ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไฟฟ้าลัดวงจร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
WindowMaker (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มโครงบทความ
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:33, 25 ตุลาคม 2563

ประกายไฟที่เกิดขึ้น ในการลัดวงจรจากตะปู
สายส่งไฟฟ้าแรงสูงลัดวงจร จากกิ่งไม้ที่พาดทับ

ไฟฟ้าลัดวงจร หรือไฟฟ้าชอร์ต (อังกฤษ: short circuit) เป็นสภาพผิดปกติ ที่เกิดจากวงจรไฟฟ้ามีเส้นทางให้กระแสไหลจากจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าสูง ไปยังจุดที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำ โดยแทบไม่ผ่านความต้านทานใดๆ, ซึ่งจะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านวงจรในปริมาณสูงมาก และเกิดความร้อนสูงในจุดต่างๆ ของวงจร, ซึ่งหากกระแสไม่ถูกตัดอย่างทันท่วงที มักจะสร้างความเสียหายกับแหล่งจ่ายไฟ สายไฟ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่กระแสนั้นไหลผ่าน, และในบางกรณีที่มีกระแสไฟฟ้าสูงมากพอ ในเวลาที่นานพอ ความร้อนจะสูงจนเกิดประกายไฟ และเป็นเหตุนำไปสู่อัคคีภัยได้

เพื่อป้องกันผลลัพธ์ที่อาจจะเกิดขึ้น, วงจรไฟฟ้า โดยเฉพาะระบบที่ใช้ไฟบ้านหรือไฟรถยนต์ มักจะมีการต่อฟิวส์หรือเบรกเกอร์อนุกรมเอาไว้, ซึ่งจะตัดกระแสไฟฟ้าออกเมื่อมีกระแสไหลมากเกินพิกัด ก่อนที่จะเกิดความเสียหายถาวรกับวงจรหรืออุปกรณ์ข้างเคียง

แม้ว่าไฟฟ้าลัดวงจรส่วนมากจะมีเหตุจากการเสื่อมสภาพของชิ้นส่วน ความเสียหายของอุปกรณ์ (เช่น ฉนวนสายไฟที่กรอบจากอายุ) หรือเหตุสุดวิสัยต่างๆ (เช่น กิ่งไม้หักทับสายส่งไฟฟ้าแรงสูง), แต่ก็มีการใช้ประโยชน์จากการจงใจทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรในสภาวะที่เหมาะสม หรือมีการควบคุมด้วย เช่น วงจรป้องกันไฟเกิน ซึ่งเมื่อตรวจพบแรงดันไฟฟ้าที่สูงเกินระดับปลอดภัย จะทำการลัดวงจรให้ฟิวส์ขาด เพื่อป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ไฟฟ้าที่อ่อนไหวเสียหาย, รวมทั้งการเชื่อมไฟฟ้าบางชนิด ที่อาศัยการลัดวงจรตรงจุดที่ช่างแตะลวดเชื่อมเข้ากับรอยต่อชิ้นงาน ทำให้เกิดความร้อนสูง จนลวดเชื่อมหลอมละลายและเชื่อมชิ้นงานเข้าด้วยกัน เป็นต้น