ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ข้อวิจารณ์วิกิพีเดีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tikmok (คุย | ส่วนร่วม)
ปรับข้อมูลและสำนวน แก้ deadurl
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 300: บรรทัด 300:


==== ความเอนเอียงประจำชาติหรือประจำบริษัท ====
==== ความเอนเอียงประจำชาติหรือประจำบริษัท ====
ในเดือนมกราคม 2007 นักเขียนโปรแกรมชาวออสเตรเลียผู้หนึ่งแจ้งว่า [[ไมโครซอฟต์]]ได้เสนอจ้างเขาให้แก้ไขบทความวิกิพีเดียเกี่ยวกับ[[โอโอเอกซ์เอ็มแอล]] (Office Open XML)<ref name=mscbs>
ในเดือนมกราคม 2007 นักเขียนโปรแกรมชาวออสเตรเลียผู้หนึ่งแจ้งว่า [[ไมโครซอฟท์]]ได้เสนอจ้างเขาให้แก้ไขบทความวิกิพีเดียเกี่ยวกับ[[โอโอเอกซ์เอ็มแอล]] (Office Open XML)<ref name=mscbs>
{{cite web | author2 = Bergstein, Brian | date = 2007-01-24 | url = http://www.cbsnews.com/stories/2007/01/24/tech/main2392719.shtml | author1 = Grace, Francie | publisher = CBS News | title = Microsoft Violates Wikipedia's Sacred Rule | agency = Associated Press | accessdate = 2008-09-03}}</ref><ref name=msidg1>
{{cite web | author2 = Bergstein, Brian | date = 2007-01-24 | url = http://www.cbsnews.com/stories/2007/01/24/tech/main2392719.shtml | author1 = Grace, Francie | publisher = CBS News | title = Microsoft Violates Wikipedia's Sacred Rule | agency = Associated Press | accessdate = 2008-09-03}}</ref><ref name=msidg1>
{{cite web | first = Nancy | last = Gohring | date = 2007-01-23 | url = http://www.cio.com/article/2442784/open-source-tools/microsoft-said-to-offer-payment-for-wikipedia-edits.html | title = Microsoft said to offer payment for Wikipedia edits | work = CIO magazine | agency = IDG News Service | accessdate = 2015-08-30}}</ref><ref name=msidg2>
{{cite web | first = Nancy | last = Gohring | date = 2007-01-23 | url = http://www.cio.com/article/2442784/open-source-tools/microsoft-said-to-offer-payment-for-wikipedia-edits.html | title = Microsoft said to offer payment for Wikipedia edits | work = CIO magazine | agency = IDG News Service | accessdate = 2015-08-30}}</ref><ref name=msidg2>
{{cite web | first = Nancy | last = Gohring | date = 2007-01-24 | url = http://www.computerworld.com/action/article.do?command=viewArticleBasic&articleId=9008842 | title = Microsoft's step into Wikipedia prompts debate | work = Computerworld | agency = IDG News Service | accessdate = 2015-08-30 | url-status = dead | archiveurl = https://web.archive.org/web/20090517023639/http://www.computerworld.com/action/article.do?command=viewArticleBasic&articleId=9008842 | archivedate = 2009-05-17 }}</ref>
{{cite web | first = Nancy | last = Gohring | date = 2007-01-24 | url = http://www.computerworld.com/action/article.do?command=viewArticleBasic&articleId=9008842 | title = Microsoft's step into Wikipedia prompts debate | work = Computerworld | agency = IDG News Service | accessdate = 2015-08-30 | url-status = dead | archiveurl = https://web.archive.org/web/20090517023639/http://www.computerworld.com/action/article.do?command=viewArticleBasic&articleId=9008842 | archivedate = 2009-05-17 }}</ref>
แต่โฆษกของบริษัทคนหนึ่งก็กล่าวว่า "ไมโครซอฟต์และนักเขียนคือริก เจลลิฟฟ์ ยังไม่ได้ตกลงราคาและยังไม่ได้จ่ายเงิน แต่ก็ได้ตกลงกันว่า จะไม่ให้บริษัททบทวนการเขียนของเขาก่อนที่จะเผยแพร่"
แต่โฆษกของบริษัทคนหนึ่งก็กล่าวว่า "ไมโครซอฟท์และนักเขียนคือริก เจลลิฟฟ์ ยังไม่ได้ตกลงราคาและยังไม่ได้จ่ายเงิน แต่ก็ได้ตกลงกันว่า จะไม่ให้บริษัททบทวนการเขียนของเขาก่อนที่จะเผยแพร่"
แต่จิมมี เวลส์ก็ไม่เห็นด้วยกับบทบาทเช่นนี้ของไมโครซอฟต์ คือ "เรารู้สึกผิดหวังเมื่อได้ยินว่า ไมโครซอฟต์กำลังใช้วิธีนี้"<ref name="mscbs" />
แต่จิมมี เวลส์ก็ไม่เห็นด้วยกับบทบาทเช่นนี้ของไมโครซอฟท์ คือ "เรารู้สึกผิดหวังเมื่อได้ยินว่า ไมโครซอฟท์กำลังใช้วิธีนี้"<ref name="mscbs" />


{{anchor | ความเอนเอียงประจำชาติ}}<!-- มีลิงก์จากที่อื่น กรุณาอย่าลบหรือเปลี่ยนโดยไม่แก้ลิงก์ด้วย -->
{{anchor | ความเอนเอียงประจำชาติ}}<!-- มีลิงก์จากที่อื่น กรุณาอย่าลบหรือเปลี่ยนโดยไม่แก้ลิงก์ด้วย -->

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:08, 6 กันยายน 2563

ชีวประวัติของบุคคลคนหนึ่ง (Klee Irwin) สองรุ่นที่ต่างกันมากซึ่งปรากฏในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ความอ่อนไหวของวิกิพีเดียต่อสงครามแก้ไขและอคติ/ความเอนเอียงเป็นปัญหาที่ผู้วิจารณ์วิกิพีเดียมักยกขึ้น

ข้อวิจารณ์วิกิพีเดีย เป็นไปในเรื่องเนื้อหา ชุมชนผู้ใช้ และกระบวนการต่าง ๆ ปัญหาเนื้อหาหลักเป็นเรื่องความเชื่อถือได้ การอ่านง่ายและการจัดระเบียบของบทความ การไร้ระเบียบเพื่อเช็คความจริง และความเสี่ยงมีผู้ทำงานซึ่งหวังผลทางการเมือง อคติต่าง ๆ รวมทั้งอคติอย่างเป็นระบบ อคติทางเพศ อคติทางเชื้อชาติ และอคติประจำชาติ ล้วนแต่ถูกวิจารณ์ ปัญหาการรณรงค์ของบริษัทและการขัดกันแห่งผลประโยชน์ก็ถูกยกขึ้นเช่นกัน ปัญหาอื่น ๆ รวมทั้งการก่อกวนและการแบ่งแยกทางการเมืองที่อำนวยเพราะการแก้ไขแบบนิรนาม พฤติกรรมแบ่งเป็นพวก ๆ (แก๊ง) การแบ่งชนชั้นระหว่างชั้นผู้ดูแลและผู้ใช้ใหม่ การตั้งกฎเกินจำเป็น สงครามแก้ไข และการประยุกต์ใช้นโยบายที่ไม่สม่ำเสมอ

เรื่องเนื้อหา

บุคคลต่าง ๆ มักตั้งความสงสัยในเรื่องความเชื่อถือได้ของวิกิพีเดีย ในปี 2010 นักข่าวเชิงสอบสวนชาวยิว-อเมริกันคนหนึ่งได้ระบุเนื้อหาของบทความวิกิพีเดีย[A]ว่าเป็นลูกผสมของ "ความจริง กึ่งความจริง และเรื่องเท็จบางส่วน"[1] ในปี 2007 นักข่าวหนังสือพิมพ์เดอะไทมส์ชาวอังกฤษได้กล่าวว่าบทความมักจะถูกครอบครองโดยผู้แก้ไขที่เสียงดังสุด ดื้อสุด หรือโดยกลุ่มผู้มีความคิดเดียวกันที่มีอุดมการณ์แฝงอะไรบางอย่าง[2] ในปี 2012 ศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันได้วิจารณ์นโยบายไม่ให้น้ำหนักเกินควรของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษซึ่งเกี่ยวกับการให้ความสำคัญของแหล่งอ้างอิงโดยเปรียบเทียบ ได้ให้ข้อสังเกตว่า จุดประสงค์ของวิกิพีเดียไม่ใช่เพื่อแสดงข้อมูลที่ถูกต้องและแน่นอนเกี่ยวกับประเด็นหนึ่ง ๆ แต่เพื่อแสดงความเห็นส่วนใหญ่ของแหล่งอ้างอิงที่ยกมา[3][4] ในปี 2012 ผู้เชี่ยวชาญทางบรรณารักษ์ศาสตร์ได้อ้างข้อความว่า สิ่งที่ไม่ได้กล่าวในบทความอาจทำให้ผู้อ่านมีแนวคิดผิด ๆ เกี่ยวกับประเด็นหนึ่ง ๆ โดยมีเหตุจากเนื้อหาที่ไม่สมบูรณ์ของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ[5]

บางครั้ง วิกิพีเดียจัดว่ามีสิ่งแวดล้อมในการแก้ไขที่ไม่เป็นมิตร ในปี 2014 ผู้จัดการโครงการของมูลนิธิวิกิมีเดียคนหนึ่ง (ต่อมาเป็นกรรมการมูลนิธิ) ได้กล่าวว่า ความซับซ้อนของกฎบังคับเนื้อความและพฤติกรรมของผู้แก้ไขเป็นภาระของผู้แก้ไขใหม่ และกลายเป็นใบอนุญาตสำหรับผู้ใช้ผู้แก้ไขในลักษณะที่ทำให้ปรับปรุงบทความหรือสารานุกรมไม่ได้และให้สามารถเล่น "การเมือง"[6][7] ในบทความสืบมาอีกบทหนึ่ง เขากล่าวว่า การย่อความและการเขียนใหม่ซึ่งกฎต่าง ๆ เหล่านั้นเพื่อให้ชัดเจนและประยุกต์ใช้ได้ง่ายจะสามารถแก้ไขปัญหาระบบข้าราชการที่มีกฎเกินจำเป็น[7] ในปี 2013 นักวิทยาศาสตร์เชิงวิจัยคนหลักของมูลนิธิวิกิมีเดียคนหนึ่งได้กล่าวว่า กฎที่ยุ่งยากเกินไปของวิกิพีเดียทำให้การร่วมมือแก้ไขบทความเริ่มลดลงตั้งแต่ปี 2009 เพราะทำผู้แก้ไขใหม่ ๆ ให้กลัวแล้วหลีกไป[8]

ยังมีงานที่กล่าวถึงการใช้วิกิพีเดียในทางผิด ๆ สถาบันฮูเวอร์แห่งมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดได้กล่าวว่า วิกิพีเดียเชื่อถือไม่ได้เพื่อใช้เป็นแหล่งหาความรู้ ข้อมูล และความจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเด็นหนึ่ง ๆ เพราะเป็นเว็บไซต์แบบเปิด ดังนั้น บทความจึงสามารถถูกปั่นหรือทำเป็นโฆษณาชวนเชื่อเมื่อไรก็ได้[9] คู่มือทางการของนักศึกษาสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) แจ้งนักศึกษาว่า วิกิพีเดียไม่ใช่แหล่งข้อมูลทางวิชาการที่เชื่อถือได้ โดยกล่าวว่า "บรรณานุกรมท้ายบทความของวิกิพีเดียอาจชี้ไปยังแหล่งข้อมูลที่อาจใช้ได้ แต่ไม่ควรสมมุติว่า แหล่งเช่นนี้ก็เชื่อถือได้ ให้ใช้เกณฑ์ตัดสินเหมือนกับที่ใช้กับแหล่งอ้างอิงอื่น ๆ ไม่ควรพิจารณาว่า บรรณานุกรมวิกิพีเดียสามารถทดแทนการค้นคว้าของตนเองได้"[10]

ความแม่นยำ

ไม่ทรงอำนาจ

วิกิพีเดียเองยอมรับว่า ไม่ควรใช้เป็นแหล่งอ้างอิงหลักเพื่อการค้นคว้า ไม่ว่าจะในทางการศึกษาหรือการหาข้อมูล บรรณารักษ์ชาวอังกฤษคนหนึ่งกล่าวว่า "ปัญหาหลักก็คือการไร้อำนาจ สำหรับสิ่งตีพิมพ์ ผู้จัดพิมพ์จะต้องแน่ใจว่าข้อมูลของตนเชื่อถือได้ เพราะการครองชีพของตนอาศัยมัน แต่สำหรับเว็บไซต์เช่นนี้ นี่ก็ทิ้งไปได้เลย"[11] ส่วนหัวหน้าบรรณาธิการสารานุกรมบริแทนนิการะหว่างปี 1992-1997 กล่าวว่า ผู้อ่านบทความวิกิพีเดียไม่อาจรู้ได้ว่า ใครเขียนบทความที่กำลังอ่าน อาจเขียนโดยผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเขียนโดยมือสมัครเล่น[12] ในเดือนพฤศจิกายน 2015 ผู้ร่วมจัดตั้งวิกิพีเดียคือแลร์รี แซงเจอร์ได้กล่าวในนิตยสารไวซ์ว่า "ผมคิดว่า วิกิพิเดียไม่เคยได้แก้ปัญหาการจัดระเบียบตนเองไม่ให้กลายเป็นกฎหมู่" และว่าตั้งแต่เขาได้ลาออกจากโปรเจ็กต์ "บุคคลที่ผมเรียกว่า เกรียน เรียกได้ว่าเข้ายึดครอง [วิกิพีเดีย] คือผู้ถูกกักกันเริ่มดำเนินการ รพ. บ้านั่น"[13]

การศึกษาบทความวิทยาศาสตร์เชิงเปรียบเทียบ

"การวิจารณ์เพื่อสอนเทียบกับการชมเพื่อสอน" กราฟแสดงการวิเคราะห์ข้อความในหน้าพูดคุย ดังที่เสนอในงานประชุมหน้าร้อนแห่งการวิจัยปี 2011 ของวิกิพีเดีย[14]

วารสารวิทยาศาสตร์เนเจอร์ปี 2005 ตีพิมพ์บทความเรื่องผลการทดลองแบบอำพรางฝ่ายเดียว ซึ่งเปรียบเทียบความแม่นยำของข้อมูลบทความวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเทียบกับสารานุกรมบริแทนนิกา บทความตัวอย่าง 42 บทความรวมเรื่องทางวิทยาศาสตร์ ชีวประวัติของนักวิทยาศาสตร์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญนิรนามเป็นผู้ทบทวนความแม่นยำ งานพบว่า บทความวิกิพีเดียหนึ่ง ๆ โดยเฉลี่ยมีข้อผิดพลาดและการละเว้น 4 ข้อ เทียบกับบทความสารานุกรมบริแทนนิกาที่มี 3 ข้อ แล้วสรุปว่า วิกิพีเดียภาษาอังกฤษและบริแทนนิกาเทียบกันได้ในด้านความแม่นยำของบทความทางวิทยาศาสตร์[15] แต่ผู้ทบทวนก็มีข้อวิจารณ์หลักสองอย่างสำหรับบทความวิทยาศาสตร์ในวิกิพีเดีย คือ หนึ่ง เนื้อหาสับสนทางโครงสร้าง คือไร้โครงสร้างที่เข้าใจได้ไม่ว่าจะเป็นโดยลำดับ การแสดงเนื้อหา และการตีความ และสอง ให้น้ำหนักเกินควรแก่ทฤษฎีที่ไม่สำคัญและมีความขัดแย้งเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ[16]

เพราะบรรณาธิการของสารานุกรมบริแทนนิกาไม่พอใจในผลงานที่ว่านี้ เนเจอร์จึงได้ตีพิมพ์เอกสารสำรวจที่เป็นหลักฐานของผลงานศึกษา[17] แต่อาศัยหลักฐานที่ได้พิมพ์เพิ่มขึ้น บริแทนนิกาจึงปฏิเสธความสมเหตุสมผลของงานศึกษา โดยอ้างว่ามันบกพร่อง เพราะข้อมูลที่ดึงออกจากสารานุกรมบริแทนนิกาบางอย่างรวมบทความจากสารานุกรมฉบับที่เขียนสำหรับเด็ก[18] ต่อมา เนเจอร์จึงยอมรับว่า บทความจากบริแทนนิกาบางบทความเป็นการรวบรวม แต่ก็ปฏิเสธว่ารายละเอียดเช่นนี้ทำให้ข้อสรุปของงานศึกษาไม่สมเหตุสมผล[19]

บรรณธิการของบริแทนนิกายังกล่าวด้วยว่า แม้งานศึกษาในเนเจอร์จะแสดงอัตราความผิดพลาดของสารานุกรมทั้งสองว่าคล้ายกัน แต่ความผิดพลาดในบทความวิกิพีเดียปกติเป็นเรื่องความจริงที่ผิดพลาด แต่ของบทความบริแทนนิกาปกติเป็นแบบละเลยไม่กล่าวถึง ตามนี้ บริแทนนิกาจึงแม่นยำกว่าวิกิพีเดียในเรื่องนี้[18] ต่อมา นิตยสารเนเจอร์จึงปฏิเสธคำตอบของบริแทนนิกาโดยโต้แย้งข้อคัดค้านของบรรณาธิการเกี่ยวกับวิธีการวิจัยของงานศึกษา[20][21]

การไร้ระเบียบเพื่อเช็คความจริง

นักข่าวอเมริกันจอห์น ซีเกนทอเลอร์ (John Seigenthaler) ผู้เป็นเรื่องในเหตุการณ์ปัญหาชีวประวัติของซีเกนทอเลอร์

ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องแต่ไม่เป็นเท็จอย่างชัดเจนอางคงยืนในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเป็นเวลานานก่อนจะได้แก้ กรณีเด่น ๆ ที่สุดซึ่งสื่อรายงานมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับชีวประวัติของบุคคลที่มีชีวิตอยู่

เหตุการณ์ปัญหาชีวประวัติของซีเกนทอเลอร์ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษแสดงว่า บุคคลที่เป็นประเด็นในบทความชีวประวัติบางครั้งต้องแก้ไขความเท็จโต้ง ๆ เกี่ยวกับชีวิตของตนเอง ในเดือนพฤษภาคม 2005 ผู้ใช้นิรนามผู้หนึ่งได้แก้บทความชีวประวัติของนักข่าวและนักเขียนชาวอเมริกันจอห์น ซีเกนทอเลอร์ (John Seigenthaler) โดยมีข้อความเท็จและเป็นการหมิ่นประมาท[22][23] ซึ่งก็ไม่มีใครสังเกตเห็นเลยระหว่างเดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกันยายน จนกระทั่งเพื่อนของซีเกนทอเลอร์ได้พบ เนื้อหาของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมักทำเป็นสำเนาในเว็บไซต์ต่าง ๆ เช่นที่ Answers.com ซึ่งหมายความว่า ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องก็จะรวมไปกับข้อมูลที่ถูกต้องกระจายไปยังเว็บไซต์ต่าง ๆ และกลายเป็นเรื่องทรงอำนาจอย่างผิด ๆ อาศัยข้อมูลที่ปรากฏในเว็บไซต์ต่าง ๆ เช่นนั้น[24]

