเบรกกระทันหัน ESS เป็นอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยมาตรฐานในทุกรุ่นย่อย และตั้งแต่รุ่น V+ ขึ้นไปจะมีเสาครีบฉลาม (Shark Fin) และหน้าจอระบบสัมผัสขนาด 7 นิ้ว

รุ่นปรับโฉม

รุ่นปรับโฉมของฮอนด้า ซิตี้ ได้เผยโฉมเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 โดยมีการเปลี่ยนแปลงภายนอกคือ กระจังหน้าแบบใหม่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับฮอนด้า ซีวิค และได้ใช้ไฟหน้าและไฟตัดหมอกแบบ LED ในรุ่น SV และ SV+ ส่วนไฟส่องสว่างในเวลากลางวันแบบ LED มีมาให้ในทุกรุ่นย่อย ในรุ่น V และ V+ เพิ่มฟังก์ชันกระจกมองพับเก็บด้วยไฟฟ้า ภายในมีการปรับปรุงบริเวณหน้าจออินโฟนเทนเมนต์เล็กน้อยและมาตรวัดแบบใหม่

ส่วนระบบความปลอดภัยได้มี ABS, VSA, HSA, ESS ในทุกรุ่นย่อย กล้องมองหลังเวลาถอยจอดปรับมุมมองได้ 3 ระดับ (เฉพาะรุ่น V+, SV, SV+) และถุงลมนิรภัย 6 ตำแหน่งสำหรับรุ่น SV+ เท่านั้น ส่วนรุ่นที่เหลือได้ถุงลมนิรภัยคู่หน้า 2 ตำแหน่ง ซึ่งเหมือนเดิมทุกอย่างเมื่อเทียบกับรุ่นก่อนปรับโฉม

ยุติการทำตลาดที่ญี่ปุ่น

Honda กำลังดำเนินงานตามนโยบายลดจำนวนรุ่นรถยนต์ ที่ออกจำหน่ายทั่วโลกลง 1 ใน 3 ภายในปี พ.ศ. 2568 และกลยุทธ์นี้มีผลถึงตลาดในประเทศบ้านเกิดอย่างญี่ปุ่นด้วย โดยมีรายงานว่า Honda Civic, Honda City และ Honda Jade อาจไม่ได้ไปต่อที่ตลาดดังกล่าวในเดือนสิงหาคมนี้ ทั้งนี้ ไม่มีการเปิดเผยสาเหตุที่ชัดเจนนัก แต่พอจะคาดการณ์ได้ว่าเป็นเพราะผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น ไม่ค่อยนิยมรถยนต์ 4 ประตู จนยอดขายถดถอย

Generation ที่ 7 (GN; พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน)

รุ่นที่ 7 (GN1/2)
2019 ฮอนด้า ซิตี้ อาร์เอส (Thailand)
ภาพรวม
เริ่มผลิตเมื่อ2019–ปัจจุบัน
แหล่งผลิต
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถัง4-ประตู sedan
5-ประตู แฮทช์แบ็ก
โครงสร้างFront-engine, front-wheel-drive
รุ่นที่คล้ายกันHonda Fit/Jazz (4th gen.)
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์
กำลัง90 kW (122 แรงม้า) (P10A6)
90 kW (123 แรงม้า) (L15Z1)
75 kW (100 แรงม้า) (N15)
ระบบเกียร์6-speed manual
CVT
7-speed CVT + Paddle Shift (City Turbo RS)
ระบบขับเคลื่อนรถไฮบริดSport Hybrid i-MMD (City e:HEV)
มิติ
ระยะฐานล้อ2,590 mm (102.0 in)
ความยาว4,550 mm (179.1 in)
ความกว้าง1,750 mm (68.9 in)
ความสูง1,470 mm (57.9 in)

โฉมนี้ เปิดตัวในประเทศไทยในรอบสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 โดยจะมี 4 รุ่นให้เลือกในประเทศไทย คือ รุ่น S , V , SV และ RS

ตลาด

ประเทศไทย

ในประเทศไทย Honda City ใช้เครื่องยนต์ใหม่ เบนซิน 1.0 TURBO 122 แรงม้า 173 นิวตันเมตรพร้อมเกียร์อัตโนมัติ CVT รองรับน้ำมัน E20 และมี สีตัวถังภายนอก มีให้เลือก 6 สี ได้แก่ สีแดง Ignite Red Metallic (เฉพาะรุ่น RS), สีขาวมุก Platinum White Pearl (เฉพาะรุ่น RS / SV) (เพิ่มเงิน 10,000 บาท), สีดำ Crystal Black Pearl (เพิ่มเงิน 6,000 บาท), สีเงิน Lunar Silver Metallic, สีเทา Modern Steel Metallic และ สีขาว Taffeta White (เฉพาะรุ่น S / V) เริ่มวางจำหน่ายในประเทศไทยวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2562

อินเดีย

ในประเทศอินเดีย มีการเปิดเผยรายละเอียดของ Honda City เวอร์ชั่นอินเดีย รุ่นล่าสุดซึ่งนับเป็น generation ที่ห้าในวันที่ 17 มิถุนายน ก่อนถึงกำหนดการเปิดตัวอย่างเป็นทางการในเดือนกรกฎาคมนี้ ทำให้เราทราบว่ามีลูกเล่นหลายรายการที่ไม่มีในเวอร์ชั่นไทยทั้ง หลังคา Sunroof, มาตรวัดดิจิตอล และเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร เบนซิน-ดีเซล

มาเลเซีย

ในประเทศมาเลเซีย หลังจากสร้างกระแสความสนใจได้ไม่น้อยในการเปิดตัวอย่างเป็นทางการของ Honda City 2020 ที่มาพร้อมกับดีไซน์ใหม่หมดและเครื่องยนต์เทอร์โบเมื่อปลายปีที่ผ่านมาในประเทศไทย ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจเกี่ยวกับรถยนต์ city car จากค่าย Honda อีกครั้ง เว็บไซต์รถยนต์ในต่างประเทศหลายแห่งรายงานว่า New Honda city เตรียมจะเปิดตัวจำหน่ายในประเทศมาเลเซีย พร้อมกับสเปกและออปชั่นซึ่งไม่เหมือนกับเวอร์ชั่นในไทย รวมถึงเครื่องยนต์ที่จะปรับเป็น เครื่องยนต์ไฮบริดใหม่ล่าสุดของ ฮอนด้า ที่เรียกว่า i-MMD (Intelligent Multi-Mode Drive) ซึ่งถูกใช้ในรถยนต์ที่ขายในท้องตลาดเป็นครั้งแรกในโลกด้วย

ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ก

ในวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้ ในประเทศไทย มีการเปิดตัว ฮอนด้า ซิตี้ แฮทช์แบ็ก และ ฮอนด้า ซิตี้ e:HEV

ดูเพิ่ม