ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แรกนาขวัญ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
การสอบถามทางโทรศัพท์ ??
บรรทัด 82: บรรทัด 82:
* พ.ศ. 2562 ตรงกับ พฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม (ขึ้น 6 ค่ำเดือน 6)<ref>[http://www.thaiall.com/calendar/calendar62.htm วันหยุด พ.ศ. 2562]</ref>
* พ.ศ. 2562 ตรงกับ พฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม (ขึ้น 6 ค่ำเดือน 6)<ref>[http://www.thaiall.com/calendar/calendar62.htm วันหยุด พ.ศ. 2562]</ref>
* พ.ศ. 2563 ตรงกับ จันทร์ที่ 11 พฤษภาคม (แรม 5 ค่ำ เดือน 6)
* พ.ศ. 2563 ตรงกับ จันทร์ที่ 11 พฤษภาคม (แรม 5 ค่ำ เดือน 6)
* พ.ศ. 2564 ตรงกับ จันทร์ที่ 10 พฤษภาคม (แรม 14 ค่ำ เดือน 6)<ref>สำนักพระราชวัง. (การสอบถามทางโทรศัพท์) 18 กันยายน 2563</ref>
* พ.ศ. 2564 ตรงกับ จันทร์ที่ 10 พฤษภาคม (แรม 14 ค่ำ เดือน 6)


==ประเทศกัมพูชา==
==ประเทศกัมพูชา==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:34, 27 กันยายน 2563

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญที่กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2552
ชื่อทางการ
  • พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (ไทย)
  • ព្រះរាជពិធីបុណ្យច្រត់ព្រះនង្គ័ល เปรี๊ยะเรียจเพียะถีจร๊อดเปรี๊ยะเนียงก็วล (กัมพูชา)
  • වප් මඟුල් Vap Magula (ศรีลังกา)[1]
  • பொன்னேர் உழுதல் "Ponner Uzhuthal" (รัฐทมิฬนาฑู, อินเดีย - Ploughing with the golden plough [2].
ชื่ออื่นวันพืชมงคล
วันเกษตรกร
จัดขึ้นโดยไทย, กัมพูชา และ ศรีลังกา
ประเภทวันสำคัญประจำชาติในประเทศไทยและกัมพูชา
เทศกาลท้องถิ่นในศรีลังกา
ความสำคัญเป็นจุดเริ่มต้นของฤดูปลูกข้าว
การถือปฏิบัติการไถนา
ภาพวาดในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 แสดงพิธีแรกนาขวัญในพม่า

แรกนาขวัญ (อังกฤษ: Ploughing Ceremony; เขมร: ព្រះរាជពិធីបុណ្យច្រត់ព្រះនង្គ័ល; สิงหล: වප් මඟුල්; พม่า: လယ်ထွန်မင်္ဂလာ Lehtun Mingala หรือ မင်္ဂလာလယ်တော် Mingala Ledaw) เป็นพิธีกรรมที่พบเห็นได้ในหลายประเทศทางแถบเอเชีย จัดขึ้นเพื่อเริ่มต้นฤดูการปลูกข้าวแบบดั้งเดิม

ในประเทศไทย การแรกนาขวัญซึ่งกระทำโดยราชสำนักนั้นประกอบด้วยพิธีสองอย่างตามลำดับ คือ พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีพุทธซึ่งตั้งขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ กับพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีพราหมณ์ซึ่งกระทำสืบเนื่องมาแต่สมัยสุโขทัย[ต้องการอ้างอิง] ปัจจุบัน เรียกวันแรกนาขวัญว่า วันพืชมงคล ซึ่งจัดไม่ตรงกันทุกปีสุดแต่สำนักพระราชวังจะกำหนด วันพืชมงคลยังเป็นวันเกษตรกรไทย เพื่อระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรรมในเศรษฐกิจไทย และเป็นวันหยุดราชการด้วย แต่ไม่เป็นวันหยุดธนาคาร

ประเทศไทย

พระราชพิธีพืชมงคล

เป็นพิธีทางพุทธศาสนา มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎทรงกำหนดให้มีขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่ว งา เป็นต้น ฯลฯ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ปราศจากโรคภัยและให้อุดมสมบูรณ์เจริญงอกงามดี

