ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ผู้นำประเทศ
{{ผู้นำประเทศ
| name = พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
| name = พระเจ้าวรวงศ์เธอ<br>กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
| honorific-prefix = [[ศาสตราจารย์]] [[พลตรี]]
| honorific-prefix = [[ศาสตราจารย์]] [[พลตรี]]
| honorific-suffix = [[เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์|ม.จ.ก.]],[[ปฐมจุลจอมเกล้า|ป.จ.]],[[ทุติยจุลจอมเกล้า|ท.จ.]],[[มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก|ม.ป.ช.]],[[มหาวชิรมงกุฎ|ม.ว.ม.]]
| honorific-suffix = [[เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์|ม.จ.ก.]],[[ปฐมจุลจอมเกล้า|ป.จ.]],[[ทุติยจุลจอมเกล้า|ท.จ.]],[[มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก|ม.ป.ช.]],[[มหาวชิรมงกุฎ|ม.ว.ม.]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:44, 6 กันยายน 2563

พระเจ้าวรวงศ์เธอ
กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
ประธานสมัชชาองค์การสหประชาชาติ
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2499 – พ.ศ. 2500
ก่อนหน้าRudecindo Ortega
ถัดไปLeslie Munro
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
1 มกราคม พ.ศ. 2501 – 20 ตุลาคม พ.ศ. 2501
นายกรัฐมนตรีพลเอก ถนอม กิตติขจร
ก่อนหน้าจอมพลเรือ หลวงยุทธศาสตร์โกศล
ถัดไปพลโท ประภาส จารุเสถียร
ดำรงตำแหน่ง
9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2502 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2506
นายกรัฐมนตรีจอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
ก่อนหน้าพลเอก ถนอม กิตติขจร
ดำรงตำแหน่ง
9 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 9 ธันวาคม พ.ศ. 2512
นายกรัฐมนตรีจอมพล ถนอม กิตติขจร
ถัดไปพลเอก ประภาส จารุเสถียร
อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ดำรงตำแหน่ง
19 ธันวาคม พ.ศ. 2506 – 31 มีนาคม พ.ศ. 2514
ก่อนหน้าพลเอก ถนอม กิตติขจร
ถัดไปศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด25 สิงหาคม พ.ศ. 2434
จังหวัดพระนคร [่[อาณาจักรรัตนโกสินทร์
เสียชีวิต5 กันยายน พ.ศ. 2519 (85 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
คู่สมรสชายา
หม่อมเจ้า พิบูลเบญจางค์ วรวรรณ(กิติยากร)
หม่อม
หม่อม พร้อยสุพิน วรวรรณ (บุนนาค)
บุพการี
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
สังกัดกองทัพบกไทย
ทหารรักษาพระองค์
ยศ พลตรี[1]
ไฟล์:Waithayakon2.jpg
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์

ศาสตราจารย์ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (25 สิงหาคม พ.ศ. 2434 - 5 กันยายน พ.ศ. 2519) อดีตรองนายกรัฐมนตรี อดีตประธานสมัชชาองค์การสหประชาชาติ และอดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน รวมถึงเป็นผู้ร่วมสถาปนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และทรงเสนอให้คณะรัฐมนตรีจัดตั้งโรงเรียนการเมืองชั้นสูง(เป็นจุดเริ่มต้นแนวคิดการก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง) พระปรีชาสามารถในด้านการทูตและการต่างประเทศเป็นที่ยอมรับในระดับโลก และทรงมีชื่อเสียงการบัญญัติศัพท์ในภาษาไทย ทั้งยังทรงเป็นผู้วางกฎเกณฑ์ในการบัญญัติศัพท์ภาษาต่างประเทศด้วยคำบาลีและสันสกฤต สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2519 สิริพระชันษา 85 ปี

พระประวัติและการศึกษา

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ มีพระนามเดิมว่า หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ หรือ พระองค์วรรณ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ และ หม่อมหลวงต่วนศรี (มนตรีกุล) วรวรรณ

หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร ทรงเริ่มศึกษาที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และย้ายมาที่โรงเรียนราชวิทยาลัยสมัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในปี พ.ศ. 2442 ต่อมาเมื่อเกิดโรคระบาด โรงเรียนปิดชั่วคราว จึงย้ายไปเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย 1 ปี (ที่จริงคือตามไปใช้สถานที่เรียน) ต่อมาเมื่อโรงเรียนราชวิทยาลัย สมัยสายสาวลี เปิดทำการจึงย้ายมาศึกษาต่อ และสอบได้ทุน King's scholarship ได้เดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศอังกฤษ โดยเข้าอยู่ประจำที่ 'วิทยาลัยแบเลียล' (Balliol College) มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ประเทศอังกฤษ และสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีในระดับเกียรตินิยมและปริญญาโท จากคณะบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) สาขาวิชาภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต ที่สถาบันตะวันออก มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ท่านจึงมีความสามารถในการบัญญัติศัพท์ กระทั่งเป็นผู้วางกฎเกณฑ์การบัญญัติศัพท์โดยใช้คำบาลีและสันสกฤตให้ราชบัณฑิตยสถาน และใช้มาจนกระทั่งทุกวันนี้

มีคำศัพท์มากมายที่ทรงบัญญัติและยังคงใช้อยู่ในปัจจุบันเช่น

  • อัตโนมัติ (Automatic)
  • รัฐธรรมนูญ (Constitution)
  • ประชาธิปไตย (democracy)
  • โทรทัศน์ (television)
  • วิทยุ (radio)

เสกสมรส

พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เสกสมรสกับหม่อมเจ้าพิบูลเบญจางค์ กิติยากร พระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ กับหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร มีบุตร คือ

  1. หม่อมราชวงศ์วิบูลย์เกียรติ วรวรรณ สมรสกับหม่อมราชวงศ์หญิงทิพพากร อาภากร
    1. หม่อมหลวงเกียรติกร วรวรรณ
    2. หม่อมหลวงสุทธิ์ธรทิพย์ วรวรรณ

และต่อมาพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ สมรสอีกครั้งกับหม่อมพร้อยสุพิณ (บุนนาค) วรวรรณ มีธิดา คือ

พระอิสริยยศ

  • พ.ศ. 2434 - หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร วรวรรณ
  • พ.ศ. 2482 - พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร[2]
  • พ.ศ. 2486 - พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร
  • พ.ศ. 2495 - พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์[3]

ลำดับตำแหน่งหน้าที่การงาน

พระเกียรติคุณ

  • พลตรี โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานยศทหาร และเป็นนายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์และราชองครักษ์พิเศษ ในปี พ.ศ. 2496[10]
  • ผู้มีผลงานดีเด่น ด้านวัฒนธรรมระดับโลก โดยองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ประกาศพระเกียรติคุณในฐานะปูชนียบุคคลสำคัญประจำปี พ.ศ. 2534
  • รางวัลนราธิป โดยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2544 ในโอกาสสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยก่อตั้งครบ 30 ปี และครบรอบ 100 ปีแห่งชาตะกาลของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
  • ห้องประชุมวรรณไวทยากร โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ปรับปรุงตึกโดม ซึ่งเป็นอาคารเก่าแก่เป็นของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และตั้งชื่อห้องประชุมที่ปรับปรุงใหม่เพื่อเป็นเกียรติแด่พระองค์ ในปี พ.ศ. 2548

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

ประเทศ ปีที่ได้รับ เครื่องอิสริยาภรณ์ แพรแถบ อ้างอิง
 ไรช์เยอรมัน พ.ศ. 2481 เครื่องอิสริยาภรณ์อินทรีเยอรมัน ชั้นสูงสุด [23]
 เนเธอร์แลนด์ พ.ศ. 2507 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ออเรนจ์-นัสเซา ชั้นประถมาภรณ์ [24]
 มาเลเซีย พ.ศ. 2507 เครื่องราชอิสริยาภรณ์ปังควนเนการา ชั้นที่ 1 [24]
 นอร์เวย์ พ.ศ. 2510 เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์โอลาฟ ชั้นประถมาภรณ์ [25]
 ออสเตรีย พ.ศ. 2510 เครื่องอิสริยาภรณ์กิตติคุณแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ชั้นที่ 1 (ทอง) [25]

