ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมเด็จพระญาณวชิโรดม (วิริยังค์ สิรินฺธโร)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Suwarode (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Armonthap (คุย | ส่วนร่วม)
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:00, 2 พฤศจิกายน 2563

สมเด็จพระญาณวชิโรดม

(วิริยังค์ สิรินธโร)
ไฟล์:พระเทพเจติยาจารย์.jpg
ส่วนบุคคล
เกิด7 มกราคม พ.ศ. 2463 (104 ปี ปี)
นิกายธรรมยุติกนิกาย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดธรรมมงคลเถาบุญญนนทวิหาร กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท20 พฤษภาคม พ.ศ. 2484
พรรษา82

สมเด็จพระญาณวชิโรดม วิ. (วิริยังค์ สิรินธโร) (เกิด 7 มกราคม พ.ศ. 2463) เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย มีตำแหน่งเป็นพระราชาคณะ​เจ้าคณะ​รองชั้นหิรัญ​บัฏ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ รูปแรกของธรรมยุติกนิกาย และเป็นรูปที่ 2 ของกรุงรัตนโกสินทร์ และเจ้าอาวาส วัดธรรมมงคลเถาบุญญนนทวิหาร ปัจจุบันอายุ 104 ปี พรรษา 79

ชาติกำเนิด

พระพรหมมงคลญาณ เดิมชื่อ วิริยังค์ บุญฑีย์กุล เป็นบุตรขุนเพ็ญภาษชนารมย์ กับมั่น บุญฑีย์กุล (หรือ อุบาสิกามั่น; ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2520) เกิดเมื่อวันศุกร์ แรม 13 ค่ำ เดือนอ้าย ปีวอก ตรงกับวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2463 ณ สถานีรถไฟปากเพรียว จังหวัดสระบุรี ต่อมาย้ายมาตั้งหลักปักฐานที่บ้านใหม่สำโรง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มีพี่น้อง 7 คน ได้แก่

  1. กิมลั้ง ชูเวช
  2. ฑีฆายุ บุญฑีย์กุล
  3. สุชิตัง บุญฑีย์กุล
  4. สัจจัง บุญฑีย์กุล
  5. พระพรหมมงคลญาณ (วิริยังค์ บุญฑีย์กุล)
  6. ไชยมนู บุญฑีย์กุล
  7. สายมณี ศรีทองสุข

ปฐมวัย-ก่อนบวช

วันหนึ่งขณะที่ท่านอายุประมาณ 13 ปี เพื่อนผู้หญิงคนหนึ่งชวนให้ไปวัดเป็นเพื่อน ขณะที่รอเพื่อนไปต่อมนต์(ท่องบทสวดมนต์)กับหลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ท่านก็รออยู่ด้วยความเบื่อหน่ายเพราะไปตั้งแต่ 2 ทุ่มกลับเที่ยงคืน จะกลับบ้านเองก็ไม่ได้เพราะเส้นทางเปลี่ยวและกลัวผี ได้แต่คิดอยู่ในใจว่า "ตั้งแต่นี้ต่อไปไม่มาอีกแล้ว ๆ ๆ" ไม่ช้าก็เกิดความสงบขึ้น ตัวหายไปเลย เบาไปหมด เห็นตัวเอง มี 2 ร่าง ร่างหนึ่งเดินลงศาลาไปยืนอยู่ที่ลานวัด มีลมชนิดหนึ่งพัดหวิวเข้าสู่ใจ รู้สึกเย็นสบายเป็นสุขอย่างยิ่งถึงกับอุทานออกมาเองว่า "คุณของพระพุทธศาสนา มีถึงเพียงนี้เทียวหรือ" แล้วเดินกลับไปที่ร่างกลับเข้าตัว พอดีเป็นเวลาเลิกต่อมนต์ จึงเล่าให้กับพระอาจารย์กงมาฟัง พระอาจารย์ก็ว่า "เด็กนี่ เรายังไม่ได้สอนสมาธิให้เลยทำไม จึงเกิดเร็วนัก" ตั้งแต่นั้นมาก็จึงเรียนรู้เกี่ยวกับการทำสมาธิ

ต่อมาวันหนึ่งท่านทำงานหนักเกินตัวจึงล้มป่วยเป็นอัมพาต บิดาพยามหาหมอมารักษาแต่ก็รักษาไม่ได้ แพทย์แผนปัจจุบันบอกว่าหมดหวังในการรักษา ท่านได้แต่นอนอธิษฐานอยู่ในใจว่า" ถ้ามีผู้ใดมารักษาให้หายจากอัมพาตได้ จะอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น" ไม่นานก็ปรากฏว่ามีชีปะขาวตนหนึ่งมาถามบิดาของท่านว่า "จะรักษาลูกให้เอาไหม" บิดาก็บอกว่า "เอา" ชีปะขาวก็เดินมาหาท่านซึ่งนอนอยู่ พร้อมทั้งกระซิบถามว่าอธิษฐานดังนั้นจริงไหม ท่านก็ตอบว่าจริง จึงให้พูดให้ได้ยินดัง ๆ หน่อย ท่านก็พูดให้ฟัง ชีปะขาวก็เอาไพรมา เคี้ยว ๆ แล้วก็พ่นใส่ตัวของท่านแล้วก็จากไป เช้าตรู่วันรุ่งขึ้นปรากฏว่าท่านรู้สึกว่าจะกระดิกตัวได้ ทดลองลุกขึ้นเดินก็ทำได้เป็นที่อัศจรรย์ใจ 7 โมงเช้า ปรากฏว่าชีปะขาวมายืนหลับตาบิณฑบาตอยู่ที่ประตูบ้าน ท่านจึงนำอาหารจะไปใส่บาตร ชีปะขาวกลับขอให้ท่านพูดถึงคำอธิษฐานของท่านให้ฟัง เมื่อพูดแล้วจึงยอมรับบาตร แล้วบอกให้ท่านไปหาที่ใต้ต้นมะขาม วัดสว่างอารมณ์ เมื่อไปถึงชีปะขาวก็ให้พูดคำอธิษฐาน ให้ฟังอีก แล้วก็พาเดินไปหลังวัด คว้าเอา มีดอันหนึ่งออกไปตัดหางควาย มาชูให้ดู แล้วก็ต่อหางคืนไปใหม่ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น พร้อมกับถามว่า "ลุงเก่งไหม" ท่านก็ตอบว่า "เก่ง" ลุงจะสอนคาถาให้ แต่ต้องท่องทุกวันเป็นเวลา 10 ปีจึงใช้ได้ ท่านก็ได้เรียนคาถานั้น แล้วก็บอกว่าพรุ่งนี้ให้ เตรียมใส่บาตร วันรุ่งขึ้นปรากฏว่าไม่พบตาชีปะขาวแล้ว ตั้งแต่นั้นมาท่านก็ไม่เคยพบกับตาชีปะขาวอีกเลย

บรรพชา

ได้บรรพชาเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2478ณ วัดสุทธจินดาวรวิหาร ตำบลโพธิ์กลาง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยพระธรรมฐิติญาณ (สังข์ทอง นาควโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาได้ 10 วัน ก็ตามพระอาจารย์กงมาออกธุดงค์ ตามป่าเขาลำเนาไพรเพื่อแสวงหาที่วิเวก เมื่อพบที่สงบก็จะหยุดอยู่ทำความเพียร แม้บางครั้งอดอาหารกันอยู่หลายวัน บางครั้งเจอสัตว์ร้าย เจออันตรายหรือหนทางอันยาวไกล เช่นในบางวันเดินธุดงค์ข้ามเขาเกือบ 50 กิโลเมตร ก็ไม่ย่อท้อ โดยถือคติที่ว่ารักความเพียร รักธรรมะมากกว่าชีวิต ครั้งหนึ่งเมื่อออกจากดงพญาเย็นพบโจรกลุ่มหนึ่งมีอาวุธครบมือมาล้อมไว้ พระอาจารย์กงมาได้เทศน์สั่งสอนโจร มีอยู่ตอนหนึ่งเทศน์ว่า "พวกเธอเอ๋ย แม้พวกเธอจะมาหาทรัพย์ ตลอดถึงการผิดศีลของพวกเธอนั้นก็เพื่อเลี้ยงชีวิตนี้เท่านั้น แต่ชีวิตนี้ก็ไม่ใช่ของพวกเธอเลย มันจะสิ้นกันไม่รู้วันไหน เป็นเช่นนี้ทุกคน ถึงพวกเธอจะฆ่าไม่ฆ่าเขาก็ตาย เธอก็เหมือนกันมีความดีเท่านั้นที่ใคร ๆ ฆ่าไม่ตาย อย่างเรานี้จะตายเมื่อไหร่ก็ไม่อนาทรร้อนใจ เพราะความดีเราทำมามากแล้ว" ปรากฏว่าพวกโจรวางมีดวางปืนทั้งหมดน้อมตัวลงกราบพระอาจารย์กงมาอย่างนอบน้อม หัวหน้าโจรมอบตัวเป็นศิษย์และได้บวชเป็นตาผ้าขาวถือศีล 8 เดินธุดงค์ไปด้วยกันจนกระทั่งหมดลมหายใจในขณะทำสมาธิ