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

เป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ เป็นพิธีพราหมณ์มีมาแต่โบราณ เป็นพิธีเริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว พระราชพิธีทั้งสองนี้ ได้กระทำเต็มรูปแบบมาเรื่อย ๆ จนถึงปี พ.ศ. 2479 ได้เว้นไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ด้วยสถานการณ์โลกและบ้านเมืองอยู่ในภาวะที่ไม่สมควรจะจัดงานใด ๆ จึงว่างเว้นไป 10 ปี ต่อมาทางราชการพิจารณาเห็นว่าประเทศไทย เป็นประเทศกสิกรรม โดยเฉพาะทำนาควรจะได้ฟื้นฟู ประเพณีเก่าอันเป็นมงคลแก่การเพาะปลูก ดังนั้น ใน พ.ศ. 2490 จึงกำหนดให้มีพิธีพีชมงคลขึ้นอีก แต่มีแค่พระราชพิธีพืชมงคลเท่านั้น (พิธีเต็มรูปแบบว่างเว้นไปถึง 23 ปี) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2503 จึงจัดให้มีราชพิธีจรดพระนาคัลแรกนาขวัญร่วมกับพิธีพืชมงคลนับแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้จึงจัดให้เป็นวันสำคัญของชาติ

การประกอบพระราชพิธีพืชมงคล (วันที่หนึ่ง)

เป็นพระราชพิธีทางสงฆ์โดยจะประกอบพระราชพิธีในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระบรมมหาราชวัง โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เสด็จพระราชดำเนินขึ้นสู่พระอุโบสถ ทรงจุด ธูป เทียน ถวายนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระพุทธรูปที่สำคัญ พระราชาคณะถวายศีลจบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุหร่าย ถวายดอกไม้บูชา พระคันธาราษฎร์ ทรงอธิษฐานเพื่อความสมบูรณ์แห่งพืชผลของประเทศไทย แล้วพระมหาราชครู ประธานคณะพราหมณ์ อ่านประกาศพระราชพิธีพืชมงคล พระสงฆ์ 11 รูป เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหลั่งน้ำสังข์ พระราชทานใบมะตูม ทรงเจิม พระราชทานธำมรงค์ กับพระแสงปฎัก สำหรับตำแหน่งพระยาแรกนาแก่ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แล้วทรงหลั่งน้ำสังข์ พระราชทานใบมะตูม ทรงเจิมแก่เทพีผู้ที่จะเข้าในการพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ขณะนั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา พนักงานประโคมฆ้องชัย เครื่องดุริยางค์ หลังจากนั้นทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ออกจากพระอุโบสถเสด็จพระราชดำเนินกลับ

การประกอบพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันที่สอง)

พระโคแรกนาขวัญ
การประกอบพิธีไถหว่านในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

เป็นงานพระราชพิธีที่กระทำในตอนเช้าของรุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง ณ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งทำหน้าที่พระยาแรกนาพร้อมด้วยเทพีขึ้นรถยนต์หลวงที่หน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ออกจากพระบรมมหาราชวังทางประตูสวัสดิโสภา ถนนสนามไชยไปยังมณฑลพิธีท้องสนามหลวง เมื่อเดินทางมาถึงจะได้ตั้งกระบวนแห่อิสริยยศ แล้วเดินกระบวนแห่อิสริยยศไปส่งที่โรงพิธีพราหมณ์ พระยาแรกนาจุดธูปเทียนถวายสักการะเทวรูปสำคัญในโรงพิธีพรามณ์อันได้ เทวรูป พระอิศวร พระอุมาภควดี พระพรหม พระพิฆเนศ พระนารายณ์ พระลักษมี พระมเหศวรี และพระพลเทพ แล้วจะได้ตั้งสัตยาธิษฐาน หยิบผ้านุ่งแต่งกายไว้พร้อม เมื่อพระยาแรกนาตั้งสัตยาธิษฐานหยิบได้ผ้านุ่งผืนนั้นทับผ้านุ่งเดิมอีกชั้นหนึ่ง นุ่งอย่างบ่าวขุนเตรียมออกแรกนา

พระยาแรกนาขึ้นรถยนต์หลวงออกจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปยังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เทพีและข้าราชการ (แต่งเครื่องแบบเต็มยศประดับราชอิสริยาภรณ์) เชิญเครื่องยศขึ้นรถตามเป็นกระบวน เมื่อเข้าสู่พระอุโบสถแล้วพระยาแรกนาและเทพีจุดธูปเทียนถวายนมัสการบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แล้วไปที่ปราสาทพระเทพบิดรถวายสักการะพระบรมรูปสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราช แล้วไปขึ้นรถยนต์หลวง เป็นกระบวนออกจากจัดพระศรีรัตนศาสดารามไปยังท้องสนามหลวง

เวลา 7 นาฬิกา เจ้าพนักงานจัดตั้งริ้วกระบวนอิสริยยศตามประเพณีโบราณรับพระยาแรกนา พระยาแรกนาลงจากรถยนต์หลวงแล้วสวมลอมพอกเดินเข้าประจำที่ในกระบวนพร้อมด้วยคู่เคียง 2 ข้าง ๆ ละ 8 นาย ผู้เชิญเครื่องยศและเทพีจัดเป็นรูปกระบวนยาตราไปยังโรงพิธีพราหมณ์ ประโคมกลองชนะ สังข์ แตร ตลอดทาง

ครั้นเวลาประมาณ 08.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ไปยังพลับพลาที่ประทับบริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง เพื่อเป็นองค์ประธานในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

เมื่อถึงฤกษ์พิธีไถหว่าน ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งทำหน้าที่พระยาแรกนาจะได้ยาตราพร้อมเทพีออกจากโรงพิธีพราหมณ์ มีราชบัณฑิตและพราหมณ์นำผ่านพลับพลาหน้าพระที่นั่ง พระยาแรกนาเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายบังคม แล้วไปยังลานแรกนา เจ้าพนักงานจูงพระโคเทียมแอก พระยาแรกนาเจิมพระโคและคันไถ จับหางไถแล้วไถดะไปโดย ทักษิณาวรรต 3 รอบ ไถแปร 3 รอบ พร้อมหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวพนักงานประโคมฆ้องชัยเครื่องดุริยางค์ แล้วไถกลบอีก 3 รอบ เพื่อกลบเมล็ดพันธุ์ข้าวลงในดิน เสร็จแล้วพนักงานปลดพระโคออกจากแอก พระยาแรกนาและเทพีกลับไปยังโรงพิธีพราหมณ์

พราหมณ์เสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง ตั้งเลี้ยงพระโค เมื่อพระโคกินของสิ่งใดโหรหลวงจะถวายคำพยากรณ์ เสร็จแล้วจะเบิกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ตัวแทนสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ และปราชญ์เกษตรของแผ่นดินสาขาต่าง ๆ เข้ารับพระราชทานโล่เกียรติคุณ หลังจากนั้นจะได้แห่พระยาแรกนาเป็นกระบวนอิสริยยศออกจากโรงพิธีพราหมณ์ พระยาแรกนากราบถวายบังคมแล้วเข้ากระบวนไปขึ้นรถยนต์หลวงพร้อมด้วยเทพีไปรอเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ที่แปลงนาทดลองในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งออกจากพลับพลาพิธีไปยังแปลงนาทดลองในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา พระยาแรกนาเข้ากราบถวายบังคม พระยาแรกนาและเทพีนำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปหว่านในแปลงนาทดลอง เพื่อปลูกไว้ใช้ในพระราชพิธีในปีต่อไป เมื่อพระยาแรกนาหว่านข้าวเสร็จแล้ว เข้าไปกราบถวายบังคมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระบรมราชินีนาถ เป็นอันเสร็จพระราชพิธี