ในตัวอย่างอีกตัวอย่างหนึ่ง สำนักข่าว MSNBC รายงานว่า ชีวประวัติวิกิพีเดียภาษาอังกฤษของฮิลลารี คลินตันซึ่งตอนนั้นยังเป็นสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐได้ระบุอย่างผิด ๆ เป็นเวลา 20 เดือนว่าเป็นผู้ได้เกรดสูงสุดและเป็นผู้แทนนักศึกษากล่าวสุนทรพจน์ในวันรับปริญญา (คือเป็น valedictorian) ของรุ่นปี 1969 แห่งเวลสลีย์คอลเลจ (เป็นมหาวิทยาลัยใกล้เมืองบอสตัน) จริง ๆ เธอไม่ใช่ valedictorian แม้จะได้เป็นผู้กล่าวสุนทรพจน์[25] ข้อมูลผิด ๆ นี้เติมเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2005[26] และลบออกภายใน 24 ชม. หลังจากสำนักข่าวได้รายงานข่าว[27]

การแพร่ข่าวลวงไม่ใช่จำกัดแต่เพียงบทความที่มีอยู่แล้วเท่านั้น แต่อาจรวมบทความที่สร้างใหม่ ในวันที่ 5 ตุลาคม 2005 อัลแลน แม็กอิลเรต (Alan Mcilwraith) ชาวสกอตแลนด์ผู้เป็นพนักงานในศูนย์รับเรื่องแห่งหนึ่ง ได้สร้างบทความวิกิพีเดียภาษาอังกฤษซึ่งเขาเขียนว่าตัวเองเป็นทหารวีรบุรุษผู้ได้รับเหรียญรางวัลหลายอย่าง ต่อมาวันที่ 10 บทความนี้ก็ได้ป้ายว่าต้องการอ้างอิง แล้วต่อมาวันที่ 20 จึงได้ถูกเสนอให้ลบ[28]

ยังมีผู้ใช้อื่น ๆ ที่ตั้งใจเติมข้อมูลเท็จในบทความวิกิพีเดียเพื่อตรวจสอบระบบว่าไม่น่าเชื่อถือจริง ๆ ตามข่าวหรือไม่ นักข่าวรางวัลพูลิตเซอร์ของหนังสือพิมพ์เดอะวอชิงตันโพสต์ คนหนึ่งได้พยายามทำเช่นนี้ คือเติมข้อมูลเท็จแบบขำ ๆ ลงในบทความวิกิพีเดียภาษาอังกฤษที่เป็นชีวประวัติของตนเอง แต่ผู้ใช้คนหนึ่งก็ได้ย้อนสิ่งที่เติมในอีก 27 ชม. ต่อมา[29] วิกิพีเดียจัดการจงใจเติมข้อมูลเท็จหรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นการก่อกวน[30]

มุมมองที่เป็นกลางและการขัดกันแห่งผลประโยชน์

วิกิพีเดียระบุว่ามุมมองที่เป็นกลางเป็นหลักหนึ่งที่ต่อรองไม่ได้ แต่ก็ยอมรับว่า แนวคิดเช่นนี้มีข้อจำกัด นโยบายนี้กล่าวว่า บทความควรจะ "ปราศจากความลำเอียง" (ของผู้แก้ไข) "มากเท่าที่มากได้" นักข่าวคนหนึ่งกล่าวว่า นี่อาจเป็นอุดมคติที่เป็นไปไม่ได้เพราะเมื่อเปิดให้ทุกคนแก้ไขได้ ย่อมเกิดความเอนเอียงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้[31] งานวิจัยได้แสดงว่า บทความยังสามารถดำรงความเอนเอียงแม้จะมีนโยบายเช่นนี้เพราะการใช้คำ, การแสดงความเห็นและข้ออ้างที่ได้ขัดแย้งว่าเป็นความจริง และการวางกรอบ[32]

ในเดือนสิงหาคม 2007 นักวิจัยเวอร์จิล กริฟฟิทได้สร้างฐานข้อมูลที่เรียกว่า วิกิสแกนเนอร์ ที่สามารถจับคู่การแก้วิกิพีเดียของผู้ใช้ที่ไม่ได้ล็อกอินกับฐานข้อมูลเลขที่อยู่ไอพีขนาดใหญ่[33] ต่อจากนั้นจึงเริ่มมีข่าวว่ามีเลขที่อยู่ไอพีจากองค์กรต่าง ๆ รวมทั้งสำนักข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) คณะรัฐสภาริพับลิกันแห่งชาติ (NRCC) คณะหาเสียงรัฐสภาเดโมแครต (DCCC) บริษัทดีโบลด์ (Diebold) และรัฐบาลออสเตรลีย ที่ใช้แก้ไขบทความวิกิพีเดีย บางครั้งอย่างดื้อดึงหรืออย่างน่าสงสัย ยังมีข่าวอีกด้วยว่า เลขที่อยู่ไอพีจากบรรษัทแพร่ภาพกระจายเสียงอังกฤษ (บีบีซี) ได้ใช้ก่อกวนบทความเกี่ยวกับจอร์จ ดับเบิลยู. บุช[34] บีบีซีอ้างอิงโฆษกของวิกิพีเดียผู้ชมอุปกรณ์นี้ว่า "เราให้คุณค่ากับความโปร่งใสจริง ๆ และสแกนเนอร์ตัวนี้ทำให้ก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง วิกิพีเดียสแกนเนอร์อาจช่วยป้องกันองค์กรหรือบุคคลไม่ให้แก้ไขบทความที่ตนไม่ควรแก้"[35] ไม่ใช่ทุกคนที่โห่ร้องวิกิสแกนเนอร์ว่าเป็นความสำเร็จของวิกิพีเดีย นักข่าวอังกฤษของหนังสือพิมพ์เดอะไทมส์อ้างว่า[2]

วิกิสแกนเนอร์จัดเป็นพัฒนาการที่สำคัญอย่างหนึ่งในการขุดโค่นอิทธิพลอันตรายต่อสติปัญญาของพวกเรา นักวิจารณ์เว็บประณามสื่อนี้ว่าเป็นลัทธิมือสมัครเล่น (แต่) วิกิพีเดียแย่ยิ่งกว่านั้น มันเป็นที่สำหรับใช้ล็อบบี้ได้อย่างลับ ๆ วิธีการสร้างสรรค์ที่สุดก็คือยืนนอกเส้นข้างสนามแล้วโห่เย้ยหยันการอวดอ้างของมัน

วิกิสแกนเนอร์สามารถเปิดเผยการขัดกันแห่งผลประโยชน์ต่อเมื่อผู้แก้ไขไม่มีบัญชีวิกิพีเดียหรือไม่ได้ล็อกอินแล้วใช้เลขไอพีแทน (คือวิกิพีเดียบันทึกเลขไอพีของผู้แก้ไขในประวัติหน้าเป็นต้น) การแก้ไขหน้าโดยมีการขัดกันแห่งผลประโยชน์ของผู้แก้ไขที่มีบัญชี (และล็อกอิน) จะตรวจดูไม่ได้ เพราะการแก้ไขเช่นนี้ (ถ้าผู้แก้ไขไม่ได้เปิดเผยตัว) จะไม่เปิดเผยเลขไอพีต่อคนอื่นยกเว้นแอดมินบางพวกคือ ผู้ตรวจสอบผู้ใช้[36]

ข้อพิพาททางวิทยาศาสตร์

งานศึกษาปี 2005 ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์เนเจอร์ ได้ให้ตัวอย่างสั้น ๆ 2 ตัวอย่างที่แสดงปัญหาซึ่งนักเขียนวิทยาศาสตร์อาจมีในวิกิพีเดีย ตัวอย่างแรกเกี่ยวกับหัวข้อย่อยเรื่องความรุนแรงเกี่ยวกับโรคจิตเภท นักประสาทจิตวิทยาชาวอังกฤษคนหนึ่งผู้แก้ไขบทความนี้เป็นประจำจัดว่ามันเป็นเพียงแต่การโวยวายว่าจำเป็นต้องกักตัวคนไข้ไว้ เขากล่าวว่า การแก้ไขบทความนี้กระตุ้นให้เขาตรวจดูวรรณกรรมทางการแพทย์เกี่ยวกับประเด็นนี้[15]

ข้อพิพาทอีกอย่างหนึ่งเกิดกับนักวิจัยด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศชาวอังกฤษ ผู้ถูกผู้แก้ไขอื่น ๆ ต่อต้าน เรื่องที่พิพาทเป็นเรื่องภาวะโลกร้อน และนิตยสารอเมริกันเดอะนิวยอร์เกอร์รายงานว่า เรื่องพิพาทนี้ยาวไปจนถึงมือของคณะอนุญาโตตุลาการ ซึ่งใช้เวลา 3 เดือนกว่าจะได้ข้อตัดสิน[37] ตามที่วารสารวิทยาศาสตร์เนเจอร์ รายงาน คณะอนุญาโตตุลาการได้สั่งจำกัดการย้อนแก้ไขของนักวิจัยในบทความต่าง ๆ คือให้ทำเพียงครั้งเดียวต่อวันเป็นเวลา 6 เดือน[ต้องการอ้างอิง]

การเสี่ยงมีผู้แก้ไขซึ่งหวังผลทางการเมือง

แม้นโยบายของวิกิพีเดียจะบังคับให้มีมุมมองที่เป็นกลาง แต่ก็ยังไม่พ้นจากความพยายามของคนนอก (หรือคนใน) ที่มีแผนปั่นบทความ ในเดือนมกราคม 2006 พนักงานของผู้แทนสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐได้เริ่มรณรงค์ล้างชีวิตประวัติวิกิพีเดียของเจ้านายของตน ๆ เช่น มีการลบสัญญาว่าจะไม่ลงเลือกตั้งอีก บวกกับใส่ความในบทความของศัตรูทางการเมือง มีการแก้ไขเป็นจำนวนมากจากเลขที่อยู่ไอพีของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ[38] ในการสัมภาษณ์ครั้งหนึ่ง ผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดียคือ จิมมี เวลส์ ได้ให้ความเห็นว่าการแก้ไขบทความเช่นนี้ไม่ดี (not cool)[39]

นักข่าวบางพวกเขียนไว้ว่า จากมุมมองของตน ๆ บทความเกี่ยวกับประวัติลาตินอเมริกาและกลุ่มต่าง ๆ ในลาตินอเมริกา (เช่น คิวบา) บางบทความไร้มุมมองที่เป็นกลางทางการเมืองเพราะเขียนเข้าข้างมาร์กซิสต์ จึงปฏิบัติต่อระบอบเผด็จการแบบสังคมนิยมดีกว่าระบอบอื่น ๆ[40][41][42]

ในปี 2008 กลุ่มสนับสนุนอิสราเอลคือ Committee for Accuracy in Middle East Reporting in America (CAMERA) ได้รณรงค์ทางอีเมลสนับสนุนให้ผู้อ่านแก้ไขความเอนเอียงและความไม่สอดคล้องกันที่เห็นเกี่ยวกับอิสราเอลในวิกิพีเดีย[43] ต่อมา องค์กร CAMERA จึงอ้างว่า ข้อความที่ตัดตอนมานี้ไม่เป็นตัวแทนสิ่งที่องค์กรสื่อ และว่าองค์กรได้รณรงค์โดยตรงเพื่อเพียง "สนับสนุนให้คนศึกษาและแก้ไขสารานุกรมออนไลน์เพื่อความแม่นยำ"[44] ต่อมาผู้แก้ไขวิกิพีเดียที่สนับสนุน CAMERA และกลุ่มฝ่ายตรงกันข้ามคือ Electronic Intifada ต้องเข้ากระบวนการไกล่เกลี่ย[43] ทูตอิสราเอลผู้มักได้หน้าที่ให้ติดต่อกับสื่อคนหนี่งกล่าวว่า วิกิพีเดียทั่วไปยุติธรรมเกี่ยวกับอิสราเอล เมื่อชี้ว่า บทความวิกิพีเดียภาษาอังกฤษคือ "อิสราเอล" ใช้คำว่า "การยึดครอง" (occupation) ถึง 9 ครั้งเทียบกับบทความ "ชาวปาเลสไตน์" ที่ใช้คำว่า "การเคลื่อนไหวที่ก่อความรุนแรง" (terror)[B]เพียงครั้งเดียว เขาตอบว่า "นี่เพียงแต่หมายความว่า คนอิสราเอลควรจะทำการมากขึ้นในวิกิพีเดีย แทนที่จะโทษมัน พวกเขาควรไปที่เว็บไซต์มากขึ้น แล้วพยายามเปลี่ยนมัน"[45]

นักวิเคราะห์ข่าวชาวยิวคนหนึ่งเมื่อทบทวนความรู้สึกของคนอิสราเอลที่แพร่หลายว่าบทความวิกิพีเดียมีความเอนเอียงเป็นระบบ ก็ได้อ้างว่า มีปัญหาในระดับโครงสร้างที่ก่อความเอนเอียงคือ การแก้ไขแบบนิรนามสนับสนุนให้เกิดความเอนเอียง โดยเฉพาะถ้าผู้แก้ไขทำการรณรงค์ประสานงานเพื่อหมิ่นประมาทดังที่ได้ทำในบทความในเรื่องปัญหาระหว่างอาหรับกับอิสราเอล และนโยบายวิกิพีเดียปัจจุบันแม้จะตั้งใจดี แต่ก็ไม่มีประสิทธิภาพในการรับมือเยี่ยงนี้[46]

ในวันที่ 31 สิงหาคม 2008 หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ตีพิมพ์บทความที่ให้รายละเอียดในเรื่องการแก้ไขชีวิตประวัติของผู้ว่าการรัฐอะแลสกาคนหนึ่ง (Sarah Palin) เมื่อได้เสนอชื่อให้เป็นผู้สมัครเป็นรองประธานาธิบดีสหรัฐร่วมกันผู้สมัครเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคือจอห์น แมคเคน คือ 24 ชม. ก่อนการประกาศชื่อผู้สมัคร ผู้ใช้ชื่อว่า "Young_Trigg" ได้แก้ไขบทความถึง 30 ครั้ง โดยจำนวนมากเพิ่มรายละเอียดในเชิงสรรเสริญ[47] บุคคลนี้ภายหลังยอมรับว่า ทำงานกับกลุ่มหาเสียงของแมคเคน และยังแก้บทความโดยใช้บัญชีอื่น ๆ อีก[48] เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2010 หนังสือพิมพ์โทรอนโตสตาร์รายงานว่า รัฐบาลแคนาดากำลังตรวจสอบเจ้าหน้าที่สองคนผู้ไปยังวิกิพีเดียเพื่อแสดงความเห็นของตนเกี่ยวกับนโยบายของรัฐและเข้าร่วมการอภิปรายทางการเมืองที่ดุเดือด[49]

ในปี 2010 นักข่าวของสำนักข่าวอัลญะซีเราะฮ์เสนอว่า บทความ Cyrus Cylinder (กระบอกพระเจ้าไซรัสมหาราช) ถูกแก้ไขเพราะเหตุผลทางการเมือง โดย "การต่อสู้ความเห็นที่ปรากฏภายในโลกสลัวของฮาร์ดดิสก์ และของผู้แก้ไข 'อิสระ' ที่เป็นส่วนของอุตสาหกรรมวิกิพีเดีย" เขาเสนอว่า หลังจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีอิหร่าน ค.ศ. 2009 และกิจกรรมต่อต้านอิหร่าน ก็ได้เห็น "ความพยายามอย่างบากบั่นเพื่อวาดภาพกระบอกนั้นว่า ไม่ใช่อะไรอื่นนอกเหนือจากอุปกรณ์การโฆษณาชวนเชื่อของผู้รุกรานที่ดุร้าย" หลังการวิเคราะห์ของเขาในปี 2009 และ 2010 การแก้ไขต่อ ๆ มาก็เป็น "การเฉยเมยอย่างสมบูรณ์แบบกับข้อเสนอว่า กระบอก หรือว่าราชกิจของพระเจ้าไซรัส เป็นเรื่องสิทธิมนุษยชนหรือเป็นเจตจำนงที่ประกอบด้วยปัญญาโดยประการใด ๆ ทั้งปวง" โดยเปรียบเทียบได้อย่างหน้ามือเป็นหลังมือกับชื่อเสียงของพระเจ้าไซรัสเองตามที่ปรากฏในพันธสัญญาเดิมและกับคนบาบิโลน[50]

การเข้ายึดหรือการล้างบทความ

บทความที่ผู้ใช้หรือกลุ่มผู้ใช้ให้ความสนใจบางครั้งจะแก้ไขตามมุมมองของบุคคลเหล่านั้น ๆ[51] บริษัทและองค์กรรวมทั้งโซนี่ ดีโบลด์ (Diebold) นินเท็นโด เดลล์ สำนักข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) และ Church of Scientology รวมทั้งพนักงานของสมาชิกรัฐสภาสหรัฐ ล้วนปรากฏแล้วว่าแก้ไขบทความวิกิพีเดียเกี่ยวกับตนเองเพื่อให้ดูดี องค์กรเหล่านี้อาจมีบัญชีที่ย้อนการแก้ไขเชิงลบทันทีที่เกิด[52][53]

คุณภาพการนำเสนอ

บทความเกี่ยวกับประวัติศาสตร์สหรัฐ

เรียงความของนักวิชาการทางประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันท่านหนึ่งได้วิจารณ์เนื้อหาและสไตล์การเขียนที่ใช้ในวิกิพีเดียว่า ไม่แยกแยะประเด็นที่สำคัญจากประเด็นที่เพียงแต่ดึงดูดความรู้สึก ว่าวิกิพีเดีย "แม่นยำอย่างน่าแปลกใจเมื่อรายงานชื่อ วันที่ และเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์สหรัฐ" และความผิดพลาดจากความจริงที่เขาพบโดยมาก "เล็กน้อยและไม่มีผลอะไร" โดยบางอย่างเป็น "เรื่องพูดต่อ ๆ กันอย่างแพร่หลาย แต่ก็เป็นความเชื่อที่ไม่จริง" ซึ่งกล่าวต่อแม้ใน สารานุกรมเอนคาร์ตาและสารานุกรมบริแทนนิกา ข้อวิจารณ์หลักของเขาก็คือ

การเขียนประวัติศาสตร์ที่ดีจำเป็นไม่เพียงต้องมีความจริงที่แม่นยำ แต่ต้องมีความรู้อย่างแตกฉานเกี่ยวกับวรรณกรรมทางวิชาการ มีการวิเคราะห์และตีความซึ่งโน้มน้าวใจ มีร้อยแก้วที่ชัดเจนและดึงดูดใจด้วย ตามคุณสมบัติเช่นนี้ เว็บไซต์ American National Biography Online[C] ดีกว่าวิกิพีเดียมาก[57]

เขายังวิจารณ์ "ความคลุมเครือที่สนับสนุนโดยนโยบาย[มุมมองที่เป็นกลาง] ซึ่งหมายความว่า จุดยืนโดยการตีความใน[บทความ]ประวัติศาสตร์ของวิกิพีเดียรู้ได้ยาก" แล้วอ้างอิงข้อสรุปในชีวประวัติของนายทหารกองโจรฝ่ายสมาพันธรัฐคนหนึ่ง (William Clarke Quantrill) ว่าเป็นตัวอย่างการใช้ถ้อยคำคลุมเครือ ตัวอย่างข้อความคือ

นักประวัติศาสตร์บางท่านจำ [Quantrill] ว่าเป็นคนนอกกฎหมายที่ฉวยโอกาส บ้าเลือด ในขณะที่นักประวัติศาสตร์อื่น ๆ ยังคงมองเขาว่าเป็นทหารใจกล้าและเป็นวีรบุรุษชนพื้นบ้าน[57]

