ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 18: บรรทัด 18:
เว็บ = [http://www.tu.ac.th/ www.tu.ac.th]
เว็บ = [http://www.tu.ac.th/ www.tu.ac.th]
}}
}}
'''มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: Thammasat University) ก่อตั้งเมื่อวันที่ [[27 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2477]] โดยมีจุดประสงค์เป็นเพื่อเป็น[[ตลาดวิชา]] เพื่อการศึกษาด้าน[[กฎหมาย]]และ[[การเมือง]] สำหรับประชาชนทั่วไป เมื่อเริ่มก่อตั้งใช้ชื่อว่า '''มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง''' เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับ 2 ของ[[ประเทศไทย]] และมีประวัติศาสตร์ผูกพันกับพัฒนาการทางการเมืองของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ [[14 ตุลา]] และ [[6 ตุลา]].
'''มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์''' ([[ภาษาอังกฤษ|อังกฤษ]]: Thammasat University) ก่อตั้งเมื่อวันที่ [[27 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2477]] โดยมีจุดประสงค์เป็นเพื่อเป็น[[ตลาดวิชา]] เพื่อการศึกษาด้าน[[กฎหมาย]]และ[[การเมือง]] สำหรับประชาชนทั่วไป เมื่อเริ่มก่อตั้งใช้ชื่อว่า '''มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง''' เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับ 2 ของ[[ประเทศไทย]] และมีประวัติศาสตร์ผูกพันกับพัฒนาการทางการเมืองของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ [[14 ตุลา]] และ [[6 ตุลา]]


'''วันที่ 8 พฤศจิกายน 2490''' คณะรัฐประหาร ได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศ ด้วยเหตุผลทาง[[การเมือง]] และ[[การปกครอง]]ของคณะรัฐประหาร ทำให้มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบ และถูกเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ผู้ประศาสน์การ [[ปรีดี พนมยงค์]] ต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ ชื่อมหาวิทยาลัยถูกตัดคำว่า'''การเมือง'''ออก เปลี่ยนเป็น '''มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์''' ตำแหน่งผู้ประศาสน์การถูกยกเลิก เปลี่ยนเป็นอธิการบดี หลักสูตรการศึกษาธรรมศาสตร์บัณฑิต ถูกเปลี่ยนแปลงเป็น [[นิติศาสตร์]], [[รัฐศาสตร์]],[[ เศรษฐศาสตร์]],[[ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี]] ความเป็นตลาดวิชาหมดไป ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2495
เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหารได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศ ด้วยเหตุผลทาง[[การเมือง]]และ[[การปกครอง]]ของคณะรัฐประหาร ทำให้มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบโดยตรง ผู้ประศาสน์การ [[ปรีดี พนมยงค์]] ต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ ชื่อมหาวิทยาลัยถูกตัดคำว่า''การเมือง''ออก เป็น ''มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์'' ตำแหน่ง[[ผู้ประศาสน์การ]]ถูกยกเลิก เปลี่ยนเป็น[[อธิการบดี]] หลักสูตรการศึกษาธรรมศาสตร์บัณฑิต ถูกเปลี่ยนแปลงเป็น [[นิติศาสตร์]], [[รัฐศาสตร์]], [[ เศรษฐศาสตร์]], [[ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี]] ความเป็นตลาดวิชาหมดไป ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2495


นับตั้งแต่ [[พ.ศ. 2477]] มีนักศึกษากว่า 240,000 คนเข้าศึกษากับมหาวิทยาลัย รวมถึงรัฐมนตรีแรกของประเทศไทย, นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ระดับสูง, ผู้อำนวยการ[[ธนาคารแห่งประเทศไทย]], รวมทั้งนักการเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ สาขาวิชาด้านเศรษฐศาสตร์ กฏหมาย ธุรกิจ และรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนั้นอยู่ในอันดับต้น ๆ ของภูมิภาค[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] และเมื่อไม่นานนี้ นักศึกษาในโครงการวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาการตลาด (MIM) ได้ชนะการแข่งขันแผนธุรกิจ [[Global Moot Corp|Global Moot Corp 2005]] ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับโลก โดย [[McCombs School of Business]] ของ[[มหาวิทยาลัยเท็กซัส]]เป็นผู้จัด
มหาวิทยาลัยเป็นสมาชิกของเครือข่าย [[LAOTSE]] ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำใน[[ทวีปเอเชีย|เอเชีย]]และ[[ทวีปยุโรป|ยุโรป]] ตามกรอบความร่วมมือ[[การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป|อาเซม]] รวมทั้งเป็นสมาชิกของ[[เครือข่ายการศึกษาและวิจัยในลุ่มแม่น้ำโขง]] (GMSARN) อีกด้วย


