ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชายา ต้องเป็นหม่อมเจ้าหญิง ใช้เรียกหม่อมเจ้าหญิงที่ทรงเป็นภรรยาในเจ้านายฝ่ายหน้า ถ้าสูงกว่าหม่อมเจ้าหญิง (พระองค์เจ้าหญิงขึ้นไป) จะเรียกว่า พระชายา ถ้าเป็นหม่อมราชวงศ์หญิงลงมาจะเรียกว่าหม่อม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 3: บรรทัด 3:
| image = ยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา.jpg
| image = ยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา.jpg
| caption =
| caption =
| birth_name =
| birth_name = ยี่สุ่น มังกรพันธ์
| birth_date = [[5 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2436]]
| birth_date = 5 มีนาคม พ.ศ. 2436
| birth_place =
| birth_place =
| death_date = {{วันตายและอายุ|2529|3|16|2436|3|5}}
| death_date = {{วันตายและอายุ|2529|3|16|2436|3|5}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:37, 7 ตุลาคม 2563

ยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
เกิดยี่สุ่น มังกรพันธ์
5 มีนาคม พ.ศ. 2436
เสียชีวิต16 มีนาคม พ.ศ. 2529 (93 ปี)
คู่สมรสหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์
บุตร4 คน
บิดามารดาศาสนาจารย์กิมเฮง มังกรพันธ์
นางทองอยู่ มังกรพันธ์

ยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (5 มีนาคม พ.ศ. 2436 - 16 มีนาคม พ.ศ. 2529) (นามเดิม:ยี่สุ่น มังกรพันธ์) เป็นบุตรีของศาสนาจารย์กิมเฮง มังกรพันธ์ และนางทองอยู่ (จากสกุลปักษานนท์) เกิดเมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2436 ได้รับการศึกษาที่โรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (ปัจจุบันคือ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย) สมรสกับหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ โอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ ซึ่งสำเร็จวิชาแพทย์จากยุโรปท่านแรกของเมืองไทย มีบุตรธิดาด้วยกัน 4 คน คือ หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล (หม่อมในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล) หม่อมหลวงซัง สนิทงศ์ และหม่อมหลวงพวงร้อย อภัยวงศ์ และหม่อมหลวงคงคา สนิทวงศ์[1] ยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยาเป็นพระปัยยิกา (ทวด) ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ

หม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์และคุณยี่สุ่น เมื่อ พ.ศ. 2467

ความสามารถทางด้านภาษาต่างประเทศของคุณยี่สุ่น นับว่าดีมากจากพื้นฐานที่ได้รับการสอนจากโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง และจากการที่ต้องติดตามสามีคือหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ สนิทวงศ์ ซึ่งเป็นแพทย์ไปในหลายสถานที่ในภารกิจหลายๆ ด้าน ทั้งงานสังคมที่ต้องติดต่อกับชาวต่างประเทศ และงานในท้องถิ่นทุรกันดารซึ่งหม่อมราชวงศ์สุวพันธุ์ต้องไปตรวจรักษาผู้เจ็บป่วย ด้วยคุณยี่สุ่นท่านเป็นผู้หญิงสมัยใหม่ที่มีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษอย่างดีเยี่ยม จึงสามารถอ่านสลากยาภาษาอังกฤษ และรู้จักเครื่องมือแพทย์ต่างๆ เป็นอย่างดี

ยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2529 ในรัชกาลที่ 9 ด้วยโรคชราในวัย 93 ปี[2] พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันเสาร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2529

อ้างอิง

  1. อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา จากเว็บไซต์ lungkitti.tarad.com. สืบค้นเมื่อ 26-02-57.
  2. ตำราอาหารของคุณยี่สุ่น สนิทวงศ์ ณ อยุธยา จากเว็บไซต์เรือนไทย. สืบค้นเมื่อ 26-02-57.