ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Viewonline (คุย | ส่วนร่วม)
เพิ่มเนื้อหา
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Viewonline (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 41: บรรทัด 41:
พระอารามยังมีเสนาสนะสร้างเพิ่มเติมและได้รับปฏิสังขรณ์ในสมัยเจ้าอาวาสรุ่นต่อ ๆ มาจวบจนปัจจุบัน
พระอารามยังมีเสนาสนะสร้างเพิ่มเติมและได้รับปฏิสังขรณ์ในสมัยเจ้าอาวาสรุ่นต่อ ๆ มาจวบจนปัจจุบัน


สถาปัตยกรรมและจิตรกรรมฝาผนังที่เปรียบเสมือนเพชรน้ำหนึ่งของศิลปะไทยชมวิจิตรพิสดารของสถาปัตยกรรมต่าง ๆ และตื่นตาตื่นใจกับจิตรกรรมฝาผนังแบบ 3 มิติครั้งแรกของสยามประเทศเขียนโดยศิลปินที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุครัชกาลที่ 4 คือขรัวอินโข่ง
สถาปัตยกรรมและจิตรกรรมฝาผนังที่เปรียบเสมือนเพชรน้ำหนึ่งของศิลปะไทย จิตรกรรมฝาผนังแบบ 3 มิติครั้งแรกของสยามประเทศเขียนโดยศิลปินที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุครัชกาลที่ 4 คือขรัวอินโข่ง


== ลำดับเจ้าอาวาส ==
== ลำดับเจ้าอาวาส ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:56, 6 กันยายน 2563

วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร
พระอุโบสถ วัดบรมนิวาส
แผนที่
ชื่อสามัญวัดบรมนิวาส
ที่ตั้งเลขที่ 2 ซอยพระรามที่ 6 ซอย 15 ถนนพระรามที่ 6 แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
ประเภทพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร[1]
นิกายเถรวาท ธรรมยุติกนิกาย
พระประธานพระทศพลญาณ
พระพุทธรูปสำคัญพระนิรันตราย
เจ้าอาวาสพระเทพวรคุณ (ประศาสน์ ปญฺญาธโร)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่แขวงรองเมือง เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

ประวัติ

วัดบรมนิวาส เป็นวัดที่พระวชิรญาณเถระโปรดให้เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2377 ประกอบด้วยพระอุโบสถ พระเจดีย์ และกุฏิ 14 หลัง การก่อสร้างดังดำเนินมาจนกระทั่งพระวชิรญาณเถระลาผนวชและขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอารามได้รับการปฏิสังขรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่อีกครั้งในสมัยที่พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นเจ้าอาวาส โดยเจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5 และพระราชโอรสธิดา เป็นผู้สนับสนุนทุนทรัพย์[2]

พระอารามยังมีเสนาสนะสร้างเพิ่มเติมและได้รับปฏิสังขรณ์ในสมัยเจ้าอาวาสรุ่นต่อ ๆ มาจวบจนปัจจุบัน

สถาปัตยกรรมและจิตรกรรมฝาผนังที่เปรียบเสมือนเพชรน้ำหนึ่งของศิลปะไทย จิตรกรรมฝาผนังแบบ 3 มิติครั้งแรกของสยามประเทศเขียนโดยศิลปินที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุครัชกาลที่ 4 คือขรัวอินโข่ง

ลำดับเจ้าอาวาส

นับตั้งแต่ก่อตั้งมา วัดบรมนิวาสมีเจ้าอาวาสตามลำดับ ดังนี้[3]

ลำดับที่ รายนาม เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
1 พระญาณรักขิต (สุข) พ.ศ. 2377 พ.ศ. 2394
2 พระอมราภิรักขิต (เกิด อมโร) พ.ศ. 2395 พ.ศ. 2412
3 พระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตฺโต) พ.ศ. 2413 พ.ศ. 2444
4 พระวินัยรักขิต (จันทร์) พ.ศ. 2445 พ.ศ. 2446
5 พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) พ.ศ. 2447 พ.ศ. 2475
6 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) พ.ศ. 2475 พ.ศ. 2499
7 พระธรรมดิลก (ทองดำ จนฺทูปโม) พ.ศ. 2500 พ.ศ. 2515
8 พระเทพวรคุณ (สิงห์ ชาคโร) พ.ศ. 2516 พ.ศ. 2517
9 พระพรหมมุนี (บู่ สุจิณฺโณ) พ.ศ. 2518 พ.ศ. 2543
10 พระเทพสุเมธี (สนอง เขมี) พ.ศ. 2544 พ.ศ. 2546
11 พระเทพวรคุณ (ประศาสน์ ปญฺญาธโร) พ.ศ. 2547 ปัจจุบัน

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า 290
  2. วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร, หนังสือสวดมนต์ ทำวัตรเช้า-เย็น, หน้า 125-7
  3. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ พระพรหมมุนี (บู่ สุจิณฺโณ ป.ธ. ๙) วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร, 2543, หน้า 327-329