มหาวิทยาลัยเป็นสมาชิกของเครือข่าย [[LAOTSE]] ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำใน[[ทวีปเอเชีย|เอเชีย]]และ[[ทวีปยุโรป|ยุโรป]] ตามกรอบความร่วมมือ[[การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเอเชีย-ยุโรป|อาเซม]] รวมทั้งเป็นสมาชิกของ[[เครือข่ายการศึกษาและวิจัยในลุ่มแม่น้ำโขง]] (GMSARN) อีกด้วย
ตั้งแต่ [[พ.ศ. 2477]], มีนักศึกษากว่า 240,000 คนเข้าศึกษากับมหาวิทยาลัย รวมถึงรัฐมนตรีแรกของประเทศไทย, นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ระดับสูง, ผู้อำนวยการ[[ธนาคารแห่งประเทศไทย]], รวมทั้งนักการเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ สาขาวิชาด้านเศรษฐศาสตร์ กฏหมาย ธุรกิจ และรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนั้นอยู่ในอันดับต้น ๆ ของภูมิภาค[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] และเมื่อไม่นานนี้ นักศึกษาในโครงการวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาการตลาด (MIM) ได้ชนะการแข่งขันแผนธุรกิจ [[Global Moot Corp|Global Moot Corp 2005]] ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับโลก โดย [[McCombs School of Business]] ของ[[มหาวิทยาลัยเท็กซัส]]เป็นผู้จัด


==วิทยาเขต==
==วิทยาเขต==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:00, 24 ธันวาคม 2548

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ตราประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
คติพจน์เป็นเลิศ เป็นธรรม ร่วมนำสังคม (ทางการ),
ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์ สอนให้ฉันรักประชาชน (ไม่เป็นทางการ)
ประเภทรัฐบาล
สถาปนาพ.ศ. 2477

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อังกฤษ: Thammasat University) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีจุดประสงค์เป็นเพื่อเป็นตลาดวิชา เพื่อการศึกษาด้านกฎหมายและการเมือง สำหรับประชาชนทั่วไป เมื่อเริ่มก่อตั้งใช้ชื่อว่า มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และมีประวัติศาสตร์ผูกพันกับพัฒนาการทางการเมืองของประเทศมาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ 14 ตุลา และ 6 ตุลา

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหารได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศ ด้วยเหตุผลทางการเมืองและการปกครองของคณะรัฐประหาร ทำให้มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบโดยตรง ผู้ประศาสน์การ ปรีดี พนมยงค์ ต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ ชื่อมหาวิทยาลัยถูกตัดคำว่าการเมืองออก เป็น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตำแหน่งผู้ประศาสน์การถูกยกเลิก เปลี่ยนเป็นอธิการบดี หลักสูตรการศึกษาธรรมศาสตร์บัณฑิต ถูกเปลี่ยนแปลงเป็น นิติศาสตร์, รัฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์, พาณิชยศาสตร์และการบัญชี ความเป็นตลาดวิชาหมดไป ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2495

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2477 มีนักศึกษากว่า 240,000 คนเข้าศึกษากับมหาวิทยาลัย รวมถึงรัฐมนตรีแรกของประเทศไทย, นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ระดับสูง, ผู้อำนวยการธนาคารแห่งประเทศไทย, รวมทั้งนักการเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ สาขาวิชาด้านเศรษฐศาสตร์ กฏหมาย ธุรกิจ และรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนั้นอยู่ในอันดับต้น ๆ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเมื่อไม่นานนี้ นักศึกษาในโครงการวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาการตลาด (MIM) ได้ชนะการแข่งขันแผนธุรกิจ Global Moot Corp 2005 ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับโลก โดย McCombs School of Business ของมหาวิทยาลัยเท็กซัสเป็นผู้จัด