กำหนดวันพืชมงคล

กำหนดวันพืชมงคลในรอบ 10 ปี โดยสำนักพระราชวัง

หลังสิ้นสุดพระราชพิธีฯ ประชาชนจะเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวที่พระยาแรกนาหว่านไว้ (พ.ศ. 2552)
  • พ.ศ. 2555 ตรงกับ พุธที่ 9 พฤษภาคม (แรม 4 ค่ำเดือน 6)
  • พ.ศ. 2556 ตรงกับ จันทร์ที่ 13 พฤษภาคม (ขึ้น 4 ค่ำเดือน 6)
  • พ.ศ. 2557 ตรงกับ ศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม (ขึ้น 11 ค่ำเดือน 6)
  • พ.ศ. 2558 ตรงกับ พุธที่ 13 พฤษภาคม (แรม 11 ค่ำเดือน 6)
  • พ.ศ. 2559 ตรงกับ จันทร์ที่ 9 พฤษภาคม (ขึ้น 4 ค่ำเดือน 6)
  • พ.ศ. 2560 ตรงกับ ศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม (แรม 2 ค่ำเดือน 6)[3]
  • พ.ศ. 2561 ตรงกับ จันทร์ที่ 14 พฤษภาคม (แรม 15 ค่ำเดือน 6)[4]
  • พ.ศ. 2562 ตรงกับ พฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม (ขึ้น 6 ค่ำเดือน 6)[5]
  • พ.ศ. 2563 ตรงกับ จันทร์ที่ 11 พฤษภาคม (แรม 5 ค่ำ เดือน 6)
  • พ.ศ. 2564 ตรงกับ จันทร์ที่ 10 พฤษภาคม (แรม 14 ค่ำ เดือน 6)

ประเทศกัมพูชา

ในประเทศกัมพูชา ประวัติความเป็นมาตามพงศาวดาร นักโบราณคดีได้ระบุว่าพระราชพิธีจรดพระนังคัลนั้น ได้ถูกพระราชากัมพูชาประกอบเป็นพิธีจนเป็นประเพณี อย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยอาณาจักรเจนละ (คริสต์ศตวรรษที่ 6 ถึงศตวรรษที่ 9) โดยพวกเขาได้ค้นพบรูปปั้นหลายรูปที่แสดงถึงสถานะของพระราชพิธีจรดพระนังคัลในสมัยนั้น

ในปัจจุบันพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเป็นพระราชพิธีอย่างหนึ่งในพระราชพิธีทวาทศมาส (พระราชพิธีบุญที่ทำขึ้นหนึ่งครั้งในหนึ่งเดือน ตามพระราชประเพณี) ตามธรรมดาแล้วพระราชพิธีนี้จะจัดขึ้นในเดือนห้า (พฤษภาคม) ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูกาลการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร โดยทั่วไปจะจัดขึ้นบนลานพระเมรุ อยู่ทางทิศเหนือของพระบรมราชวังจตุมุขสิริมงคล หรือ พระท้องนาที่ใดที่หนึ่ง ในบางปีจะจัดขึ้นในจังหวัดเสียมราฐ

การประกอบพิธี

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญส่วนใหญ่จะจัดขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ 2 ค่ำ และ 3 ค่ำ เดือน 5 โดยจะจัดให้มีพราหมณ์ 5 คน ประกอบพิธีบูชาเทวดา 5 องค์ ณ พระท้องนา ในบางครั้งพระราชาจะเสด็จไปจรดพระนังคัลด้วยพระองค์เอง แต่บางครั้งจะมอบหมายผู้แทนองค์เป็นผู้จรดพระนังคัล ในวันแรม 4 ค่ำ เดือน 5 จะมีการแห่คณะองคมนตรี ผู้จรดพระนังคัลซึ่งเป็นตัวแทนพระราชาจะเรียกว่า สะดัจเมียก (พระยาแรกนาขวัญ) และ ภริยาพระเมฮัว (เทพี) ตัวแทนพระอัครมเหสี ออกจากพระราชวังไปยังพระท้องนา โดยที่นั่นจะมีวัว ๓ ตัวยืนรอเป็นที่เรียบร้อยสำหรับประกอบพิธีจรดพระนังคัล ผู้ที่เข้าร่วมพิธีทั้งหญิงทั้งชายจะแต่งกายในแบบกัมพูชาดั้งเดิม

วัวตัวที่ 1 สำหรับประกอบพิธีจรดพระนังคัล เรียกว่า พระโค หรือ โคพฤษภราช (วัวตัวผู้ของพระราชา) ตามพระราชประเพณี พระเคา หรือ โคพฤษภราช นั้น มีการกำหนดลักษณะที่ชัดเจนกล่าวคือ ตัวสีดำ เขาโค้งงอไปข้างหน้า แล้วปลายแหลมชี้ไปข้างบนเล็กน้อย

