ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าจอมมารดาอำพัน ในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 2: บรรทัด 2:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
ท่านเป็นธิดาเจ้าอุปราชจันทร์ (ครั้นตั้งเจ้าชุมนุมงก๊กต่างๆ สมัยกรุงศรีอยุธยาแตก) แห่งนครศรีธรรมราช ซึ่งต่อมาโปรดเกล้าฯมีบรรดาศักดิ์เป็นที่เจ้าพระยาสุรินทรราชา ข้าหลวงสำเร็จราชการอยู่เมืองถลาง กำกับราชการหัวเมืองทะเลหน้านอก ๘ หัวเมืองมาก่อนแล้ว ต่อมาเป็นอุปราชเมืองนครศรีธรรมราชในภายหลัง
ท่านเป็นธิดาเจ้าอุปราชจันทร์ (ครั้นตั้งเจ้าชุมนุมงก๊กต่าง ๆ สมัยกรุงศรีอยุธยาแตก) แห่งนครศรีธรรมราช ซึ่งต่อมาโปรดเกล้าฯ มีบรรดาศักดิ์เป็นที่เจ้าพระยาสุรินทรราชา ข้าหลวงสำเร็จราชการอยู่เมืองถลาง กำกับราชการหัวเมืองทะเลหน้านอก ๘ หัวเมืองมาก่อนแล้ว ต่อมาเป็นอุปราชเมืองนครศรีธรรมราชในภายหลัง
เจ้าพระยาสุรินทรราชา อุปราชเมืองนครศรีธรรมราช บุรพชนเป็นพราหมณ์มาแต่อินเดียตัวท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ ของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่) ผู้มีชื่อเสียงในรัชสมัยแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศครั้งกรุงศรีอยุธยา ท่านเองเป็นต้นสกุล “จันทโรจวงศ์” ท่านมีภริยาหลายคน ได้มีบุตรหลานแตกสกุลออกหลายสาย เช่น “บุรณศิริ” “ศิริวัฒนกุล” “ชัชกุล” บุตรชายคนหนึ่งของท่านชื่อ “ฤกษ์” ตกค้างอยู่เมืองถลางได้ภรรยาเป็นหลานตัวของ[[ท้าวเทพกระษัตรี]]ชื่อ พุ่ม ภายหลังนายฤกษ์ รับราชการบรรดาศักดิ์ได้เป็นที่พระยาถลาง
เจ้าพระยาสุรินทรราชา อุปราชเมืองนครศรีธรรมราช บุรพชนเป็นพราหมณ์มาแต่อินเดียตัวท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ ของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่) ผู้มีชื่อเสียงในรัชสมัยแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศครั้งกรุงศรีอยุธยา ท่านเองเป็นต้นสกุล “จันทโรจวงศ์” ท่านมีภริยาหลายคน ได้มีบุตรหลานแตกสกุลออกหลายสาย เช่น “บุรณศิริ” “ศิริวัฒนกุล” “ชัชกุล” บุตรชายคนหนึ่งของท่านชื่อ “ฤกษ์” ตกค้างอยู่เมืองถลางได้ภรรยาเป็นหลานตัวของ[[ท้าวเทพกระษัตรี]]ชื่อ พุ่ม ภายหลังนายฤกษ์ รับราชการบรรดาศักดิ์ได้เป็นที่พระยาถลาง



รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:12, 11 ตุลาคม 2563

เจ้าจอมมารดาอำพัน จันทโรจวงศ์ พระสนมในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

ประวัติ

ท่านเป็นธิดาเจ้าอุปราชจันทร์ (ครั้นตั้งเจ้าชุมนุมงก๊กต่าง ๆ สมัยกรุงศรีอยุธยาแตก) แห่งนครศรีธรรมราช ซึ่งต่อมาโปรดเกล้าฯ มีบรรดาศักดิ์เป็นที่เจ้าพระยาสุรินทรราชา ข้าหลวงสำเร็จราชการอยู่เมืองถลาง กำกับราชการหัวเมืองทะเลหน้านอก ๘ หัวเมืองมาก่อนแล้ว ต่อมาเป็นอุปราชเมืองนครศรีธรรมราชในภายหลัง เจ้าพระยาสุรินทรราชา อุปราชเมืองนครศรีธรรมราช บุรพชนเป็นพราหมณ์มาแต่อินเดียตัวท่านเป็นบุตรคนที่ ๓ ของเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่) ผู้มีชื่อเสียงในรัชสมัยแผ่นดินพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศครั้งกรุงศรีอยุธยา ท่านเองเป็นต้นสกุล “จันทโรจวงศ์” ท่านมีภริยาหลายคน ได้มีบุตรหลานแตกสกุลออกหลายสาย เช่น “บุรณศิริ” “ศิริวัฒนกุล” “ชัชกุล” บุตรชายคนหนึ่งของท่านชื่อ “ฤกษ์” ตกค้างอยู่เมืองถลางได้ภรรยาเป็นหลานตัวของท้าวเทพกระษัตรีชื่อ พุ่ม ภายหลังนายฤกษ์ รับราชการบรรดาศักดิ์ได้เป็นที่พระยาถลาง

พระราชโอรสและพระราชธิดา

เจ้าจอมมารดาอำพัน มีพระราชโอรส ๑ พระองค์ พระราชธิดา ๑ พระองค์ คือ

๑. พระองค์เจ้าชายอรนิกา ถูกสำเร็จโทษฐานกบฏ พร้อมกับพระอนุชาต่างพระมารดาของพระองค์คือ สมเด็จเจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์ กรมขุนกษัตรานุชิต เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒ ไม่มีวงสายสืบราชสกุล

๒. เจ้าจอมมารดาพระองค์เจ้าสำลีวรรณ ในกรุงรัตนโกสินทร์ได้เป็นพระชายาของกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ (สมเด็จเจ้าฟ้าจุ้ย พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯและสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี) สมเด็จพระมหาอุปราชวังหน้า รัชกาลที่ ๒ มีพระโอรสและพระธิดากับกรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ ๖ พระองค์ องค์หนึ่งคือ พระองค์เจ้าชายพงศ์อิศเรศร์ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช ต้นราชสกุล “อิศรเสนา ”>> เจ้าจอมมารดาพระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณ ถูกสำเร็จโทษฐานพร้อมกับสมเด็จเจ้าฟ้าสุพันธุวงศ์ กรมขุนกษัตรานุชิต พระอนุชาต่างพระมารดา โทษฐานกบฏ คราวเดียวกันกับพระเชษฐาพระอนุชาและเจ้าหลานหลายพระองค์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๒

อ้างอิง

  • ธำรงศักดิ์ อายุวัฒนะ. ราชสกุลจักรีวงศ์ และราชสกุลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2544. 490 หน้า. ISBN 974-222-648-2
  • เล็ก พงษ์สมัครไทย. พระญาติ ราชสกุลกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ข้าวฟ่าง, พ.ศ. 2549. 160 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-9687-35-3