มหาวิทยาลัยเป็นสมาชิกของเครือข่าย LAOTSE ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำในเอเชียและยุโรป ตามกรอบความร่วมมืออาเซม รวมทั้งเป็นสมาชิกของเครือข่ายการศึกษาและวิจัยในลุ่มแม่น้ำโขง (GMSARN) อีกด้วย

วิทยาเขต

ในปี พ.ศ. 2492 มหาวิทยาลัยได้ขยายเป็น 4 สาขาวิชา คือ นิติศาสตร์, พาณิชยศาสตร์และการบัญชี, รัฐศาสตร์, และเศรษฐศาสตร์ ปัจจุบันมีสาขาวิชาครอบคลุมด้าน สังคมศาสตร์, มนุษยศาสตร์, วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ, วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี, และวิทยาศาสตร์สุขภาพ รวมทั้งขยายวิทยาเขตเป็นทั้งหมด 6 วิทยาเขต ได้แก่:

ศูนย์ท่าพระจันทร์

ตั้งอยู่ในบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาและสนามหลวง มีเนื้อที่ 49 ไร่. เป็นศูนย์แรกของมหาวิทยาลัยตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เดิมบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของวังหน้า (พระราชวังบวรสถานมงคล). ศูนย์ท่าพระจันทร์แห่งนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2519 เป็นสถานที่ที่นักศึกษาและประชาชนได้มาชุมชนประท้วงกัน กรณี จอมพลประภาส จารุเสถียร เดินทางกลับมาประเทศไทย (หลังลี้ภัยออกนอกประเทศไปเมื่อสิ้นสุดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516) และนำไปสู่เหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษาและประชาชน เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ยังผลให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 300 คน. ปัจจุบัน ศูนย์นี้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน สำหรับกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. โดยทางมหาวิทยาลัย มีแผนที่จะย้ายการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีทั้งหมด ไปที่ศูนย์รังสิต ภายในปี พ.ศ. 2549

ศูนย์รังสิต

เป็นศูนย์ที่ใหญ่ที่สุด มีเนื้อที่ 2,744 ไร่ ตั้งอยู่ใน อ. คลองหลวง จ. ปทุมธานี ห่างจากกรุงเทพฯ ไปทางเหนือประมาณ 42 ก.ม. อยู่ในพื้นที่ที่เรียกว่า "กลุ่มวิสาหกิจเทคโนโลยีกรุงเทพตอนบน" โดยมีเพื่อนบ้านติดกันได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีสวนอุตสาหกรรมจำนวนมากในพื้นที่ใกล้เคียง. ศูนย์รังสิตก่อตั้งโดยวิสัยทัศน์ของ อ. ป๋วย อึ๊งภากรณ์ อธิการบดีในขณะนั้น ที่เห็นว่าในการพัฒนาประเทศนั้น จะขาดบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่ได้ จึงได้เปิดคณะวิทยาศาสตร์ขึ้นเป็นคณะแรกที่ศูนย์รังสิต. ปัจจุบัน ศูนย์นี้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน สำหรับกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์สุขภาพ. สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ก็ตั้งอยู่ในศูนย์นี้

ศูนย์อื่น ๆ ได้แก่

ศูนย์ถาวร-อุษา พรประภา
ตั้งอยู่ที่ อ. บางละมุง จ. ชลบุรี มีพื้นที่ 565 ไร่. เป็นที่ตั้งของ วิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา
ศูนย์ลำปาง
ตั้งอยู่ที่จังหวัดลำปาง มีพื้นที่ 365 ไร่
ศูนย์นราธิวาส
ตั้งอยู่ที่จังหวัดนราธิวาส
ศูนย์อุดรธานี
ตั้งอยู่ที่จังหวัดอุดรธานี

สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

หน่วยงานจัดการเรียนการสอน

โดมท่าพระจันทร์

หน่วยงานวิชาการอื่น ๆ

  • สำนักหอสมุด
  • สำนักเสริมศึกษาและบริการสังคม
  • สถาบันไทยคดีศึกษา
  • สถาบันประมวลข้อมูลเพื่อการศึกษาและการพัฒนา
  • สถาบันทรัพยากรมนุษย์
  • สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา
  • สถาับันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • สถาบันสัญญา ธรรมศักดิ์ เพื่อประชาธิปไตย

บุคคลที่มีชื่อเสียงที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย

ดูรายละเอียดที่ บุคคลที่มีชื่อเสียงที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ลิงก์ภายนอก