อุปสมบท

ในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 ท่านมีอายุ 21 ปี ได้อุปสมบท ณ วัดทรายงาม บ้านหนองบัว อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี โดยพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพมหานคร เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาทองสุข สุจิตโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงพ่อได้เดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์กงมาไปในที่ต่าง ๆ เป็นเวลา 8 ปี วันหนึ่ง พระอาจารย์กงมาพาท่านเดินธุดงค์จากจังหวัดจันทรบุรีไปจังหวัดสกลนคร เพื่อไปพบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงพ่อวิริยังค์ได้รับเลือกให้เป็นอุปัฎฐากอยู่ในพรรษา 4 ปี นอกพรรษา 5 ปี รวมเป็น 9 ปี ได้เดินธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์มั่น เรียนธรรมะอันลึกซึ้ง ได้จดคำสอนของหลวงปู่มั่นบางตอนไว้ (ปกติท่านห้ามผู้ใดจดเด็ดขาด เมื่ออ่านให้ท่านฟังภายหลังท่าน กลับรับรองว่าใช้ได้) ต่อมาท่านได้เผยแพร่คำสอนนี้แก่สาธารณชน ในหนังสือที่ชื่อว่า "มุตโตทัย"

การศึกษา

เมื่อปี พ.ศ. 2477 ได้บวชเป็นชีปะขาว เนื่องจากการบวชศึกษาตั้งแต่อายุยังน้อย จบชั้นประถมปีที่ 4 หลังจากนั้นบรรพชาแล้วศึกษาจบนักธรรมชั้นตรี นอกจากนั้นเป็นเวลาปฏิบัติกรรมฐาน เดินธุดงค์ตลอดระยะเวลาบรรพชาและอุปสมบท

สมณศักดิ์

  • พ.ศ. 2498 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระครูญาณวิริยะ[1]
  • พ.ศ. 2510 เป็นพระราชาคณะยกฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระญาณวิริยาจารย์[2]
  • พ.ศ. 2535 เป็นพระราชาคณะชั้นราชฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระราชธรรมเจติยาจารย์ วิมลญาณภาวิต ธรรมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
  • พ.ศ. 2545 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระเทพเจติยาจารย์ สุวิธานศาสนกิจ พิพิธธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]
  • พ.ศ. 2553 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระธรรมมงคลญาณ สีลาจารวัตรวิมล โสภณวิเทศศาสนดิลก สาธกวิปัสสนาธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
  • พ.ศ. 2562 ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฎ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระพรหมมงคลญาณ ปูชนียฐานประยุต วิสุทธิญาณโสภณ โกศลวิเทศศาสนดิลก สาธกวิปัสสนาธุราทร ธรรมยุติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6] นับเป็นพระราชาคณะเจ้าคณะ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ รูปแรกของฝ่ายธรรมยุติกนิกาย และรูปที่สองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
  • พ.ศ. 2563 ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ที่ สมเด็จพระญาณวชิโรดม พุทธาคมวิศิษฐ์ จิตตานุภาพพัฒนดิลก สาธกธรรมวิจิตร วิเทศศาสนกิจไพศาล วิปัสสนาญาณธุราทร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี[7]

ผลงาน

  1. สร้างวัด 15 แห่งในประเทศไทย
  2. สร้างวัดไทยในประเทศแคนาดา 6 แห่ง
  3. สร้างวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง
  4. สร้างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)ที่จังหวัดนครราชสีมา
  5. สร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (โครงการประทีปเด็กไทย) 5000 กว่าแห่งทั่วประเทศ
  6. สร้างโรงพยาบาลจอมทอง
  7. สร้างที่ว่าการอำเภอจอมทอง
  8. สถาบันประถมศึกษาจอมทอง
  9. สร้างพระมหาเจดีย์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย วัดธรรมมงคล
  10. สร้างพระหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก วัดธรรมมงคล
  11. สร้างสถาบันพลังจิตตานุภาพในประเทศไทยและประเทศแคนาดา
  12. สร้างสถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์
  13. สร้างโรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์ อุปถัมภ์) กรุงเทพมหานคร
  14. สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร
  15. สร้างมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ศูนย์ให้การศึกษาวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร
  16. สร้างโรงเรียนอนุบาลธรรมศาลา กรุงเทพมหานคร