วัวตัวที่ 2 ที่ใช้แห่ข้างหน้าและแห่ข้างหลังนั้น ยังไม่มีการกำหนดลักษณะที่ชัดเจน อย่างไรก็ดีตามครั้งก่อนๆ ที่เคยทำกันมา จะเห็นว่าส่วนใหญ่จะเป็นวัวสีแดง ส่วนพระนังคัลทั้งสามนั้นจะทาเป็นสีดำ มีเส้นสีแดงตัดในแนวนอนเป็นช่วงๆ ส่วนของพระนังคัลสำหรับตัวแทนของพระราชานั้น จะมีลักษณะพิเศษกว่าใครคือจะมีรูปทรงเป็นพญานาค ทาสีสอง ที่คอของพญานาคจะมีพู่ทำจากขนสัตว์ติดอยู่

จุดประสงค์อันสำคัญที่สุดของพระราชพิธีจรดพระนังคัลนั้น จัดขึ้นเพื่อเป็นการพยากรณ์ หรือ เสี่ยงทายผลผลิตเกษตรกรรมและเหตุที่จะเกิดขึ้นภายในหนึ่งปีเต็ม ตามการกระทำของพระโคในพระราชพิธีดังกล่าว พระราชาหรือพระแรกนาขวัญที่เป็นตัวแทนพระมหากษัตริย์ เป็นผู้ไถบนลานพระเมรุ ส่วนพระมเหสีหรือเทพีจะเป็นผู้หว่านเมล็ดตามข้างหลัง ลานพระเมรุจะถูกไถ ๓ รอบในพระราชพิธีดังกล่าว

ในบริเวณลานพระท้องนา หรือ ลานพระเมรุนั้น จะมีเต็นท์ดูสวยงามอยู่ และหน้าเต็นท์นั้นจะมีโต๊ะอยู่ 7 ตัว แล้วบนโต๊ะแต่ละตัวจะมีของวางของอยู่ คือ ข้าวสาร 1 โต๊ะ ถั่ว 1 โต๊ะ เม็ดข้าวโพด 1 โต๊ะ เม็ดงา 1 โต๊ะ หญ้าสด 1 โต๊ะ น้ำ 1 โต๊ะ และ เหล้า 1 โต๊ะ

ในพระราชพิธีนี้หลังจากที่ได้ไถตามขั้นตอนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ต่อไปจะเป็นพิธีเสี่ยงทายด้วยวัวพฤษภราช พิธีเสี่ยงทายด้วยโคพฤษภราชนี้ พราหมณ์ซึ่งเป็นพระราชครูที่ยืนข้างๆ พระนังคัลจะท่องคาถาเสี่ยงทายและให้โคบริโภคอาหาร 7 ชนิดที่ได้กล่าวไป เมื่อพระโคบริโภคสิ่งใดสิ่งหนึ่ง พราหมณ์จะพยากรณ์เหตุการณ์ หรือ ทำนายทายทักเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆที่จะเกิดขึ้นในหนึ่งปี เช่น โรคระบาด น้ำท่วม ผลผลิตดี และมีฝนตกหนักหรือน้อย เป็นต้น

การทำนาย

ในการพยากรณ์ของกัมพูชานั้น หากพระโคเลือกเสวยข้าว ข้าวโพด (ពោត) ถั่ว (សណ្តែក) และงา (ល្ង) ซึ่งเป็นตัวแทนของการเก็บเกี่ยวและผลผลิต ยิ่งพระโคเสวยมากก็พยากรณ์ได้ว่าการเก็บเกี่ยวและผลผลิตจะยิ่งดีมาก หากพระโคเสวยหญ้า (ស្មៅ) พยากรณ์ถึงความเจ็บป่วย เกิดโรคระบาด หากเสวยน้ำ (ទឹក) พยากรณ์ถึงเหตุน้ำท่วม และหากเสวยเหล้า (ស្រា) พยากรณ์ว่ามีลางของสงครามหรืออาจเกิดอาชญากรความไม่สงบ

อ้างอิง

  1. Buddhist Religious Year
  2. [1]
  3. สำนักพระราชวัง. (การสอบถามทางโทรศัพท์) 23 ธันวาคม 2559
  4. ศน.แจ้งวันหยุดราชการปี 61 ของสำนักพระราชวัง
  5. วันหยุด พ.ศ. 2562

แหล่งข้อมูลอื่น