ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปาน พึ่งสุจริต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
1source
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{เรซูเม}}
{{แหล่งอ้างอิงปฐมภูมิ}}
{{กล่องข้อมูล ผู้นำประเทศ
{{กล่องข้อมูล ผู้นำประเทศ
| name = ปาน พึ่งสุจริต
| name = ปาน พึ่งสุจริต

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:07, 13 กันยายน 2563

ปาน พึ่งสุจริต
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
15 พฤษภาคม พ.ศ. 2543 – 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544
นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489
จังหวัดอุตรดิตถ์
เสียชีวิต4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 (67 ปี)
กรุงเทพมหานคร
พรรคการเมืองมาตุภูมิ
คู่สมรสสาวิตรี พึ่งสุจริต

นายปาน พึ่งสุจริต อดีตรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี อดีตรองหัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน และอดีตรองเลขาธิการพรรคมาตุภูมิ

ประวัติ

ปาน พึ่งสุจริต เกิดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2489 ที่ตำบลวังกะพี้ อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นบุตรของนายชั้น กับนางทองใบ พึ่งสุจริต[1] สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก และปริญญานิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) และระดับปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อปี พ.ศ. 2517

ครอบครัว

ด้านครอบครัวสมรสกับ นางสาวิตรี พึ่งสุจริต มีบุตร 3 คน ได้แก่ ร้อยตำรวจเอก ภูมินทร์ พึ่งสุจริต, ร้อยตำรวจโท ภูธร พึ่งสุจริต, นายวันเฉลิมฯ พึ่งสุจริต

ปาน พึ่งสุจริต ได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การทำงาน

งานด้านการศึกษา

ปาน พึ่งสุจริต เคยรับราชการเป็นอาจารย์ประจำสาขาประวัติศาสตร์ สังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก ต่อมาจึงย้ายมาประจำที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)

งานการเมือง

ปาน พึ่งสุจริต ผันตัวเองจากงานการศึกษา มาดำรงตำแหน่งรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2540[2] และในปี พ.ศ. 2543[3] และเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (วัฒนา อัศวเหม) ในปี พ.ศ. 2542[4]

ต่อมาได้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 สังกัดพรรคราษฎร แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อจากนั้นจึงได้เข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อแผ่นดิน และลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบสัดส่วน ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคมาตุภูมิ[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง ต่อมาเขาได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการพรรคมาตุภูมิ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง