ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประมาณ อดิเรกสาร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Suwarode (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
Suwarode (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขขั้นสูงด้วยอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 98: บรรทัด 98:
{{ม.ป.ช.|2518}}<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/D/263/46.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์] ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖ เล่ม ๙๒ ตอน ๒๖๓, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘</ref>
{{ม.ป.ช.|2518}}<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2518/D/263/46.PDF แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์] ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖ เล่ม ๙๒ ตอน ๒๖๓, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘</ref>
{{ม.ว.ม.|2497}}<ref>ราชกิจจานุเบกษา,[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2497/D/084/2807.PDF แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์] หน้า ๒๘๐๘ เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔, ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๗</ref>
{{ม.ว.ม.|2497}}<ref>ราชกิจจานุเบกษา,[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2497/D/084/2807.PDF แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์] หน้า ๒๘๐๘ เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔, ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๗</ref>
{{ท.จ.ว.|2525}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2525/D/076/16.PDF ราชกิจจานุเบกษา แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์] ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖ เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๗๖ ๓ มิถุนายน ๒๕๒๕ </ref>
{{ท.จ.ว.ฝ่ายหน้า|2525}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2525/D/076/16.PDF ราชกิจจานุเบกษา แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์] ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖ เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๗๖ ๓ มิถุนายน ๒๕๒๕ </ref>
{{จ.ภ.|2540}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/B/029/1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์]</ref>
{{จ.ภ.|2540}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2540/B/029/1.PDF ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์]</ref>
{{พ.ร.ธ.|2477}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2532/D/118/2.PDF บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ] (เป็นบำเหน็จในการปราบกบฏ) เล่ม 51, 7 ตุลาคม พ.ศ. 2477, หน้า 2189</ref>
{{พ.ร.ธ.|2477}}<ref>[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2532/D/118/2.PDF บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ] (เป็นบำเหน็จในการปราบกบฏ) เล่ม 51, 7 ตุลาคม พ.ศ. 2477, หน้า 2189</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:35, 7 ตุลาคม 2563

ประมาณ อดิเรกสาร
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
14 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ก่อนหน้านายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์
ถัดไปนายทวิช กลิ่นประทุม
ดำรงตำแหน่ง
20 เมษายน พ.ศ. 2519 – 23 กันยายน พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้านายบุญเท่ง ทองสวัสดิ์
ถัดไปนายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์
ดำรงตำแหน่ง
25 กันยายน พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้าพลอากาศเอก ทวี จุลละทรัพย์
ถัดไปนายเสวตร เปี่ยมพงศ์สานต์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ดำรงตำแหน่ง
9 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 9 มกราคม พ.ศ. 2533
นายกรัฐมนตรีชาติชาย ชุณหะวัณ
ก่อนหน้าพลเอก ประจวบ สุนทรางกูร
ถัดไปนายบรรหาร ศิลปอาชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ดำรงตำแหน่ง
17 มีนาคม พ.ศ. 2518 – 12 มกราคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
ก่อนหน้าพลเอก ทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา
ถัดไปพลเอก กฤษณ์ สีวะรา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ดำรงตำแหน่ง
20 เมษายน พ.ศ. 2519 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้านายทวิช กลิ่นประทุม
ถัดไปนายอินทรีย์ จันทรสถิตย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
ดำรงตำแหน่ง
31 มีนาคม พ.ศ. 2500 – 16 กันยายน พ.ศ. 2500
นายกรัฐมนตรีจอมพล ป. พิบูลสงคราม
ก่อนหน้าพลโท บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา
ถัดไปพลเอก หลวงสวัสดิ์กลยุทธ (สวัสดิ์ ไกรฤกษ์)
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
ดำรงตำแหน่ง
สมัยที่ 1
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529
(ยุบสภา)
ก่อนหน้าหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช
ถัดไปพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ดำรงตำแหน่ง
สมัยที่ 2
30 ตุลาคม พ.ศ. 2535 – 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2537
ก่อนหน้าพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ
ถัดไปนายบรรหาร ศิลปอาชา
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด31 ธันวาคม พ.ศ. 2456
จังหวัดสระบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต20 สิงหาคม พ.ศ. 2553 (96 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพรรคชาติไทย
คู่สมรสท่านผู้หญิงเจริญ อดิเรกสาร (ชุณหะวัณ)
ลายมือชื่อไฟล์:ลายเซ็น ประมาณ อดิเรกสาร.png
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ยศ พลเอก
ไฟล์:Thai police O9.png พลตำรวจเอก
นายกองใหญ่

พลเอก พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร (31 ธันวาคม พ.ศ. 2456 - 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553) นักการเมืองไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เคยเป็นสมาชิกพรรคเสรีมนังคศิลา เมื่อ พ.ศ. 2500 เป็นผู้ก่อตั้งพรรคชาติไทยร่วมกับ พลตรีศิริ สิริโยธิน และพลตรีชาติชาย ชุณหะวัณ (ยศในขณะนั้น) เมื่อ พ.ศ. 2517