เขาได้เปรียบเทียบบทความเกี่ยวกับอับราฮัม ลินคอล์นของวิกิพีเดีย และของนักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันเจมส์ แม็กเฟอร์สันที่เขียนไว้ใน American National Biography Online เขากล่าวว่าบทความทั้งสองล้วนแม่นยำเมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญในชีวิตของประธานาธิบดีลินคอล์น แม็กเฟอร์สันผู้เป็นศาสตราจารย์สาขาประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยพรินซ์ตันและผู้ได้รางวัลพูลิตเซอร์ แสดงการใส่คำ/วลี/แนวคิด/สิ่งที่เกิดภายในบริบทได้ดีกว่า โดยมี "การใช้คำอ้างอิงที่มีศิลปะเพื่อบันทึกเสียงของลินคอล์น" และ "ความสามารถในการสื่อความที่ลึกซึ้งด้วยคำเพียงไม่กี่คำ" โดยเปรียบเทียบกัน เรียงความของวิกิพีเดีย "ทั้งใช้คำฟุ่มเฟือยและน่าเบื่อ" และดังนั้น จึงอ่านยาก เพราะ "ทักษะและการตัดสินใจอย่างมั่นใจของนักประวัติศาสตร์ผู้มีประสบการณ์" ขาดไปจากสไตล์การเขียนที่โบราณของวิกิพีเดีย เทียบกับสไตล์การเขียนของนักประวัติศาสตร์มืออาชีพต่าง ๆ ของนิตยสาร American Heritage และได้กล่าวด้วยว่า แม้วิกิพีเดียจะแสดงแหล่งอ้างอิงเป็นจำนวนมาก แต่ก็ไม่ใช่แหล่งอ้างอิงซึ่งแม่นยำที่สุด[57]

บทความทางการแพทย์

ในงานศึกษาของมหาวิทยาลัยทอมัสเจฟเฟอร์สัน (ในเมืองฟิลาเดลเฟียของสหรัฐ) นักวิชาการได้พบว่าบทความเกี่ยวกับมะเร็งของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษโดยมากถูกต้อง แต่ก็เขียนใช้สำนวนในระดับมหาวิทยาลัย ไม่ใช่ในระดับผู้จบ ม.3 ดังที่พบในฐานข้อมูลมะเร็ง Physician Data Query (PDQ) ของสถาบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐ (NCI) ตามนักวิชาการของงานนี้ การอ่านยากของวิกิพีเดียอาจสะท้อนถึงการได้ข้อมูลจากที่ต่าง ๆ และการแก้ไขแบบตามยถากรรม[58]

บทความของนิตยสารรายสัปดาห์ของประเทศอังกฤษเดอะอีคอโนมิสต์ปี 2007 กล่าวว่า คุณภาพการเขียนในบทความวิกิพีเดียภาษาอังกฤษปกติจะระบุคุณภาพเนื้อหา คือ "ร้อยแก้วที่ไม่สละสลวยหรือแบบโวยวายปกติจะสะท้อนให้เห็นความคิดที่สับสนวุ่นวายหรือการมีข้อมูลไม่สมบูรณ์"[59]

การอภิปรายที่เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล

ในหนังสือพิมพ์อเมริกัน เดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล วันที่ 12 กันยายน 2006 จิมมี เวลส์ได้อภิปรายกับเดล ฮอยเบอร์กผู้เป็นหัวหน้าบรรณาธิการของสารานุกรมบริแทนนิกา[60] ฮอยเบอร์กเล็งเรื่องความต้องมีความเชี่ยวชาญและการควบคุมในสารานุกรม และยกคำอ้างของนักประวัติศาสตร์ชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงผู้หนึ่ง (Lewis Mumford) ว่า ข้อมูลที่ท่วมท้นอาจ "นำมาซึ่งสภาวะความอ่อนแอหรือความหมดสิ้นของเชาวน์ปัญญาอันแยกจากความเขลาแบบถล่มทะลายไม่ได้" ส่วนเวลส์เน้นความต่างในวิกิพีเดีย และยืนยันว่า ความเปิดกว้างและความโปร่งใสนำไปสู่คุณภาพ ฮอยเบอร์กกล่าวว่าเขา "ไม่มีเวลาไม่มีที่พอเพื่อตอบสนองต่อ[ข้อวิจารณ์]" และ "ล้อมเอาลิงก์จำนวนเท่าไรก็ได้ที่เชื่อมโยงไปยังบทความที่กล่าวถึงข้อผิดพลาดในวิกิพีเดีย" ซึ่งเวลส์ได้ตอบว่า "ไม่เป็นปัญหา! วิกิพีเดียช่วยได้ด้วยบทความที่ดี" แล้วให้ลิงก์ไปยังบทความวิกิพีเดียเรื่องข้อวิจารณ์วิกิพีเดีย[60]

ความเอนเอียงอย่างเป็นระบบ

วิกิพีเดียถูกติว่ามีความเอนเอียงเป็นระบบ (systemic bias) ซึ่งก็คือธรรมชาติของระบบนำไปสู่การแพร่ความเดียดฉันท์ในรูปแบบต่าง ๆ โดยไม่ต้องตั้งใจ แม้ข่าวในหนังสือพิมพ์จำนวนมากจะเล็งความผิดพลาดจากความจริงเล็ก ๆ น้อย ๆ ในบทความวิกิพีเดีย แต่ก็มีความเป็นห่วงเกี่ยวกับผลมหาศาลที่ไม่ได้จงใจซึ่งมาจากอิทธิพลของวิกิพีเดียและการใช้วิกิพีเดียที่เพิ่มขึ้นเพื่อการค้นคว้าในทุก ๆ ระดับ ในนิตยสารประเทศอังกฤษ Times Higher Education นักปรัชญาคนหนึ่งกล่าวว่า วิกิพีเดียได้กลายเป็นการผูกขาด โดยรวมเอาทั้งความเดียดฉันท์และความไม่รู้ของผู้สร้างบทความ ซึ่งเขาเรียกว่าเป็นมุมมองของคนขับรถแท็กซี่เด็ก ๆ[61] เขาสรุปว่า "การควบคุมแหล่งอ้างอิงที่คนใช้เท่ากับควบคุมวิธีที่บุคคลเข้าใจโลก วิกิพีเดียอาจมีรูปลักษณ์ที่ใจดีหรือแม้แต่ไม่เอาจริงเอาจัง แต่ข้างในอาจมีอันตรายที่อัปรีย์และละเอียดอ่อนต่อเสรีภาพทางความคิด"[61] เสรีภาพนี้ถูกบ่อนทำลายด้วยเรื่องที่เขาคิดว่าสำคัญในวิกิพีเดีย คือการปฏิบัติแบบ "ไม่เอาแหล่งข้อมูลของคุณ แต่เอา 'ความสนับสนุนของชุมชน' "[61]

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน เซนต์หลุยส์ ได้พัฒนาแบบจำลองทางสถิติเพื่อวัดความเอนเอียงเป็นระบบของผู้ใช้วิกิพีเดียในประเด็นที่ก่อการโต้เถียง โดยเล็งการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของผู้ดูแลระบบหลังได้ตำแหน่ง แล้วสรุปว่าความเอนเอียงเป็นระบบจะเกิดหลังได้ตำแหน่ง[62]

ผู้วิจารณ์ยังชี้ไปที่แนวโน้มการเขียนถึงประเด็นต่าง ๆ อย่างละเอียดโดยไม่คำนึงถึงความสำคัญโดยเปรียบเทียบ ตัวอย่างเช่น นักแสดงตลกชาวอเมริกันผู้หนึ่งเคยล้อสรรเสริญวิกิพีเดียว่า มีบทความเกี่ยวกับกระบี่แสง (ไลต์เซเบอร์) มากกว่าแท่นพิมพ์ (printing press)[D][E][63] ส่วนหัวหน้าบรรณาธิการของสารานุกรมบริแทนนิกากล่าวว่า "คนจะเขียนเรื่องที่ตนสนใจ ดังนั้น เรื่องหลายเรื่องจึงไม่ได้เขียน และข่าวต่าง ๆ ก็มีรายละเอียดมาก ในอดีต บทความเกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อนฟรานซิสยาวเกินกว่า 5 เท่าของบทความเกี่ยวกับศิลปะจีน และละครโทรทัศน์ Coronation Street ยาวเป็นสองเท่าของบทความเกี่ยวกับ (อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร) โทนี แบลร์"[11] วิธีการเปรียบเทียบบทความสองอย่าง คือบทความที่จัดเป็นสารานุกรมโดยดั้งเดิม และบทความที่คนนิยมมากกว่า ได้เรียกว่า "wikigroaning" (การคร่ำครวญเรื่องวิกิ)[64][65][66] ส่วนข้อสนับสนุนการเปิดรับบทความแบบกว้าง ๆ ข้อหนึ่งอ้างว่า การเขียนเกี่ยวกับวัฒนธรรมประชานิยมของวิกิพีเดียที่บางครั้งละเอียดกว่า ไม่ได้ทำให้เหลือที่น้อยลงสำหรับเรื่องที่เป็นจริงเป็นจังกว่า[67]

ในปี 2014 ผู้สนับสนุนการรักษาเน้นภาพรวม (holistic healing) และพลังจิตเป็นต้นเริ่มคำร้องผ่าน change.org ให้มี "การสนทนาที่เป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง" ในวิกิพีเดีย โดยร้องว่า "ข้อมูลโดยมากในวิกิพีเดียเกี่ยวกับวิธีรักษาเน้นภาพรวมมีความเอนเอียง ทำให้เข้าใจผิด ล้าสมัย หรือไม่ก็ผิดโต้ง ๆ เลย" ส่วนจิมมี เวลส์ตอบว่า วิกิพีเดียให้ข้อมูลเกี่ยวกับงานที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ที่น่านับถือเท่านั้น[68][69]

ความโดดเด่นของประเด็นในบทความ

วิกิพีเดียมีแนวปฏิบัติเรื่องความโดดเด่นที่ใช้ระบุว่าประเด็นหนึ่ง ๆ ควรจะมีบทความของตนหรือไม่ และการประยุกต์ใช้แนวปฏิบัตินี้ก็ได้สร้างข้อวิจารณ์[70] ผู้แก้ไขวิกิพีเดียภาษาอังกฤษคนหนึ่งได้ปฏิเสธบทความร่างของดอนนา สตริกแลนด์ก่อนที่เธอจะได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี 2018 เพราะไม่มีแหล่งอ้างอิงอิสระที่ให้เพื่อแสดงว่าเธอโดดเด่นพอผ่านเกณฑ์ของวิกิพีเดีย นักข่าวเน้นเรื่องนี้ว่าเป็นตัวระบุความมองไม่ค่อยเห็นความสำคัญของหญิงในสาขาวิทยาศาสตร์เมื่อเทียบกับชาย[71][72] อคติทางเพศในวิกิพีเดียเป็นเรื่องที่ได้ระบุแล้วเป็นอย่างดี และได้ก่อการเคลื่อนไหวเพื่อเพิ่มหญิงที่โดดเด่นในบทความวิกิพีเดียภาษาอังกฤษผ่านโครงการวิกิ Women in Red

สำนักข่าวควอตซ์ (ในนครนิวยอร์ก) ได้สัมภาษณ์ผู้สมัครรับเลือกตั้งตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่ของเทศมณฑลควีนส์ปี 2018 ผู้เสียเปรียบเหตุการทำอันดับข้อมูลให้เด่นสุดตามเสิร์ชเอนจินเพราะมีบทความนักแสดงโป๊ผู้มีชื่อเดียวกันในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ และได้สัมภาษณ์ผู้แก้ไขบทความนักแสดงโป๊ตามที่ว่าด้วย (ซึ่งถูกลบ แล้วจึงย้อนลบหลังผู้สมัครได้ชนะการเลือกตั้งแล้ว) นักข่าวได้อธิบายถึงกระบวนการลบบทความ ชี้ผู้สมัครอื่น ๆ ที่มีบทความในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษแม้จะไม่เคยดำรงตำแหน่งของรัฐใด ๆ โดยไม่มีปัญหาเกี่ยวกับกราฟความรู้ของกูเกิลเกี่ยวกับนักแสดงโป๊ที่ทำมาจากกล่องข้อมูลของวิกิพีเดียอีกด้วย[73]

นักเขียนนิยายอเมริกันคนหนึ่งกล่าววิจารณ์ความช่างลบบทความว่า "มีการโต้เถียงกับเป็นแผ่น ๆ เป็นรีม ๆ เป็นห่อ ๆ เกี่ยวกับว่าอะไรเป็นความโดดเด่นในวิกิพีเดีย ที่จะไม่มีใครทำให้กระจ่างได้"[74]

ส่วนนักข่าวอเมริกันผู้หนึ่งได้เขียนถึงประสบการณ์ที่ตนได้รับจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษคือ "นโยบายความโดดเด่นของวิกิพีเดียเหมือนกับนโยบายการเข้าเมืองสหรัฐก่อน 9/11 คือ กฎเข้มงวด บังคับใช้ไม่สม่ำเสมอ"[75] ในบทความเดียวกัน นักข่าวได้กล่าวว่า นักเขียนผู้ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์คือสเตซี่ สกิฟฟ์จัดว่าไม่โดดเด่นพอในวิกิพีเดียจนกระทั่งได้เขียนรายงานชื่อว่า "รู้ไปหมด (Know it All)" เกี่ยวกับเรื่องอื้อฉาวของผู้แก้ไขวิกิพีเดียภาษาอังกฤษผู้หลอกลวงคนอื่นถึงความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ของตน (อยู่ในบทความวิกิพีเดียภาษาอังกฤษชื่อว่า Essjay controversy)

กว้าง ๆ ยิ่งกว่านั้น งานศึกษาปี 2014 ไม่พบสหสัมพันธ์ระหว่างลักษณะต่าง ๆ ของหน้าวิกิพีเดียเกี่ยวกับนักวิชาการ กับความโดดเด่นของนักวิชาการซึ่งระบุโดยจำนวนการอ้างอิงถึงวรรณกรรมต่าง ๆ ของเขา ลักษณะต่าง ๆ ที่ตรวจสอบรวมทั้งความยาว การลิงก์ไปยังหน้านั้นจากบทความอื่น ๆ และจำนวนการแก้ไขบทความ งานศึกษานี้พบว่า วิกิพีเดียไม่มีบทความครอบคลุมนักวิจัยที่อ้างอิงกันในระดับสูงและอยู่ในรายการของ Institute for Scientific Information (ISI) อย่างเพียงพอ[76]

การเข้าข้างทางการเมือง

นักวิเคราะห์ทางการเมืองพวกอนุรักษนิยมในสหรัฐได้เสนอว่า มุมมองทางการเมืองแบบเสรีนิยมมีมากกว่าในวิกิพีเดีย นักปฏิบัติการอนุรักษนิยมผู้หนึ่งได้ก่อตั้งสารานุกรม Conservapedia ขึ้นเพราะรู้สึกว่าวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเอนเอียงไปทางเสรีนิยม[77] ผู้แก้ไขสารานุกรมนี้ได้รวบรวมรายการตัวอย่างข้อความ/บทความในวิกิพีเดียที่อ้างว่าเอนเอียงไปทางเสรีนิยม[78] ในปี 2007 บทความในหนังสือพิมพ์คริสเตียน เดอะคริสเตียนโพสต์ ได้วิจารณ์บทความ intelligent design[F] ของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษโดยอ้างว่า เอนเอียงและหน้าไหว้หลังหลอก[79] ส่วนนักเขียนเรื่องสิ่งแวดล้อมชาวแคนาดาผู้เขียนบทบรรณาธิการของนิตยสารอนุรักษนิยมสหรัฐจัดบทความวิกิพีเดียภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน, intelligent design[F] และ Roe v. Wade[G] ว่าทั้งหมดเอนเอียงไปทางมุมมองของเสรีนิยม[80]

ในปี 2006 จิมมี เวลส์กล่าวว่า "ชุมชนวิกิพีเดียหลายหลากมาก เริ่มตั้งแต่คนเสรีนิยม คนอนุรักษนิยม จนไปถึงอิสรเสรีนิยมและยิ่งกว่านั้น ถ้าค่าเฉลี่ยสำคัญ และเพราะธรรมชาติของซอฟต์แวร์วิกิ (คือไม่มีการลงคะแนนเสียง) ก็น่าจะไม่สำคัญเลย ผมก็จะกล่าวว่าชุมชมวิกิพีเดียเสรีนิยมมากกว่าประชากรสหรัฐโดยเฉลี่ยเล็กน้อย เพราะเรามีสมาชิกทั่วโลก และชุมชนที่พูดภาษาอังกฤษนานาชาติก็เสรีนิยมกว่าประชากรสหรัฐเล็กน้อย (แต่) ก็ไม่มีข้อมูลหรือการสำรวจเพื่อสนับสนุนคำกล่าวนั้น"[81]

ส่วนผู้เชี่ยวชาญคู่หนึ่งได้วิเคราะห์บทความวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการเมืองสหรัฐในช่วงปี 2012 โดยย้อนกลับไปถึงหนึ่งทศวรรษแล้วรายงานในงานศึกษาปี 2016[82] อ้างว่า ยิ่งมีผู้ร่วมงานมากเท่าไรในบทความนั้น ๆ ก็จะมีความเอนเอียงน้อยลงเท่านั้น และว่า มีบทความวิกิพีเดียปัจจุบันที่เอนเอียงไปทางเสรีนิยมน้อยกว่าวิกิพีเดียในช่วงปีแรก ๆ (เมื่อมีคนน้อยกว่า) โดยอาศัยงานศึกษาคำปรากฏร่วมจำเพาะ (collocation)[H][83][84]

ศาสตราจารย์ท่านหนึ่งที่มหาวิทยาลัยเพอร์ดูกล่าวว่า "ในประเด็นทางการเมืองบางเรื่อง มีความเอนเอียงไปทางฝ่ายกลาง-ซ้าย (central-left) เมื่อพูดถึงประเด็นที่เป็นการเมืองยิ่งกว่านั้น ก็ยังมีความเอนเอียงแบบวัฒนธรรมที่แปลกต่างกับที่มีอยู่ในสังคม (counter-cultural) เล็กน้อยด้วย (แต่) ก็ไม่เป็นอย่างนี้ในทุก ๆ บทความ และก็ไม่ได้เป็นสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง"[85]

ความเอนเอียงประจำชาติหรือประจำบริษัท

ในเดือนมกราคม 2007 นักเขียนโปรแกรมชาวออสเตรเลียผู้หนึ่งแจ้งว่า ไมโครซอฟท์ได้เสนอจ้างเขาให้แก้ไขบทความวิกิพีเดียเกี่ยวกับโอโอเอกซ์เอ็มแอล (Office Open XML)[86][87][88] แต่โฆษกของบริษัทคนหนึ่งก็กล่าวว่า "ไมโครซอฟท์และนักเขียนคือริก เจลลิฟฟ์ ยังไม่ได้ตกลงราคาและยังไม่ได้จ่ายเงิน แต่ก็ได้ตกลงกันว่า จะไม่ให้บริษัททบทวนการเขียนของเขาก่อนที่จะเผยแพร่" แต่จิมมี เวลส์ก็ไม่เห็นด้วยกับบทบาทเช่นนี้ของไมโครซอฟท์ คือ "เรารู้สึกผิดหวังเมื่อได้ยินว่า ไมโครซอฟท์กำลังใช้วิธีนี้"[86]