พงศาวลี

อ้างอิง

  1. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2496/D/029/2047.PDF
  2. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2482/D/1794.PDF
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2495/A/028/644.PDF
  4. http://www.royin.go.th/?parties=%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A8%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD-%E0%B8%81
  5. http://www.komchadluek.net/news/politic/107028
  6. http://cwweb2.tu.ac.th/emc/ShelfTU/@tubookshelf3/pdf/5_wanwitayakorn.pdf
  7. ราชกิจจานุเบกษา,พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งและแต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย) เล่ม 74 ตอน 33ก วันที่ 1 เมษายน 2500
  8. คณะรัฐมนตรีคณะที่ 26 จากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี
  9. พระบรมราชโองการ ประกาศ ตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๑๙ ราย)
  10. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2496/D/029/2047.PDF
  11. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๒๙๒๐ เล่ม ๖๐ ตอนที่ ๔๙, ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๖
  12. ราชกิจจานุเบกษา,เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๑๘๐๓ เล่ม ๕๖, ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒
  13. ราชกิจจานุเบกษา,แจ้งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาถรณ์ หน้า ๑๙๔๕ เล่ม ๕๘, ๑๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๔
  14. ราชกิจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หน้า ๑๘๒๔ เล่ม ๕๗ , ๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๓
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๓๘, ตอน ๐ ง, ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๔, หน้า ๓๒๑๑
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มราชการแผ่นดิน, ตอนที่ 0 ง, เล่ม 55, 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2481, หน้า 4032
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม 79, ตอน 85 ง, 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505, หน้า 9
  18. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี, เล่ม 84, ตอน 80 ง, 29 สิงหาคม พ.ศ. 2510, หน้า 2446
  19. ราชกิจจานุเบกษา,พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ หน้า ๒๓๘๓ เล่ม ๓๘, ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๔
  20. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 55, ตอน 0 ง, 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481, หน้า 2958
  21. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม 70, ตอน 17 ง, 10 มีนาคม พ.ศ. 2496, หน้า 1010
  22. พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลปัจจุบัน
  23. "Hitler Honours Siamese". The Straits Times. 3 April 1938. p. 3.
  24. 24.0 24.1 แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๑, ตอน ๙๐ง, ๒๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๗ , หน้า ๒๔๕๐
  25. 25.0 25.1 ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๘๔, ตอน ๖๖ ง ฉบับพิเศษ, ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๐, หน้า ๑๓

แหล่งข้อมูลอื่น

  • http://web.archive.org/20080823234406/www.geocities.com/thaibooks_100/a-74.htm
  • มูลนิธินราธิปประพันธ์พงศ์-วรวรรณ "วิทยทัศน์พระองค์วรรณฯ ครบ 110 ปี วันประสูติ 25 สิงหาคม 2544" กรุงเทพฯ:มูลนิธินราธิปประพันธ์พงศ์-วรวรรณ, พิมพ์ครั้งที่1 2544
  • ธารา กนกมณี (บรรณาธิการ) “100 ปี พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์” กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ, พิมพ์ครั้งที่ 1 2534
  • นราธิปพงศ์ประพันธ์, พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น "งานบัญญัติศัพท์ ของ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์" ธนาคารกรุงเทพ จำกัด พิมพ์ถวายเป็นอนุสรณ์ ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ณ เมรุพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 28 ตุลาคม 2519 กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์พิฆเณศ, 2519
  • นราธิปพงศ์ประพันธ์, พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น "บัญญัติศัพท์.คณะกรรมการบัญญัติศัพท์" กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2516
  • [Wan 1970] Wan Waithayakon, Prince "Coining Thai Words" in: Tej Bunnag und Michael Smithies (Hg.) In Memoriam Phya Anuman Rajadhon. Bangkok: Siam Society, 1970
  • มานวราชเสวี, พระยา (ผู้รวบรวม) "ชุมนุมนิพนธ์ เพื่อถวายพระเกียรติแด่ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์" กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์พระจันทร์, 2506
  • นราธิปพงศ์ประพันธ์, พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่น "บัญญัติศัพท์ ของ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์" ประทานให้พิมพ์เป็นอนุสรณ์ ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระประมวลวินิจฉัย (ชัติ สุวรรณทัต) ณ เมรุวัดโสมนัสวิหาร วันที่ 3 มิถุนายน 2499