ประวัติ

ประมาณ อดิเรกสาร เกิดเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี เป็นบุตรของนายเน้ย และนางจี้ อดิเรกสาร มีพี่น้อง คือ คุณหญิงสอาด ปุณณกันต์ (2449-2525) นางสาวตวงพร อดิเรกสาร(ถึงแก่กรรมเมื่อ 2546) และพลตำรวจเอกประมาณ อดิเรกสาร

ประมาณ อดิเรกสาร จบการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์ และโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รับราชการเป็นนายทหารปืนใหญ่ กองทัพบก ลพบุรี ยศสูงสุดเป็นพลตรี เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ในปี พ.ศ. 2494[1] รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย[2][3] รัฐมนตรีช่วยว่าการและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม[4][5] ระหว่าง พ.ศ. 2494-2500 ในคณะรัฐมนตรีซึ่งมีจอมพลแปลก พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี พ้นจากตำแหน่งจากการรัฐประหาร 16 กันยายน พ.ศ. 2500 นำโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

พลตรีประมาณ ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[6] เป็นรองนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2518[7] และ พ.ศ. 2519 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[8] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[9] อีกสมัยหนึ่ง แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่[10]

ในปี พ.ศ. 2523 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์[11]

พลตรีประมาณ ได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศเป็น พลตำรวจเอก เป็นกรณีพิเศษเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย [12] จนกระทั่งวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2533 พลตรีประมาณได้รับโปรดเกล้าฯ พระราชทานยศ พลเอก เป็นกรณีพิเศษ [13]

ในปี พ.ศ. 2533 เขาได้สลับไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สลับกับนายบรรหาร ศิลปอาชา[14] และในรัฐบาลต่อมาของพลเอก ชาติชาย เขาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[15]

พลตำรวจเอกประมาณ อดิเรกสาร สมรสกับท่านผู้หญิงเจริญ อดิเรกสาร (ชุณหะวัณ) พี่สาวของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ มีบุตรชายรวมกัน 3 คน คือ นายปองพล อดิเรกสาร, นายยงยศ อดิเรกสาร และ นายวีระพล อดิเรกสาร

งานอุตสาหกรรม

พลตำรวจเอกประมาณ อดิเรกสาร เป็นผู้บุกเบิกวงการอุตสาหกรรม ด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอของไทย และเคยได้รับการเลือกตั้งให้เป็นนายกสมาคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ปัจจุบันคือ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย)

การเสียชีวิต

พลตำรวจเอกประมาณ อดิเรกสาร ถึงแก่อนิจกรรม เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ด้วยโรคหัวใจล้มเหลวและอาการไตวาย ที่โรงพยาบาลวิชัยยุทธ สิริอายุได้ 96 ปี 232 วัน[16]

รางวัลและเกียรติยศ

พลเอก พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร ได้รับพระราชทานยศนายกองใหญ่แห่งกองอาสารักษาดินแดนเป็น พลเอก พลตำรวจเอก นายกองใหญ่ ประมาณ อดิเรกสาร เมื่อ พ.ศ. 2531[17]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒
  2. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรีช่วยว่าการ (จำนวน ๘ ราย)
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  4. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
  5. คณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
  6. พระบรมราชโองการ แต่งตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  7. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๒๖ ราย)
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)
  9. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)เล่ม ๘๓ ตอนที่ ๑๑๙ก วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
  10. ราชกิจจานุเบกษา, แถลงการณ์ของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน (แถลงการณ์การยึดอำนาจการปกครอง) เล่ม ๙๓ ตอนที่ ๑๒๐ วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙
  11. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๗ ราย)
  12. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 106 ตอน 22 ง หน้า 1 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532
  13. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหาร (พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๘ ตอน ๒ ข หน้า ๑๔๒ ๓ มกราคม ๒๕๓๔
  14. พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่ง และตั้งรัฐมนตรี (๑.นายบรรหาร ศิลปอาชา พ้นจากตำแหน่ง รมต.กระทรวงอุตสาหกรรม เป็น รมต.กระทรวงมหาดไทย ๒.พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร พ้นจากตำแหน่ง รมต. กระทรวงมหาดไทย เป็น รมต. กระทรวงอุตสาหกรรม)
  15. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๕ ราย)
  16. "ประมาณ อดิเรกสาร"เสียชีวิตแล้วหัวใจล้มเหลวจากคมชัดลึก
  17. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2531/D/173/4.PDF
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๔๖ เล่ม ๙๒ ตอน ๒๖๓, ๒๖ ธันวาคม ๒๕๑๘
  19. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งความสำนักคณะรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๒๘๐๘ เล่ม ๗๑ ตอนที่ ๘๔, ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๗
  20. ราชกิจจานุเบกษา แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖ เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๗๖ ๓ มิถุนายน ๒๕๒๕
  21. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
  22. บัญชีรายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญพิทักษ์รัฐธรรมนูญ (เป็นบำเหน็จในการปราบกบฏ) เล่ม 51, 7 ตุลาคม พ.ศ. 2477, หน้า 2189
  23. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ เล่ม ๑๐๖ ตอน ๑๑๘ ง ฉบับพิเศษ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ หน้า ๒