ในปี 2008 อาจารย์สอนอาวุโสที่มหาวิทยาลัยซิดนีย์ประเทศออเสตรเลียกล่าวว่า ผู้ดูแลระบบวิกิพีเดียภาษาอังกฤษมีความเอนเอียงประจำชาติเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับผู้แก้ไข และเมื่อกำหนดว่า แหล่งอ้างอิงใดสมควรใช้กับวิกิพีเดีย คือ เขารู้สึกขัดข้องใจว่าแหล่งอ้างอิงที่เขาใช้เมื่อแก้ไขบทความอูโก ชาเบซรวมทั้ง เว็บไซต์ Venezuelanalysis และ Z Magazine ถูกระบุว่าไม่ให้ใช้คือ "ใช้ไม่ได้" เขากล่าวถึงนโยบายมุมมองที่เป็นกลางของวิกิพีเดียว่า มีแต่หน้า/เป็นของหลอกลวง และวิกิพีเดีย "ซ่อนอยู่ข้างหลังการพึ่งการแก้ไขสื่อของบริษัท"[89]

ในปี 2017 บริษัทเบอร์เกอร์คิงและเว็บไซต์ข่าวและสื่ออเมริกัน The Verge ทั้งสองต่างจัดการบทความวิกิพีเดียเพื่อเปลี่ยนว่า กูเกิลโฮมจะกล่าวอะไรเมื่อถามถึงผลิตภัณฑ์คือ ว็อปเปอร์[90]

ในปี 2019 ประธานบริหารของบริษัทขายผลิตภัณฑ์เครื่องกีฬากลางแจ้ง North Face Brazil อธิบายต่อนิตยสาร Ad Age ว่า ได้ถึงเป้าหมายในการกำหนดจุดยืนผลิตภัณฑ์โดยเปลี่ยนภาพในบทความวิกิพีเดียเกี่ยวกับสถานที่ให้เป็นภาพนักกีฬาใส่ผลิตภัณฑ์ของบริษัทไปยังสถานที่นั้น ๆ[91][92]

ศาสตราจารย์ทางประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยประเทศโครเอเชียท่านหนึ่งได้ให้ข้อสังเกตว่า "วิกิพีเดียโครเอเชียเป็นเพียงแต่อุปกรณ์ที่ผู้ดูแลโปรโหมตประเด็นทางการเมืองของตน โดยให้ข้อมูลที่เป็นเท็จและบิดเบือน"[93] เขายกตัวอย่างเด่นสุดคือบทความ Istrijanstvo (ซึ่งควรแปลว่าภูมิภาคนิยมอิสเตรีย) ซึ่งได้นิยามว่า "การเคลื่อนไหวที่สร้างขึ้นจากความเท็จเพื่อลดจำนวนคนโครเอเชีย" และ antifašizam (การต่อต้านลัทธิฟาสซิสต์) ซึ่งนิยามให้มีความหมายตรงกันข้าม[93] เขาแนะนำว่า "จะดีถ้ามีคนจำนวนมากเข้าร่วมและเริ่มเขียนในวิกิพีเดีย" เพราะ "ผู้ดูแลระบบต้องการฉวยโอกาสกับนักเรียนและนักศึกษามัธยมและมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นผู้ใช้วิกิพีเดียกลุ่มสามัญที่สุด เพื่อเปลี่ยนความเห็นและทัศนคติของพวกเขา อันเป็นปัญหาร้ายแรง"[93]

ในปี 2013 รัฐมนตรีกระทรวงวิทยาศาสตร์ การศึกษา และกีฬาของโครเอเชีย ได้เรียกร้องให้นักเรียนนักศึกษาในโคเอเชียหลีกเลี่ยงการใช้วิกิพีเดียภาษาโครเอเชีย[94] ในสัมภาษณ์ที่ให้กับหนังสือพิมพ์ Novi list พณท่านกล่าวว่า "แนวคิดเกี่ยวกับความเปิดและความเข้าประเด็นในฐานะแหล่งความรู้ที่วิกิพีเดียสามารถเป็นและควรเป็นได้ถูกดิสเครดิตอย่างสิ้นเชิง ซึ่งแน่นอนว่า นี่ไม่เคยเป็นเป้าหมายของผู้ก่อสร้างวิกิพีเดียหรือคนจำนวนมหาศาลรอบโลกที่แชร์ความรู้และเวลาของตน ๆ เมื่อใช้สื่อนั้น นักเรียนนักศึกษาโครเอเชียถูกประทุษร้ายในเรื่องนี้ ดังนั้น เราจึงต้องเตือนพวกเขา โชคไม่ดีว่าเนื้อหาส่วนใหญ่ของวิกิพีเดียภาษาโครเอเชียไม่ใช่เพียงแต่น่าสงสัย แต่เป็นเรื่องเท็จชัด ๆ และดังนั้น เราจึงเชิญชวนให้พวกเขาใช้แหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้มากกว่า รวมทั้งวิกิพีเดียภาษาอังกฤษและภาษาหลัก ๆ อื่นของโลก"[94] เขายังให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับผู้แก้ไขวิกิพีเดียภาษาโครเอเชียโดยเรียกพวกเขาว่า "เป็นชนกลุ่มน้อยที่ได้แย่งชิงสิทธิในการแก้ไขวิกิพีเดียภาษาโครเอเชีย"[94]

ความเอนเอียงทางเชื้อชาติ

วิกิพีเดียภาษาอังกฤษถูกวิจารณ์ว่ามีความเอนเอียงทางเชื้อชาติอย่างเป็นระบบในบทความที่มี เพราะผู้แก้ไขที่ไม่ใช่คนขาวมีน้อย[95] ประธานของวิกิมีเดียวอชิงตัน ดี.ซี. ได้ให้ข้อสังเกตว่า ประวัติของคนดำมักไม่กล่าวถึงในวิกิพีเดีย เพราะคนแก้ไขโดยมากเป็นคนขาว[96] และตามผู้วิจารณ์บางส่วน บทความที่มีเกี่ยวกับคนเชื้อสายแอฟริกาก็แก้โดยคนแก้ไขจากยุโรปและอเมริกาเหนือผู้ได้ข้อมูลจากสื่อซึ่ง "มักจะสืบทอดภาพพจน์ที่ไม่ดี" ของแอฟริกา[97] ส่วนเจ้าหน้าที่ของห้องสมุดวิจัยที่นครนิวยอร์กอ้างว่า การไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับประวัติคนดำ "ทำให้เหมือนกับว่า มันไม่สำคัญ"[98] กวีแต่งตั้งแห่งซานฟรานซิสโกได้เน้นความสำคัญของการมีส่วนร่วมสำหรับคนลาตินอเมริกา เพราะวิกิพีเดียเป็นแหล่งสำคัญที่คนได้รับข้อมูล[99]

ในปี 2018 ศูนย์กฎหมายสหรัฐที่ทำการเกี่ยวกับสิทธิพลเมือง (Southern Poverty Law Center ตัวย่อ SPLC) ได้วิจารณ์วิกิพีเดียภาษาอังกฤษว่า "ถูกจัดการได้ง่ายโดยพวกนีโอนาซี พวกชาตินิยมคนขาว และพวกนักวิชาการเหยียดผิว เพื่อหาผู้รับข่าวสารที่มุมมองรุนแรงจำนวนมากขึ้น"[100] ตามองค์กรนี้ คนผลักดันแนวคิดทำนองนี้ "สามารถหยุดชะงักการแก้ไขโดยทำให้คนอื่นยุ่งด้วยการอภิปรายที่น่าเบื่อและคับแค้นใจ หรือทำให้ผู้ดูแลระบบยุ่งในเรื่องการไกล่เกลี่ยอย่างไม่รู้จบ... เมื่อเร็ว ๆ นี้ การเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วของแหล่งออนไลน์ของพวกขวาจัด เช่น เว็บบอร์ดชาตินิยมคนขาวเป็นต้น ได้รวมกลุ่มผู้ใช้ที่สามารถเกณฑ์เข้าแก้ไขวิกิพีเดียเป็นจำนวนมาก... การมีพวกชาตินิยมคนขาวและคนหัวรุนแรงขวาจัดในวิกิพีเดียเป็นปัญหาต่อเนื่องที่ไม่น่าจะหายไปในอนาคตใกล้ ๆ เพราะการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไปทางขวาของประเทศต่าง ๆ ที่ผู้ใช้เว็บไซต์โดยมากอาศัยอยู่"[100] SPLC ได้อ้างบทความ Race and intelligence (เชื้อชาติและเชาวน์ปัญญา) เป็นตัวอย่างอิทธิพลของฝ่ายขวาในวิกิพีเดีย โดยกล่าวว่า ในช่วงนั้น มีความสมดุลที่ไม่ถูกต้องระหว่างมุมมองเหยียดผิวซึ่งเป็นเสียงข้างน้อย กับมุมมองทางจิตวิทยาที่เป็นเสียงส่วนมาก[100]

ความเอนเอียงทางเพศและลัทธิกีดกันทางเพศ

อดีตผู้บริหารมูลนิธิวิกิมีเดียซู การ์ดเนอร์ ได้ให้เหตุผลว่า ทำไมหญิงจึงไม่แก้ไขวิกิพีเดีย[101]

วิกิพีเดียภาษาอังกฤษมีปัญหาต่อเนื่องเป็นเวลานานเกี่ยวกับความเอนเอียงทางเพศและลัทธิกีดกันทางเพศ[102][103][104][105][106][107] ความเอนเอียงทางเพศของวิกิพีเดียก็คือการพบว่าผู้แก้ไขระหว่างร้อยละ 84-91 เป็นชาย[108][109] ซึ่งอ้างว่า ก่อความเอนเอียงเป็นระบบ[110]

วิกิพีเดียอังกฤษยังถูกวิจารณ์[102] โดยนักข่าวและนักวิชาการเพราะไม่เพียงแต่ไร้หญิงผู้ร่วมงาน แต่เพราะมีบทความสารานุกรมจำนวนมากและที่ทำเจาะลึกเกี่ยวกับเรื่องเพศด้วย ซู การ์ดเนอร์ผู้เป็นอดีตกรรมการบริหารมูลนิธิวิกิมีเดียได้กล่าวว่า การเพิ่มความหลากหลายเป็นการทำให้สารานุกรม "ดีเท่าที่จะเป็นไปได้" ปัจจัยที่อ้างว่าอาจกีดกันไม่ให้หญิงแก้ไขบทความรวมทั้ง "การรักความจริงอย่างหมกมุ่น" ความสัมพันธ์กับ "กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ขยันมาก" และความจำเป็นต้อง "เปิดตัวรับคนสร้างความยุ่งยากผู้ก่อการทะเลาะมาก จนกระทั่งคนผู้เกลียดชังผู้หญิง"[103] ในปี 2011 มูลนิธิวิกิมีเดียได้ตั้งเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนผู้ร่วมงานหญิงเป็นร้อยละ 25 ภายในปี 2015[103] ในเดือนสิงหาคม 2013 การ์ดเนอร์ก็กล่าวยอมแพ้ คือ "ดิฉันไม่ได้แก้ปัญหา เราไม่ได้แก้ปัญหา มูลนิธิวิกิมีเดียไม่ได้แก้ปัญหา วิธีแก้ปัญหาจะไม่มาจากมูลนิธิวิกิมีเดีย"[111] ในเดือนสิงหาคม 2014 ผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดียคือจิมมี เวลส์ ยอมรับในการสัมภาษณ์กับบีบีซีว่า วิกิพีเดียล้มเหลวในการแก้ช่องว่างระหว่างเพศแล้วประกาศแผนของมูลนิธิวิกิมีเดียที่จะเร่งแก้ปัญหานี้เป็นทวีคูณ เวลส์กล่าวว่า มูลนิธิจะเปิดรับโครงการชักชวนหญิงและการเปลี่ยนแปลงทางซอฟต์แวร์ยิ่งขึ้น[112]

ในวารสารสาขาคณิตศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญหญิงผู้หนึ่งระบุว่า "นักคณิตศาสตร์มีปัญหาเมื่อเขียนชีวประวัติของนักคณิตศาสตร์หญิง" แล้วกล่าวถึงความดุเดือดของผู้แก้ไขและผู้ดูแลระบบในการลบบทความดังที่ว่า[113]

บทความเกี่ยวกับอาวุธปืน

วิกิพีเดียภาษาอังกฤษถูกวิจารณ์เรื่องความเอนเอียงในบทความเกี่ยวกับอาวุธปืน ตามผู้วิจารณ์ ความเอนเอียงเป็นระบบเกิดจากความโน้มเอียงที่ผู้แก้ไขบทความเกี่ยวกับอาวุธปืนมากที่สุดก็เป็นคนที่ชื่นชอบปืนด้วย ดังนั้น บทความเกี่ยวกับอาวุธปืนจึงมีข้อมูลทางเทคนิคมาก ในขณะที่เรื่องผลต่อสังคมและการควบคุมอาวุธถูกไล่ให้ไปอยู่ในบทความต่างหาก การสื่อสารของกลุ่มทำผ่านโครงการวิกิชื่อว่า WikiProject Firearms ซึ่งเป็นกลุ่มผู้แก้ไขวิกิพีเดียที่มีความสนใจเช่นเดียวกัน ความเอนเอียงสนับสนุนอาวุธปืนเช่นนี้ได้ความสนใจมากขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์อดีตนักเรียนผู้ถูกไล่ออกจาก รร. ได้ยิงนักเรียนตาย 17 คนในรัฐฟลอริดาต้นปี 2018 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ยิงนักเรียนไฮสกูลร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐ มูลนิธิวิกิมีเดียปฏิเสธว่าการรณรงค์ของผู้ชื่นชอบอาวุธปืนมีอิทธิพลต่อบทความวิกิพีเดีย มูลนิธิวิกิมีเดียกล่าวแก้การถูกกล่าวหาว่าเป็นเจ้าบ้านในการรณรงค์เปลี่ยนความคิดของมวลชนของกลุ่มที่สนับสนุนอาวุธปืนโดยอ้างว่า เนื้อหามีการอัปเดตและปรับปรุงอยู่เสมอ ๆ[114][115][116][117][118][119][120]

เนื้อหาทางเพศ

วิกิพีเดียภาษาอังกฤษถูกวิจารณ์เพราะอนุญาตเนื้อหาทางเพศที่โจ่งแจ้ง เช่น ภาพและวิดีโอของการสำเร็จความใคร่ด้วยตนเองและการหลั่งน้ำอสุจิ บวกภาพถ่ายจากภาพยนตร์ลามกแบบฮาร์ดคอร์ดังที่พบในบทความต่าง ๆ นักรณรงค์ป้องกันเด็กกล่าวว่า เนื้อหาทางเพศปรากฏในบทความวิกิพีเดียมากมาย และแสดงโดยไม่เตือนและไม่ตรวจสอบอายุ[121]

บทความ เวอร์จินคิลเลอร์ ซึ่งเป็นอัลบัมเฮฟวีเมทัลปี 1976 ของวงสกอร์เปียนส์ มีปกหน้าซึงแสดงภาพเปลือยของเด็กหญิงก่อนวัยเริ่มเจริญพันธุ์ ในเดือนธันวาคม 2008 มูลนิธิ Internet Watch Foundation ซึ่งเป็นองค์การไม่แสวงหาผลกำไรนอกภาครัฐ ได้เพิ่มบทความนี้ในรายการดำของตน โดยวิจารณ์การแสดงรูปว่า น่ารังเกียจ การเข้าถึงบทความนี้จึงถูกบล็อกเป็นเวลา 4 วันโดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตในสหราชอาณาจักรโดยมาก[122]

หนังสือพิมพ์ของอังกฤษเดอะการ์เดียนอ้างว่า การอภิปรายเรื่องปกหน้าอำพรางการไม่มีความรับผิดชอบโดยโครงสร้างของวิกิพีเดีย โดยเฉพาะเมื่อเกี่ยวกับเนื้อหาทางเพศ[123] ยกตัวอย่างเช่น การลบภาพโลลิคอนที่มีลักษณะลามกของวิกิพีตังโดยผู้ร่วมก่อตั้งวิกิพีเดียคือจิมมี เวลส์ได้สร้างข้อโต้เถียงย่อย ๆ เกี่ยวกับประเด็นนี้ คือการลบถือเป็นการรับรองภาพที่ไม่ใช่โลลิคอนของวิกิพีตัง ซึ่งภายหลังเวลส์ปฏิเสธตรง ๆ ว่า "ผมไม่ชอบวิกิพีตังและไม่เคยชอบ"[124] หนังสือพิมพ์ดังกล่าวมองวิกิพีเดียว่าประกอบด้วยอาณาเขตการยึดครองต่าง ๆ ซึ่งทำให้ชุมชนวิกิพีเดียจัดการปัญหาที่ว่าได้ยาก และบางครั้ง ผู้บริหารจำเป็นต้องมาจัดการ[123]

ในเดือนเมษายน 2010 แลร์รี แซงเจอร์ ซึ่งเป็นผู้ร่วมจัดตั้งวิกิพีเดียแต่ได้ลาออกไปเมื่อ 8 ปีก่อน ได้เขียนจดหมายไปยังสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ โดยแสดงความเป็นห่วงว่ามีภาพสองหมวดหมู่ในวิกิมีเดียคอมมอนส์ที่มีภาพลามกอนาจารเด็ก ซึ่งผิดกฎหมายลามกอนาจารของรัฐบาลกลางสหรัฐ เขาได้แสดงความเป็นห่วงว่า ภาพเหล่านี้เข้าถึงได้ในโรงเรียน[125] แต่ภายหลังก็ได้กล่าวว่า การเรียกภาพเหล่านั้นว่าภาพลามกอนาจารเด็กคงไม่ถูกต้อง เพราะคนโดยมากสัมพันธ์คำนี้กับภาพเด็กจริง ๆ และเขาควรเรียกภาพเหล่านี้ว่า "ภาพแสดงทารุณกรรมทางเพศต่อเด็ก"[125]

โฆษกของมูลนิธิวิกิมีเดียได้กล่าวว่า วิกิพีเดียไม่มี "สื่อที่เราคิดว่าผิดกฎหมาย เพราะถ้าเราคิดเช่นนั้น เราก็คงจะลบมันออก"[125] แต่หลังจากเกิดคำร้องเรียนของแซงเจอร์ จิมมี เวลส์ก็ได้ลบภาพทางเพศจำนวนมากโดยไม่ได้ปรึกษากับชุมชน หลังจากได้พูดคุยกัน ภาพบางภาพก็ได้ย้อนลบ[126] ผู้วิจารณ์รวมทั้งเว็บไซต์ Wikipediocracy ให้ข้อสังเกตว่า ภาพทางเพศที่ลบออกจากวิกิพีเดียตั้งแต่ปี 2010 จำนวนมากได้กลับคืนมาอีก[127]

การเสี่ยงถูกก่อกวน

บทความวิกิพีเดียภาษาอังกฤษที่ถูกก่อกวน

เพราะเป็นสารานุกรมออนไลน์ที่เกือบทุกคนสามารถแก้ไขได้ วิกิพีเดียจึงมีปัญหาการก่อนกวนบทความ ซึ่งเริ่มต้นจากการทำบทความให้เปล่า จนไปถึงการเขียนคำหยาบ การหลอกลวง และเรื่องไร้สาระ วิกิพีเดียมีเครื่องมือต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้และผู้ดูแลระบบเพื่อจัดการกับการก่อกวน รวมทั้งการบล็อกผู้ใช้ การห้ามไม่ให้แก้ไขหน้า และบอตอัตโนมัติที่ตรวจจับแล้วแก้การก่อนกวน ผู้สนับสนุนโครงการนี้อ้างว่า การก่อกวนโดยมากในวิกิพีเดียจึงสามารถย้อนกลับได้ในระยะเวลาสั้น ๆ งานศึกษาของมีเดียแหล็บของเอ็มไอทีและแผนกวิจัยของไอบีเอ็มพบว่า การก่อกวนโดยมากย้อนกลับได้ภายในเวลาราว ๆ 5 นาที แต่พวกเขาก็ได้กล่าวว่า "มันแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่จะหานิยามที่ชัดเจนของการก่อกวน"[128] แม้การทำบทความให้ว่างหรือการเติมสิ่งน่ารังเกียจจะย้อนกลับได้เร็ว แต่การก่อกวนที่ไม่ค่อยชัด หรือการก่อกวนบทความที่มีคนดูน้อย ปกติจะคงยืนเป็นระยะเวลายาวกว่า

เอกสารงานประชุมปี 2007 ประเมินว่า บทความวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ 1 ใน 127 บทความมีเนื้อหาที่เสียหาย โดยมากเกี่ยวกับสิ่งไร้สาระ ร้อยละ 20 เป็นข้อมูลเท็จ และรายงานว่า ความเสียหายร้อยละ 42 จะแก้ไขก่อนมีใครดู และร้อยละ 80 ก่อนที่คน 30 คนจะดู[129]

ภาวะส่วนตัว

ทั่ว ๆ ไป ปัญหาภาวะส่วนตัวหมายถึงกรณีที่รัฐบาลหรือนายจ้างเก็บข้อมูล หรือการเฝ้าสังเกตทางคอมพิวเตอร์หรือทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือการแลกเปลี่ยนของมูลระหว่างองค์กรต่าง ๆ เพราะ "อินเทอร์เน็ตได้ก่อความขัดแย้งระหว่างภาวะส่วนตัว ผลประโยชน์ทางการค้า และผลประโยชน์ของสังคมส่วนรวม"[130] การถ่วงดุลสิทธิสำหรับทุก ๆ คนในขณะที่เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนภาวะทางสังคมยังไม่ใช่เรื่องง่าย และก็ยัง "ไม่สามารถคาดวิถีการดำเนินของคอมมอนลอว์หรือของกฎควบคุมของรัฐได้" ในปัญหานี้[130]

ในวิกิพีเดีย ปัญหาก็คือสิทธิการมีภาวะส่วนตัวของเอกชน คือในการมีความเป็นส่วนบุคคล ไม่ใช่สาธารณบุคคลโดยมุมมองของกฎหมาย[131] มีกลุ่มจับตาวิกิพีเดียที่อ้างว่า "วิกิพีเดียอาจเป็นอันตรายแก่บุคคลที่ให้คุณค่ากับภาวะส่วนตัว" และว่า "การมีความรับผิดชอบยิ่งขึ้นในโครงสร้างวิกิพีเดีย" ก็จะเป็น "ก้าวแรกในการแก้ไขปัญหาภาวะส่วนตัว"[132] ปัญหาเฉพาะอย่างหนึ่งก็คือบุคคลที่ค่อนข้างไม่สำคัญแต่มีบทความวิกิพีเดียเกี่ยวกับตนโดยไม่ต้องการ ในปี 2005 สำนักข่าวสากล Agence France-Presse อ้างเจ้าของกลุ่มจับตาวิกิพีเดียผู้กล่าวว่า "ปัญหาพื้นฐานก็คือไม่มีใคร ไม่ว่าจะเป็นกรรมการของมูลนิธิวิกิพีเดีย หรืออาสาสมัครที่เกี่ยวข้องกับวิกิพีเดีย พิจารณาตนว่าเป็นผู้รับผิดชอบต่อเนื้อหา"[133]

ในเดือนมกราคม 2006 ศาลเยอรมันสั่งให้ปิดวิกิพีเดียภาษาเยอรมันในประเทศเยอรมนีเพราะมีบทความที่ระบุชื่อของแฮ็กเกอร์ชาวเยอรมันผู้เสียชีวิตแล้วคือ Boris Floricic หรือมีชื่อเล่นว่า "Tron" โดยเฉพาะก็คือ ศาลสั่งไม่ให้เปลี่ยนทางยูอาร์แอลภายในโดเมนเยอรมันคือ .de (http://www.wikipedia.de/) โดยส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ในรัฐฟลอริดาที่ http://de.wikipedia.org แม้ผู้อ่านเยอรมันก็ยังสามารถใช้ยูอาร์แอลสหรัฐได้โดยตรงและแทบจะไม่เสียอะไรเลย คำสั่งศาลมีเหตุจากการฟ้องร้องของพ่อแม่ของแฮ็กเกอร์ ผู้ต้องการให้เอาชื่อสกุลออกจากวิกิพีเดีย ต่อมาอีกอีกเดือนหนึ่ง ศาลก็ยกเลิกคำสั่งห้ามโดยปฏิเสธว่า สิทธิภาวะส่วนตัวของแฮ็กเกอร์หรือของพ่อแม่ถูกละเมิด[134]

ข้อวิจารณ์ชุมชน

บทบาทของจิมมี เวลส์

ชุมชนผู้แก้ไขวิกิพีเดียถูกวิจารณ์ว่า ให้ความสำคัญแก่จิมมี เวลส์ในฐานะบุคคลอย่างไร้เหตุผล บทบาทของเวลส์ในการกำหนดเนื้อหาบางบทความถูกวิจารณ์ว่าไม่สมกับสปิหริตอิสระที่วิกิพีเดียได้พัฒนาขึ้น[135][136] ในต้นปี 2007 เวลส์ปฏิเสธข้อวิจารณ์ต่อรูปแบบของวิกิพีเดียนี้คือ "ผมไม่ทราบถึงปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพการพูดคุยกันในเว็บไซต์ (คือ) ผมไม่ทราบว่ามีการพูดคุยที่มีคุณภาพยิ่งกว่านี้ในที่อื่น ๆ"[137][138][139][140][141]

กรณีการขัดกันแห่งผลประโยชน์

บทความในเว็บไซต์ข่าวคือ Business Insider ได้เขียนถึงกรณีก่อการโต้เถียงในเดือนกันยายน 2012 เมื่อพนักงานของมูลนิธิวิกิมีเดียพบว่า "ดำเนินการธุรกิจประชาสัมพันธ์เป็นงานพิเศษโดยได้แก้ไขวิกิพีเดียในนามของลูกค้า"[142]

การประพฤติต่อหญิงอย่างไม่ยุติธรรม

ในปี 2015 นิตยสารอเมริกันเดอะแอตแลนติกพิมพ์เรื่องของผู้ใช้ที่ไม่ได้ความช่วยเหลือจากคณะอนุญาโตตุลาการ (ค.อ.ต.) เนื่องจากถูกก่อกวนนอกระบบ นิตยสารได้อ้างอิงคำพูดของอดีตสมาชิก ค.อ.ต. (เป็นสมาชิกในเวลานั้น) ผู้กล่าวถึงความเอนเอียงต่อต้านหญิงในคณะ[143]

ในนิตยสารออนไลน์สเลต นักเขียนอเมริกันได้วิจารณ์การตัดสินใจของ ค.อ.ต. ของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ที่ได้บล็อกผู้ใช้หญิงคนหนึ่งอย่างไม่มีกำหนดโดยไม่ได้บล็อกหัวหน้าฝ่ายตรงกันข้ามด้วยในคดีเดือนธันวาคม 2014 He mentions his own experience with what he calls "the unblockables"—abrasive editors who can get away with complaints against them because there are enough supporters, and that he had observed a "general indifference or even hostility to outside opinion" on the English Wikipedia. เขาได้กล่าวถึงประสบการณ์ของตนเองกับผู้ใช้ที่ "ไม่อาจบล็อกได้" คือผู้แก้ไขที่หยาบคายซึ่งไม่ได้รับการลงโทษแม้จะถูกร้องเรียนเพราะมีผู้สนับสนุนเพียงพอ (คือมีพวกเป็นแก๊ง) และได้สังเกตเห็น "ความไม่แยแสโดยทั่วไปหรือแม้แต่ความไม่เป็นมิตรต่อความเห็นของคนภายนอก" ของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ เขาจัดการแก้ต่างการใช้คำหยาบอย่างเป็นระบบของคนภายในว่าเป็นอาการความเป็นพิษของวิกิพีเดียที่เขากล่าวถึง[144]

การไร้เอกลักษณ์ที่พิสูจน์ตัวตนได้

เรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับผู้ดูและระบบและอนุญาโตตุลาการ

เดวิด บูตรอยด์ (David Boothroyd) เป็นผู้แก้ไขวิกิพีเดียและสมาชิกของพรรคแรงงาน (สหราชอาณาจักร) ได้สร้างเรื่องอื้อฉาวเมื่อปี 2009 เมื่อเว็บไซต์จับตาวิกิพีเดียคือ วิกิพีเดียรีวิว (Wikipedia Review) พบว่า เขามีบัญชีหุ่นเชิดต่าง ๆ โดยแก้ไขในนาม "Dbiv", "Fys" และ "Sam Blacketer" โดยไม่ได้ระบุตัวตนจริง ๆ หลังจากได้ตำแหน่งผู้ดูแลระบบในบัญชีหนึ่ง แล้วต่อมาเสียตำแหน่งเพราะใช้ในทางไม่ถูก บูตรอยด์ก็ได้ตำแหน่งในบัญชีหุ่นเชิด Sam Blacketer ในเดือนเมษายน 2007[145] หลังจากนั้นในปี 2007 บัญชี Sam Blacketer ก็ได้รับเลือกเป็นอนุญาโตตุลาการคนหนึ่งของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ[146] บูตรอยด์ได้ใช้บัญชีนี้แก้ไขบทความหลายบทความเกี่ยวกับการเมืองสหราชอาณาจักร รวมทั้งของผู้นำพรรคอนุรักษนิยมที่เป็นคู่แข่ง[147] ต่อจากนั้น บูตรอยด์จึงได้ลาออกจากทั้งตำแหน่งผู้ดูแลระบบและอนุญาโตตุลาการ[148][149]

เรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับเอสส์เจ

รูปถ่ายของเอสส์เจ

ในเดือนกรกฎาคม 2006 นิตยสารอเมริกันเดอะนิวยอร์เกอร์ได้ลงบทความเกี่ยวกับ "ผู้แก้ไขวิกิพีเดียผู้ได้รับการยอมรับเรื่องความสามารถและคุณสมบัติอย่างสูง"[150] บทความเบื้องต้นมีการสัมภาษณ์กับผู้ดูแลระบบคนหนึ่งที่ใช้นามแฝงว่าเอสส์เจ (Essjay) ซึ่งบอกว่าตนเป็นศาสตราจารย์ถาวรทางเทววิทยา[151] หน้าผู้ใช้วิกิพีเดียภาษาอังกฤษของเอสส์เจซึ่งได้ลบออกไปแล้ว ได้เขียนไว้ดังนี้

ผมเป็นศาสตราจารย์ถาวรทางเทววิทยาที่มหาวิทยาลัยเอกชนในสหรัฐตะวันออก ผมสอนทั้งเทววิทยาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา มีคนถามผมซ้ำ ๆ ให้เปิดเผยชื่อสถาบัน แต่ผมปฏิเสธที่จะทำเช่นนั้น ผมไม่แน่ใจถึงผลของการกระทำเช่นนี้ แต่เชื่อว่าการคงความนิรนามจะดีต่อผมที่สุด[ต้องการอ้างอิง]

เอสส์เจยังกล่าวว่าเขาได้ปริญญาบัตร 4 ใบ คือศิลปศาสตรบัณฑิตทางศาสนศึกษา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตทางศาสนา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางเทววิทยา และปรัชญาดุษฎีบัณฑิตทางกฎหมายศาสนจักร เอสส์เจแก้ไขบทความโดยเฉพาะ ๆ เกี่ยวกับศาสนาในวิกิพีเดีย[150] คริสตจักรโรมันคาทอลิกเคยเชิญให้เขาให้การในฐานะผู้เชี่ยวชาญในเรื่องสถานะของพระแม่มารี[152] ในเดือนมกราคม 2007 เอสส์เจได้รับจ้างเป็นผู้จัดการของบริษัทวิเกีย (Wikia) ซึ่งเป็นบริการวิกิทางอินเทอร์เน็ตที่เวลส์เป็นผู้ร่วมจัดตั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์ เวลส์ได้ตั้งให้เอสส์เจเป็นสมาชิกของคณะอนุญาโตตุลาการ ซึ่งเป็นกลุ่มมีอำนาจตัดสินอย่างผูกมัดสำหรับข้อพิพาทในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ[153]

ผู้ร่วมจัดตั้งวิกิพีเดียแลร์รี แซงเจอร์ ผู้ต่อมาลาออกไปจัดตั้งสารานุกรม Citizendium

ในปลายเดือนกุมภาพันธ์เดอะนิวยอร์เกอร์เติมหมายเหตุไปที่บทความเกี่ยวกับวิกิพีเดียตามที่ว่าโดยระบุว่า นิตยสารได้รับรู้ว่า เอสส์เจจริง ๆ ก็คือไรอัน จอร์แดน ผู้เป็นชายอายุ 24 ปีและได้ลาออกจากหาวิทยาลัยในรัฐเคนทักกีโดยไม่ได้มีปริญญาบัตรใด ๆ และไม่มีประสบการณ์การสอน[154] ในเบื้องต้น จิมมี เวลส์กล่าวในเรื่องเอกลักษณ์ของเอสส์เจว่า "ผมจัดมันว่าเป็นนามแฝง และก็ไม่มีปัญหาอะไรกับมัน" แลร์รี แซงเจอร์ผู้เป็นผู้ร่วมจัดตั้งวิกิพีเดีย[155][156][157] ได้ตอบสนองต่อเวลส์ในบล็อกของเขาที่เว็บไซต์ Citizendium โดยเรียกปฏิกิริยาเบื้องต้นของเวลส์ว่า "น่าทึ่งสุด ๆ และน่าสลดใจโดยที่สุด" แซงเจอร์กล่าว่า เรื่องนี้ "สะท้อนให้เห็นการตัดสินใจและค่านิยมของผู้จัดการวิกิพีเดีย"[158]

เวลส์ภายหลังกล่าวใหม่ว่า ก่อนหน้านี้ เขาไม่เข้าใจว่า "เอสส์เจได้ใช้การยอมรับความสามารถและคุณสมบัติที่ไม่จริงของเขาในข้อพิพาทเกี่ยวกับเนื้อหา" และเพิ่มว่า "ผมได้ขอให้เอสส์เจลาออกจากตำแหน่งที่ได้ความไว้วางใจของชุมชนวิกิพีเดีย"[159] แซงเจอร์ตอบสนองต่อมาว่า "มันดูเหมือนว่า จิมมีไม่พบว่ามีอะไรผิด มีอะไรที่ละเมิดความไว้วางใจ กับการอวดโต้ง ๆ และเป็นเท็จว่ามีปริญญาบัตรหลายใบในวิกิพีเดีย แต่ก็มีอะไรที่ผิดอย่างชัดเจน พอ ๆ กับเรื่องน่าเป็นห่วงว่า หัวหน้าของวิกิพีเดียไม่เห็นอะไรผิดเกี่ยวกับมัน"[160]

ในวันที่ 4 มีนาคม เอสส์เจเขียนในหน้าผู้ใช้ว่าตนกำลังลาออกจาวิกิพีเดีย แล้วก็ได้ลาออกจากตำแหน่งของบริษัทวิเกียด้วย[161] บทความต่อมาในหนังสือพิมพ์สหรัฐ The Courier-Journal (รัฐเคนทักกี) แสดงว่า ประวัติการทำงานใหม่ที่เอสส์เจได้โพสต์ที่หน้าวิเกียของเขาก็กล่าวเกินจริง[162] วันที่ 19 มีนาคม 2007 เดอะนิวยอร์เกอร์ตีพิมพ์หนังสือขอโทษอย่างเป็นทางการจากเวลส์ที่ให้แก่นิตยสารและผู้เขียนบทความเบื้องต้นที่ใช้ข้อความเท็จของเอสส์เจ[163]

เมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์นี้ เดอะนิวยอร์กไทมส์ได้ให้ข้อสังเกตว่า ชุมชนวิกิพีเดียได้ตอบสนองต่อเหตุการณ์นี้ด้วย "ความเดือดดาลหมู่" และว่า

กรณีเอสส์เจเน้นอันตรายของวิธีการทำงานร่วมมือกันเช่นที่พบในวิกิพีเดีย ซึ่งพึ่งผู้ร่วมงานจำนวนมากผู้ทำการโดยมีเจตนาดี บ่อยครั้งอย่างนิรนามผ่านชื่อผู้ใช้ที่ตนระบุเอง แต่ก็แสดงความโปร่งใสของกระบวนการในวิกิพีเดีย คือการแก้ไขบทความทั้งหมดจะทำเครื่องหมายและเก็บไว้ ทำให้ผู้อ่านสามารถตอบสนองต่อการถูกหลอกลวง[164]

สื่อได้เผยแพร่เหตุการณ์เอสส์เจนี้อย่างกว้างขวาง รวมทั้งในข่าวที่เผยแพร่ทั่วสหรัฐอเมริกาของบริษัทแพร่สัญญาณอเมริกัน (เอบีซี)[165] สื่อได้เผยแพร่เหตุการณ์เอสส์เจนี้อย่างกว้างขวาง รวมทั้งในข่าวที่เผยแพร่ทั่วสหรัฐอเมริกาของบริษัทแพร่สัญญาณอเมริกัน (เอบีซี)[166] ความขัดแย้งนี้ได้ก่อข้อเสนอว่า ผู้ใช้ที่แสดงว่ามีคุณสมบัติทางวิชาการควรให้หลักฐานก่อนที่จะอ้างมันในข้อพิพาททางเนื้อหาของวิกิพีเดีย[167] แต่ก็ไม่ได้การยอมรับ[168]

ความนิรนาม

วิกิพีเดียถูกวิจารณ์ว่าอนุญาตให้ผู้แก้ไขสามารถร่วมงานอย่างนิรนาม (คือไม่ได้ใช้บัญชีที่ลงทะเบียนโดยบันทึกต่าง ๆ แสดงเป็นบัญชีระบุโดยเลขที่อยู่ไอพี) หรือโดยใช้นามแฝง (คือใช้บัญชีลงทะเบียน) เพราะทำให้ไม่รับผิดชอบ[141][169] ซึ่งบางครั้งก่อความประพฤติแบบอนารยชนเมื่ออภิปรายต่อสู้กันระหว่างผู้ใช้[141][169] เพราะภาวะส่วนตัว วิกิพิเดียจึงห้ามไม่ให้ผู้แก้ไขเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้นิรนามในวิกิพีเดีย[170]

เกี่ยวกับกระบวนการ

ระดับการอภิปราย สงครามการแก้ไข และการก่อกวน

มาตรฐานการอภิปรายในวิกิพีเดียได้แสดงว่าน่าสงสัยโดยบุคคลผู้ให้ข้อสังเกตว่า ผู้ร่วมงานสามารถระบุประเด็นสำคัญต่าง ๆ เป็นรายการยาว แล้วยกงานศึกษาอิงหลักฐานเชิงประสบการณ์เพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตน แต่ก็อาจถูกชุมชนเพิกเฉยโดยสิ้นเชิง[171] งานศึกษาบทความวิกิพีเดียทางวิชาการพบว่า การอภิปรายของผู้แก้ไขวิกิพีเดียในหัวข้อที่เกิดการโต้แย้งอย่างมากมักกลายเป็นการทะเลาะกันในเรื่องไม่เป็นเรื่องที่ไม่ให้ผลดีอะไร คือ

สำหรับประเด็นที่เสถียร ไม่ก่อความโต้แย้ง การคัดเลือกตนเองช่วยให้สมาชิกของกลุ่มผู้แก้ไขบทความเข้ากันได้ดีในด้านความสนใจ พื้นเพ และความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับประเด็นนั้น ๆ ... ในนัยตรงกันข้าม สำหรับประเด็นที่ก่อความโต้แย้ง การคัดเลือกตนเองอาจสร้างกลุ่มผู้แก้ไขที่ไม่ลงรอยกันอย่างมาก ซึ่งอาจนำไปสู่ข้อขัดแย้งระหว่างสมาชิกในกลุ่มผู้แก้ไข สงครามแก้ไขอย่างต่อเนื่อง และอาจต้องใช้กลไกการประสานงานและการควบคุมที่เป็นทางการ ซึ่งอาจรวมการแทรงแซงของผู้ดูแลระบบผู้จะเริ่มกระบวนการทบทวนข้อพิพาทและการไกล่เกลี่ย หรืออาจระงับประเภทการแก้ไขและผู้แก้ไขโดยสิ้นเชิงหรือจำกัดแล้วประสานงาน[172]

ในปี 2008 ทีมนักวิจัยจากศูนย์วิจัยแพโลแอลโท (Palo Alto Research Center) พบว่า สำหรับผู้ใช้ที่แก้ไขะรหว่าง 2-9 ครั้งต่อเดือน อัตราการถูกย้อนกลับได้เพิ่มจากร้อยละ 5 ในปี 2004 ไปถึงร้อยละ 15 และคนที่แก้ไขเพียงครั้งหนึ่งต่อเดือนถูกย้อนกลับถึงร้อยละ 25[173] ตามนิตยสารรายสัปดาห์ของประเทศอังกฤษเดอะอีคอโนมิสต์ปี 2008 "พฤติกรรมของผู้คุ้มครองวิกิพีเดียแบบช่างลบที่ตัวเองสถาปนาขึ้น ผู้ตัดทิ้งสิ่งที่ไม่เข้ามาตรฐานของตน และให้เหตุผลการกระทำของตนด้วยพายุตัวย่อ ปัจจุบันได้ชื่อว่า 'wiki-lawyering' (ว่าความเป็นทนายวิกิ)"[174] เกี่ยวกับการลดจำนวนผู้แก้ไขวิกิพีเดียตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงนโยบายในปี 2007 งานศึกษาอีกงานกล่าวว่านี่ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ "วิธีการที่ผู้มาใหม่ได้การต้อนรับจากระบบควบคุมคุณภาพอัตโนมัติ และถูกโถมทับด้วยความซับซ้อนของระบบกฎเกณฑ์"[175]

ปัญหาที่บ่นอีกอย่างของวิกิพีเดียเป็นเรื่องกิจกรรมของผู้ร่วมงานที่เชื่อแปลก ๆ ผู้ดันมุมมองของตนเพื่อครอบงำบทความ โดยเฉพาะบทความที่ก่อการโต้แย้ง[176][177] ซึ่งบางครั้งมีผลเป็นสงครามการย้อนแล้วล็อกดาวน์บทความ เพื่อตอบสนอง จึงเกิดคณะอนุญาโตตุลาการในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษที่จัดการผู้ล่วงระเมิดในกรณีร้ายแรงที่สุด แม้จะสนับสนุนให้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนจะถึงขั้นนี้ อีกอย่างหนึ่ง เพื่อระงับการย้อนบทความอย่างต่อเนื่อง จิมมี เวลส์เองได้ออกนโยบาย "กฎย้อนสามครั้ง" คือผู้ใช้ที่ย้อนการแก้ไขบทความหนึ่ง ๆ เกินกว่า 3 ครั้งภายใน 24 ชม. อาจถูกบล็อก[178]

ในบทความวารสาร The Brooklyn Rail ปี 2008 ผู้ร่วมงานวิกิพีเดียภาษาอังกฤษคนหนึ่งยืนยันว่าเขาถูกก่อกวนและถูกย่องตามเพราะงานของเขาในวิกิพีเดีย โดยไม่ได้รับการสนับสนุนของเจ้าหน้าที่มูลนิธิวิกิมีเดีย และได้การสนับสนุนที่ไม่สม่ำเสมอจากชุมชน เขาจึงสรุปว่า "ถ้าคุณกลายเป็นเหยื่อในวิกิเดีย อย่าหวังว่าจะได้ชุมชนที่คอยสนับสนุน"[179]

ในนิตยสารออนไลน์สเลต นักเขียนอเมริกันหนึ่งได้กล่าวว่า

ผมไม่ได้พูดเลยเถิดเมื่อพูดว่า มันเป็นอะไรซึ่งคล้ายกับหนังสือ The Trial ของฟรันทซ์ คัฟคามากที่สุดเท่าที่ผมเคยเจอมา โดยมีผู้แก้ไขและผู้ดูแลระบบให้คำแนะนำที่ขัดแย้งและสับสน มีเรื่องร้องเรียนที่ถูกบูมเมอแรงกลับไปยังผู้ร้องเรียนผู้จะถูกลงโทษทางวินัยฐานร้องเรียน และมีความไม่สม่ำเสมอในการประยุกต์ใช้มาตรฐานต่าง ๆ ในเวลาสั้น ๆ ที่ผมอยู่ที่นั่น ผมได้เห็นผู้แก้ไขว่าความเป็นทนายเกี่ยวกับประเด็นหนึ่ง ๆ ด้วย (กฎที่แสดงเป็น) ตัวย่ออย่างซ้ำ ๆ แล้วกลับหันหลังกลับแล้วประกาศว่าให้ปล่อยวางกฎทั้งหมด! เมื่อถูกนำกฎเดียวกันมาใช้กับตนเอง ... ปัญหาจริง ๆ มีต้นตอมาจากความจริงว่า ผู้ดูแลระบบและผู้แก้ไขมานาน ๆ ได้สร้างกรอบความคิดแบบยึดที่มั่น ซึ่งพวกเขาเห็นคนแก้ไขใหม่ ๆ เป็นผู้บุกรุกอันตรายผู้จะทำลายสารานุกรมอันงดงามของตน และดังนั้น จึงเป็นศัตรูกับหรือแม้แต่ก่อกวนพวกเขา[144]

วิกิพีเดียยังถูกวิจารณ์ว่ามีการบังคับใช้ที่อ่อนแอเมื่อต่อต้านความเป็นพิษของชุมชนผู้แก้ไขที่คนอื่น ๆ เห็น ในกรณีหนึ่ง ผู้แก้ไขระยะยาวคนหนึ่งถูกกดดันจนฆ่าตัวตายหลังจากถูกทารุณกรรมออนไลน์โดยผู้แก้ไข และถูกระงับไม่ให้แก้ไขเว็บไซต์ ก่อนได้การช่วยชีวิต[180]

เพื่อแก้ปัญหานี้ วิกิพีเดียมีแผนออกกฎควบคุมพฤติกรรมใหม่เพื่อสู้กับ "พฤติกรรมเป็นพิษ" การพัฒนากฎนี้จะทำเป็นสองระยะ ระยะแรกเป็นการตั้งนโยบายสำหรับกิจกรรม/เหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งเมื่อเป็นเหตุการณ์จริง ๆ หรือเหตุการณ์เสมือน และตั้งนโยบายสำหรับสถานที่ในระบบต่าง ๆ รวมทั้งห้องคุยและโปรเจ็กต์ของวิกิมีเดียอื่น ๆ ระยะสองเป็นโครงร่างการบังคับใช้กฎเมื่อถูกละเมิด ซึ่งคณะกรรมการของวิกิมีเดียมีแผนจะอนุมัติปลายปี 2020[181]

ความเห็นพ้องและการตัดสินใจแบบรังผึ้ง

นักข่าวอังกฤษท่านหนึ่งเขียนบทความไว้ในเดอะไทมส์ว่า การสร้างเนื้อหาบทความอาศัยความเห็นพ้องเป็นเรื่องน่าสงสัย คือ[2]

วิกิพีเดียไม่ได้หาความจริงแต่หาความเห็นพ้อง และเหมือนกับการประชุมทางการเมืองที่ไม่รู้จักจบ ผลปลายเหตุก็จะถูกครอบครองโดยเสียงที่ดังสุดและดื้อดึงสุด

ผู้ปรึกษาของมูลนิธิวิกิมีเดียผู้หนึ่งได้กล่าวถึงมุมมองที่ไม่ถูกสัดส่วนในวิกิพีเดียว่า

ในวิกิพีเดีย การอภิปรายอาจชนะได้อาศัยความทรหด ถ้าคุณสนใจมากกว่าและเถียงนานกว่า คุณมักจะได้สิ่งที่ต้องการ ผลที่ได้บ่อยครั้งมากก็คือ บุคคลหรือองค์กรที่สนใจอย่างมากในการให้วิกิพีเดียกล่าวอะไรอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ มักจะชนะผู้แก้ไขอื่นที่พียงต้องการให้สารานุกรมสมบูรณ์ เป็นกลาง และเชื่อถือได้ (นั่นคือ) ผู้แก้ไขไม่มุ่งมั่นเท่ากันเพราะเพียงแต่ไม่เสี่ยงเสียเท่ากัน และความสนใจของเขาจึงกระจายไปมากกว่า[182]

ส่วนสมาชิกคณะกรรมการของวิกิมีเดียกล่าวว่า

การทำให้ฝ่ายตรงข้ามท้อใจเป็นกลยุทธ์สามัญของบรรดาชาววิกิพีเดียผู้มีประสบการณ์ ... ผมได้อาศัยวิธีนี้หลายครั้ง[183]

ในบทความปี 2006 นักวิทยาการคอมพิวเตอร์อเมริกันและนักทฤษฎีดิจิตัลคนหนึ่งเรียกวิกิพีเดียว่าเป็น "สติปัญญาแบบรวงผึ้ง" ที่ "โดยมากงี่เง่าและน่าเบื่อ" แล้วถามเล่นคารมว่า "แล้วไปสนใจมันทำไม" สมมติฐานของเขาก็คือ

ปัญหาก็คือกระบวนการที่นำไปสู่การพิจารณาและการใช้วิกิพีเดีย กระบวนการที่ยกมันขึ้นเป็นสิ่งสำคัญเช่นนี้เร็วถึงขนาดนี้ และนั่นเป็นส่วนหนึ่งของความดึงดูดใจของระบบชุมชนนิยมออนไลน์แบบใหม่อันเป็นรูปแบบกว้าง ๆ ที่ไม่ใช่อะไรนอกจากการฟื้นคืนแนวคิดว่า ส่วนรวมฉลาดสุด ว่ามันน่าปรารถนาที่จะมีอิทธิพลรวมอยู่เป็นคอขวดซึ่งสามารถนำส่วนรวมให้ไหลไปในทางที่ถูกสุดและแรงสุด นี่ต่างกับระบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหรือธรรมาธิปไตย แนวคิดนี้มีผลลัพธ์ที่น่ากลัวเมื่อบังคับเราให้ยอมรับโดยพวกฝ่ายขวาจัดหรือพวกฝ่ายซ้ายจัดในประวัติศาสตร์ช่วงต่าง ๆ ของมนุษย์ ความจริงว่ามันกำลังถูกนำเข้ามาเสนอใหม่ในปัจจุบันโดยนักเทคโนโลยีและนักมองอนาคตผู้มีชื่อเสียง ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่ในหลายกรณีผมรู้จักและชอบใจ ก็ไม่ได้ทำให้มันอันตรายน้อยลงโดยประการใด ๆ[184]

เขายังบอกด้วยว่า แนวโน้มทางเศรษฐกิจปัจจุบันมักจะให้ผลประโยชน์กับองค์กรที่รวบรวมข้อมูล ไม่ให้กับองค์กรที่จริง ๆ สร้างข้อมูล ถ้าไม่ได้แบบจำลองทางธุรกิจที่สร้างใหม่ ความต้องการข้อมูลโดยนิยมก็จะสนองด้วยอะไรพื้น ๆ หรือด้อยคุณภาพ ดังนั้น เป็นการลดหรือแม้แต่กำจัดสินน้ำใจทางการเงินเพื่อสร้างความรู้ใหม่[184]

ความเห็นของนักเขียนผู้นี้ได้ความไม่เห็นด้วยที่ค่อนข้างแรง ผู้ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตชาวอเมริกันคนหนึ่งให้ข้อสังเกตว่า วิกิพีเดียมีระบบควบคุมภายในหลายอย่าง จึงไม่ใช่เพียงกิจกรรมหมู่ที่ไร้สติปัญญา คือ

ทั้งผู้สนับสนุนและผู้ต่อต้านวาทศิลป์เรื่องสติปัญญาแบบรวงผึ้งไม่มีอะไรน่าสนใจจะกล่าวเกี่ยวกับวิกิพีเดียเอง เพราะทั้งสองกลุ่มต่างเพิกเฉยต่อรายละเอียด ... วิกิพีเดียมองได้ดีสุดว่า เป็นชุมชนมีส่วนร่วมที่ใช้กลไกควบคุมจำนวนมากและกำลังขยายมากขึ้นเพื่อจัดการกับการแก้ไขที่เสนอเป็นจำนวนมหาศาล ... ยกตัวอย่างกรณีโดยเฉพาะของวิกิพีเดีย ความชุลมุนเรื่องของนักข่าวซีเกนทอเลอร์เกี่ยวกับการลอบสังหารประธานาธิบดีเคนเนดีเป็นทั้งตัวเร่งให้พิจารณาตัวเองและให้สร้างวิธีควบคุมใหม่เพื่อแก้ปัญหาที่ปรากฏ และในบรรดาวิธีต่าง ๆ มีวิธีควบคุมรวมทั้งให้บุคคลรับผิดชอบมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ (ผู้กล่าวว่าวิกิพีเดียเป็น) ลัทธิเหมายุคดิจิตัล ปฏิเสธว่ามี[185]

การสร้างกฎมากเกิน

บุคคลที่เกี่ยวข้องกับมูลนิธิวิกิมีเดียต่าง ๆ อ้างว่า นโยบายและแนวปฏิบัติที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อย ๆ ของวิกิพีเดียกำลังขับไล่ผู้ร่วมงานใหม่ออกไป อดีตกรรมการบริหาร (Kat Walsh) ได้วิจารณ์โปรเจ็กต์ในปี 2013 ว่า "มันง่ายกว่านี้เมื่อผมเข้าร่วมในปี 2004 ... ทุกอย่างซับซ้อนน้อยกว่านี้ ... มักยากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับผู้มาใหม่ในการปรับตัว"[186] ผู้ดูแลระบบวิกิพีเดียภาษาอังกฤษผู้หนึ่งมองการเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ของนโยบายว่าเป็นปัญหาสำคัญ กล่าวว่า "กลุ่มคนรวมกันแบบหลวม ๆ ที่ดำเนินการเว็บไซต์ในปัจจุบัน ซึ่งประเมินว่าเป็นชายร้อยละ 90 ดำเนินการเป็นระบบข้าราชการอันเหลือทน โดยมักมีบรรยากาศไม่เป็นมิตรที่กันคนมาใหม่ผู้อาจเพิ่มการมีส่วนร่วมในวิกิพีเดียแล้วเพิ่มความกว้างขวางของบทความ"[187]

ตามผู้จัดการโครงการของมูลนิธิวิกิมีเดียคนหนึ่ง (ต่อมาเป็นกรรมการคือ Dariusz Jemielniak) ความซับซ้อนอย่างยิ่งของกฎควบคุมเนื้อหาและควบคุมพฤติกรรมผู้แก้ไขได้กลายเป็นมากเกินซึ่งสร้างภาระการเรียนรู้แก่ผู้แก้ไขใหม่[6][188] ในงานศึกษาปี 2013 นักวิทยาศาสตร์เชิงวิจัยคนหลักของมูลนิธิวิกิมีเดียบุคคลหนึ่งได้สรุปอย่างเดียวกัน[8] ผู้จัดการโครงการจึงได้เสนอให้เขียนและย่อกฎใหม่เพื่อลดความซับซ้อนและจำนวน[6][188]

การแบ่งชั้นทางสังคม

แม้จะเข้าใจกันว่ากระบวนการของวิกิพีเดียเป็นประชาธิปไตย แต่ก็มี "คนจำนวนน้อยเป็นผู้ดำเนินงาน"[189] รวมทั้งผู้ดูแลระบบ ผู้ดูแลสิทธิแต่งตั้ง ผู้จัดการโครงการ ผู้ตรวจสอบผู้ใช้ ผู้ไกล่เกลี่ย อนุญาโตโตุลาการ และผู้ควบคุมประวัติ[7] ในบทความเรื่องข้อพิพาทในวิกิพีเดียปี 2007 หนังสือพิมพ์ของอังกฤษเดอะการ์เดียนพูดถึง "ปฏิกิริยาเชิงลบในผู้แก้ไขบางส่วน ผู้กล่าวว่าการบล็อกผู้ใช้เป็นการบ่อนทำลายความเปิดของโปรเจ็กต์ที่สมมุติว่ามี และความไม่สมดุลทางอำนาจระหว่างผู้ใช้กับผู้ดูแลระบบก็อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ผู้ใช้บางคนเลือกที่จะก่อกวนตั้งแต่ต้น" โดยอาศัยประสบการณ์ของผู้แก้ไขคนหนึ่งที่กลายมาเป็นผู้ก่อกวนหลังจากที่การแก้ไขของเขาถูกย้อนและเขาถูกบล็อกเนื่องจากก่อสงครามแก้ไข[190]

ดูเพิ่ม

เชิงอรรถ

  1. นักข่าวเล่าเรื่องประสบการณ์ของตนเองกับวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ[1]
  2. เป็นรากศัพท์ของคำว่า terrorist (ผู้ก่อการร้าย)
  3. American National Biography (ANB) เป็นชุดสารานุกรมด้านชีวประวัติมี 24 เล่มที่มีบทความ 17,400 บทความ[54] มีคำ 20 ล้านคำ[55] พิมพ์เป็นครั้งแรกในปี 1999 โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด เล่มเสริมมีบทความ 400 บทได้พิมพ์ต่อมาในปี 2002[56]
  4. แท่นพิมพ์ (printing press) เป็นอุปกรณ์ออกแรงดันผิวที่ติดหมึกซึ่งอยู่บนสื่อที่จะพิมพ์ (เช่นกระดาษหรือผ้า) ดังนั้น จึงเป็นอุปกรณ์ย้ายหมึกไปที่สื่อ ปกติจะใช้กับหนังสือ การประดิษฐ์และการแพร่กระจายของแท่นพิมพ์เป็นเหตุการณ์ที่มีอิทธิพลที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในคริสต์สหัสวรรษที่ 2
  5. วิกิพีเดียภาษาไทยมีบทความเกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ซึ่งใช้ในความหมายที่ต่างกับแท่นพิมพ์ จึงหมายความว่า ไม่มีบทความเกี่ยวกับแท่นพิมพ์โดยตรงเลย แต่ก็มีบทความเกี่ยวกับกระบี่แสง
  6. 6.0 6.1 Intelligent design (ID) เป็นการอ้างเหตุผลทางศาสนาว่ามีพระเจ้า โดยผู้เสนอจะอ้างว่าเป็น "ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์อิงหลักฐานอย่างหนึ่งในเรื่องกำเนิดชีวิต" ซึ่งได้ถูกระบุแล้วว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียม
  7. Roe v. Wade เป็นคดีที่ศาลสูงสุดสหรัฐตัดสินโดยให้สิทธิการทำแท้งแก่หญิงโดยดุลกับอำนาจของรัฐในการควบคุมการทำแท้ง
  8. ในภาษาศาสตร์ คำปรากฏร่วมจำเพาะ (collocation) หมายถึงลำดับคำหรือบทที่เกิดร่วมกันบ่อยเกินกว่าบังเอิญ

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 Black, Edwin (2010-04-19). "Wikipedia—The Dumbing Down of World Knowledge". History News Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-17. สืบค้นเมื่อ 2014-10-21. I rejected Wikipedia as a mish-mash of truth, half truth, and some falsehoods...
  2. 2.0 2.1 2.2 Kamm, Oliver (2007-08-16). "Wisdom? More like dumbness of the crowds". The Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-14. (Author's own copy เก็บถาวร 2016-09-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
  3. Messer-Kruse, Timothy (2012-02-12). "The 'Undue Weight' of Truth on Wikipedia". The Chronicle of Higher Education. สืบค้นเมื่อ 2015-08-30.
  4. "Wikipedia Experience Sparks National Debate". The BG News. Bowling Green State University. 2012-02-27. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-11. สืบค้นเมื่อ 2014-03-27.
  5. Colón-Aguirre, Monica; Fleming-May, Rachel A. (2012-10-11). "'You Just Type in What You Are Looking For': Undergraduates' Use of Library Resources vs. Wikipedia" (PDF). The Journal of Academic Librarianship. p. 392. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-17. สืบค้นเมื่อ 2014-03-27. cited Fallis, Don. “Toward an Epistemology” (2008)
  6. 6.0 6.1 6.2 Jemielniak, Dariusz (2014). Common Knowledge?: An Ethnography of Wikipedia. Stanford University Press. ISBN 9780804791205.
  7. 7.0 7.1 7.2 Jemielniak, Dariusz (2014-06-22). "The Unbearable Bureaucracy of Wikipedia: the legalistic atmosphere is making it impossible to attract and keep the new editors the site needs". Slate. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-06-26. สืบค้นเมื่อ 2016-09-18.
  8. 8.0 8.1 Vergano, Dan (2013-01-03). "Study: Wikipedia is driving away newcomers". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-23. สืบค้นเมื่อ 2014-11-19.
  9. Petrilli, Michael J. "Wikipedia or Wickedpedia?". Education Next. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-14. สืบค้นเมื่อ 2014-10-22.
  10. "Citing Electronic Sources". Massachusetts Institute of Technology. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-01. สืบค้นเมื่อ 2014-10-21. the bibliography published at the end of the Wikipedia entry may point you to potential sources. However, do not assume that these sources are reliable – use the same criteria to judge them as you would any other source. Do not consider the Wikipedia bibliography as a replacement for your own research.
  11. 11.0 11.1 Waldman, Simon (2004-10-26). "Who knows?". The Guardian. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-14. สืบค้นเมื่อ 2005-12-30.
  12. Vallely, Paul (2006-10-10). "The Big Question: Do we Need a More Reliable Online Encyclopedia than Wikipedia?". The Independent. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-24. สืบค้นเมื่อ 2006-10-18.
  13. Schwartz, Zach (2015-11-11). "Wikipedia's Co-Founder Is Wikipedia's Most Outspoken Critic". Vice. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-07-25. I think Wikipedia never solved the problem of how to organize itself in a way that didn't lead to mob rule... People that I would say are trolls sort of took over. The inmates started running the asylum.
  14. "Research:Wikimedia Summer of Research 2011/Newbie teaching strategy trends". Meta.wikimedia.org. 2011-06-03. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-19. สืบค้นเมื่อ 2013-12-06.
  15. 15.0 15.1 Giles, Jim (2005-12-15). "Internet Encyclopaedias Go Head to Head". Nature. 438 (7070): 900–901. Bibcode:2005Natur.438..900G. doi:10.1038/438900a. PMID 16355180.
  16. "Wikipedia head to head with Britannica". ABC Science. Agence France-Presse (AFP). 2005-12-15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-15.
  17. Giles, J (2005-12-22). "Supplementary Information to Accompany Nature news article 'Internet Encyclopaedias Go Head to Head'" (doc). Nature. 438 (7070): 900–901. Bibcode:2005Natur.438..900G. doi:10.1038/438900a. PMID 16355180. สืบค้นเมื่อ 2015-08-30.
  18. 18.0 18.1 "Fatally Flawed: Refuting the Recent Study on Encyclopaedic Accuracy by the journal Nature" (PDF). Encyclopædia Britannica, Inc. March 2006. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-23. สืบค้นเมื่อ 2009-06-30.
  19. "Britannica attacks". Nature. 440 (7084): 582. 2006-03-30. Bibcode:2006Natur.440R.582.. doi:10.1038/440582b. PMID 16572128.
  20. "Wikipedia study 'fatally flawed'". BBC News. 2006-03-24. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-25.
  21. "Encyclopædia Britannica and Nature: A Response" (PDF). Press release. 2006-03-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-12-03.
  22. Seigenthaler, John (2005-11-29). "A false Wikipedia 'biography'". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-24.
  23. Seelye, Katharine Q. (2005-12-03). "Snared in the Web of a Wikipedia Liar". The New York Times.
  24. "Mistakes and hoaxes on-line". Australian Broadcasting Corporation. 2006-04-15. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-15. สืบค้นเมื่อ 2007-04-28.
  25. Dedman, Bill (2007-03-03). "Reading Hillary Clinton's hidden thesis". NBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-12. สืบค้นเมื่อ 2007-03-17.
  26. "Hillary Rodham Clinton [archived version]". Wikipedia.org. 2005-07-09. สืบค้นเมื่อ 2007-03-17.
  27. "Hillary Rodham Clinton [archived version]". Wikipedia.org. 2007-03-02. สืบค้นเมื่อ 2007-03-17.
  28. Paige, Cara (2006-04-11). "Exclusive: Meet the Real Sir Walter Mitty". Daily Record. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2007-11-24.
  29. Weingarten, Gene (2007-03-16). "A wickedly fun test of Wikipedia". The News & Observer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-20. สืบค้นเมื่อ 2006-04-08.
  30. "Wikipedia:Vandalism [archived version]". Wikipedia.org. 2009-11-24.
  31. Glaser, Mark (2006-04-17). "Wikipedia Bias: Is There a Neutral View on George W. Bush?". PBS. สืบค้นเมื่อ 2007-10-27. The search for a 'neutral point of view' mirrors the efforts of journalists to be objective, to show both sides without taking sides and remaining unbiased. But maybe this is impossible and unattainable, and perhaps misguided. Because if you open it up for anyone to edit, you're asking for anything but neutrality. https://web.archive.org/web/20200601070329/http://mediashift.org/2006/04/wikipedia-biasis-there-a-neutral-view-on-george-w-bush107/ {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |quote= (help)
  32. Hube, Christoph; Fetahu, Besnik (November 4–7, 2019). Neural Based Statement Classification for Biased Language. WSDM '19 Proceedings of the Twelfth ACM International Conference on Web Search and Data Mining. Melbourne VIC, Australia. pp. 259–268. arXiv:1811.05740. doi:10.1145/3289600.3291018. ISBN 978-1-4503-5940-5.{{cite conference}}: CS1 maint: date format (ลิงก์).
  33. Verkaik, Robert (2007-08-18). "Wikipedia and the art of censorship". The Independent. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-04.
  34. Blakely, Rhys (2007-08-15). "Exposed: guess who has been polishing their Wikipedia entries?". The Times. London. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-17. สืบค้นเมื่อ 2007-08-15.
  35. Fildes, Jonathan (2007-08-15). "Wikipedia 'shows CIA page edits'". BBC. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-08. สืบค้นเมื่อ 2007-08-15.
  36. Metz, Cade (2007-12-18). "Truth, anonymity and the Wikipedia Way: Why it's broke and how it can be fixed". The Register.
  37. Schiff, Stacy (2006-07-31). "Know It All". The New Yorker. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-19. สืบค้นเมื่อ 2014-03-12.
  38. Lehmann, Evan (2006-01-27). "Rewriting history under the dome". Lowell Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-02-02. สืบค้นเมื่อ 2014-02-02.
  39. "Senator staffers spam Wikipedia". 2006-01-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-25. สืบค้นเมื่อ 2006-09-13.
  40. Bachelet, Pablo (2006-05-03). "War of Words: Website Can't Define Cuba". The Miami Herald. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-06. Alt URL
  41. Sanchez, Matt (2008-05-14). "Wiki-Whacked by Political Bias". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-15. สืบค้นเมื่อ 2008-07-08.
  42. Delay, Larry (2006-08-03). "A Pernicious Model for Control of the World Wide Web: The Cuba Case" (PDF). Association for the Study of the Cuban Economy (ASCE). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-09-10. สืบค้นเมื่อ 2008-07-08.
  43. 43.0 43.1 McElroy, Damien (2008-05-08). "Israeli battles rage on Wikipedia". The Daily Telegraph. London: Telegraph Media Group Limited. สืบค้นเมื่อ 2008-05-08.
  44. "Letter in Harper's Magazine About Wikipedia Issues". CAMERA. 2008-08-14. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-16. สืบค้นเมื่อ 2010-03-31. toward encouraging people to learn about and edit the online encyclopedia for accuracy
  45. Liphshiz, Cnaan (2007-12-25). "Your Wiki Entry Counts". Haaretz. สืบค้นเมื่อ 2015-08-30.
  46. Rettig Gur, Haviv (2010-05-16). "Israeli-Palestinian conflict rages on Wikipedia". The Jerusalem Post. สืบค้นเมื่อ 2013-12-06.
  47. Cohen, Noam (2008-08-31). "Don't Like Palin's Wikipedia Story? Change It". The New York Times.
  48. "Sarah Palins Wikipedia entry glossed over by mystery user hrs. before VP announcement". Thaindian News. 2008-09-02.[ต้องการแหล่งอ้างอิงดีกว่านี้]
  49. Woods, Allan (2010-08-25). "Ottawa investigating Wikipedia edits". Toronto Star. สืบค้นเมื่อ 2010-08-26.
  50. Nabili, Teymoor (2010-09-11). "The Cyrus Cylinder, Wikipedia and Iran conspiracies". blogs.alJazeera.net. สืบค้นเมื่อ 2013-11-19. an apparent tussle of opinions in the shadowy world of hard drives and 'independent' editors that comprise the Wikipedia industry... strenuous attempt to portray the cylinder as nothing more than the propaganda tool of an aggressive invader... a complete dismissal of the suggestion that the cylinder, or Cyrus' actions, represent concern for human rights or any kind of enlightened intent
  51. Jackson, Ron (2009-08-04). "Open Season on Domainers and Domaining — Overtly Biased L.A. Times Article Leads Latest Assault on Objectivity and Accuracy". สืบค้นเมื่อ 2015-08-30.
  52. "Umbria Blogosphere Analysis — Wikipedia and Corporate Blogging" (PDF). J.D. Power Web Intelligence. 2007-08-24.[ลิงก์เสีย] "Organizations like Sony, Diebold, Nintendo, Dell, the CIA and the Church of Scientology were all shown to have sanitized pages about themselves."
  53. MacDonald, Marc (2008-02-01). "Wikipedia Continues To Sanitize Bush Content". สืบค้นเมื่อ 2015-08-30. Organizations like Sony, Diebold, Nintendo, Dell, the CIA and the Church of Scientology were all shown to have sanitized pages about themselves.
  54. "About the ANB". 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-10. สืบค้นเมื่อ 2007-05-05.
  55. "Oxford University Press and Regional Networks Announce Strategic Alliance". 2009-07-20. สืบค้นเมื่อ 2009-01-15.
  56. Fritze, Ronald H; Coutts, Brian E; Vyhnanek, Louis Andrew (2004). Reference sources in history: an introductory guide. ABC-CLIO. p. 196. ISBN 978-0-87436-883-3.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  57. 57.0 57.1 57.2 Rosenzweig, Roy (June 2006). "Can History be Open Source? Wikipedia and the Future of the Past". The Journal of American History. 93 (1): pp. 117-146. doi:10.2307/4486062. JSTOR 4486062. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-25. สืบค้นเมื่อ 2006-08-11. {{cite journal}}: |pages= has extra text (help)
  58. "Wikipedia cancer information accurate". United Press International. 2010-06-04. สืบค้นเมื่อ 2010-12-31.
  59. "Fact or fiction? Wikipedia's Variety of Contributors is Not Only a Strength". The Economist. 2007-03-10. สืบค้นเมื่อ 2010-12-31. Inelegant or ranting prose usually reflects muddled thoughts and incomplete information.
  60. 60.0 60.1 "Will Wikipedia Mean the End Of Traditional Encyclopedias?". The Wall Street Journal. 2006-09-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-15. สืบค้นเมื่อ 2006-09-13.
  61. 61.0 61.1 61.2 Cohen, Martin. "Encyclopaedia Idiotica". Times Higher Education. สืบค้นเมื่อ 2015-08-30.
  62. Das, Sanmay; Allen, Lavoie; Malik, Magdon-Ismail (2013-11-01). "Manipulation among the arbiters of collective intelligence: How Wikipedia administrators mold public opinion". CIKM '13 Proceedings of the 22nd ACM international conference on Information & Knowledge Management. San Francisco, California, US: ACM. pp. 1097–1106. doi:10.1145/2505515.2505566. ISBN 978-1-4503-2263-8.
  63. Stephen Colbert. The Colbert Report episode 3109. August 21, 2007.
  64. Brophy-Warren, Jamin. "Oh, that John Locke". The Wall Street Journal. No. 2007-06-16. p. 3. สืบค้นเมื่อ 2015-08-30.
  65. Hendren, Johnny "DocEvil" (2007-06-05). "The Art of Wikigroaning". Something Awful. สืบค้นเมื่อ 2007-06-17.
  66. Brown, Andrew (2007-06-14). "No amount of collaboration will make the sun orbit the Earth". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 2010-03-27.
  67. Tossell, Ivor (2007-06-15). "Duality of Wikipedia". The Globe and Mail. สืบค้นเมื่อ 2019-12-25.
  68. Sifferlin, Alexandra (2014-03-25). "Wikipedia Founder Sticks It To 'Lunatic' Holistic Healers". Time. สืบค้นเมื่อ 2014-10-22.
  69. Newman, Lily Hay (2014-03-27). "Jimmy Wales Gets Real, and Sassy, About Wikipedia's Holistic Healing Coverage". Slate. สืบค้นเมื่อ 2014-10-22.
  70. Kirby, J.P. (2007-10-20). "The Problem with Wikipedia". J.P.'s Random Ramblings [blog]. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-09.
  71. Corinne Purtill; Zoë Schlanger. "Wikipedia had rejected Nobel Prize winner Donna Strickland because she wasn't famous enough". Quartz (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-20.
  72. Resnick, Brian (2018-10-03). "The 2018 Nobel Prize reminds us that women scientists too often go unrecognized". Vox. สืบค้นเมื่อ 2018-10-03.
  73. Annalisa Merelli (2018-08-18). "Seeking Disambiguation: Running for office is hard when you have a porn star's name. This makes it worse". Quartz. สืบค้นเมื่อ 2018-11-20.
  74. Baker, Nicholson (2008-03-20). "The Charms of Wikipedia". The New York Review of Books. 55 (4). สืบค้นเมื่อ 2015-08-30. There are quires, reams, bales of controversy over what constitutes notability in Wikipedia: nobody will ever sort it out.
  75. Noah, Timothy (2007-02-24). "Evicted from Wikipedia". Slate. สืบค้นเมื่อ 2010-03-31.
  76. Samoilenko, Anna; Yasseri, Taha (2014-01-22). "The distorted mirror of Wikipedia: a quantitative analysis of Wikipedia coverage of academics". EPJ Data Science. 3 (1). arXiv:1310.8508. doi:10.1140/epjds20.
  77. Johnson, Bobbie (2007-03-01). "Conservapedia — the US religious right's answer to Wikipedia". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 2010-03-27.
  78. Turner, Adam (2007-03-05). "Conservapedia aims to set Wikipedia right". IT Wire. สืบค้นเมื่อ 2008-05-12.
  79. Huntington, Doug (2007-05-09). "'Design' Proponents Accuse Wikipedia of Bias, Hypocrisy". The Christian Post. สืบค้นเมื่อ 2007-08-09.
  80. Solomon, Lawrence (2008-07-08). "Wikipropaganda On Global Warming". National Review. CBS News. สืบค้นเมื่อ 2008-07-20.
  81. Glaser, Mark (2006-04-21). "Email Debate: Wales Discusses Political Bias on Wikipedia". PBS Mediashift. สืบค้นเมื่อ 2015-08-30.
  82. Greenstein, Shane; Zhu, Feng (2016-03-01). Do Experts or Collective Intelligence Write with More Bias? Evidence from Encyclopædia Britannica and Wikipedia — Working Paper 15-023 (PDF). Cambridge, MA, USA: Harvard Business School. สืบค้นเมื่อ 2016-10-31.
  83. Greenstein, Shane; Zhu, Feng (2012-12-01). "Is Wikipedia Biased? Verifying the "neutral point of view"". สืบค้นเมื่อ 2016-10-31.
  84. Khimm, Suzy (2012-06-18). "Study: Wikipedia perpetuates political bias". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2013-05-29.
  85. Matsakis, Louise (2018-03-16). "Don't Ask Wikipedia to Cure the Internet". Wired. สืบค้นเมื่อ 2018-03-17.
  86. 86.0 86.1 Grace, Francie; Bergstein, Brian (2007-01-24). "Microsoft Violates Wikipedia's Sacred Rule". CBS News. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2008-09-03.
  87. Gohring, Nancy (2007-01-23). "Microsoft said to offer payment for Wikipedia edits". CIO magazine. IDG News Service. สืบค้นเมื่อ 2015-08-30.
  88. Gohring, Nancy (2007-01-24). "Microsoft's step into Wikipedia prompts debate". Computerworld. IDG News Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-05-17. สืบค้นเมื่อ 2015-08-30.
  89. Browne, Marcus (2008-02-12). "Wikipedia accused of 'US-centric bias'". ZDNet Australia. สืบค้นเมื่อ 2015-08-30.
  90. Graham, Megan (2017-04-18). "Wikipedia Editors Ask Burger King to Apologize for its Google Home Stunt". AdAge. สืบค้นเมื่อ 2019-07-20.
  91. "The North Face Used Wikipedia to Climb to the Top of Google Search Results". AdAge. 2019-05-28. สืบค้นเมื่อ 2019-07-20.
  92. Mervosh, Sarah (2019-05-30). "North Face Edited Wikipedia's Photos. Wikipedia Wasn't Happy". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2019-07-20.
  93. 93.0 93.1 93.2 "Jovanovićeva poruka učenicima i studentima: Ne koristite hrvatsku Wikipediju!" [Jovanović's message to the pupils and students: Don't use Croatian Wikipedia!] (ภาษาCroatian). Index.hr. สืบค้นเมื่อ 2013-09-13.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  94. 94.0 94.1 94.2 "Jovanović: Djeco, ne baratajte hrvatskom Wikipedijom jer su sadržaji falsificirani" [Jovanović: "Children, do not use the Croatian Wikipedia because its contents are forgeries"] (ภาษาCroatian). Novi list. สืบค้นเมื่อ 2013-09-13.{{cite web}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  95. Melamed, Samantha. "Edit-athon aims to put left-out black artists into Wikipedia". Philadelphia Daily News. สืบค้นเมื่อ 2015-04-13.
  96. Smith, Jada. "Howard University Fills in Wikipedia's Gaps in Black History". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2015-04-13.
  97. Goko, Colleen. "Drive launched to 'Africanise' Wikipedia". Business Day. South Africa. สืบค้นเมื่อ 2015-04-13.
  98. Cassano, Jay. "Black History Matters, So Why Is Wikipedia Missing So Much Of It?". Fast Company. สืบค้นเมื่อ 2015-04-13.
  99. Reynosa, Peter. "Why Don't More Latinos Contribute To Wikipedia?". El Tecolote. สืบค้นเมื่อ 2015-12-05.
  100. 100.0 100.1 100.2 Ward, Justin (2018-03-12). "Wikipedia wars: inside the fight against far-right editors, vandals and sock puppets". สืบค้นเมื่อ 2020-03-01.
  101. Gardner, Sue (2011-02-19). "Nine Reasons Why Women Don't Edit Wikipedia, In Their Own Words" (blog). suegardner.org.
  102. 102.0 102.1 Cassell, Justine (2011-02-04). "Editing Wars Behind the Scenes". The New York Times.
  103. 103.0 103.1 103.2 Cohen, Noam (2011-01-30). "Define Gender Gap? Look Up Wikipedia's Contributor List". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2011-01-31.
  104. Gleick, James (2013-04-29). "Wikipedia's Women Problem". The New York Review of Books. สืบค้นเมื่อ 2013-11-19.
  105. Filipacchi, Amanda (2013-04-24). "Wikipedia's Sexism Toward Women Novelists". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2015-08-30.
  106. Dunn, Gaby (2013-05-01). "Does Sexism Lurk?". DailyDot.com. สืบค้นเมื่อ 2013-11-19.
  107. Zandt, Deanna (2013-04-26). "Yes, Wikipedia Is Sexist - That's Why It Needs You". Forbes. สืบค้นเมื่อ 2013-11-19.
  108. Andrew Lih (2015-06-20). "Can Wikipedia Survive?". The New York Times. Washington. สืบค้นเมื่อ 2015-06-21. ...   the considerable and often-noted gender gap among Wikipedia editors; in 2011, less than 15 percent were women.
  109. Statistics based on Wikimedia Foundation Wikipedia editor surveys 2011 (Nov. 2010-April 2011) and November 2011 เก็บถาวร 2016-06-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (April - October 2011)
  110. Cohen, Noam (2011-01-30). "Define Gender Gap? Look Up Wikipedia's Contributor List". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2011-01-31.
  111. Huang, Keira (2013-08-11). "Wikipedia fails to bridge gender gap". South China Morning Post.
  112. Wikipedia 'completely failed' to fix gender imbalance เก็บถาวร 2016-12-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , BBC interview with Jimmy Wales, August 8, 2014; starting at 45 seconds.
  113. Vitulli, Marie A. (2018). "Writing women in mathematics into Wikipedia". Notices of the American Mathematical Society. 65 (3): 331–332. doi:10.1090/noti1650.
  114. Parakilas, Jacob (2014-03-18). "Wikipedia, neutrality and guns". Action on Armed Violence. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-14. สืบค้นเมื่อ 2018-03-07. But if a reader had started on the page for either of Breivik’s guns, the Ruger or the Glock, they would not know this. That reader would find a great deal of technical information about the weapons in question - their weights, lengths, cartridges, rates of fire, magazine capacities, muzzle velocities - and detailed descriptions of their designs, all illustrated with abundant photographs and diagrams.
  115. Walther, Matthew (2017-11-07). "The adolescent cult of the AR-15". The Week. สืบค้นเมื่อ 2018-03-23. What do the perpetrators of the massacres at Sandy Hook, at Aurora, at Orlando, and at Sutherland Springs have in common? They were all men under 30 and they all used versions of the same kind of firearm, the AR-15, the semi-automatic version of the military's M-16 and the bestselling gun in America. It might be difficult to make this connection because as I write this, the section on the use of AR-15s in mass killings has been deleted from Wikipedia   ...
  116. Brandom, Russell (2018-03-06). "How gun buffs took over Wikipedia's AR-15 page; After Parkland, gun control information was strangely hard to find". The Verge. Vox Media. สืบค้นเมื่อ 2018-03-09. But on Wikipedia, as in the real world, the users with the deepest technical knowledge of firearms are also the most fervent gun owners and the most hostile to gun control. For critics, that’s led to a persistent pro-gun bias on the web’s leading source of neutral information at a time when the gun control debate is more heated than ever.
  117. "Pro-gun Wikipedia users spark fierce editing war; Editors against tighter controls on firearms have been purging information that shows weapons such as AR-15s in a bad light". Sky News. 2018-03-07. สืบค้นเมื่อ 2018-03-09. The bias in the articles was not explicit, but structural. The project did not insert false information into the articles, but instead purged information that showed the weapons in a bad light - dismissing it as "off topic".
  118. Brennan, David (2018-03-07). "Pro-gun Group Edited AR-15 Wikipedia Page to Hide Mass Shootings". Newsweek. สืบค้นเมื่อ 2018-03-09. A group of pro-gun Wikipedia editors tried to hide the true number of mass shootings associated with the AR-15 rifle in the aftermath of the Marjory Stoneman Douglas High School shooting in Parkland, Florida.
  119. Einenkel, Walter (2018-03-08). "A gun group has been editing Wikipedia's firearms pages to sanitize mass shootings, for months". Yahoo! News. Newsweek. สืบค้นเมื่อ 2018-03-09. The Wikimedia Foundation has defended itself and Wikipedia from allegations of being host to these kinds of influence campaigns, arguing that the encyclopaedia is constantly being updated and improved.
  120. Benjakob, Omer (2018-03-18). "Gun Enthusiasts Are Waging a War of Attrition on Wikipedia, and It Looks Like They're Winning". Haaretz. สืบค้นเมื่อ 2018-03-23. According to The Verge report and an independent follow-up by Haaretz, the top editors of the Colt page are pro-gun enthusiasts who skewed the information presented on it and are also involved in editing other articles on Wikipedia - for example, the much more general article, titled AR 15 - to push their worldview   ... Through countless exhausting debates, this small group of pro-gun Wikipedia editors - linked together through Wikipedia’s Firearms project (or “WikiProject: Firearms,” mentioned below) - has managed to control almost completely the discourse around the rifle, predominantly by making sure any potentially negative details about it be excluded from the original Colt AR-15 article.
  121. "Wikipedia attacked over porn pages". Livenews.com.au. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-17. สืบค้นเมื่อ 2010-03-31.
  122. Raphael, JR (2008-12-10). "Wikipedia Censorship Sparks Free Speech Debate". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2009-05-10.
  123. 123.0 123.1 Finkelstein, Seth (2008-12-18), Sting in the Scorpions tale is the exposure of Wiki's weakness, The Guardian, สืบค้นเมื่อ 2018-05-23
  124. Dorothy Howard; Patrick W. Galbraith (2015-11-20), Meet the manga avatars of your favorite tech platroms, Hopes&Fears, สืบค้นเมื่อ 2018-05-23
  125. 125.0 125.1 125.2 Agence France-Presse (2010-04-29). "Wikipedia rejects child porn accusation". The Sydney Morning Herald.
  126. "Wikimedia pornography row deepens as Wales cedes rights". BBC News. 2010-05-19. สืบค้นเมื่อ 2010-05-19.
  127. Gray, Lila (2013-09-17). "Wikipedia Gives Porn a Break". XBIZ. สืบค้นเมื่อ 2013-10-20.
  128. Viégas, Fernanda B.; Wattenberg, Martin; Dave, Kushal (April 24–29, 2004). Studying Cooperation and Conflict between Authors with history flow Visualizations (PDF). CHI '04 Proceedings of the SIGCHI Conference on Human Factors in Computing Systems (ACM). Vienna, Austria: ACM. doi:10.1145/985692.985765. ISBN 1-58113-702-8.{{cite conference}}: CS1 maint: date format (ลิงก์)
  129. Priedhorsky, Reid; Chen, Jilin; Lam, Shyong (Tony) K.; Panciera, Katherine; Terveen, Loren; Riedl, John (2007-11-04). Creating, destroying, and restoring value in wikipedia. Proceedings of the 2007 international ACM conference on Supporting group work. Sanibel Island, Florida, USA: ACM. doi:10.1145/1316624.1316663. ISBN 978-1-59593-845-9. online
  130. 130.0 130.1 Donnelly, James; Haeckl, Jenifer (2001-04-12). "Privacy and Security on the Internet: What Rights, What Remedies?". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-01.
  131. See "Public and Private Figures" เก็บถาวร 2016-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน by the Digital Media Law Project for the legal distinction.
  132. Brandt, Daniel (2005-09-09). "Wikipedia's Hive Mind Administration". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-05-23.
  133. Lever, Rob (2005-12-11). "Wikipedia Becomes Internet Force, Faces Crisis". Agence France-Presse (AFP). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-06. สืบค้นเมื่อ 2007-12-26.
  134. "Court overturns temporary restraining order against Wikimedia Deutschland". Heinz Heise. 2006-02-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-08. สืบค้นเมื่อ 2014-01-31.
  135. Arthur, Charles (2009-02-09). "Jimmy Wales in drive-by shooting of Wikipedia". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2015-08-31.
  136. Mitchell, Dan (2005-12-24). "Insider Editing at Wikipedia". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2015-08-31.
  137. "Wikipedia Co-Founder Creates Competing Site". Infopackets.com. 2007-04-04. สืบค้นเมื่อ 2013-11-19.
  138. Bergstein, Brian (2007-03-26). "Building an alternative to Wikipedia". NBC News. สืบค้นเมื่อ 2013-11-19.
  139. "Wikipedia Vs Citizendium.org: The Art of Competing with Oneself". Yahoo! Voices. 2007-04-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-28. สืบค้นเมื่อ 2013-11-19.
  140. "Wikipedia Co-Founder Unveils Rival Free Encyclopedia". Fox News Channel. Associated Press. 2007-03-28. สืบค้นเมื่อ 2013-11-19.
  141. 141.0 141.1 141.2 Bergstein, Brian (2007-03-25). "Citizendium aims to be better Wikipedia". USA Today. สืบค้นเมื่อ 2015-08-30.
  142. Wood, Mike (2013-01-09). "I Get Paid To Edit Wikipedia For Leading Companies". Business Insider. สืบค้นเมื่อ 2013-11-19.
  143. Paling, Emma (2015-10-21). "How Wikipedia Is Hostile to Women". The Atlantic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-21. สืบค้นเมื่อ 2015-10-21.
  144. 144.0 144.1 Auerbach, David (2014-12-11). "Encyclopedia Frown: Wikipedia is amazing. But it's become a rancorous, sexist, elitist, stupidly bureaucratic mess". Slate. สืบค้นเมื่อ 2014-12-17.
  145. "User Rights Log". Wikipedia.
  146. "Arbitration Series". Wikipedia.
  147. Metz, Cade (2009-05-26). "Sockpuppeting British politico resigns from Wikisupremecourt". The Register. สืบค้นเมื่อ 2009-05-27.
  148. "Meta: Steward requests/Permissions". Meta-Wiki. สืบค้นเมื่อ 2014-08-15.
  149. Welham, Jamie; Lakhani, Nina (2009-06-07). "Wikipedia 'sentinel' quits after using alias to alter entries". The Independent. สืบค้นเมื่อ 2010-03-31.
  150. 150.0 150.1 Schiff, Stacy (2006-07-31). "Know it all: Can Wikipedia conquer expertise?". The New Yorker. สืบค้นเมื่อ 2015-08-30.
  151. Finkelstein, Seth (2007-03-08). "Oh, what a tangled web we weave when first we practise to deceive". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2007-08-01. At some point, Essjay said he had sent a letter to a real-life college professor using his invented persona's credentials, vouching for Wikipedia's accuracy. In the letter he wrote in part, "It is never the case that known incorrect information is allowed to remain in Wikipedia."
  152. "Talk:Five solas [archived version]". Wikipedia.org. 2005-06-11. สืบค้นเมื่อ 2007-06-18.
  153. Orlowski, Andrew (2007-03-02). "Bogus Wikipedia Prof. was blessed then promoted: The Counterfactual History Man". The Register. สืบค้นเมื่อ 2007-03-18.
  154. "Fake professor in Wikipedia storm". BBC News. 2007-03-06. สืบค้นเมื่อ 2007-03-08.
  155. Bergstein, Brian (2007-03-25). "Sanger says he co-started Wikipedia". The Washington Post. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 2007-03-26. The nascent Web encyclopedia Citizendium springs from Larry Sanger, a philosophy Ph.D. who counts himself as a co-founder of Wikipedia, the site he now hopes to usurp. The claim doesn't seem particularly controversial—Sanger has long been cited as a co-founder. Yet the other founder, Jimmy Wales, isn't happy about it.
  156. Meyers, Peter (2001-09-20). "Fact-Driven? Collegial? This Site Wants You". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2015-08-30. "I can start an article that will consist of one paragraph, and then a real expert will come along and add three paragraphs and clean up my one paragraph", said Larry Sanger of Las Vegas, who founded Wikipedia with Mr. Wales.
  157. Mehegan, David (2006-02-12). "Bias, sabotage haunt Wikipedia's free world". Boston Globe. สืบค้นเมื่อ 2007-07-30.
  158. Sanger, Larry (2007-03-01). "Wikipedia firmly supports your right to identity fraud". Citizendium Blog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-04. สืบค้นเมื่อ 2007-03-02.
  159. "User talk:Jimbo Wales [archived version]". Wikipedia.org.
  160. Sanger, Larry (2007-03-03). "Jimmy Wales' latest response on the Essjay situation". Citizendium Blog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-03-06. สืบค้นเมื่อ 2007-03-03.
  161. "Essjay's Wikia user page". Wikia.com. สืบค้นเมื่อ 2007-09-19.
  162. Wolfson, Andrew (2007-03-06). "Wikipedia editor who posed as professor is Ky. dropout: Man resigns post after controversy". Louisville Courier-Journal. สืบค้นเมื่อ 2007-03-07. Alt URL [ลิงก์เสีย]
  163. Wales, Jimmy (2007-03-19). "Making amends". The New Yorker. p. 24.
  164. Cohen, Noam (2007-03-05). "A Contributor to Wikipedia Has His Fictional Side". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2007-03-05.
  165. "[ABC News broadcast on Essjay]". ABC News. สืบค้นเมื่อ 2007-03-08.
  166. "[ABC News broadcast on Essjay]". ABC News. สืบค้นเมื่อ 2007-03-08.
  167. Williams, Martyn (2007-03-09). "Wikipedia Founder Addresses User Credentials". PC World. IDG News Service. สืบค้นเมื่อ 2015-08-31.
  168. "Wikipedia's credentials policy [archived version]". Wikipedia.org. 2008-01-05.
  169. 169.0 169.1 Spicuzza, Mary (2008-02-13). "Wikipedia Idiots: The Edit Wars of San Francisco". SF Weekly. p. 2. สืบค้นเมื่อ 2015-08-30.
  170. "Privacy". Wikipedia.
  171. Arthur, Charles (2005-12-14). "Log on and join in, but beware the web cults". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2006-07-14.
  172. Stvilla, Besiki; Twidale, Michael; Smith, Linda; Gasser, Les (2008-02-21). "Information Quality Work Organization in Wikipedia" (PDF). Journal of the Association for Information Science and Technology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-08-20. ["Information Quality Work Organization in Wikipedia" at Wiley Online Library] (ต้องรับบริการ)
  173. Johnson, Bobbie (2009-08-12). "Wikipedia approaches its limits". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2014-05-25.
  174. "The battle for Wikipedia's soul". The Economist. 2008-03-06. สืบค้นเมื่อ 2015-08-31.
  175. Halfaker, Aaron; Geiger, R. Stuart; Morgan, Jonathan T.; Riedl, John (2012). "The Rise and Decline of an Open Collaboration System: How Wikipedia's Reaction to Popularity Is Causing Its Decline". American Behavioral Scientist. 57 (5): 664. doi:10.1177/0002764212469365. ISSN 0002-7642.
  176. Hickman, Martin; Roberts, Genevieve (2006-02-13). "Wikipedia - separating fact from fiction". The New Zealand Herald. สืบค้นเมื่อ 2007-04-17. Such checking leads to a daily battle of wits with the cyber-wreckers who insert erroneous, ludicrous and offensive material into entries. How frequently entries get messed about with depends on the controversy of their subjects. This week the entry Muslim is being attacked dozens of times a day following the row about cartoons of Mohammed with angry denunciations of suicide bombing and claims of hypocrisy. Prime Minister Tony Blair's entry is a favourite for distortion with new statements casting aspersions on his integrity.
  177. Kleinz, Torsten (February 2005). "World of Knowledge" (PDF). Linux Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 2007-05-12. The Wikipedia's open structure makes it a target for trolls and vandals who malevolently add incorrect information to articles, get other people tied up in endless discussions, and generally do everything to draw attention to themselves.
  178. "Wiki page on Three-revert-rule". Wikipedia.
  179. Shankbone, David (2008-06-07). "Nobody's Safe in Cyberspace". The Brooklyn Rail. สืบค้นเมื่อ 2008-07-10.
  180. Koebler, Jason (2016-05-17). "Wikipedia Editor Says Site's Toxic Community Has Him Contemplating Suicide". Vice (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-02-28.
  181. "Wikipedia sets new rules to combat 'toxicity'". BBC News. 2020-05-23.
  182. Hill, Benjamin Mako (2013-03-27). "The Institute for Cultural Diplomacy and Wikipedia". mako.cc. eous. สืบค้นเมื่อ 2015-08-31. In Wikipedia, debates can be won by stamina. If you care more and argue longer, you will tend to get your way. The result, very often, is that individuals and organizations with a very strong interest in having Wikipedia say a particular thing tend to win out over other editors who just want the encyclopedia to be solid, neutral, and reliable. These less-committed editors simply have less at stake and their attention is more distributed.
  183. Postril, Virginia (2014-11-17). "Who Killed Wikipedia?". Pacific Standard. สืบค้นเมื่อ 2015-08-31. Tiring out one's opponent is a common strategy among experienced Wikipedians ... I have resorted to it many times.
  184. 184.0 184.1 Lanier, Jaron (2006-05-30). "Digital Maoism: The Hazards of the New Online Collectivism". Edge. สืบค้นเมื่อ 2007-04-30. The problem is in the way the Wikipedia has come to be regarded and used; how it's been elevated to such importance so quickly. And that is part of the larger pattern of the appeal of a new online collectivism that is nothing less than a resurgence of the idea that the collective is all-wise, that it is desirable to have influence concentrated in a bottleneck that can channel the collective with the most verity and force. This is different from representative democracy, or meritocracy. This idea has had dreadful consequences when thrust upon us from the extreme Right or the extreme Left in various historical periods. The fact that it's now being re-introduced today by prominent technologists and futurists, people who in many cases I know and like, doesn't make it any less dangerous.
  185. Shirky, Clay (2006-06-07). "Reactions to Digital Maoism". Corante.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-06-13. สืบค้นเมื่อ 2007-05-01. Neither proponents nor detractors of hive mind rhetoric have much interesting to say about Wikipedia itself, because both groups ignore the details ... Wikipedia is best viewed as an engaged community that uses a large and growing number of regulatory mechanisms to manage a huge set of proposed edits ... To take the specific case of Wikipedia, the Seigenthaler/Kennedy debacle catalyzed both soul-searching and new controls to address the problems exposed, and the controls included, inter alia, a greater focus on individual responsibility, the very factor 'Digital Maoism' denies is at work.
  186. Angwin, Julia; Fowler, Geoffrey A. (2009-11-27). "Volunteers Log Off as Wikipedia Ages". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 2013-07-28. (ต้องรับบริการ)
  187. Simonite, Tom (2013-10-22). "The Decline of Wikipedia". MIT Technology Review. สืบค้นเมื่อ 2015-03-26.
  188. 188.0 188.1 Jemielniak, Dariusz (2014-06-22). "The Unbearable Bureaucracy of Wikipedia". Slate.
  189. Wilson, Chris (2008-02-22). "The Wisdom of the Chaperones: Digg, Wikipedia, and the myth of Web 2.0 democracy". Slate. สืบค้นเมื่อ 2013-01-14.
  190. Kleeman, Jenny (2007-03-25). "Wiki wars". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2007-10-04.

แหล่งข้อมูลอื่น