ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มัยซิร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Waniosa Amedestir (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: ในศาสนาอิสลาม การพนัน ({{lang-ar|ميسر|translit=maisîr, maysir, maisira}} หรือ {{lang|ar|قمار}} ''กิ...
ป้ายระบุ: เครื่องมือแก้ไขต้นฉบับปี 2560
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:57, 9 กันยายน 2563

ในศาสนาอิสลาม การพนัน (อาหรับ: ميسر, อักษรโรมัน: maisîr, maysir, maisira หรือ قمار กิมาร)[1] เป็นที่ต้องห้ามเด็ดขาด (ฮะรอม) ตามกฎหมายอิสลาม (ชะรีอะฮ์) ที่มีฐานไว้ว่า "ข้อตกลงระหว่างผู้มีส่วนร่วมเป็นไปตามการชักจูงที่ผิดศีลธรรมให้ด้วยความหวังโดยเจตนาในจิตใจของผู้มีส่วนร่วมว่าพวกเขาจะได้ผ่านโชคเท่านั้น โดยไม่มีการพิจารณาความสูญเสียที่เป็นไปได้"[1]

บทนิยาม

ทั้ง กิมาร กับ มัยซิร อิงถึงเกมเสี่ยงโชค แต่ กิมาร เป็นประเภท (หรือสับเซต) ของ มัยซิร[2] มุฮัมมัด อัยยูบ นักเขียน นิยาม มัยซิร เป็น "การหวังบางสิ่งที่มีค่าผ่านการผ่อนปรนและไม่ได้จ่ายค่าตอบแทนหรือไม่ได้ทำงานเพื่อมัน หรือไม่ได้ก่อให้เกิดหนี้จากมันผ่านเกมเสี่ยงโชค"[2] ส่วนแหล่งที่มาหนึ่งโดย ฟะลีล ญะมาลุดดีน นิยามว่า "เป็นการเข้าถือสิทธิ์ทรัพย์ผ่านโชค (ไม่ใช้แรงกาย)"[3] อัยยูบนิยาม กิมาร ว่า "หมายถึงใบเสร็จของเงิน, กำไร หรือสิทธิเก็บกินที่จากผู้อื่น โดยมีสิทธิเข้าถึงเงินหรือกำไรผ่านการอาศัยโชค";[2] ส่วนญะมาลุดดีนนิยามเป็น "เกมเสี่ยงโชคใด ๆ ก็ตาม"[3]

ในคำภีร์

ในอัลกุรอานกล่าวว่าเกมเสี่ยงโชค ซึ่งรวมไปถึง มัยซิร เป็น "บาปใหญ่" และเป็น "ผลงานอันน่ารังเกียจของซาตาน" และในฮะดีษก็มีการกล่าวถึงมันด้วย.

พวกเขาจะถามเจ้าเกี่ยวกับน้ำเมา และการพนัน จงกล่าวเถิดว่า ในทั้งสองนั้นมีโทษมากและมีคุณหลายอย่างแก่มนุษย์ แต่โทษของมันทั้งสองนั้นมากกว่าคุณของมัน...

ผู้ศรัทธาทั้งหลาย! ที่จริงสุราและการพนันและแท่นหินสำหรับเชือดสัตว์บูชายัญ และการเสี่ยงติ้ว นั้นเป็นสิ่งโสมมอันเกิดจากการกระทำของชัยฏอน ดังนั้นพวกเจ้าจงห่างไกลจากมันเสียเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับความสำเร็จ ที่จริงชัยฏอนนั้นเพียงต้องการที่จะให้เกิดการเป็นศัตรูกันและการเกลียดชังกันระหว่างพวกเจ้าในสุราและการพนัน เท่านั้น และมันจะหันเหพวกเจ้าออกจากการรำลึกถึงอัลลอฮ์ และการละหมาด แล้วพวกเจ้าจะยุติใหม่?

— กุรอาน ซูเราะฮ์ 5:90-91 (อัลมาอิดะฮ์)[5]

รายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮ์: ท่านศาสดากล่าวว่า, "ใครก็ตามที่สาบานว่า 'ขอสาบานต่ออัลลาตและอัลอุซซา' ควรกล่าวว่า 'ไม่มีใครมีสิทธิที่จะบูชานอกจากอัลลอฮ์; และใครก็ตามที่พูดกับเพื่อนว่า 'มาเล่นพนันกัน' ควรบริจาคสิ่งหนึ่งเป็นการกุศล"

— เศาะฮีฮ์บุคอรี, เล่ม 78 (คำสาบานและคำปฏิญาณ), ฮะดีษ 645

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 "Islamic Finance. Q&A. What is the Difference Between Qimar and Maisir?". investment-and-finance. Nov 23, 2013. สืบค้นเมื่อ 24 January 2015.
  2. 2.0 2.1 2.2 Ayub, Muhammad (2007). Understanding Islamic Finance. Wiley. สืบค้นเมื่อ 24 January 2015.
  3. 3.0 3.1 Jamaldeen, Faleel (2012). Islamic Finance For Dummies (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. p. 17. ISBN 9781118233900. สืบค้นเมื่อ 15 March 2017.
  4. อัลกุรอาน 2:219 Quran Surah Al-Baqara ( Verse 219 )
  5. อัลกุรอาน 5:90–91