ผลงานการสร้างวัดในประเทศไทย

  1. วัดที่ 1 ปี พ.ศ. 2486 สร้างวัดบ้านห้วยแคน ตำบลหนองเหียน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ขณะอายุได้ 24 ปี
  2. วัดที่ 2 ปี พ.ศ. 2487 สร้างวัดวิริยพลาราม บ้านเต่างอย อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
  3. วัดที่ 3 ปี พ.ศ. 2489-2491 สร้างวัดมณีคีรีวงค์ (กงษีไร่) จังหวัดจันทบุรี
  4. วัดที่ 4 ปี พ.ศ. 2492-2495 สร้างวัดดำรงธรรมมาราม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรีให้เป็นที่ธุดงค์วิปัสสนากัมมัฏฐาน
  5. วัดที่ 5 ปี พ.ศ. 2493 สร้างวัดสถาพรพัฒนา (วัดหนองชิ่ม) ตำบลหนองชิ่ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นแหล่งบำเพ็ญสมณธรรมอย่างสงบร่มเย็น
  6. วัดที่ 6 ปี พ.ศ. 2506 สร้างวัดธรรมมงคล สุขุมวิท 101 พระโขนง กรุงเทพฯ เป็นวัดแรกที่อยู่ในกรุงเทพนี้เนื้อที่ทั้งหมด 32 ไร่ มีกุฏิบำเพ็ญสมาธิภาวนา 9 หลัง ศาลาการเปรียญ ศาลาเมรุฌาปนกิจสถาน อุโบสถ และที่สำคัญที่สุดคือ พระมหาเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีความสวยสดงดงามตามศิลปไทยวิจิตระการตาหาชมได้ยาก สิ้นงบประมาณรวมร้อยล้านบาท มีพระภิกษุสงฆ์พำนักอยู่กว่า 500 รูป และมีโรงเรียนอนุบาล อบรมสอนหนังสือให้แก่นักเรียนกว่า 500 คน
  7. วัดที่ 7 ปี พ.ศ. 2511 สร้างวัดหนองกร่าง วิทยาลัยสงฆ์กำแพงแสน ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม มีกุฏิ 80 หลัง ศาลาการเปรียญ มีอาคารเรียน 3 หลัง อุโบสถ 2 ชั้น มีพระภิกษุสงฆ์-สามเณรศึกษาอยู่ปัจจุบัน 200 รูป
  8. วัดที่ 8 ปี พ.ศ. 2512 สร้างวัดผ่องพลอยวิริยาราม สุขุมวิท 105 (ลาซาล) พระโขนง กรุงเทพฯ มีเนื้อที่ทั้งหมดรวม 10 ไร่ มีกุฏิบำเพ็ญสมาธิภาวนา 60 หลัง ศาลาการเปรียญ อุโบสถ หอระฆัง และอื่นๆ
  9. วัดที่ 9 ปี พ.ศ. 2512 สร้างวัด สิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม) ซอยเสนานิคม1 ถนนพหลโยธิน ลาดพร้าว กรุงเทพฯ มีกุฏิ 40 หลัง ศาลาปฏิบัติธรรมโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม อุโบสถ มีพระสงฆ์ 400 รูป
  10. วัดที่ 10 ปี พ.ศ. 2513 สร้างวัดอมาตยาราม (เขาอีโต้) จังหวัดปราจีนบุรี มีเนื้อที่ทั้งหมด 60 ไร่ มีศาลาการเปรียญ กุฏิที่พัก อุโบสถ ฯลฯ
  11. วัดที่ 11 ปี พ.ศ. 2513 วัดเทพเจติยาจารย์ น้ำตกแม่กลาง อ.จอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
  12. วัดที่ 12 ปี พ.ศ. 2516 สร้างวัดแก้วพิทักษ์เจริญธรรม สุขุมวิท103 (อุดมสุข) พระโขนง กรุงเทพฯ มีศาลาการเปรียญ กุฏิที่พัก โรงครัว บ่อน้ำ อุโบสถ
  13. วัดที่ 13 ปี พ.ศ. 2514 สร้างวัดชูจิตรธรรมมาราม วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย) มีเนื้อที่ทั้งหมด 108 ไร่ มีพระภิกษุ-สามเณรศึกษาอยู่ 500 รูป(หาส่วนอ้างอิง)
  14. วัดที่ 14 ปี พ.ศ. 2555 สร้างวัดศรีรัตนธรรมมาราม อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีเนื้อที่ทั้งหมด 86 ไร่
  15. วัดที่ 15 ปี พ.ศ. 2560 สร้างวัดป่าเลิศธรรมนิมิต ถ.ลำลูกกา คลอง11 จ.ปทุมธานี

การสร้างวัดในต่างประเทศ

  1. พ.ศ. 2535 วัดญาณวิริยาเทมเปิ้ล 1 เมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา
  2. พ.ศ. 2536 วัดญาณวิริยาเทมเปิ้ล 2 เมืองโตรอนโต้ ประเทศแคนาดา
  3. พ.ศ. 2538 วัดราชธรรมวิริยาราม 1 เมืองออตตาวา ประเทศแคนาดา
  4. พ.ศ. 2540 วัดราชธรรมวิริยาราม 2 น้ำตกไนแอการ่า เมืองออนโตริโอ ประเทศแคนาดา
  5. พ.ศ. 2541 วัดราชธรรมวิริยาราม 3 เมืองแอตแมนตัน ประเทศแคนาดา
  6. พ.ศ. 2542 วัดราชธรรมวิริยาราม 4 เมืองแคลการี ประเทศแคนาดา


ด้านการบริหารและการปกครองคณะสงฆ์

  1. เป็นเจ้าอาวาสวัดธรรมมงคลเถาบุญนนทวิหาร สุขุมวิท 101 กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ พ.ศ. 2506 - ปัจจุบัน
  2. เป็นประธานกรรมการบริหารคณะสงฆ์ธรรมยุตในประเทศแคนาดา ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 - ปัจจุบัน
  3. เป็นรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดศรีรัตนธรรมาราม อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งแต่ พ.ศ. 2559 - ปัจจุบัน
  4. เป็นพระอุปัชฌาย์

ผลงานการประพันธ์

    1. หนังสือมุตโตทัย บันทึกคำสอนของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
    2. หนังสือประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตเถระ
    3. หนังสือ ชีวิตต้องสู้
    4. หนังสือ คุณค่าของชีวิต
    5. หนังสือ พระพุทธรูปหยกเขียว
    6. หนังสือ 5 ฉลอง
    7. หนังสือหลักสูตรครูสมาธิ 3 เล่ม เล่ม 1,2,3
    8. หนังสือหลักสูตรครูสมาธิ – ชั้นสูง
    9. หนังสือหลักสูตรญาณสาสมาธิ
    10. หนังสือหลักสูตรอุตตมสาสมาธิ
    11. หนังสือใต้สามัญสำนึก

ปริญญากิตติมศักดิ์

  1. พ.ศ. 2538 ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรดุษฎีบัณทิตกิตติมศักดิ์ ด้านบริหารการพัฒนา จาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
  2. พ.ศ. 2545 ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณทิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา จาก สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา
  3. พ.ศ. 2545 ปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณทิตกิตติมศักดิ์ สาขาการศึกษานอกระบบ จาก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  4. พ.ศ. 2550 ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยโยนก จังหวัดลำปาง
  5. พ.ศ. 2553 ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณทิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย จังหวัดเชียงราย
  6. พ.ศ. 2554 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนา จาก มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
  7. พ.ศ. 2555 ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา จาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  8. พ.ศ. 2556 ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
  9. พ.ศ. 2557 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและเทคโนโลยี จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
  10. พ.ศ. 2559 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  11. พ.ศ. 2559 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  12. พ.ศ. 2560 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  13. พ.ศ. 2560 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  14. พ.ศ. 2562 ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จาก มหาวิทยาลัยพะเยา

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 72, ตอนที่ 95 ง, 13 ธันวาคม 2498, หน้า 3013
  2. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 84, ตอนที่ 128 ง ฉบับพิเศษ , 30 ธันวาคม 2510, หน้า 4
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์ , เล่ม 109, ตอนที่ 101 ฉบับพิเศษ, วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2535, หน้าที่ 5-6
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 119, ตอนที่ 23 ข , 11 ธันวาคม 2545, หน้า 3
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 128, ตอนที่ 12 ข , 29 กรกฎาคม 2554, หน้า 1
  6. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์ , เล่ม 136, ตอนที่ 40 ข, 28 กรกฎาคม 2562
  7. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสถาปนาสมศักดิ์ เล่ม ๑๓๗ ตอนที่ ๓๑ ข, ๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๓

ดูเพิ่ม ไม่ต้องเปลี่ยนประวัติดีแล้ว

  1. www.samathi.com เว็บไซต์สถาบันพลังจิตตานุภาพ พระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ สิรินฺธโร) ประธานผู้ก่อตั้ง
  2. เว็บไชตวัดธรรมมงคล
  3. เว็ บไซต์ ลานธรรมจักร